ข้อสอบ TCAS A-Level ฟิสิกส์ เปลี่ยนไปอีกแล้วเหรอ?!?

PANYA SOCIETY

ข้อสอบ TCAS A-Level ฟิสิกส์ เปลี่ยนไป!!!
(อีกแล้วเหรอ???)

ตัวอย่างเฉลยข้อสอบ ฟิสิกส์ วิชาสามัญปี 2565

MENU

ข้อสอบเปลี่ยนแปลงไปยังไง?

แล้วจะรับมือยังไง?

ทำไมต้องเรียนกับ Panya?

PART 1 : ข้อสอบเปลี่ยนแปลงไปยังไง?

ตัวอย่างเฉลยข้อสอบ ฟิสิกส์ วิชาสามัญปี 2565

10 Videos
Play Video

สวัสดีครับน้องๆ #Dek66 ทุกคน วันนี้พี่ Panya Society กลับมาอีกครั้งพร้อมบทความที่เกี่ยวกับ TCAS66 อีกแล้วนะครับ โดยวันนี้เราจะว่ากันด้วยเรื่องของข้อสอบฟิสิกส์ A-Level กันนะครับ หลังจากบทความที่ผ่านมา เราได้ดูหน้าตาของโครงสร้างข้อสอบ (Exam Blueprint) กันไปแล้ว มาคราวนี้พี่ Panya Society ขอบอกเลยว่าวันนี้เราจะมาเจาะลึกลงไปกว่าเดิมว่า ข้อสอบปีนี้จะมีหน้าตาเป็นอย่างไร จะยากขึ้นหรือง่ายขึ้นกว่าปีที่ผ่านๆ มา รวมไปถึงเทคนิคการเตรียมตัวทำข้อสอบฟิสิกส์ A-Level กันครับ ถ้าพร้อมแล้ว เริ่ม!!!

และแน่นอนวันนี้พี่ Panya Society ไม่ได้มาคนเดียวอีกแล้ว วันนี้พี่มาพร้อมกับ “พี่แชร์” คุณครูคนเก่งประจำวิชาฟิสิกส์ แห่ง Panya Society วันนี้พี่แชร์จะมาช่วยน้องๆ ทุกคนพิชิตข้อสอบฟิสิกส์ A-Level กันครับ คราวนี้เรามาเริ่มกันที่ข้อสงสัยแรกกันเลยครับ

  • A-Level คืออะไร? วิชาสามัญและ PAT หายไปไหน?

เริ่มต้นกันด้วยคำถามเบื้องต้นก่อนเลยนะครับ แน่นอนว่าน้องๆ #Dek66 หลายคนคงจะตื่นเต้น และตื่นตัวกันหลายๆ เรื่องตั้งแต่ต้นปี 2565 กันเลยใช่ไหมครับ ว่ารูปแบบการสอบปี 2566 นี้ จะโดนเปลี่ยนอีกแล้วหรอ จนกระทั่งเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2565 ทางที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ก็ได้มีการ Live สด ชี้แจงรูปแบบการสอบ และแจ้งกำหนดการสอบการคัดเลือก TCAS66 ซึ่งเป็นการประกาศอย่างเป็นทางการว่าจะมีการยกเลิกการสอบ PAT และเปลี่ยนเป็น TPAT รวมไปถึงวิชาสามัญก็ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น A-Level (พี่ Panya Society เคยทำบทความอย่างละเอียดไว้แล้วสามารถอ่านได้ที่นี่) โดยมีเหตุผลหลักๆ ได้แก่

    • “ต้องการลดความซ้ำซ้อนของข้อสอบ” แน่นอนว่าระบบ TCAS ในปีก่อนๆ ที่ผ่านมาน้องๆ ทุกคนจะต้องพบเจอกับเนื้อหาของวิชาฟิสิกส์ทั้งใน PAT2 และ วิชาสามัญ ฟิสิกส์ รวมไปถึงหลักเกณฑ์คัดเลือกในบางคณะใช้คะแนนเฉพาะ PAT2 บางคณะใช้เฉพาะวิชาสามัญ ทำให้น้องๆ หลายคนต้องสมัครสอบทั้ง PAT2 ทั้งวิชาสามัญ ทำให้เกิดการสิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็น มาในปีนี้ ทปอ. จึงทำการลดวิชาของการสอบ ทำให้เนื้อหาของวิชาฟิสิกส์มีอยู่แค่ในการสอบ A-Level ฟิสิกส์ เท่านั้น
    • “ต้องการปรับให้ตรงตามหลักสูตร สสวท.” การรวมข้อสอบให้เหลือชุดเดียว ช่วยให้การควบคุมเนื้อหาให้ตรงตามหลักสูตรง่ายยิ่งขึ้น แปลว่าหนังสือเรียน สสวท. หลักสูตรปัจจุบัน ยังคงเป็นแกนกลางในการออกข้อสอบ แน่นอนว่าเนื้อหาที่เกินกว่าหลักสูตร หรือถูกตัดออกไปจากหลักสูตร จะไม่ออกข้อสอบ ซึ่งทาง ทปอ. ก็ออกมายืนยันภายในการ Live สดเรียบร้อยแล้ว

คราวนี้เราลองมาดูสถิติการออกข้อสอบว่าแต่ละเนื้อหามีการออกสอบมาก – น้อยแค่ไหน เมื่อเปรียบเทียบระหว่าง ฟิสิกส์ วิชาสามัญปี 2564 และ 2565 กับ Exam Blueprint ของ A-Level วิชาฟิสิกส์ ปี 2566 (ดู Exam Blueprint ของ A-Level วิชาฟิสิกส์ ปี 2566 อย่างละเอียดได้ที่นี่)

แล้วสถิติบอกอะไรกับเรา???

  • ถ้าสังเกตให้ดีจำนวนข้อที่ออกสอบในแต่ละบท ค่อนข้างจะตรงกับสถิติย้อนหลังของ ฟิสิกส์ วิชาสามัญทั้ง 2 ปี ที่ สสวท. เป็นคนออก
  • ดังนั้นเราจึงค่อนข้างมั่นใจได้ว่าข้อสอบปี  A-Level ฟิสิกส์ 66 น่าจะใช้ข้อสอบ ฟิสิกส์ วิชาสามัญปี 65 และ 64 เป็นเกณฑ์ในการอ้างอิงในการออกข้อสอบ ทำให้ข้อสอบไม่ได้เปลี่ยนไปแบบหน้ามือเป็นหลังมือขนาดนั้น
  • แล้วถ้าจำนวนข้อที่ออกในเนื้อหาแต่ละบทอ้างอิงจากข้อสอบ ฟิสิกส์ วิชาสามัญปี 65 และ 64 เราก็สามารถอนุมานได้ว่าเนื้อหาที่ออกสอบก็น่าจะอ้างอิงจากแหล่งเดียวกัน
  • ซึ่งแปลว่าถ้าทำข้อสอบ ฟิสิกส์ วิชาสามัญปี 65 และ 64 ได้ ก็จะช่วยให้ทำข้อสอบปี A-Level ฟิสิกส์ 66 ได้แน่นอน

และเมื่อเราเอาตัวอย่างข้อสอบที่ทาง ทปอ. เผยแพร่ไว้ใน Exam Blueprint มาดูดีๆ จะพบว่าข้อสอบเหล่านี้ถูกเคยนำไปออกสอบ ฟิสิกส์วิชาสามัญ ทั้งปี 65 และ 64 กันมาแล้วทั้งนั้น ตัวอย่างเช่น (กดที่รูปเพื่อดูภาพใหญ่)

แต่ทั้งนี้พี่ Panya Society และพี่แชร์ก็ไม่สามารถยืนยันได้แบบ 100% ว่าข้อสอบ A-Level ฟิสิกส์ จะออกตาม ฟิสิกส์ วิชาสามัญ ปี 65 และ 64 แบบแทบจะลอกกันมา เป็นเพียงการคาดการณ์จากสถิติ และตัวอย่างข้อสอบที่ทาง ทปอ. เผยแพร่มาเท่านั้น น้องๆ ต้องใช้วิจารณญาณในการอ่านด้วยนะครับ 🙂

ข้อสอบเปลี่ยนไปแปลงยังไง?

แล้วจะรับมือยังไง?

ทำไมต้องเรียนกับ Panya?

PART 2 : แล้วจะรับมือยังไง?

มาถึงตรงนี้น้องๆ หลายคนคงเริ่มคลายกังวลใจลงไปบ้างแล้วใช่ไหมครับว่าข้อสอบ A-Level ฟิสิกส์ ปี 2566 คงน่าจะไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปมากขนาดที่จะต้องเตรียมตัวกันใหม่ คราวนี้พี่ Panya Society และพี่แชร์ อยากจะให้แนวทางการรับมือกับข้อสอบ รวมไปถึงตัวอย่างข้อสอบที่คาดว่าน่าจะพบเจอในการสอบ A-Level ฟิสิกส์ ปี 2566 กันครับ

1. รับมือกับการออกข้อสอบในเนื้อหาพื้นฐานที่ไม่ค่อยออก

เช่น การวัดและเลขนัยสำคัญ, ความคลาดเคลื่อน, สัญกรณ์วิทยาศาสตร์, การแปลงหน่วย, การย่อขยายหน่วย, การทดลองและการเขียนกราฟ ซึ่งบทเหล่านี้แทบจะไม่เคยออกเลยในข้อสอบปีเก่าๆ (ก่อนปี 64) เพราะเนื้อหาเหล่านี้สามารถถูกแทรกเข้าไปในบทอื่นๆ ได้ทุกบท แต่มาในข้อสอบ A-Level ฟิสิกส์ ปี 66 นี้ ถ้าเอาเนื้อหาเหล่านี้ไปแทรกในบทอื่นก็จะทำให้ข้อสอบข้อนั้นๆ ต้องคำนวณซับซ้อนขึ้น แทนที่จะคำนวณแค่เรื่องในบทนั้น ยังต้องปรับคำตอบให้มาตรงกับบทนี้อีก ซึ่งมันน่าจะผิดกับความตั้งใจของสสวท. ในเรื่องของการวัดความเข้าใจพื้นฐาน และลดการคำนวณที่ยุ่งยาก

ตัวอย่างข้อสอบ

2. ยังมีข้อที่เป็นการจัดรูปตัวแปรอยู่ แต่น่าจะง่ายลงกว่าเดิม

สสวท. น่าจะยังคงเห็นถึงความสำคัญของโจทย์ประเภทจัดรูปตัวแปรอยู่ เพราะโจทย์แบบนี้ช่วยฝึกความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์ การวิเคราะห์ และวัดความเข้าใจของผู้สอบได้จริง ๆ (แทนที่จะจำสูตรเพียงอย่างเดียวแล้วไปคำนวณ) แต่ข้อสอบประเภทนี้น่าจะถูกปรับให้ง่ายลง เช่น ถามแค่ชั้นเดียว แทนค่าสมการแค่ 1 หรือ 2 สมการ จัดรูป ก็จะได้คำตอบเลย ไม่ยุ่งยากซับซ้อนเหมือนแต่ก่อน

แต่สิ่งที่ต้องระวัง คือ ต้องอ่านเงื่อนไขของโจทย์ด้วย เพราะบางทีโจทย์ไม่ได้ให้ตัวแปรในรูปแบบที่เราเคยเรียนกันมา เช่น เราเรียนกันมาว่า g คือ ความเร่งโน้มถ่วง แต่โจทย์กำหนดให้ x แทนความเร่งโน้มถ่วง แบบนี้เราจะแทนตัว g ลงไปจัดรูปในสมการไม่ได้ ต้องระวังกันนะครับ

ตัวอย่างข้อสอบ

3. ระวังการเอาเนื้อหาในหนังสือ สสวท. ส่วนที่ถูกมองข้าม มาออกเป็นข้อสอบ

สสวท. น่าจะยังคงพยายามเลือกเนื้อหาส่วนบรรยายที่มักถูกมองข้ามมาออกเป็นข้อสอบ โดยจะประยุกต์ให้เข้ากับโจทย์ที่เป็นคำนวณด้วย เช่น หัวข้อเดียวกัน แทนที่จะถามสูตรเพื่อให้คำนวณ ก็เอาส่วนบรรยายมาเชื่อม เพื่อวัดความรู้ และความเข้าใจพื้นฐานไปในตัว ตามความตั้งใจของ สสวท. ที่จะให้อ่านหนังสือ สสวท. ให้เข้าใจมากที่สุด

ตัวอย่างข้อสอบ

4. ระวังเรื่องตารางแสดงผลการทดลองหรือกราฟแสดงผลการทดลอง

แน่นอนว่าพื้นฐานที่สำคัญอย่างหนึ่งของการเป็นนักวิทยาศาสตร์ก็คือ การบันทึกและสามารถอ่านข้อมูลจากตารางหรือกราฟของผลการทดลองให้เข้าใจ รวมไปถึงสามารถเลือกใช้ข้อมูลที่จำเป็น หรือถูกต้องมาใช้ในการคำนวนได้อย่างแม่นยำ ซึ่งการคำนวณในข้อสอบประเภทนี้จะค่อนข้างง่าย ใช้สมการพื้นฐานสั้นๆ ไม่ลงเนื้อหาลึก แค่เอาข้อมูลมาใช้ให้ถูกต้องก็พอ

แต่ก็ต้องระวังถูกหลอกด้วย เพราะบางน้องๆ อาจจะยึดติดกับสูตรของเนื้อหาในบทนั้นๆ โดยลืมไปว่าในข้อสอบกำหนดกฎหรือกติกาอะไรมา เช่น กฎของโอห์มคือ V = IR แต่ในข้อสอบอาจจะบอกว่าตัวนำไฟฟ้าชนิดหนึ่ง ซึ่งไม่เป็นไปตามกฎของโอห์ม แต่เป็นไปตามสมการ V = IR2 ทำให้เราไม่สามารถใช้สูตรที่ท่องมาได้ จำเป็นต้องใช้ข้อมูลตามที่โจทย์กำหนดมาให้ในการคำนวณ

ตัวอย่างข้อสอบ

5. อาจจะมีการเอาเนื้อหาใหม่มาออกข้อสอบเพื่อให้อ่านหนังสือ สสวท.

เนื้อหาเรื่องฟิสิกส์อนุภาคเป็นเนื้อหาใหม่ที่ สสวท. เพิ่มเติมเข้าไปในหนังสือล่าสุด และนับตั้งแต่ปีที่ สสวท. เป็นผู้ออกข้อสอบ ก็มีเรื่องนี้ออกทุกปี (ฟิสิกส์ วิชาสามัญปี 65 และ 64) แปลว่าเป็นไปตามเป้าหมายก็คือ ต้องการให้น้องๆ อ่านหนังสือของ สสวท. แต่จากที่ผ่านมาเนื้อหาของข้อสอบบทนี้ เป็นเนื้อหาแบบบรรยาย แค่ต้องอ่านแล้วจำให้ได้ ไม่ได้ถึงขั้นที่ต้องจำสูตรหรือตัวเลขอะไรยาก ข้อสอบก็พยายามยกข้อมูลในหนังสือมาให้เลย แล้วถามแต่ความเข้าใจจากข้อมูลที่กำหนด

และนอกจากเพื่อเป้าหมายในการให้นักเรียนอ่านหนังสือของ สสวท. แล้ว เนื้อหาฟิสิกส์อนุภาคยังเป็นเนื้อหาที่ทันสมัย มีหลายคณะในมหาวิทยาลัยเริ่มเพิ่มเติมเนื้อหาส่วนนี้เข้าสู่การเรียนการสอนแล้ว ทำให้ข้อสอบก็ต้องวัดความรู้ส่วนนี้ไปด้วย

ตัวอย่างข้อสอบ

ข้อสอบเปลี่ยนแปลงไปยังไง?

แล้วจะรับมือยังไง?

ทำไมต้องเรียนกับ Panya?

PART 3 : ทำไมต้องเรียนกับ Panya?

"ทำไมข้อสอบเปลี่ยนไป จึงทำอะไร Panya Society ไม่ได้?"

    ไม่ใช่เรื่องน่ากังวลใจอีกแล้ว เมื่อน้องวิเคราะห์ข้อสอบได้ น้องเข้าใจข้อสอบจริง ๆ และเรียนรู้กับคนที่สอนให้น้องใช้ความรู้ให้เป็น ไม่ใช่ท่องสิ่งที่ไม่จำเป็นเข้าห้องสอบ แล้วพบกันในคอร์ส TCAS66 วิชาฟิสิกส์ เตรียมตัวสอบ A-Level ฟิสิกส์ ได้อย่างไร้กังวล พร้อมเฉลยโจทย์ข้อสอบปี 65 Update ใหม่ล่าสุด ทั้ง วิชาสามัญ และ PAT2 มีการรวบรวมการจัดหมวดหมู่ของข้อสอบรวมมากที่สุดถึง 2,000 ข้อ ให้น้องฝึกทำข้อสอบทุกสไตล์ พร้อมเฉลยทุกข้อ อยากตะลุยโจทย์ หรือเตรียมอัดเนื้อหาที่มุ่งความเข้าใจแบบลึกถึงแนวคิดคนออกข้อสอบ สสวท. ก็แวะมาสอบถามได้ที่ Panya Society เลยครับ ที่นี่เรามีระบบผู้ช่วยถาม-ตอบทุกข้อสงสัยตลอด 24 ชั่วโมง
      นอกจากนี้ PANYA SOCIETY ยังได้รับเลือกจากกองบรรณาธิการ mybest ให้เป็น 1 ใน 10 สถาบัน “เรียนฟิสิกส์” ที่ไหนดี? ปี 2022 สามารถคลิกเพื่ออ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่

:: ผู้เขียน ::
สุปิติ บูรณวัฒนาโชค (พี่แชร์)

● เหรียญทองฟิสิกส์โอลิมปิก และนักเรียนทุนป.โท วิศวะ ไฟฟ้า และคอม
● ผู้ก่อตั้งสถาบันกวดวิชาออนไลน์ Panya Society
● ผู้คิดค้นรูปแบบการเรียน Panya EnterBrain “เน้นเข้าใจ เพื่อใช้ได้จริง”

ข้อสอบเปลี่ยนแปลงไปยังไง?

แล้วจะรับมือยังไง?

ทำไมต้องเรียนกับ Panya?

เรียนสนุก ทำโจทย์คล่อง สอบให้ติด

: คอร์สแนะนำ :

SHARE: