เคมี - การจัดเรียงอิเล็กตรอน

จำนวนอิเล็กตรอนที่มีได้มากที่สุดในแต่ละระดับพลังงาน  = 2n2 
เมื่อ n แทนลำดับพลังงาน (มีค่า = 1, 2, 3, …..ตามลำดับ)

ระดับพลังงาน  n = 1   มีจำนวนอิเล็กตรอนได้มากที่สุด = 2 ตัว

ระดับพลังงาน  n = 2   มีจำนวนอิเล็กตรอนได้มากที่สุด = 8 ตัว

ระดับพลังงาน  n = 3   มีจำนวนอิเล็กตรอนได้มากที่สุด = 18 ตัว

ระดับพลังงาน  n = 4   มีจำนวนอิเล็กตรอนได้มากที่สุด = 32 ตัว

     แต่สูตรการหาจำนวนอิเล็กตรอนดังกล่าวใช้ใด้กับระดับพลังงาน n = 1 ถึง  4 เท่านั้น เพราะในระดับพลังงานต่อ ๆ ไปจะมีอิเล็กตรอนไม่เกิน 32 นอกจากนั้นการศึกษาค่าพลังงานไอออไนเซชัน โดยเรียก อิเล็กตรอนวงนอกสุดว่า เวเลนซ์อิเล็กตรอน

การจัดเรียงอิเล็กตรอน แบบใช้หลัก  2  8  18  32  (สำหรับธาตุหมู่ 1A ถึงหมู่ 8A)

  1. ให้จัดอิเล็กตรอนทั้งหมด โดยเรียงจำนวนตามขั้นบันไดขึ้นด้านบน
  2. เมื่อไม่สามารถจัดอิเล็กตรอนขั้นถัดไป ให้จัดอิเล็กตรอนในบันไดขั้นเดิมได้ 1 ครั้งหรือขั้นที่ลดลงมา   โดยอิเล็กตรอนหลักสุดท้ายจะต้องมีจำนวนอิเล็กตรอนไม่เกิน 8 ตัว เสมอ
  • เลขหมู่ จะตรงกับเลขหลักสุดท้ายของการจัดเรียงอิเล็กตรอน ดังนั้น ธาตุที่อยู่หมู่เดียวกันจะมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากัน
  • จำนวนหลักของระดับพลังงาน จะตรงกับเลขของคาบ ดังนั้น ธาตุในคาบเดียวกันจะมีจำนวนระดับพลังงานเท่ากัน

การจัดเรียงอิเล็กตรอนในระดับพลังงานย่อยต้องอาศัยหลักการต่าง ๆ ดังนี้

1. หลักกีดกันของเพาลี ในการบรรจุอิเล็กตรอนในออร์บิทัลซึ่งจะเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ … ส่วนอิเล็กตรอนจะใช้ลูกศร เช่น ↑ สำหรับสปินขึ้น และ ↓ สำหรับสปินลง ถ้าออร์บิทัลมีอิเล็กตรอนอยู่เต็มจะเขียนแทนด้วยรูปภาพ ↥⤓ เรียกอิเล็กตรอนทั้งสองว่า อิเล็กตรอนคู่ ถ้ามีอิเล็กตรอนเพียงครึ่งหนึ่ง นิยมเขียนเป็นสปินขึ้น ↥ และเรียกว่า อิเล็กตรอนเดี่ยว

2. กฎของฮุนด์กล่าวว่าลักษณะที่ทำให้มีอิเล็กตรอนเดี่ยวมากที่สุดเท่าที่จะมากได้” ถ้าทุกๆ ออร์บิทัลในระดับพลังงานเดียวกันนั้น มีอิเล็กตรอนอยู่เต็ม (2 อิเล็กตรอนต่อ 1 ออร์บิทัล) เรียกว่าเป็น การบรรจุเต็ม (full-filled configuration) แต่ถ้ามีอิเล็กตรอนอยู่เพียงครึ่งเดียว (1 อิเล็กตรอนต่อ 1 ออร์บิทัล) เหมือนกันหมด เราเรียกว่าเป็น การบรรจุครึ่ง (half-filled configuration)

3. หลักอาฟบาว กล่าวว่า การบรรจุอิเล็กตรอนลงในแต่ละออร์บิทัลจะต้องบรรจุลงในออร์บิทัลที่มีพลังงานต่ำสุดก่อน แล้วจึงบรรจุอิเล็กตรอนลงในออร์บิทัลถัดไปที่มีพลังงานสูงขึ้นตามระดับพลังงานต่ำไปสูง ซึ่งไปตามแผนผังดังนี้

มีบทต่อไป ->

ดร.ณัฏฐพล อิสรเสรีรักษ์

ปริญญาตรี โท เอก คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ
บัณฑิตศึกษาปริญญาโทที่มีผลการเรียนดีเด่น (รางวัล ดร.แถบ นีละนิธิ)
อาจารย์พิเศษ วิชาเคมี ห้องเรียนพิเศษ gifted โรงเรียนมัธยม
วิทยากรรับเชิญ เตรียมสอบ O-NET วิชาวิทยาศาสตร์ ม.ต้น ม.ปลาย
วิทยากรรับเชิญเตรียมสอบ PAT2 และ วิชาสามัญ (เคมี)

SHARE: