คลังข้อสอบสังคม
○ เรื่องใดที่ศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีความเชื่อร่วมกัน
1. อาตมัน
2. พรหมลิขิต
3. สังสารวัฏ
4. การนับถือเทพเจ้า
5. กรรมลิขิต
เฉลย: 3. สังสารวัฏ แปลว่า การเวียนว่ายตายเกิด เชื่อว่าชาตินี้ไม่ได้มีเพียงชาติเดียว ตายเเล้วเกิดใหม่ตามบุญกรรมที่ทำไว้ หากทำกรรมไม่ดีก็จะได้ไปเกิดต่ำกว่าเดิม เช่น เกิดเป็นสัตว์นรก สัตว์เดรัจฉานต่างๆ เป็นต้น เเต่ถ้าทำบุญทำกรรมดี ก็จะได้เกิดเป็นเทพเทวดา เป็นต้น เพียงในพุทธศาสนาสูงสุดคือ บรรลุพระนิพพาน ส่วนพราหมณ์-ฮินดู สูงสุด คือ บรรลุธรรมเเล้วไปรวมกับพระพรหม ดังนั้น ศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีความเชื่อเรื่องเวียนว่ายตายเกิด (สังสารวัฏ) เหมือนกัน
○ ความเชื่อของชาวมุสลิมข้อใด ที่ใกล้เคียงกับเรื่องกรรมในศาสนาพุทธ
1. ศรัทธาในศาสนฑูตและเทวทูต
2. ศรัทธาในกฎสภาวะของพระเจ้า
3. ศรัทธาในวันพิพากษา
4. ศรัทธาในการละหมาด
5. ศรัทธาในเทพเจ้า
เฉลย: 3. ศรัทธาในวันพิพากษา วันพิพากษา คือ วันสิ้นโลก สิ้นจักรวาล จิตวิญญาณทั้งหมด มนุษย์ทั้งหมด จะถูกพิพากษาตามสิ่งที่ทำไว้ ทั้งด้านดีและด้านชั่ว
○ คัมภีร์อุปนิษัทมีสาระสำคัญเรื่องใด
1. คู่มือการทำพิธีบูชายัญ
2. ปรัชญาว่าด้วยวิญญาณสากล
3. บทเพลงสวดสรรเสริญเทพเจ้า
4. คู่มือการประกอบพิธีกรรมและบูชาของพราหมณ์
เฉลย: 2. ปรัชญาว่าด้วยวิญญาณสากล เป็นวิญญาณที่มีความยิ่งใหญ่ที่สุดในจักรวาล วิญญาณสากลมีนัยยะ หมายถึง พรหมัน
○ สิ่งใดที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนให้ชาวพุทธพัฒนามากที่สุด
1. ศรัทธา เหตุผล
2. เหตุผล ปัญญา
3. ศรัทธา ความเชื่อ
4. ความเชื่อ ปัญญา
เฉลย: 2. เหตุผล ปัญญา ในศาสนาพุทธมีนัยยะที่กล่าวว่าเป็นศาสนาของปัญญา เน้นการขบคิด เน้นการปล่อยวาง เน้นการกระทำที่เป็นไปตามกรรมเสริมปัจจัยที่ดี แต่ก็ปลอยวางเพราะสุดท้ายทุกสิ่งทุกอย่างเป็นอนัตตา มีความไม่เที่ยงเเท้เเน่นอน เป็นศาสนาเเห่งปัญญา และมีเหตุเเละผล
○ ข้อใดไม่ใช่ความเชื่อในคริสต์ศาสนาเกี่ยวกับพระเยซู
1. เป็นสภาวะหนึ่งของพระเจ้า
2. เป็นศาสดาผู้ก่อตั้งศาสนาคริสต์
3. เป็นผู้สละชีวิตเพื่อไถ่บาปให้มนุษยชาติ
4. เป็นผู้รับมอบบัญญัติ 10 ประการจากพระเจ้า
เฉลย: 4. เป็นผู้รับมอบบัญญัติ 10 ประการจากพระเจ้า ผู้ที่รับบัญญัติ 10 ประการ คือ ท่านโมเสส ไม่ใช่พระเยซู
○ ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
1. ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจตัดสินให้นักการเมืองเป็นบุคคลล้มละลาย
2. ผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการที่ก่อให้เกิดความเสียหายไม่ว่าการกระทำของข้าราชการนั้นจะไม่ชอบหรือชอบด้วยอำนาจหน้าที่ก็ตาม
3. องค์กรอัยการมีความอิสระในการดำเนินการ ไม่อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี
4. คณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่แทนกระทรวงมหาดไทยซึ่งเดิมมีอำนาจหน้าที่ในการจัดการเลือกตั้ง
5. คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอานาจหน้าที่ตรวจสอบการดำเนินการของพรรคการเมือง
เฉลย: 1. ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจตัดสินให้นักการเมืองเป็นบุคคลล้มละลาย คือ ศาลที่ตัดสินคดีที่สงสัยว่ามีความผิดต่อรัฐธรรมนูญ ดังนั้น ศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ได้มีอำนาจตัดสินให้นักการเมืองเป็นบุคคลล้มละลาย อำนาจการตัดสินให้เป็นบุคคลล้มละลายจะอยู่ที่ศาลแพ่ง สังกัดยุติธรรม
○ การที่นายดำหลีกเลี่ยงการเสียภาษีแสดงว่านายดำขาดความตระหนักถึงสิ่งใด
1. สิทธิของพลเมือง
2. หน้าที่ของพลเมือง
3. เสรีภาพของพลเมือง
4. ความเสมอภาคของพลเมือง
เฉลย: 2. หน้าที่ของพลเมือง หน้าที่ คือ สิ่งที่ต้องทำ หากเป็นพลเมืองหรือมีตำแหน่งนั้น ๆ
○ กิจกรรมใดมีส่วนสำคัญในการปูพื้นฐานประชาธิปไตยในประเทศไทย
1. การจัดตั้งมณฑล
2. การจัดระบบภาษี
3. การจัดตั้งสุขาภิบาล
4. การจัดระบบเทศาภิบาล
เฉลย: 3. การจัดตั้งสุขาภิบาล เป็นนัยยะของการกระจายอำนาจไปให้กับประชาชนคนในท้องถิ่น ซึ่งเป็นสิ่งที่ปูพื้นฐานประชาธิปประไตย
○ ตามหลักกฎหมายอาญา ความผิดทางอาญาจะไม่เกิดขึ้นหากปราศจากสิ่งใด
1. โทษ
2. สิทธิ
3. เจตนา
4. กฎหมาย
เฉลย: 4. กฎหมาย เพราะหลักกฎหมายอาญา ถ้าไม่มีกฎหมายระบุไว้ว่าผิดก็ไม่ผิดและไม่ต้องรับโทษ
○ พระมหากษัตริย์ไทยทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติโดยผ่านทางสถาบันทางการเมืองใด
1. ศาล
2. รัฐสภา
3. คณะรัฐมนตรี
4. คณะองคมนตรี
เฉลย: 2. รัฐสภา รัฐสภา คือ หน่วยงานที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติ โดยรัฐสภาไทย แยกออกเป็น 2 สภา สภาสูง คือ วุฒิสภา(ส.ว.) สภาล่าง คือ สภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)
○ ข้อใดคือสาเหตุที่ทำให้นโยบายประกันราคาสินค้าเกษตรไม่ได้ผลในระยะยาว
1. สินค้าเกษตรเป็นสินค้าที่มีลักษณะของตลาดผูกขาด
2. ปริมาณการผลิตสินค้าเกษตรมีความผันแปรตามราคาตลาดมาก
3. การแทรกแซงราคาในตลาดสินค้าเกษตรมักก่อให้เกิดภาระทางการคลังแก่รัฐบาลเป็นจำนวนมาก
4. ผลผลิตทางการเกษตรมักต้องอาศัยปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ เช่น สภาพภูมิอากาศเป็นต้น
5. กลไกราคาในตลาดสินค้าเกษตรจะทำหน้าที่ได้ดีในระยะยาวมากกว่าในระยะสั้น
เฉลย: 3. การแทรกแซงราคาในตลาดสินค้าเกษตรมักก่อให้เกิดภาระทางการคลังแก่รัฐบาลเป็นจำนวนมาก
การเเทรกเเซงราคาเป็นสาเหตุที่สำคัญที่ทำให้เกิดภาระทางการคลังมาก รัฐบาลแบกไม่ไหวก็ต้องกระจายให้เอกชนแบก
○ ข้อใดคือตัวชี้วัดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
1. รายได้เฉลี่ยต่อบุคคล
2. ลักษณะการกระจายรายได้
3. ภาวะเงินเฟ้อและภาวะเงินฝืด
4. มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ
5. มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ
เฉลย: 3. ภาวะเงินเฟ้อและภาวะเงินฝืด
เงินเฟ้อ คือ การขยายตัวมากขึ้นเรื่อย ๆ ข้อเสีย คือ ยื่งเงินเฟ้อมากจะทำให้สิ่งของขึ้นราคา เเพงมาก
เงินฝืด คือ เกิดการซบเซามาก ข้อเสีย คือ ค่าเงินถูก แต่ไม่มีใครอยากใช้เงิน คนส่วนใหญ่อยากให้เงินเฟ้อมากกว่า โดยสภาพคนทั่วไปอยากได้การขึ้นราคาสินค้าเเละบริการ เงินฝืดจะไม่ดีต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ หากเรารักษาสภาวะเงินเฟ้อเงินฝืด ถ้าเงินไม่ฝืดเลยและเฟ้อไม่มาก จะก่อให้เกิดเศรษฐกิจขยายตัวอย่างมั่นคง เพราะฉะนั้นข้อนี้สามารถชี้วัดเสถียรภาพได้
○ การที่รัฐบาลไทยอนุญาตให้ประชาชนนำค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวภายในประเทศไปหักลดหย่อนในการเสียภาษีรายได้บุคคลธรรมดาได้ไม่เกิน 15,000 บาท คือตัวอย่างของการดำเนินมาตรการของนโยบายใด เพื่อวัตถุประสงค์ใด
1. นโยบายการเงิน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำของรายได้
2. นโยบายการคลัง เพื่อลดความเหลื่อมล้ำของรายได้
3. นโยบายการคลัง เพื่อกระตุ้นค่าใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจ
4. นโยบายการเงิน เพื่่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศ
5. นโยบายการเงิน เพื่อลดการขาดดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ
เฉลย: 3. นโยบายการคลัง เพื่อกระตุ้นค่าใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจ รัฐบาลจะทำหน้าที่ดูแลการคลังของประเทศ (เศรษฐกิจภาครัฐโดยมีรัฐเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย) เมื่อมีรัฐเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยจะนับว่าเป็นการคลัง จากโจทย์วิเคราะห์ได้ว่ารัฐบาลอนุญาตให้มีการลดหย่อนภาษี เพื่อวัตถุประสงค์กระตุ้นให้ใช้เงินหมุนเวียนทางเศรษฐกิจ
○ ทรัพย์สินในข้อใดมีสภาพคล่องสูงสุด
1. ทองคำแท่งหนัก 5 บาท
2. พันธบัตรรัฐบาลไทยเข้มแข็ง
3. หุ้นสามัญในตลาดหลักทรัพย์
4. เงินฝากประจำธนาคาร 9 เดือน
เฉลย: 1. ทองคำแท่งหนัก 5 บาท ทรัพย์สินที่มีสภาพคล่องสูงจะมี 3 นัยยะ ใช้ง่าย, พกง่าย, ใช้ได้ทุกที่ ดังนั้น ด้วยเงื่อนไขต่างๆ ทำให้ทองคำแท่งหนัก 5 บาท มีสภาพคล่องสูงสุดมากกว่าข้ออื่นๆ
○ การที่รัฐบาลกู้เงินจากต่างประเทศมาลงทุนแทนการกู้เงินจากประชาชน ก่อให้เกิดผลอย่างไร
1. หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นน้อยกว่า
2. อัตราดอกเบี้ยในประเทศสูงขึ้น
3. สภาพคล่องภายในประเทศเพิ่มขึ้น
4. งบประมาณแผ่นดินขาดดุลน้อยลง
เฉลย: 3. สภาพคล่องภายในประเทศเพิ่มขึ้น การกู้เงินของรัฐบาลจะเป็นการกู้สาธารณะ มีการกู้ 2 แบบ คือ
-ภายใน กู้จากประชาชน, กู้จากธนาคารใประเทศ, กู้จากธุรกิจเอกชน
-ภายนอก กู้จากประเทศอื่น, กู้จากธนาคารต่างชาติ การกู้เงินจากต่างประเทศ เหมือนการนำมีเงินเข้ามาในระบบของประเทศมากขึ้น เมื่อมีเงินใช้มากขึ้น จึงทำให้สภาพคล่องภายในประเทศเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน
○ เมื่อเปลือกโลกเคลื่อนที่ด้วยหินหนืดแทรกซ้อนภายใน บริเวณเปลือกโลกที่ถูกบีบดันด้วยหินหนืด ไม่ทำให้เกิดลักษณะภูมิประเทศตามข้อใด
1. ทิวเขาแบบรอยเลื่อนซ้อนทับ
2. เทือกเขาสูงแบบรอยเลื่อนเหลื่อมข้าง
3. เทือกเขาสูงแบบคดโค้งโก่งงอ
4. ภูเขาไฟสูงใหญ่แบบลักษณะสมมาตร
5. ที่ราบสูงระหว่างภูเขา
เฉลย: 4. ภูเขาไฟสูงใหญ่แบบลักษณะสมมาตร แปลว่าเปลือกโลกจะต้องถูกดันตัวจนทะลุจึงจะเป็นภูเขาไฟได้ ข้อนี้ผิดความจริงอย่างหนึ่งของการหินหนืดแทรก เพราะลักษณะของภูเขาไฟ คือการที่หินหนืดทะลุออกมาไม่ใช่หินหนืดแทรกซ้อนภายในจนเป็นที่ราบสูง
○ ข้อใดไม่ใช่ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการใช้พื้นที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมที่ไม่เหมาะสม
1. ปริมาณและผลผลิตการเกษตรกรรมลดลง
2. ต้นทุนการจัดการเพิ่มสูงมากขึ้น
3. เกิดการสูญเสียสมรรถนะของที่ดิน
4. ความไม่คุ้มค่าของการใช้พื้นที่
5. ราคาผลผลิตการเกษตรตกต่ำ
เฉลย: 5. ราคาผลผลิตการเกษตรตกต่ำ การใช้ที่ดินไม่เหมาะสมจะทำให้เกิดผลผลิตลดลง ต้นทุนการผลิตสูงมากขึ้น สูญเสียสมรรถนะของที่ดิน การใช้ที่ดินไม่คุ้มค่า ดังนั้น หากใช้ที่ดินไม่เหมาะสม ราคาของผลผลิตจะไม่ตกต่ำ เพราะยิ่งการใช้ที่ดินซ้ำซากผลผลิตจะลดลง ปริมาณสินค้าลดลง ราคาจึงยิ่งเพิ่มมากขึ้น
○ ดอนหอยหลอด สมุทรสงคราม เกี่ยวข้องกับอนุสัญญาฉบับใด
1. CITES
2. Kyoto Protocol
3. UNFCCC
4. Ramsar
เฉลย: 4. Ramsar เป็นอนุสัญญาปกป้องพื้นที่ชุ่มน้ำทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นป่าชายเลน ชายฝั่ง กว๊านพะเยาพื้นที่ที่เป็นต้นน้ำสำคัญ ซึ่งอนุสัญญา Ramsar เป็นอนุสัญญาปกป้องพื้นที่ชุ่มน้ำทั่วโลก
มีเทคนิคการจำเป็นเพลง ดังนี้
บาเซิล ของเสีย เกียวโต/ปารีส โลกร้อน
ไซเตส สัตว์พืช ไซเตส สัตว์
ที่ชุ่มน้ำคือเเรมซาร์ ที่ชุ่มน้ำคือเเรมซาร์
มอนทรีออล เวียนนา โอโซน
**ทำนองเพลงเมาคลีล่าสัตว์ **
○ เหตุใดเขตที่ราบลุ่มในออสเตรเลียส่วนใหญ่จึงนำมาใช้ในการเลี้ยงปศุสัตว์
1. เพราะแห้งแล้งเกินกว่าจะใช้เพาะปลูกได้
2. เพราะเกษตรกรมีความเชี่ยวชาญ
3. เพราะรัฐบาลให้เงินสนับสนุน
4. เพราะดินมีสารอาหารน้อย
เฉลย: 1. เพราะแห้งแล้งเกินกว่าจะใช้เพาะปลูกได้ สาเหตุที่เขตราบลุ่ม (แม่น้ำ) ในออสเตรเลีย นำมาใช้เลี้ยงสัตว์เพราะพื้นที่ในออสเตรเลีย 2 ใน 3 ของพื้นที่ เป็นพื้นที่แห้งเเร้งมาก จึงไม่สามารถนำมาพื้นที่มาใช้เพาะปลูกได้
○ วิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติที่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีพของมนุษย์มากที่สุด คือข้อใด
1. การขาดแคลนน้ำจืด
2. การสูญเสียป่าไม้และสัตว์ป่า
3. การลดลงของปริมาณแร่ธาตุ
4. การชะล้างและการพังทลายของดิน
เฉลย: 1. การขาดแคลนน้ำจืด การขาดแคลนน้ำจืดส่งผลกระทบทั้งทางตรงเเละทางอ้อมกับมนุษย์มากที่สุด อาจทำให้ถึงตายได้ เราไม่สามารถนำน้ำเค็มมาบริโภคแทนน้ำจืดได้
○ ข้อใดไม่ใช่หลักฐานที่ใช้ในการศึกษายุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์
1. โครงกระดูกมนุษย์สไตน์ไฮม์
2. ภาพเขียนสีในถ้ำอัลตามีรา
3. บันทึกประวัติของอักบาร์
4. เมืองโบราณโมเฮนโจดาโร
5. เครื่องปั้นดินเผาวัฒนธรรมหยางเชา
เฉลย: 3. บันทึกประวัติของอักบาร์ เพราะในยุคก่อนประวัติศาสตร์ยังไม่มีตัวอักษร การบันทึกประวัติต้องมีตัวอักษรแน่นอน
○ ความน่าเชื่อถือของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ประเมินได้จากข้อใด
1. อายุของหลักฐาน
2. ปริมาณของหลักฐานที่พบ
3. ความสมบูรณ์ของหลักฐาน
4. ข้อสนเทศที่ปรากฏในหลักฐาน
เฉลย: 4. ข้อสนเทศที่ปรากฏในหลักฐาน สิ่งที่นำเสนอออกมาว่าตรงกับหลักฐานส่วนอื่นและสามารถตรวจสอบได้
○ ข้อใดเป็นเหตุการณ์สำคัญที่ทำให้เกิดการปฏิวัติวิทยาศาสตร์
1. การประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์
2. การค้นพบกฎแห่งความโน้มถ่วง
3. การค้นพบว่าเส้นทางโคจรของดาวเคราะห์เป็นรูปวงรี
4. การค้นพบว่าดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะ
เฉลย: 4. การค้นพบว่าดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะ นิโคลัส โคเปอร์นิคัส นักวิทยาศาสตร์ผู้คิดค้นเเละจุดประกายการปฏิวัติวิทยาศาสตร์
○ นวัตกรรมใดที่ทำให้เกิดการปฏิวัติภูมิปัญญาของชาติตะวันตก
1. ปฏิทิน
2. กระดาษ
3. แท่นพิมพ์
4. นาฬิกากลไก
เฉลย: 3. แท่นพิมพ์ หลังจากพิมพ์หนังสือฉบับเเรกจากเเท่นพิมพ์ดีบุกออกมา ทำให้คนในยุคสมัยนั้นเข้าถึงความรู้ได้ง่ายขึ้น ไม่ใช่เเค่เข้าถึงความรู้เท่านั้น ยังสามารถที่จะเผยแพร่ความรู้ได้อีกด้วย
○ กิจกรรมใดนำไปสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมระยะที่สอง
1. การผลิตเหล็กกล้า
2. การใช้เครื่องจักรไอน้ำ
3. การประดิษฐ์เครื่องปั่นด้าย
4. การวางสายโทรศัพท์ข้ามทวีป
เฉลย: 1. การผลิตเหล็กกล้า การปฏิวัติอุตสาหกรรมระยะที่สอง เข้าสู่ยุคที่เครื่องจักรใช้น้ำมันปิโตรเลี่ยม เหล็กกล้าจะนำมาซึ่งการสร้างเครื่องยนต์ที่ทนต่อการใช้เเรงระเบิด ระบบการจุดระเบิดต่าง ๆ ของน้ำมันปิโตรเลี่ยมได้
TAG:
TCAS, เรียนออนไลน์, เรียนTCAS, เรียนพิเศษTCAS, ติวสอบแพทย์, ติวเข้าแพทย์, ติวสอบหมอ, ติวเข้าหมอ, ติวโอเน็ต, ติวสอบonet, ติว9วิชาสามัญ, เรียนสังคม, เรียนพิเศษสังคม, เรียนสังคมออนไลน์, เรียนออนไลน์สังคม, สังคม, สังคมออนไลน์, คลังข้อสอบ, คลังข้อสอบสังคม, สังคมTCAS, สังคมสามัญ, สังคม9วิชาสามัญ, สังคมo-net, ข้อสอบสังคม,
สรุปสังคม, สรุปสูตรสังคม, เฉลยข้อสอบสังคม, ข้อสอบสังคมo-net, เฉลยข้อสอบสังคมo-net,
9วิชาสามัญสังคม, สรุปสังคมศึกษา