ภาษาไทย -

การเปรียบเทียบสำนวน ภาษิต และคำพังเพย

โจทย์ที่พบบ่อย

  • ข้อใดใช้สำนวนไม่ถูกต้อง
  • จากข้อความต่อไปนี้ตรงกับสํานวนข้อใด
  • สำนวนในข้อใดต่างจากพวก
  • สำนวนใดเหมาะสมที่จะเติมในช่องว่างของข้อความต่อไปนี้

สำนวน คือ ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว มีความหมายไม่ตรงตามตัวหรือมีความหมายอื่นแฝงอยู่ จำนวนคำในสำนวนมีตั้งแต่ 2-12 คำ

ตัวอย่างสำนวนไทย เช่น

สำนวนไทย 2 คำ – “แก้เผ็ด” ในภาษาไทยแปลว่า การกระทำตอบแก่ผู้ที่เคยทำความเจ็บปวดให้แก่ตนเองไว้

สำนวนไทย 3 คำ – “ไก่รองบ่อน” ในภาษาไทยแปลว่า ผู้ที่อยู่ในฐานะตัวสำรองจะเรียกมาใช้เมื่อไรก็ได้

สำนวนไทย 4 คำ – “เต่าใหญ่ไข่กลบ” ในภาษาไทยแปลว่า ทำอะไรเป็นพิรุธแล้วพยายามกลบเกลื่อนไม่ให้ใครรู้

สำนวนไทย 5 คำ – “ขว้างงูไม่พ้นคอ” ในภาษาไทยแปลว่า ทำอะไรแล้วผลร้ายกลับมาสู่ตนเอง

สำนวนไทย 6 คำ – “ตื่นแต่ดึกสึกแต่หนุ่ม” ในภาษาไทยแปลว่า เร่งรัดทำการงานให้เหมาะสมแก่วัยและเวลา

สำนวนไทย 7 คำ – “นกน้อยทำรังแต่พอตัว” ในภาษาไทยแปลว่า เป็นผู้น้อยต้องทำอะไรให้เหมาะสมกับฐานะของตน ใช้กับการประมาณตนหรือการใช้เงิน

สำนวนไทย 8 คำ – “มะกอกสามตะกร้าปาไม่ถูก” ในภาษาไทยแปลว่า พูดจาตลบตะแลงพลิกแพลงไปมาจนจับคำพูดไม่ทัน

สำนวนไทย 10 คำ – “เข้าป่าอย่าเสียเหมืองเข้าเมืองอย่าเสียขุน” ในภาษาไทยแปลว่า อย่าเสียโอกาส ปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และโอกาส

สำนวนไทย 12 คำ – “ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ปลูกอู่ตามใจผู้นอน” ในภาษาไทยแปลว่า ทำตามความพอใจของผู้ที่จะได้รับผลโดยตรง

ภาษิต คือ ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านาน มีความหมาย ภาษิตมักจะเป็นคติสอนใจเชิงสร้างสอน

ตัวอย่างภาษิตในภาษาไทย เช่น

“กงเกวียนกำเกวียน ในภาษาไทยแปลว่า กรรมสนองกรรม

“ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว” ในภาษาไทยแปลว่า ผู้ที่ทำดีย่อมได้ดี ผู้ที่ทำชั่วย่อมได้ไม่ดี

“ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน” ในภาษาไทยแปลว่า ทำการใดๆควรพยายามด้วยตนเอง

“อย่าข่มเขาโคขึ้นให้กินหญ้าในภาษาไทยแปลว่า บังคับหรือข่มให้ผู้อื่นทำตาม

“น้ำขึ้นให้รีบตัก” ในภาษาไทยแปลว่า เมื่อมีโอกาสให้รีบฉวยโอกาสไว้

“ตัดไฟแต่ต้นลม” ในภาษาไทยแปลว่า ตัดต้นเหตุเพื่อไม่ให้ปัญหาลุกลาม

คำพังเพย คือ ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านาน คำพังเพยมักจะเป็นกลางๆ เพื่อให้ตีความในเชิงติชมหรือแสดงความคิดเห็น

ตัวอย่างคำพังเพยในภาษาไทย เช่น

“กระต่ายตื่นตูมในภาษาไทยแปลว่า ตื่นตกใจไปก่อนทั้งๆที่ยังไม่ได้สำรวจ

น้ำถึงไหนปลาถึงนั่น” ในภาษาไทยแปลว่า มีสิ่งใดดึงดูดใจก็จะมีคนตามไป

ทำนาบนหลังคน” ในภาษาไทยแปลว่า การเอารัดเอาเปรียบเบียดบังกำไรจากผู้อื่น

ถี่รถตาช้าง ห่างลอดตาเล็น” ในภาษาไทยแปลว่า ดูเหมือนจะรอบคอบแต่ไม่ละเอียดถี่ถ้วน

“ขายผ้าเอาหน้ารอด” ในภาษาไทยแปลว่า ยอมเสียสละของมีค่าเพื่อรักษาชื่อเสียงหน้าตาของตน

กระดูกร้องไห้ในภาษาไทยแปลว่า การจับฆาตกรมาลงโทษหลังบังเอิญพบหลักฐาน