สังคม - เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

เสถียรภาพ คือ ความมั่นคง

ตัวอย่าง

โจทย์ ข้อใดคือตัวชี้วัดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

1. รายได้เฉลี่ยต่อบุคคล

2. ลักษณะการกระจายรายได้

3. ภาวะเงินเฟ้อและภาวะเงินฝืด

4. มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ

5. มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ

ตอบ 3. ภาวะเงินเฟ้อและภาวะเงินฝืด

1. รายได้เฉลี่ยต่อบุคคล

รายได้ ยกตัวอย่างเช่น ประเทศไทยมีรายได้เฉลี่ยต่อตัวบุคคล ตกวันละ 5,000 บาท

ถ้ามีคน 1% มีรายได้ 5,000 ล้านบาท
80% มีรายได้ 50 – 100 – 200 บาท

เฉลี่ยเเล้วอาจจะมีรายได้เป็น 5,000 เเต่เศรษฐกิจแบบนี้จะเกิดความไม่มั่นคง 1% คือคนรวยจะรวยมหาศาล อีก 80% อยู่ภายใต้เส้นความยากจน ดังนั้นเศรษฐกิจจะเกิดความไม่มั่นคง สุดท้ายจะเกิดปัญหาทางชนชั้น การจัดแบ่ง และการทะเลาะเบาะเเวกทางชนชั้นมากมาย เกิดความไม่มีเสถียรภาพ เพราะฉะนั้นข้อ 1 ผิด

2. ลักษณะการกระจายรายได้

สมมุติประเทศไทย เกิดการกระจายรายได้ ได้ดีกับทุกคน เท่ากันหมดจะไม่ทำให้เกิดเสถียรภาพ เพราะทุกคนในสังคมจะได้เท่ากันหมด ไม่มีใครอยากซื้อขาย จะก่อให้เกิดสภาวะเนือย ฝืด ไม่ขยายตัว พราะฉะนั้นข้อ 2 ผิด

3. ภาวะเงินเฟ้อและภาวะเงินฝืด

เงินเฟ้อ คือ การขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ ข้อเสียคือ ยื่งเงินเฟ้อมากจะทำให้สิ่งของขึ้นราคา เเพงมาก
เงินฝืด คือ เกิดการซบเซามาก ข้อเสียคือ ค่าเงินถูกแต่ไม่มีใครอยากใช้เงิน
คนส่วนใหญ่ อยากให้เงินเฟ้อมากกว่า โดยสภาพคนทั่วไปอยากได้การขึ้นราคาสินค้าเเละบริการ เงินฝืดจะไม่ดีต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ หากเรารักษาสภาวะเงินเฟ้อเงินฝืด ไม่ฝืดเลยและเฟ้อไม่มาก จะก่อให้เกิดเศรษฐกิจขยายตัวอย่างมั่นคง เพราะฉะนั้นข้อนี้สามารถชี้วัดเสถียรภาพได้

4. มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ

G คือ Gross
N คือ National
P คือ Product
คือ คนเชื้อชาตินั้นไปผลิตมากแค่ไหนทั่วโลก ผลิตเฉลี่ยดีไหม ผลิตเยอะกระจารายได้ดีไหม ผลิตเยอะเเต่ไปผลิตนอกประเทศหมดเลยหรือเปล่า ยกตัวอย่างเช่น ญี่ปุ่น GNP สูง แต่ GDP ในประเทศต่ำมาก เพราะค่าเเรงที่ญี่ปุ่นเเพงมาก จึงทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจซบเซา เพราะฉะนั้นข้อ 4 ผิด

5. มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ

G คือ gross
D คือ domestic
P คือ product
คือ กิจกรรมที่มีการลงทุนในประเทศมาน้อยเเค่ไหน ส่วนใหญ่จะชอบดูตัวนี้เป็นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ การจะวัดแค่ GDP อย่างเดียว อาจจะไม่เห็นเสถียรภาพที่มั่นคง เพราะฉะนั้นข้อ 5 ผิด