GAT/PAT คือ?

GAT/PAT ดำเนินการจัดสอบ โดย สทศ.

     สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(องค์การมหาชน) เรียกโดยย่อว่า “สทศ.” ใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “National  Institute of Educational Testing Service (Public Organization)” เรียกโดยย่อว่า “NIETS” จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2548 ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2548 ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ 

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(องค์การมหาชน) จัดตั้งขึ้นเป็นองค์การมหาชนเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพสามารถใช้ประโยชน์ทรัพยากรและบุคลากรได้สูงสุด มีความเป็นอิสระไม่ขึ้นอยู่กับสายการบริหารของหน่วยงานที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบการจัดการศึกษาจึงมีความเป็นกลาง เป็นสถาบันที่มีการกำหนดหลักการ นโยบาย มาตรการและเป้าหมาย โครงสร้างการบริหาร และการดำเนินกิจการ ความสัมพันธ์กับรัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บุคลากร การเงิน การตรวจสอบ และการประเมินผลที่เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์การจัดตั้งสถาบันเพื่อบริหารจัดการและดำเนินการเกี่ยวกับการศึกษา วิจัย และให้บริการทางด้านการประเมินผลทางการศึกษาและทดสอบทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเป็นศูนย์กลางความร่วมมือด้านการทดสอบทางการศึกษาในระดับชาติและนานาชาติ
 

GAT คือ การทดสอบวิชาความถนัดทั่วไป (General Aptitude Test)

        การวัดศักยภาพในการเรียนในมหาวิทยาลัยให้ประสบความสำเร็จ มี 2 ส่วน คือ 
ส่วนที่ 1 ความสามารถในการอ่าน/การเขียน/การคิดเชิงวิเคราะห์/และการแก้โจทย์ปัญหา
ส่วนที่ 2 คือ ความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ ประกอบด้วย 
  – Speaking and Conversation 
  – Vocabulary 
  – Structure and Writing
  –
Reading Comprehension

GAT เป็นการสอบที่ดูว่านักเรียนคนหนึ่งมีความพร้อมในการจะเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยมากน้อยแค่ไหน

PAT เป็นการทดสอบวิชาความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพ (Professional and Academic Aptitude Test)

      การวัดความรู้ที่เป็นพื้นฐาน กับศักยภาพที่จะเรียนในวิชาชีพนั้น ๆ ให้ประสบความสำเร็จมี 7 วิชา คือ
PAT 1 คือ ความถนัดทางคณิตศาสตร์
PAT 2 คือ ความถนัดทางวิทยาศาสตร์
PAT 3 คือ ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์
PAT 4 คือ ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์
PAT 5 คือ ความถนัดทางวิชาชีพครู
PAT 6 คือ ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์
PAT 7 คือ ความถนัดทางภาษาต่างประเทศ ประกอบด้วย
PAT 7.1 ความถนัดทางภาษาฝรั่งเศส
PAT 7.2 ความถนัดทางภาษาเยอรมัน
PAT 7.3 ความถนัดทางภาษาญี่ปุ่น
PAT 7.4 ความถนัดทางภาษาจีน
PAT 7.5 ความถนัดทางภาษาอาหรับ
PAT 7.6 ความถนัดทางภาษาบาลี
PAT 7.7 ความถนัดทางภาษาเกาหลี

PAT เป็นการสอบที่จะดูว่านักเรียนคนหนึ่งมีแววจะเข้าสู่เส้นทางอาชีพในคณะที่เลือกไหม

Q&A เกี่ยวกับ GAT/PAT

1. ใครสอบ GAT/PAT ได้บ้าง

คุณสมบัติของผู้ที่จะเข้ารับการทดสอบ GAT/PAT จะต้องเป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า หรือผู้ที่จบการศึกษาตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ขึ้นไปเท่านั้น

2. นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ชั้น ม.5 สมัครสอบ GAT/PAT ได้หรือไม่

ไม่ได้ เพราะการสอบ GAT/PAT ได้กำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะสมัครสอบ ณ วันสอบว่าต้องเป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้น ม.6 หรือเทียบเท่า หรือเป็นผู้ที่จบการศึกษาระดับชั้น ม.6 ขึ้นไปเท่านั้น

**น้อง ๆ ที่กำลังเรียนในระดับชั้นอื่นๆ ที่ไม่ใช่ ม.6 สทศ. ไม่อนุญาตให้เข้าสอบ และหากน้อง ๆ กรอกข้อมูลในระบบรับสมัครว่าเป็นนักเรียนชั้น ม.6 หรือสูงกว่า ถือว่าเป็นการให้ข้อมูลที่ไม่ตรงตามความเป็นจริง เป็นความผิดด้วยนะ**

3. GAT/PAT สอบเมื่อไหร่

GAT/PAT เริ่มสอบมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 โดยจัดสอบจำนวน 3 ครั้ง คือเดือนมีนาคม เดือนกรกฎาคม และเดือนตุลาคม จนมาปีการศึกษา 2555 สทศ. ได้จัดสอบ GAT/PAT จำนวน 2 ครั้งต่อปี โดยส่วนใหญ่จะกำหนดการสอบ ครั้งที่ 1 ช่วงปลายปีและครั้งที่ 2 ช่วงเดือนมีนาคมของปีถัดไป แต่มีบางปีที่เกิดเหตุการณ์ภัยธรรมชาติและสถานการณ์การเมืองทำให้ต้องเลื่อนการสอบไป สำหรับในปีการศึกษา 2559 สทศ. จัดสอบตามมติ ที่ประชุม ทปอ. โดยครั้งที่ 1 ในช่วงปลายเดือนตุลาคม 2558 และครั้งที่ 2 เดือนมีนาคม 2559

4. สทศ. จัดสอบ GAT/PAT ได้อย่างไร

ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ได้มีมติให้เปลี่ยนแปลงองค์ประกอบในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา (Admissions) ในปีการศึกษา 2553 จากเดิมที่กำหนดให้ใช้คะแนนการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นสูง (A-NET) ซึ่งจัดสอบโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเป็นการใช้ผลการสอบวิชาความถนัดทั่วไป (GAT) และความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพ (PAT) และขอความร่วมมือให้ สทศ. เป็นผู้ดำเนินการจัดการทดสอบ สทศ. จึงได้รับเป็นหน่วยงานกลางในการดำเนินการจัดการทดสอบตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2552 เป็นต้น มติและสถานการณ์การเมืองทำให้ต้องเลื่อนการสอบไป สำหรับในปีการศึกษา 2559 สทศ. จัดสอบตามมติที่ประชุม ทปอ. โดยครั้งที่ 1 ในช่วงปลายเดือนตุลาคม 2558 และครั้งที่ 2 เดือนมีนาคม 2559

5. ลืมรหัสผู้ใช้งาน หรือรหัสผ่านเข้าระบบต้องทำอย่างไร

ถ้าผู้สมัครสอบลืมรหัสผู้ใช้งาน หรือรหัสผ่าน ดำเนินการได้ดังนี้

วิธีที่ 1 เข้าระบบและเลือกเมนู ผู้สมัครรายเก่า
เข้าระบบและเลือกเมนู ผู้สมัครรายเก่า ต้องการสอบถามรหัสผู้ใช้งานหรือรหัสผ่าน (วิธีนี้ผู้สมัครสอบต้องจำคำถามและคำตอบเมื่อลืมรหัสผ่านได้)

วิธีที่ 2 โทรศัพท์สอบถามในระบบโทรศัพท์อัตโนมัติของ สทศ.
โทรศัพท์ที่เบอร์ 02-217-3800 เมื่อมีเสียงตอบรับแล้วให้ดำเนินการ ดังนี้
  1. กด 1 เพื่อสอบถามเกี่ยวกับระบบ GAT/PAT
  2. กด 1 อีกครั้ง เพื่อตรวจสอบชื่อผู้ใช้ และรหัสผ่าน
  3. ทำตามขั้นตอน โดยกดเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ตามด้วย #
  4. ระบบจะประมวลผล ถ้าเจอ ระบบจะถามว่า ถ้าทราบรหัสผู้ใช้ กด 1 ไม่ทราบ กด 2
     4.1 กรณีกด 1 ระบบจะให้กดรหัสผู้ใช้งาน 10 หลักแล้วตามด้วย # ระบบก็จะแจ้งรหัสผ่านให้
     4.2 กรณีกด 2 ระบบจะให้กด วัน เดือน ปีเกิด แล้วตามด้วย # ระบบก็จะแจ้งรหัสผู้ใช้งาน และรหัสผ่านให้

วิธีที่ 3 สอบถามที่เคาน์เตอร์เซอร์วิส (วิธีนี้ต้องเสียค่าบริการด้วย)
สอบถามที่เคาน์เตอร์เซอร์วิส (วิธีนี้ต้องเสียค่าบริการด้วย)
  1. ผู้สมัครสอบต้องยื่นบัตรประจำตัวประชาชนให้พนักงานและแจ้งความจำนงค์ว่าต้องการขอรหัสผ่าน GAT/PAT ของ สทศ.
  2. กรณีพนักงานไม่ทราบว่าต้องดำเนินการอย่างไร ให้แจ้งว่า ให้เปิดแผ่นผู้ว่าจ้าง และหา Barcode สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) GAT/PAT และให้พนักงานยิง Barcode
  3. พนักงานจะแจ้งรหัสผู้ใช้งาน และรหัสผ่านให้เป็นแผ่นสลิป พร้อมให้ผู้สมัครสอบเสียค่าบริการ 20 บาท (ยังไม่รวมค่าธรรมเนียม) 

6. ติดต่อ สทศ.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) 128 อาคารพญาไท พลาซ่า ชั้น 36 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทร: +66 2-217-3800  
โทรสาร: 02-219-2996 , 02-129-3866-67
E-mail: webmaster@niets.or.th
Twitter: @niets_official
Facebook: https://www.facebook.com/nietsofficial/

7. ชาวต่างชาติที่ไม่มีเลขประจำตัวประชาชนต้องสมัครสอบอย่างไร

กรณีชาวต่างประเทศที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ระบุ แต่ไม่มีเลขประจำตัวประชาชนประสงค์จะสมัครสอบให้ดำเนินการ ดังนี้
  1. กรอกรายละเอียดตามแบบคำขอลงทะเบียนสมัครสอบ GAT และ PAT ประจำปีการศึกษา xxxx สำหรับผู้สมัครสอบ (รายใหม่) ที่เป็นชาวต่างประเทศ ที่ไม่มีเลขประจำตัวประชาชน (แบบคำขอลงทะเบียนจะแนบท้ายประกาศ รับสมัครสอบ)
  2. แนบสำเนาหลักฐานหน้าแรกของหนังสือเดินทาง (Passport) ที่มีรูปถ่าย และข้อมูลของผู้ถือหนังสือและลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง
  3. จัดส่งเอกสารมายัง สทศ. ตามช่องทาง ดังนี้
    3.1 ยื่นด้วยตนเอง ณ ที่ทำการ สทศ. อาคารพญาไทพลาซ่า ชั้น 36
     – วันทำการตั้งแต่เวลา 08.30 – 18.00 น.
     – วันหยุดทำการ (วันเสาร์ อาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์) ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.00 น. (เฉพาะช่วงการรับสมัครสอบ)
    3.2 ทางโทรสาร หมายเลข 02-219-2996 ระบบอัตโนมัติ
  3.3 ทางไปรษณีย์ จ่าหน้าซอง “กลุ่มงานบริการการทดสอบสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
128 อาคารพญาไทพลาซ่า ชั้น 36 ถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400″

สทศ. จะดำเนินการลงทะเบียนในระบบให้ และจะแจ้งรหัสชื่อผู้ใช้งานสำหรับเข้าระบบกลับไปทางโทรศัพท์ หรือทางไปรษณีย์อิเลคทรอนิกส์ของผู้สมัครสอบภายใน 1 วันทำการ นับแต่ได้รับแบบคำขอลงทะเบียนของผู้สมัครสอบ เพื่อให้ผู้สมัครสอบดำเนินการตามขั้นตอนการสมัครสอบที่กำหนด ทั้งนี้ ผู้สมัครสอบต้องดำเนินการกรอกแบบคำขอลงทะเบียน สมัครสอบ และชำระเงิน ภายในระยะเวลาการเปิดและปิดระบบรับสมัครสอบและชำระเงินที่ประกาศกำหนดไว้

8. ความต้องการพิเศษคืออะไร

เนื่องจาก สทศ. ได้จัดการทดสอบให้น้อง ๆ ที่มีความบกพร่องทางสายตา การได้ยิน และทางร่างกาย โดยแบ่งเป็น 6 ประเภท และมีการเตรียมการจัดการทดสอบให้ตามความเหมาะสม ดังนี้

001ตาบอดต้องการข้อสอบอักษรเบรลล์ (ภาษาอังกฤษตัวเต็ม)
ผู้ที่ตาบอด และอ่านอักษรเบรลล์ได้ โดยวิชาภาษาอังกฤษใช้ตัวเต็ม ให้เลือกประเภทนี้
002ตาบอดต้องการข้อสอบอักษรเบรลล์ (ภาษาอังกฤษตัวย่อ)
ผู้ที่ตาบอด และอ่านอักษรเบรลล์ได้ โดยวิชาภาษาอังกฤษใช้ตัวย่อ ให้เลือกประเภทนี้

001 และ 002 สทศ. จะเตรียมข้อสอบอักษรเบรลล์ (ยกเว้นวิชาภาษาต่างประเทศ PAT 7) ผู้ช่วยฝนกระดาษคำตอบ และจัดให้อยู่ในห้องพิเศษที่แยกจากห้องสอบปกติ

003ตาเลือนราง ต้องการข้อสอบอักษรขยาย
ผู้ที่ตาเลือนราง และไม่สามารถอ่านตัวหนังสือขนาดปกติได้ (ไม่ใช่สายตาสั้นแล้วใส่แว่นนะ) ให้เลือกประเภทนี้ สทศ. จะเตรียมข้อสอบที่ขยายตัวอักษรใหญ่เป็นพิเศษให้ ผู้ช่วยฝนกระดาษคาตอบ (กรณีที่ต้องการ) และจัดให้อยู่ในห้องพิเศษที่แยกจากห้องสอบปกติ
004ตาบอด/ตาเลือนรางต้องการผู้ช่วยอ่าน
ผู้ที่ตาบอด และไม่สามารถอ่านอักษรเบรลล์ได้ หรือผู้ที่ตาเลือนราง จนไม่สามารถอ่านหนังสือเองได้ ต้องมีผู้ช่วยอ่านข้อสอบให้ให้เลือกประเภทนี้ สทศ. จะเตรียมผู้ช่วยอ่านข้อสอบ ผู้ช่วยฝนกระดาษคาตอบ และจัดให้อยู่ในห้องพิเศษที่แยกจากห้องสอบปกติ
005พิการทางร่างกายต้องการผู้ช่วยพาเดินเข้าห้องสอบ
ผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกายและต้องการให้อานวยความสะดวกในการเดินเข้าห้องสอบได้ให้เลือกประเภทนี้ สทศ. จะประสานสนามสอบให้ดูแลตามความเหมาะสม
006บกพร่องทางการได้ยิน
ผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ให้เลือกประเภทนี้ เพื่อให้ สทศ. ประสานสนามสอบให้ดูแลตามความเหมาะสม

การกรอกข้อมูลกรณีนี้จะอยู่ตรงหัวข้อ “ความต้องการพิเศษ” ดังนั้น ขอให้เลือกประเภทให้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง และความต้องการของผู้สมัครสอบเอง และตรวจสอบความถูกต้องก่อนการสมัครสอบ สทศ. จะยึดตามข้อมูลที่ผู้สมัครสอบกรอกไว้ในระบบ
ระวัง!!! ผู้ที่ไม่ได้มีความบกพร่อง แล้วให้ข้อมูลว่าบกพร่องไว้ อาจจะต้องสอบด้วยข้อสอบพิเศษที่ สทศ. จัดไว้ให้ตามที่แจ้งไว้

9. ถ้าตอนสมัครสอบ สนามสอบในกรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี เต็ม ต้องทำอย่างไร

ถ้าเกิดกรณีที่ในช่วงสมัครสอบ สนามสอบในกรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี เต็มทุกสนามสอบแล้วยังไม่ได้เลือกสนามสอบไว้เลย ให้ผู้สมัครคงเขต/อำเภอที่เลือกไว้ ตอนสมัครสอบ สทศ. จะจัดสนามสอบให้ผู้สมัครสอบตามเขต/อำเภอที่ระบุไว้ หรือที่ใกล้เคียง หรือที่ยังมีที่ว่างอยู่ ผู้สมัครสอบไม่จำเป็นต้องเลือกสนามสอบในจังหวัดอื่น หากไม่ได้ประสงค์จะไปสอบในจังหวัดนั้น ๆ

10. หลังจากสมัครสอบไปแล้วถ้าจะเปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมรายวิชา ต้องทำอย่างไร

หลังจากสมัครสอบไปแล้วถ้าจะเปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมรายวิชา ต้องทำอย่างไร
  1. สมัครสอบแล้วแต่ยังไม่ชำระเงิน ผู้สมัครสอบสามารถสมัครสอบใหม่ได้โดยเลือกวิชาที่จะสอบใหม่ และพิมพ์ใบจ่ายเงินใบล่าสุดไปชำระเงินเท่านั้น หากผู้สมัครสอบสมัครสอบใหม่แต่ใช้ใบชำระเงินใบเดิม สถานะการชำระเงินของผู้สมัครสอบจะไม่เปลี่ยนแปลงต้องติดต่อ สทศ. ทันที
  2. สมัครสอบและชำระเงินแล้ว ให้ผู้สมัครสอบสมัครสอบเฉพาะวิชาที่ต้องการเพิ่มเติมเท่านั้น และพิมพ์ใบชำระเงินไปชำระเงิน ระบบจะรวมวิชาทุกใบสมัครที่ชำระเงินแล้วให้เองอัตโนมัติ สำหรับการเปลี่ยนแปลงรายวิชาไม่สามารถดำเนินการได้ ต้องสมัครสอบเพิ่มเติมเท่านั้น
  3. ต้องการเปลี่ยนแปลงรายวิชาภาษาต่างประเทศ (PAT 7) หลังจากชำระเงินแล้ว ให้ผู้สมัครสอบยื่นคำร้องพร้อมเหตุผลที่ขอเปลี่ยนรายวิชามายัง สทศ. สทศ. จะพิจารณาตามความจำเป็น และจะดำเนินการเปลี่ยนแปลงให้หากเห็นเหตุสมควร

11. ถ้าต้องการแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลในระบบ หลังการชำระเงินแล้ว ต้องทำอย่างไร

การแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สมัครสอบในระบบ แบ่งเป็น
  1. ข้อมูลที่ผู้สมัครสอบไม่สามารถแก้ไขได้เอง คือ 1) คำนำหน้าชื่อ 2) ชื่อ 3) นามสกุล และ 4) เลขประจำตัวประชาชน ผู้สมัครสอบต้องส่งเอกสารมายัง สทศ. ทางไปรษณีย์ หรือไปรษณีย์อิเลคทรอนิกส์ e-mail : testingservice@niets.or.th สทศ. จะดำเนินการแก้ไขข้อมูลหลังจากได้รับเอกสารที่ครบถ้วนและสมบูรณ์ ไม่เกิน 2 วัน
  2. ข้อมูลอื่นๆ ในระบบ นอกจากข้อมูลตามข้อ 1 ผู้สมัครสอบ สามารถแก้ไขข้อมูลได้เองในระบบส่วนบุคคล

การดำเนินการแก้ไขข้อมูลต้องดำเนินการภายในระยะเวลาที่ สทศ. กำหนด

12. พิมพ์ใบจ่ายเงิน ไม่ได้ต้องทำอย่างไร

กรณีที่กดพิมพ์ใบจ่ายเงิน หรือบัตรแสดงข้อมูลสถานที่สอบ เลขที่นั่งสอบ แล้วไม่ปรากฎหน้าจอใหม่ ให้ดำเนินการดังนี้
  1. ให้ผู้สมัครสอบเลือกเมนูด้านบนคำว่า TOOLS

  2. ไปที่ POP UP BLOCKER แล้วเลือกคำว่า TURN OFF POP UP BLOCKER

  3. แล้วกดคำว่า พิมพ์
  4. หลังจากกดคำว่า “พิมพ์” จะปรากฎหน้าจอใหม่ ดังภาพด้านล่างนี้

SHARE: