PANYA SOCIETY

จำนวนเชิงซ้อน

สรุปเนื้อหาที่สำคัญ

จำนวนเชิงซ้อน เป็นบทแรกเนื้อหา คณิตศาสตร์ ม.5 เทอม 2 โดยอาศัยพื้นฐานมาจากเนื้อหา ฟังก์ชันตรีโกณมิติ ของคณิตศาสตร์ ม.5 เทอม 1 ทำให้น้องๆควรมีพื้นฐานของ ฟังก์ชันตรีโกณมิติ ในการทำความเข้าใจเนื้อหาของส่วนนี้ และจำนวนเชิงซ้อนนี้มักถูกพบเห็บได้บ่อยๆในข้อสอบ A – Level ทำให้น้องๆควรเป็นอย่างยิ่งในการทำความเข้าใจเนื้อหาของส่วนนี้ เพื่อเก็บคะแนนมาให้ได้

เนื้อหาหลักของบทนี้ประกอบด้วย รายละเอียดบทย่อย ดังนี้

  • หน่วยจินตภาพ
  • สมบัติเชิงพีชคณิตของจำนวนเชิงซ้อน
  • สังยุคและค่าสัมบูรณ์ของจำนวนเชิงซ้อน
  • กราฟของจำนวนเชิงซ้อน
  • รูปเชิงขั้วของจำนวนเชิงซ้อน
  • รากที่ n ของจำนวนเชิงซ้อน

จำนวนเชิงซ้อน

จำนวนเชิงซ้อน

ให้ i=√-1 เรียกว่า หน่วยจินตภาพ จำนวนเชิงซ้อน คือ จำนวนที่เขียนอยู่ในรูป

z = a+bi หรือ (a,b) โดย a,b เป็นจำนวนจริง

เรียก a ว่า ส่วนจริงของ z(Re(z)) เรียก b ว่า ส่วนจินตภาพของ z(Im(z))

หน่วยจินตภาพ
การคำนวณค่าของ in เมื่อ n เป็นจำนวนเต็มบวก ให้นำ n หารด้วย 4
  • ถ้าเหลือเศษ 1 : in = i
  • ถ้าเหลือเศษ 2 : in = -1
  • ถ้าเหลือเศษ 3 : in = -i
  • ถ้าหารลงตัว : in = 1

สมบัติของจำนวนเชิงซ้อน

  • เอกลักษณ์การบวก คือ 0
  • เอกลักษณ์การคูณ คือ 1
  • อินเวอร์สการบวกของ z คือ –z
  • อินเวอร์สการคูณของ z คือ z-1 = 1z

สังยุคและค่าสัมบูรณ์ของจำนวนเชิงซ้อน

ให้ z = a + bi สังยุคของ z เขียนแทนด้วย z

z = a – bi

สมบัติของสังยุคของจำนวนเชิงซ้อน ให้ z = a + bi ค่าสัมบูรณ์ของ z เขียนแทนด้วย |z|

|z| = √a² + b²

สมบัติของค่าสัมบูรณ์ของจำนวนเชิงซ้อน
กราฟและรูปเชิงขั้วของจำนวนเชิงซ้อน

ให้ z = a + bi จะเขียน z บนระนาบเชิงซ้อนได้ดังนี้

รูปชิงขั้วของ z เขียนได้เป็น

z = r(cos cos θ + i sin sin θ)
โดยที่ r = √a² + b² = |z| และ tanθ = ba

สมบัติของรูปเชิงขั้วของจำนวนเชิงซ้อน

รากที่ n ของจำนวนเชิงซ้อน

รากที่ n ของจำนวนเชิงซ้อน จะมี n รากโดยที่ k = 0, 1, 2, …, n-1
zk+1 เป็นรากที่ n ของ z

คุยกันท้ายบท

แบบฝึกหัด

1. ถ้า z เป็นจำนวนเชิงซ้อน ซึ่งสอดคล้องกับสมการ z + |z-1z-1| = -3 + 2i แล้ว |z| มีค่าเท่ากับข้อใดต่อไปนี้ (สามัญ1 ปี’59)

  1. 3
  2. 10
  3. 13
  4. 2√5
  5. 4

เฉลย

2. ถ้ากำหนดให้ P(x) เป็นพหุนามดีกรี 4 ซึ่งมีสัมประสิทธิ์เป็นจำนวนจริง และสัมประสิทธิ์ของ x4 เท่ากับ 1 ถ้า z1 และ z2 เป็นรากที่ 2 ของ 2i และเป็นคำตอบของสมการ P(x) = 0 ด้วย แล้ว P(1) มีค่าเท่ากับข้อใดต่อไปนี้ (สามัญ ปี’56)

  1. 3
  2. 5
  3. 7
  4. 9
  5. 10

เฉลย

น้องๆคงได้รับความรู้เรื่อง “จำนวนเชิงซ้อน”  พร้อมกับใช้ความรู้พื้นฐานมาจากเนื้อหาฟังก์ชันตรีโกณมิติที่ผ่านมาจากคณิตศาสตร์ ม.5 เทอม 1 และจำนวนเชิงซ้อนนี้เองก็จะถูกนำไปใช้ต่อในบทถัดไปในเรื่องของ “หลักการนับเบื้องต้น” ทำให้เห็นได้ว่า น้องๆจำเป็นอย่างยิ่งในการทำความเข้าใจในเนื้อหาอย่างต่อเนื่องเพราะแต่ละส่วนนั้นเป็นส่วนสำคัญในการต่อยอดของการเรียนในบทถัดๆไป

พี่หวังว่า น้องๆจะสนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์ ม.5 เทอม 2 ไปตลอดทั้งเทอม และขอให้น้องๆประสบความสำเร็จในการเรียนเทอมนี้ ได้เกรดดังหวัง คะแนนปังทุกคนเลยครับ แล้วพบกันในบทความสรุปเนื้อหาคณิตศาสตร์ ม.5 เทอม 2 บทถัดไปนะครับ

สรุปเนื้อหาที่สำคัญ

หลักการนับเบื้องต้น

SHARE: