Exam Blueprint ข้อสอบ ภาษาไทย&สังคม
TCAS66 เป็นยังไง มาดูกัน!!!
A-Level ภาษาไทย&สังคม
สวัสดีครับน้อง ๆ #Dek66 ทุกคน วันนี้พี่ Panya Society กลับมาอีกครั้ง กับบทความดี ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ TCAS66 หลังจากที่ผ่านมาเราพูดถึง Exam Blueprint ของ A-Level วิชาที่อยู่ในฝั่งสายวิทย์กันมาพอสมควรแล้ว วันนี้พี่ Panya Society จะขอพูดถึง Exam Blueprint ของ A-Level วิชาสายศิลป์กันบ้างนะครับ ซึ่งวันนี้พี่ Panya Society ไม่ได้มาคนเดียวนะครับ วันนี้พี่มาพร้อมกับ “พี่ชาร์ป“ และ “พี่ณุณิ” คุณครูคนเก่งประจำวิชาภาษาไทย และวิชาสังคมศาสตร์ ของ Panya Society นั้นเอง!!! ขอบอกเลยว่าวันนี้น้อง ๆ #Dek66 ทุก ๆ คนที่กำลังเตรียมตัวสอบ TCAS66 กันอยู่โดยเฉพาะใครที่กำลังเล็งคณะทางด้านสายศิลป์อยู่ ไม่ว่าจะเป็น คณะอักษรศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ รวมไปถึงคณะอื่น ๆ ต่างก็จำเป็นต้องใช้คะแนนในวิชาภาษาไทย และวิชาสังคมศาสตร์กันทุกคณะ ขึ้นอยู่กับเกณฑ์น้ำหนักในการคัดเลือกของคณะต่าง ๆ ซึ่งมีตั้งแต่ 10% ไปจนถึง 30% ดังนั้นพี่ขอบอกเลยว่าคะแนนจาก 2 วิชานี้ก็นับว่าเป็นตัวแปรสำคัญในการสอบ TCAS66 อย่างแน่นอน น้อง ๆ อย่ามองข้าม A-Level ภาษาไทยและสังคมกันนะครับ
คราวนี้เราลองมาดูหน้าตาของข้อสอบกันว่าแต่ละวิชาจะมีโครงสร้างเป็นอย่างไร รวมไปถึงตัวอย่างข้อสอบกันครับ…
ภาษาไทย
โดยข้อสอบ A-Level ภาษาไทย ปี 2566 รหัสประจำวิชา 81 ตัวย่อ Thai มีข้อสอบเป็นปรนัย (เลือกตอบ) จำนวน 5 ตัวเลือก จำนวนทั้งหมด 50 ข้อ คะแนนเต็ม 100 คะแนน ให้เวลาในการทำข้อสอบ 90 นาที โดยมีโครงสร้างข้อสอบดังต่อไปนี้
- การอ่าน
- การอ่านเพื่อเข้าใจเนื้อหา
- การจับใจความ/การสรุปสาระสำคัญของข้อความ
- การตีความ
- การวิเคราะห์จุดประสงค์/เจตนาของผู้เขียน
- การวิเคราะห์ข้อคิด/แนวคิดที่ได้จากการอ่าน
- การอนุมานจากเนื้อหาของข้อความที่อ่าน
- ท่าที/น้ำเสียง/อารมณ์ความรู้สึก/ความคิดเห็นของผู้เขียน
- การเขียน
- การเรียงลำดับข้อความ
- การเรียงความ
- การพรรณา/บรรยาย/อธิบาย
- การใช้เหตุผล
- การแสดงทรรศนะ
- การโต้แย้ง
- การโน้มน้าว
- การพูด การฟัง
- การวิเคราะห์จุดประสงค์ในการพูด
- การใช้ข้อความถาม และตอบที่สัมพันธ์กัน
- การตีความ/อนุมาน/วิเคราะห์สาร/บุคลิกของผู้พูดหรือผู้ฟัง
- หลักการใช้ภาษา
- การสะกดคำ
- การใช้คำตรงความหมาย
- ประโยคกำกวม/ประโยคบกพร่อง
- ประโยคสมบูรณ์
- ระดับภาษา
- การใช้สำนวนถูกต้องตามความหมาย
- ชนิดของประโยคตามเจตนา
- คำที่มีความหมายตรง/อุปมา
- คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ
- ราชาศัพท์
คราวนี้เราลองมาดูตัวอย่างข้อสอบจาก Exam Blueprint ของทาง ทปอ. ว่ามีลักษณะเป็นอย่างไรกันครับ
- การอ่าน
- ข้อใดเป็นข้อความเริ่มต้น/ข้อความสุดท้าย?
- ก. การฟังเป็นทักษะแรกที่มนุษย์ใช้สื่อสาร
- ข. และใช้เป็นเครื่องมือพัฒนาทักษะอื่น ๆ ตามมา
- ค. ซึ่งในชีวิตประจำวันโดยธรรมชาติของมนุษย์นั้น
- ง. มนุษย์จะสื่อสารด้วยการฟังมากกว่า
- จ. การสื่อสารด้วยการพูด การอ่าน และการเขียน
- ข้อใดเป็นข้อความเริ่มต้น/ข้อความสุดท้าย?
- ก/ค
- ข/ง
- ค/จ
- จ/ข
- ก/จ
เฉลย
ตอบข้อ 5.
- การเขียน
- ข้อใดมีคำที่เขียนผิด?
- ภารกิจ สาธารณประโยชน์
- ผรุสวาท วิพากย์วิจารณ์
- โลกาภิวัตน์ อัธยาศัย
- เจตจำนง อานิสงส์
- พิสดาร วิกฤตการณ์
เฉลย
ตอบข้อ 2. คำที่เขียนผิดคือ “วิพากย์วิจารณ์” ที่ถูกต้องคือ “วิพากษ์วิจารณ์”
- การพูด การฟัง
- คำขวัญที่กล่าวมานี้ ข้อใดมีกลวิธีที่ชี้ให้เห็นทั้งด้านดีและด้านเสีย?
- อดออมในวันนี้ มั่งมีในวันหน้า
- รักชาติต้องพัฒนา รักป่าต้องอนุรักษ์
- ต้นไม้คือเพื่อนชีวิต เจ้าดูดอากาศพิษแทนข้า
- ป่าไม้บำรุงชาติ ป่าพินาศชาติวอดวาย
- บ้านเมืองจะสะอาด ถ้าปราศจากคนมักง่าย
เฉลย
ตอบข้อ 4. มีความหมายเชิงเปรียบเทียบระหว่างข้อดีกับข้อเสีย
- หลักการใช้ภาษาไทย
- ข้อใดไม่เป็นประโยค?
- อาหารโปรตีนในรูปแบบจากพืชได้รับความนิยมมากในกลุ่มประเทศตะวันตก
- ประเทศที่มีปัญหาความไม่สงบภายในพบว่านักเรียนมีอัตราการลาออกจากโรงเรียนกลางคันสูง
- การศึกษาภาคบังคับเป็นการให้นักเรียนเข้าเรียนโดยถือเป็นหน้าที่ของพลเมือง
- การตามหาพันธุ์กล้วยโบราณมีความสับสนเกี่ยวกับชื่อพันธุ์ที่มีลักษณะคล้ายกัน
- การอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมตามนโยบายของรัฐในส่วนราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
เฉลย
ตอบข้อ 5. ตัวเลือกนี้เป็นเพียงวลี
โดยข้อสอบ A-Level สังคมศาสตร์ ปี 2566 รหัสประจำวิชา 70 ตัวย่อ Soc มีข้อสอบเป็นปรนัย (เลือกตอบ) จำนวน 5 ตัวเลือก จำนวนทั้งหมด 50 ข้อ คะแนนเต็ม 100 คะแนน ให้เวลาในการทำข้อสอบ 90 นาที โดยมีโครงสร้างข้อสอบดังต่อไปนี้
- ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม (10 ข้อ)
- ความสำคัญ ศาสดา หลักธรรมของพระพุทธศาสนา ศาสนาอื่น มีศรัทธาที่ถูกต้อง ยึดมั่นและปฏิบัติตามหลักธรรมเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
- การปฏิบัติตนเป็นศาสนิกชนที่ดี และธำรงรักษาพระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาที่ตนนับถือ
- หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม 10 ข้อ
- หน้าที่ของการเป็นพลเมืองที่ดี การมีค่านิยมที่ดีงาม การธำรงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมไทย การดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทยและสังคมโลกอย่างสันติสุข
- การเมืองการปกครองในสังคมปัจจุบัน การยึดมั่น ศรัทธา และธำรงรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
- เศรษฐศาสตร์ (10 ข้อ)
- บริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภคใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า รวมทั้งเข้าใจหลักการของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ
- สถาบันทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ และความจำเป็นของการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจในสังคมโลก
- ประวัติศาสตร์ (10 ข้อ)
- เวลา และยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ หลักฐานและวิธีการทางประวัติศาสตร์ วิเคราะห์เหตุการณ์ต่าง ๆ
- พัฒนาการของมนุษยชาติจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ในด้านความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ในทวีปเอเซีย ยุโรป แอฟริกา และอเมริกา
- ชาติไทย การเมืองเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาไทย มีความรัก ความภูมิใจ และความเป็นไทย
- ภูมิศาสตร์ (10 ข้อ)
- โลกทางกายภาพ และความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งซึ่งมีผลต่อกัน ใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ในการค้นหาวิเคราะห์สรุปข้อมูลตามกระบวนการทางภูมิศาสตร์ ตลอดจนใช้ภูมิสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
- ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ก่อให้เกิดการสร้างสรรค์วิถีการดาเนินชีวิต มีจิตสำนึกและมีส่วนร่วม ในการจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
คราวนี้เราลองมาดูตัวอย่างข้อสอบจาก Exam Blueprint ของทาง ทปอ. ว่ามีลักษณะเป็นอย่างไรกันครับ
- ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม
- ข้อใดเป็นหลักธรรมในพระพุทธศาสนาที่สอดคล้องกับหลักการทางศาสนาอิสลามและศาสนาคริสต์ ดังต่อไปนี้?
“ถ้อยคำที่ให้อภัยอย่างอ่อนหวาน ย่อมดีกว่าการให้ทานแล้วทำร้ายทีหลัง” (ซูเราะห์ที่ 2: 263)
“จงตั้งการบูชา จงจ่ายค่าช่วยเหลือคนจน จงก้มศรีษะให้แก่คนที่ก้มศรีษะให้แก่เจ้า จงยินดีความเป็นธรรมที่มีอยู่ในหมู่มนุษย์ในเมื่อเจ้าลืมไป” (ซูเราะห์ที่ 2: 42, 44)
“อย่าฆ่าคน” (บัญญัติ 10 ประการ)
“อย่าแก้แค้น เพื่อผูกพยาบาทผู้หนึ่งผู้ใด แต่จงรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตัวเอง” (เลวีติโก 19: 18)
- ข้อใดเป็นหลักธรรมในพระพุทธศาสนาที่สอดคล้องกับหลักการทางศาสนาอิสลามและศาสนาคริสต์ ดังต่อไปนี้?
- นิยาม 5 และ สติปัฏฐาน 4
- วิมุติ 5 และ มิจฉาวณิชชา 5
- โภคอาทิยะ 5 และโลกธรรม 8
- สารณียธรรม 6 และ พรหมวิหาร 4
- อุฏฐานสัมปทา และ บาปณิกธรรม 3
เฉลย
ตอบข้อ 4.
- หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม
- บุคคลใดมีการกระทำที่ไม่ได้แสดงถึงการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย?
- เอ ไปชุมนุมร่วมกับชาวบ้านในการเรียกร้องราคาข้าวเปลือกที่หน้ากระทรวงพาณิชย์
- บี นำเกษตรสวนกล้วยรวมตัวกันทำกล้วยอบแห้งเพื่อสร้างกลุ่มเกษตรกรพึ่งพาตนเอง
- ซี ยื่นข้อเรียกร้องในการต่อสู้และผลักดันกฎหมายการสมรสเท่าเทียมต่อสภาผู้แทนราษฎร
- ดี ใช้สิทธิ์ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน
- เอฟ ยื่นข้อเรียกร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินในเรื่องที่ชาวบ้านในหมู่บ้านของตนไม่ได้รับความเป็นธรรมจากเจ้าพนักงานรัฐ
เฉลย
ตอบข้อ 2. เพราะตัวเลือก 1, 3, 4 และ 5 เป็นการแสดงออกถึงการมีส่วนร่วมในการปกครองและการมีส่วนร่วมตามระบอบประชาธิปไตย
- เศรษฐศาสตร์
- หากใน พ.ศ. 2566 รัฐบาลของประเทศ A ได้มีการเปิดเผยผลิตภัณฑ์ประชาชาติ เท่ากับ 1,200 ล้านบาท และในปีเดียวกัน มีคนต่างสัญชาติจากประเทศ B เข้ามาลงทุนด้านอุตสาหกรรมการเกษตรและปศุสัตว์ในประเทศ A มูลค่ารวม 230 ล้านบาท และลงทุนด้านอุตสาหกรรมภาคการท่องเที่ยวและการบริการในประเทศ A มูลค่ารวม 150 ล้านบาท ขณะเดียวกันคนสัญชาติประเทศ A ไปลงทุนในประเทศอื่น ๆ ก่อให้เกิดผลผลิตคิดเป็นมูลค่า 150 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เบื้องต้น ของประเทศ A จะมีมูลค่าเท่าใด?
- 1,730 ล้านบาท
- 1,430 ล้านบาท
- 1,270 ล้านบาท
- 970 ล้านบาท
- 670 ล้านบาท
เฉลย
ตอบข้อ 2. เพราะ GNP = GDP + รายได้ที่คนในประเทศทำที่ต่างประเทศ – รายได้ที่คนต่างประเทศมาทำในประเทศ เมื่อแทนค่าลงไปในสูตร จะได้ 1,200 ล้าน = GDP + 150 ล้าน – 380 ล้าน ดังนั้น GDP = 1,430
- ประวัติศาสตร์
- “… เมื่อก่อนลายสือไทยนี้บ่มี ๑๒๐๕ ศก ปีมะแม พ่อขุนรามคำแหงหาใคร่ใจในใจ แลใส่ลายสือไทยนี้ ลายสือไทยนี้จึ่งมีเพื่อขุนผู้นั้นใส่ไว้ …” (ศิลาจารึกหลักที่ 1 ด้านที่ 4)
บุคคลใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์จากข้อความที่กำหนดไว้ข้างต้น?
- “… เมื่อก่อนลายสือไทยนี้บ่มี ๑๒๐๕ ศก ปีมะแม พ่อขุนรามคำแหงหาใคร่ใจในใจ แลใส่ลายสือไทยนี้ ลายสือไทยนี้จึ่งมีเพื่อขุนผู้นั้นใส่ไว้ …” (ศิลาจารึกหลักที่ 1 ด้านที่ 4)
- บิวกิ้น กล่าวว่า ช่วงเวลาดังกล่าวตรงกับพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดยึดครองเวลส์ได้สำเร็จใน ค.ศ.1283
- พีพี กล่าวว่า หากเทียบเป็นจุลศักราชเหตุการณ์ดังกล่าวตรงกับ จ.ศ. 645 เบญจศก
- เบนซ์อเลิ้ต กล่าวว่า เหตุการณ์ดังกล่าวอยู่ในทศวรรษที่ 1280 ตามคริสต์ศักราช
- โอม กล่าวว่า เหตุการณ์ข้างต้นอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18
- เจเจ กล่าวว่า เหตุการณ์นี้ตรงกับพุทธศักราช 1826
เฉลย
ตอบข้อ 4.
จากข้อความศิลาจารึกหลักที่ 1 ด้านที่ 4 นั้น 1205 ศก ปีมะแม มีเฉพาะมหาศักราชเท่านั้น ดังนั้นจึงเทียบกับ มหาศักราช 1205 เป็น พุทธศักราชได้ 1205 + 621 = พ.ศ.1826 อยู่ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ฉะนั้น พ.ศ.1826 จึงอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 19 (พ.ศ.1801 – 1900)
หากเทียบกับคริสต์ศักราช จะเท่ากับ 1826 – 543 = ค.ศ.1283 อยู่ในทศวรรษที่ 1280 (ค.ศ.1280 – 1289) และอยู่ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 (ค.ศ.1021 – 1300)
หากเทียบกับจุลศักราช ตรงกับ 1826 – 1181 = จ.ศ.645 เบญจศก
- ภูมิศาสตร์
- ข้อใดเป็นการเลือกใช้ภาพจากดาวเทียมที่ไม่เหมาะสม?
- เอ ใช้ติดตามเพื่อน ๆ ที่เดินทางไปแสดงการร้องเพลงในต่างประเทศ
- บี ใช้ในการติดตามพายุไซโคลนที่กำลังจะเข้าถล่มพื้นที่ของประเทศอินเดีย
- ซี ใช้ในการวิเคราะห์และคำนวณพื้นที่ในการทำแปลงสวนไร่นาที่จังหวัดบุรีรัมย์
- ดี ใช้ในการศึกษาผลกระทบของมลพิษทางทะเลในโครงการอนุบาลสัตว์น้ำ
- เอฟ ใช้ในการศึกษาความแตกต่างของภูมิประเทศหลังเกิดการปะทุของแผ่นดินไหว
เฉลย
ตอบข้อ 1.
บทสรุป
เป็นยังไงกันบ้างครับสำหรับโครงสร้างข้อสอบ (Exam Blueprint) และตัวอย่างข้อสอบของ A-Level วิชาภาษาไทยและสังคมศาสตร์ จากพี่ Panya Society ร่วมกับ “พี่ชาร์ป” และ “พี่ณุณิ“ คุณครูประจำคอร์ส TCAS ติดอาวุธลับ UpScore ทั้งภาษาไทยและสังคม ของ Panya Society วันนี้พี่ ๆ ทุกคนหวังว่าน้อง ๆ #Dek66 ทุกคนที่ได้อ่านบทความนี้ไป คงจะได้แนวทางในการเตรียมตัวรับมือกับข้อสอบ A-Level ภาษาไทยและสังคมศาสตร์ ของ TCAS66 ไปไม่น้อยเลยใช่ไหมครับ น้อง ๆ คนไหนที่ยังคิดว่าตัวเองไม่แน่นในเนื้อหาส่วนไหน พี่ ๆ อยากให้น้อง ๆ ทุกคนเริ่มเตรียมตัวกันตั้งแต่วันนี้เลยนะครับ อย่าลืมว่าวันสอบ A-Level ของทั้งสองวิชานี้ คือวันที่ 18 มีนาคม 2566 นี้แล้วนะครับ เหลือเวลาอีกไม่มากแล้ว!!!
สุดท้ายนี้ทั้งพี่ชาร์ปและพี่ณุณิ ฝากย้ำมาบอกกับน้อง ๆ ทุกคนว่า “ถึงแม้คะแนนของข้อสอบของวิชาภาษาไทย และสังคม อาจจะคิดเป็นสัดส่วนที่น้อยในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย แต่ก็อย่าได้มองข้ามไปโดยเด็ดขาด เพราะต่อให้เป็นสัดส่วนที่ไม่มาก ก็อาจจะส่งผลต่อคะแนนโดยรวมได้ อย่าลืมว่าคะแนนต่างกันเพียงคะแนนเดียวก็อาจจะทำให้หลาย ๆ คนไม่ติดอันดับที่เลือกไว้กันเลยทีเดียวนะครับน้อง ๆ” ดังนั้นการหมั่นทบทวนเนื้อหา และการฝึกทำข้อสอบเก่าอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้เราสามารถได้คะเเนนอย่างที่ต้องการเเน่นอน ขอให้น้อง ๆ ทุกคน โชคดีในการสอบเข้าคณะที่มุ่งหวัง และถ้าเกิดใครที่ยังไม่มั่นใจในการเตรียมตัวสอบ A-Level ภาษาไทย และ A-Level สังคมศาสตร์ พี่ชาร์ปและพี่ณุณิแห่ง Panya Society ขอแนะนำคอร์ส “ภาษาไทย A-Level และ สังคม A-Level” มาเป็นตัวช่วยเพื่อให้น้อง ๆ เพิ่มคะแนนให้ได้ถึง “70 คะแนน“ ช่วยให้ติดคณะที่ใฝ่ฝัน พร้อมเทคนิคช่วยทำข้อสอบเพียบ กับข้อสอบทุกสไตล์ ครบทุกเนื้อหาสาระการเรียนรู้ มีรวบรวมไว้แล้วในคอร์สนี้ ห้ามพลาดโดยเด็ดขาด!!!
คอร์ส A-Level ติวเข้มก่อนสอบ TCAS ที่ครบที่สุด ปูพื้นฐานเนื้อหาวิชาภาษาไทยและสังคมทุกสาระการเรียนรู้อย่างเข้มข้น เจาะลึกทุกเนื้อหาม.ปลายอย่างละเอียด สอดแทรกคำถามชวนคิด สรุปสาระสำคัญ เเละจุดเน้นที่ควรรู้อย่างเป็นระบบ พร้อมวิเคราะห์เเนวการถามในเเต่ละเนื้อหา เน้นทั้งจุดออกสอบบ่อยและจุดผิดบ่อย เทคนิคเพิ่มคะแนนในห้องสอบให้ได้มากที่สุดถึง 70 คะแนน ดำเนินการสอนโดยอาจารย์ระดับเทพอ.ชาร์ป และอ.ณุณิได้ที่ Panya Society 🙂
VDO ตัวอย่างการสอน
ภาษาไทย A-Level
สังคมศึกษา A-Level
ทำความรู้จัก "พี่ชาร์ป" & "พี่ณุณิ"
● นิสิตทุนโปรแกรมเกียรตินิยม ปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 1) วิชาเอกภาษาไทยขั้นสูง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
● ปริญญาโท ด้านการสอนและการเรียนรู้ MSc Education (Distinction) University of Bristol ประเทศอังกฤษ
● ลำดับที่ 1 สอบแข่งขันรับราชการครูผู้ช่วยวิชาเอกภาษาไทย (ประจวบฯ) ประจำปี พ.ศ.2560
● ผู้เขียนหนังสือเรียนภาษาไทย O-NET ทรูปลูกปัญญา และภาษาไทย วิชาสามัญ veo-online
● วิทยากร โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติ (O-NET) วิชาภาษาไทย โรงเรียนต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ
● วิทยากร โครงการอบรมเชิงปฏิบัติ การพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาด้านการสอนภาษาไทย (การเรียนรู้เชิงรุก Active Learning)
● นิสิตทุนโปรแกรมเกียรตินิยม ปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 1) วิชาเอกภาษาไทยขั้นสูง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
● ปริญญาโท ด้านการสอนและการเรียนรู้ MSc Education (Distinction) University of Bristol ประเทศอังกฤษ
● ลำดับที่ 1 สอบแข่งขันรับราชการครูผู้ช่วยวิชาเอกภาษาไทย (ประจวบฯ) ประจำปี พ.ศ.2560
● ผู้เขียนหนังสือเรียนภาษาไทย O-NET ทรูปลูกปัญญา และภาษาไทย วิชาสามัญ veo-online
● วิทยากร โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติ (O-NET) วิชาภาษาไทย โรงเรียนต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ
● วิทยากร โครงการอบรมเชิงปฏิบัติ การพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาด้านการสอนภาษาไทย (การเรียนรู้เชิงรุก Active Learning)
● ปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาวิชามัธยมศึกษา (มนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์) วิชาเอกสังคมศึกษาขั้นสูง (เกียรตินิยมอันดับ 1)
● ที่ 2 สอบครูผู้ช่วย สนามสอบกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2561
● วิทยากรติว O-NET และ 9 วิชาสามัญ โรงเรียนในกรุงเทพมหานคร
● ครูผู้ฝึกซ้อมนักเรียนเข้าแข่งขันความรู้ทางวิชาการ และความเป็นเลิศในรายวิชาสังคมศึกษา ทั้งกฎหมาย รัฐศาสตร์ พุทธศาสนา เศรษฐศาสตร์ และสังคมวิทยา
● ปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาวิชามัธยมศึกษา (มนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์) วิชาเอกสังคมศึกษาขั้นสูง (เกียรตินิยมอันดับ 1)
● ที่ 2 สอบครูผู้ช่วย สนามสอบกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2561
● วิทยากรติว O-NET และ 9 วิชาสามัญ โรงเรียนในกรุงเทพมหานคร
● ครูผู้ฝึกซ้อมนักเรียนเข้าแข่งขันความรู้ทางวิชาการ และความเป็นเลิศในรายวิชาสังคมศึกษา ทั้งกฎหมาย รัฐศาสตร์ พุทธศาสนา เศรษฐศาสตร์ และสังคมวิทยา
สังคมศาสตร์