PANYA SOCIETY

การเปลี่ยนแปลงของข้อสอบฟิสิกส์ ปี 64

VIDEO : ระวังโดนแกง! ติวแบบเดิมสอบไม่ติดแน่ : แนวข้อสอบฟิสิกส์ PAT2 + วิชาสามัญ

MENU

ข้อสอบเปลี่ยนแปลงยังไง

รับมือยังไง?

ทำไมต้อง Panya?

PART 1 : ข้อสอบเปลี่ยนแปลงยังไง?

    พี่แชร์ ฟิสิกส์ ตั้งข้อสังเกตข้อสอบแนวใหม่จาก สสวท. พบประเด็นสำคัญ 10 อย่างของข้อสอบ TCAS65 วิชาฟิสิกส์ แนวใหม่ ที่ DEK65 ไม่รู้ ไม่ได้จริง ๆ

ปรากฏการณ์ของข้อสอบปี 64 ในสายวิชาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์

"ข้อสอบเปลี่ยนแปลงทั้งหมด"

เพราะผู้ออกข้อสอบเปลี่ยนทีมงานไปเป็น สสวท.

ซึ่งเป็นปีแรกของการเปลี่ยนแปลง จึงไม่มีข้อสอบเทียบเคียงใด ๆ ให้เราทราบแนวโน้มที่แน่ชัด แต่เรารู้แล้วว่ามันมีผลต่อข้อสอบ TCAS65 อย่างแน่นอน ที่น่าจะไปในทางที่สอดคล้องกัน
    วันนี้พี่แชร์ ฟิสิกส์ แห่ง Panya Society ได้วิเคราะห์ข้อสอบ และมั่นใจว่าทางสถาบันจะช่วยน้อง ๆ DEK65 ให้ประสบความสำเร็จได้ เพราะทีมสอนของเราสอนบน “ความเข้าใจ เน้นการวิเคราะห์ และประยุกต์ใช้ได้จริง” มาตลอด ตั้งแต่ก่อนข้อสอบเปลี่ยนอยู่แล้ว และข้อสอบเปลี่ยนไปแค่ไหน มารู้จักข้อสอบ TCAS65 วิชาฟิสิกส์ ทั้ง 9 วิชาสามัญ และ PAT2 กันให้มากขึ้นดีกว่า

ตารางแสดงการเปลี่ยนแปลงของข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย

-คลิกที่ภาพเพื่อดูภาพใหญ่-

บทวิเคราะห์ข้อสอบฟิสิกส์ 64

     การวิเคราะห์ข้อมูลข้อสอบ 64 เมื่อเทียบกับ พ.ศ. ที่ผ่านมา แล้วพบว่าไม่ตรงกับสไตล์เดิม ๆ ถึงจำนวนหลายข้อมาก หากนับเป็น % ของข้อสอบทั้ง 9 วิชาสามัญ และ PAT2 เราจะเห็นว่า ข้อสอบเปลี่ยนไปมากในระดับที่ยึดสิ่งเดิม ๆ ในอดีตไม่ได้อีกต่อไปแล้ว เพราะจะทำให้น้องทำคะแนนได้น้อยลงกว่าที่ตนเองประเมินไว้ 

วิเคราะห์ PAT2 ฟิสิกส์ ปี 64 “เปลี่ยนไปมากถึง 75%”

เปลี่ยนไปมากถึง 75% เปลี่ยนอะไรบ้าง?

“ลักษณะของข้อสอบ”

-คลิกที่ภาพเพื่อดูภาพใหญ่-

สรุปการเปลี่ยนแปลงของข้อสอบ PAT2 ปี 64 วิชาฟิสิกส์

1. เปลี่ยนไป 12 ข้อ จาก 16 ข้อ (75%) จำนวนข้อลดลง (เดิม 25 ข้อ)
2. แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ
    2.1 โจทย์ลักษณะเดิม 4 ข้อ (34 46 47 48)
    2.2 วิเคราะห์ 4 ข้อ (36 39 40 44)
    2.3 การทดลอง 4 ข้อ (41 42 43 45)
    2.4 ประยุกต์ 4 ข้อ (33 35 37 38)
*สิ่งที่ข้อสอบเกือบทุกข้อมีเหมือนกัน คือ การแต่งเรื่องให้เข้ากับสถานการณ์จริงในชีวิตประจำวัน*
3. บทที่ไม่ได้ออกสอบ
คือ
    – โมเมนตัมและการชน
    – การเคลื่อนที่แนวโค้ง
    – การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย
    – คลื่น
    – แสงเชิงฟิสิกส์
    – ไฟฟ้าสถิต
    – คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
*7 บท จาก 20 บท*
4. บทที่ออกสอบ แต่ไม่ได้ออกเนื้อหาสำคัญ
คือ
    – ธรรมชาติและพัฒนาการทางฟิสิกส์
    – ไฟฟ้ากระแส
    – แม่เหล็กและไฟฟ้า
    – ความร้อนและแก๊ส
*4 บท จาก 13 บท*
5. จากข้อมูลปี 64 คาดการณ์ของปี 65 ที่น้องๆจะเจอก็คือ?!?

    5.1 มีจำนวนข้อมากกว่าปี 64 (ประมาณ 20 ข้อ) เพราะ
      – มีหลายบทที่ยังไม่ได้ออกสอบ
      – มีหลายหัวข้อสำคัญที่ยังไม่ได้ออกสอบ
      – คาดว่าปีนี้ออกข้อสอบไม่ทัน จำนวนข้อจึงมีน้อย
      – พึ่งออกข้อสอบปีนี้เป็นปีแรก อาจจะลองเชิง
    5.2 มีจำนวนข้อน้อยกว่าก่อนปี 64 (ทั้งปี 65 และในอนาคต) เพราะ
      – เน้นแต่งเรื่องให้อ่าน จำนวนข้อเยอะไม่ได้
      – เน้นการวิเคราะห์ ต้องใช้เวลาต่อข้อมากขึ้น
    5.3 ระดับความยากและแนวข้อสอบเหมือนกับปี 64 คือ
      – เน้นความเข้าใจในตัวบทเรียนมากกว่าการท่องจำ
      – เน้นการอ่านเพื่อทำความเข้าใจ
      – เน้นการวิเคราะห์ และเชื่อมโยงกับสิ่งที่เรียนมา
      – เน้นการประยุกต์ให้เข้ากับเหตุการณ์จริง
      – มีตัวอย่างการทดลอง เพื่อฝึกทักษะทางฟิสิกส์
*ข้อสังเกต ตั้งใจจะลดการเรียนกับติวเตอร์*

ลักษณะข้อสอบที่เปลี่ยนไป

ตัวอย่างโจทย์ PAT2 ฟิสิกส์ ปี 64

ข้อสอบแนวเก่า ที่ PAT2 เคยเป็นมา เหลือเพียง 4 ข้อจาก 16 ข้อ

2. กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความเร็ว (v) กับเวลา (t) ในการวิ่งของนักกีฬาคนหนึ่งในช่วงเวลา t = 0 s ถึง t = 100 s เป็นดังนี้

ข้อใดสรุปเกี่ยวกับการวิ่งของนักกีฬาได้ถูกต้อง

1. อัตราเร็วลดลงในช่วงเวลา t = 30 s ถึง t = 70 s
2. อัตราเร็วลดลงในช่วงเวลา t = 30 s ถึง t = 50 s และในช่วงเวลา t = 80 s ถึง t = 100 s
3. อัตราเร็วเพิ่มขึ้นในช่วงเวลา t = 0 s ถึง t = 20 s และในช่วงเวลา t = 80 s ถึง t = 100 s
4. ขณะเวลา t = 50 s ความเร่งมีค่าเท่ากับศูนย์
5. ขณะเวลา t = 90 s ขนาดของความเร่งมีค่าเท่ากับ 3 m/s2

ข้อสอบสไตล์ ‘เล่าเรื่อง’ ฝึกประยุกต์จากเหตุการณ์จริง

39. การแข่งขันวิ่งผลัด 4 x 100 เมตร มีกติกาในการรับส่งไม้คทาดังนี้

     – ผู้ส่งและผู้รับจะต้องเปลี่ยนคทามือต่อมือภายในเขตรับส่งซึ่งมีระยะ 20.0 เมตร เท่านั้น

แต่เพื่อให้ผู้รับวิ่งด้วยความเร็วที่เหมาะสมในการรับไม้คทา กติกาจึงอนุญาตให้ผู้รับถอยหลังไปอยู่ก่อนเขตรับส่งจริงได้ 10.0 เมตร แต่จะไม่สามารถรับไม้คทาในระยะนี้ได้ ถ้าผู้รับคทาอยู่ก่อนถึงเขตรับส่งเป็นระยะ 10.0 เมตร และออกวิ่งเมื่อเห็นผู้ส่งคทาอยู่ที่ระยะห่างจากผู้รับคทา 16.0 เมตร ดังรูป

ความสัมพันธ์ระหว่างความเร็ว (v) กับเวลา (t) ของผู้ส่งคทาและผู้รับคทานับจากเวลาที่ผู้รับคทาเริ่มออกวิ่ง เป็นดังกราฟ

เมื่อผู้รับคทาและผู้ส่งคทาวิ่งทันกันครั้งแรก ผู้รับคทาจะรับคทาได้เป็นไปตามกติกาที่กำหนดหรือไม่ เพราะเหตุใด

1. เป็นไปตามกติกา เพราะผู้รับคทาจะรับคทาหลังจากจุดเริ่มต้นของเขตรับส่งเป็นระยะ 4.0 เมตร
2. เป็นไปตามกติกา เพราะผู้รับคทาจะรับคทาหลังจากจุดเริ่มต้นของเขตรับส่งเป็นระยะ 12.5 เมตร
3. เป็นไปตามกติกา เพราะผู้รับคทาจะรับคทาหลังจากจุดเริ่มต้นของเขตรับส่งเป็นระยะ 17.0 เมตร
4. ไม่เป็นไปตามกติกา เพราะผู้รับคทาจะรับคทาก่อนถึงจุดเริ่มต้นของเขตรับส่งเป็นระยะ 1.5 เมตร
5. ไม่เป็นไปตามกติกา เพราะผู้รับคทาจะรับคทาเลยจากจุดสิ้นสุดของเขตรับส่งเป็นระยะ 2.0 เมตร

ข้อสอบสไตล์ ‘เล่าเรื่อง’ เน้นการทดลอง

43. นักเรียนคนหนึ่งออกแบบการทดลอง เพื่อวัดค่าความต้านทานของแผ่นโลหะชนิดหนึ่งที่มีพื้นที่หน้าตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ที่มีความยาวด้าน L และมีความหนา t โดยวัดค่าความต้านทานระหว่างจุด A และ B ดังภาพ

จากนั้นเปลี่ยนขนาดของแผ่นโลหะให้แตกต่างกันจำนวน 5 ชุดการทดลอง แล้ววัดค่าความต้านทาน ได้ผลดังตาราง

จากข้อมูลในตาราง ข้อใดกล่าวถูกต้อง

1. ความต้านทานของแผ่นโลหะขึ้นอยู่กับความยาวด้าน
2. ค่าความหนา y ในชุดทดลอง จ มีค่า 2.0 มิลลิเมตร
3. ข้อมูลจาก 5 ชุดการทดลอง ไม่สามารถใช้คำนวณหาค่าความต้านทาน x ได้
4. ในกรณีที่ความยาวด้านคงตัว กราฟความสัมพันธ์ระหว่างความต้านทานกับความหนา จะได้เป็นกราฟเส้นตรงที่ผ่านจุดกำเนิด
5. ในกรณีที่ความหนาคงตัว กราฟความสัมพันธ์ระหว่างความต้านทานกับความยาวด้านกำลังสอง จะได้เป็นกราฟเส้นตรงที่ผ่านจุดกำเนิด

ข้อสอบสไตล์ ‘เล่าเรื่อง’ เน้นการทดลอง + วิเคราะห์ข้อมูล

44. การใช้หลอดเพื่อดูดน้ำในแก้ว สามารถอธิบายได้ด้วยหลักการของ “ความดันอากาศ”

จากภาพที่ 1 ก่อนดูดน้ำ ความดันอากาศภายใน (P1) และภายนอกหลอด (Pout) มีค่าเท่ากัน และระดับน้ำภายในและภายนอกหลอดสูงเท่ากันพอดี

ขณะดูดน้ำด้วยหลอดดังภาพที่ 2 ปริมาตรช่องอกจะเพิ่มขึ้น อากาศที่เคยอยู่ภายในหลอดจะเคลื่อนที่เข้าสู่ปาก ทำให้ความดันอากาศภายในหลอดลดลง และมีค่าน้อยกว่าความดันอากาศภายนอก น้ำส่วนหนึ่งจึงถูกดันให้เข้าไปในหลอดได้มากขึ้นเนื่องจากผลต่างของความดันอากาศ
(กำหนดให้ ρ = ความหนาแน่นของน้ำ, g = ความเร่งโน้มถ่วง และอุณหภูมิของระบบนี้คงตัว)

ถ้าใช้หลอดดูดน้ำในแก้วจนระดับน้ำภายในหลอดมีความสูงวัดจากระดับน้ำในแก้วเท่ากับ h แล้วปริมาตรของช่องอกที่เพิ่มขึ้นจะคิดเป็นร้อยละเท่าใดของปริมาตรเดิม

การเปลี่ยนแปลงของข้อสอบฟิสิกส์64_11
การเปลี่ยนแปลงของข้อสอบฟิสิกส์64_14

วิเคราะห์ วิชาสามัญ ฟิสิกส์ ปี 64

“ไม่ใช่แนวใหม่ แต่เปลี่ยนทิศทางของข้อสอบ”

จากวิเคราะห์ตัวแปร กลายเป็นข้อสอบคำนวณ

-คลิกที่ภาพเพื่อดูภาพใหญ่-

สรุปการเปลี่ยนแปลงของข้อสอบวิชาสามัญ 64 วิชาฟิสิกส์

1. เปลี่ยนไปโดยลักษณะ 9 ข้อ จาก 30 ข้อ (30%) จำนวนข้อเพิ่มขึ้น (เดิม 25 ข้อ)
    1.1 มีข้อสอบแบบเติมคำตอบ
    1.2 มีเรื่องที่ไม่เคยออกสอบ
      – ธรรมชาติและพัฒนาการทางฟิสิกส์
      – ฟิสิกส์อนุภาค
    1.3 มีเรื่องที่เคยออกสอบบ่อย ๆ หายไป
      – สมการนิวเคลียร์
    1.4 มีเนื้อหาที่ต้องอ่านในหนังสือเรียน (เรียนกับติวเตอร์อาจจะไม่รู้)
2. เปลี่ยนไปโดยโครงสร้าง คำนวณ 20 ข้อ จาก 30 ข้อ (66.67%)

ตารางการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง

3. คาดการณ์ของปี 65
    3.1 จำนวนข้อของข้อสอบ
      – คาดว่ามี 30 ข้อ เท่าเดิม
      – คาดว่าจะคงสัดส่วน 25 : 5 เอาไว้
      – คาดว่าจะมีข้อสอบแบบเติมคำตอบไปเรื่อย ๆ
    3.2 ระดับความยากและแนวทางของข้อสอบ
      – คาดว่าข้อสอบจะยากกว่าปี 64
      – คาดว่าข้อสอบจะง่ายลงกว่าก่อนปี 64
      – คาดว่าจะปรับโครงสร้างเป็นแบบคำนวณ
      – เน้นเนื้อหาในหนังสือเรียน (ปรับเปลี่ยนทั้งครูและนักเรียน)
      – ไม่เน้นวิเคราะห์และตีความยาก
      – เน้นองค์ความรู้พื้นฐาน
      – เน้นออกข้อสอบทุกบท ออกเนื้อหาหลัก ๆ ของบท
*ข้อสังเกต ตั้งใจจะลดการเรียนกับติวเตอร์*

ลักษณะข้อสอบที่เปลี่ยนไป

ตัวอย่างโจทย์ วิชาสามัญ ฟิสิกส์ ปี 64

ข้อสอบสไตล์เก่า “จัดรูปตัวแปร”

22. น้ำที่มีความหนาแน่น ρ ไหลเข้าไปในท่อด้วยความดัน 8 เท่าของความดันบรรยากาศ และไหลออกจากปลายท่อด้านที่อยู่สูงจากปากท่อขาเข้าเป็นระยะ H ที่ความดันบรรยากาศ P0 หากปลายท่อขาออกมีพื้นที่หน้าตัดเป็น 1/√3 เท่าของปลายท่อขาเข้า

จงหาอัตราเร็วของน้ำตอนออกจากท่อนี้

ข้อสอบอิงเนื้อหา สสวท. “ต้องตอบตามเงื่อนไข”

1. ในการทดลองวัดความยาวของวัตถุชิ้นหนึ่งที่มีความยาวประมาณ 6 เซนติเมตร ด้วยไม้บรรทัดที่มีความละเอียด 0.1 เซนติเมตร โดยทำการวัดทั้งหมด 5 ครั้ง ได้ข้อมูลดังนี้
      5.84  6.00  6.26  5.90  12.25
ถ้าจะต้องรายงานค่าเฉลี่ยของการวัดความยาวครั้งนี้ (x̄) และรายงานความคลาดเคลื่อนของความยาวเฉลี่ย (∆x̄) ด้วยสูตร

เมื่อ xmax  และ xmin คือ ค่าที่มากที่สุด และค่าที่น้อยที่สุดของข้อมูล ตามลำดับ 

ข้อใดแสดงผลการรายงานการวัดความยาวได้ถูกต้อง

1. 6 ± 0.2 เซนติเมตร
2. 6.0 ± 0.2 เซนติเมตร
3. 6.00 ± 0.21 เซนติเมตร
4. 7.3 ± 3.2 เซนติเมตร
5. 7.25 ± 3.20 เซนติเมตร

ข้อสอบคำนวณอย่างง่าย “เพิ่มสัดส่วนเยอะขึ้น”

3. วัตถุทรงกระบอกมวล 2.0 kg วางอยู่บนพื้นระดับลื่น มีแรงมากระทำ 3 แรง ในทิศขนานกับพื้นและผ่านจุดศูนย์กลางมวลโดยไม่ทำให้วัตถุล้ม ดังรูปเป็นมุมมองจากด้านบน

จงหาขนาดและทิศทางของความเร่งของวัตถุนี้
กำหนดให้ sinθ = 4/5, cosθ = 3/5

ข้อสอบบรรยาย “ต้องอ่านหนังสือ สสวท”

17. จากข้อความต่อไปนี้
    ก. เครื่องรับวิทยุ รับสัญญาณเสียงจากสถานีแล้วแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้า
    ข. คลื่นไมโครเวฟถูกใช้ในการระบุตำแหน่งบนพื้นโลกหรือ GPS
    ค. สัญญาณที่มีการเปลี่ยนสถานะระหว่าง +1 กับ -1 อย่างต่อเนื่องจัดเป็นสัญญาณ Digital

ข้อความใดถูกต้อง

1. ข. เท่านั้น
2. ค. เท่านั้น
3. ก. และ ข.
4. ก. และ ค.
5. ข. และ ค.

    จากข้อมูลข้างต้น ในภาพรวมของข้อสอบ น้อง ๆ DEK65 จะเห็นว่า การเตรียมตัวทำข้อสอบคำนวณแบบเก่า ที่ต้องหาสมการ และแทนค่าตัวแปรในโจทย์ หรือท่องสูตรลัดเข้าห้องสอบ กำลังลดคุณค่าลงในข้อสอบฉบับปัจจุบัน และไม่ได้ช่วยให้น้องทำคะแนนได้มากพอ สำหรับการสอบติดคณะที่มุ่งหวังอีกแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน PAT2 ที่รูปแบบข้อสอบเปลี่ยนแปลงสูงถึง 75% จากข้อสอบเก่า ที่อิงของเดิมแทบไม่ได้เลย และการฝึกทำข้อสอบเก่าในอดีตปริมาณมากๆ หลายฉบับจากหลาก พ.ศ. ก็อาจจะไม่ได้ช่วยสร้างทักษะทำโจทย์แบบใหม่ เพื่อเพิ่มคะแนนได้อีกต่อไป นั่นทำให้น้องต้องเปลี่ยนกลยุทธ์ในการทำข้อสอบใหม่ ก็คือ “การเข้าใจวิธีคิดของคนออกข้อสอบ และสิ่งที่เขาต้องการวัดผลจากผู้เรียน”

ข้อสอบเปลี่ยนแปลงยังไง

รับมือยังไง?

ทำไมต้อง Panya?

PART 2 : รับมือยังไง?

1) "อะไรที่ไม่เคยเจอ ‘ยาก’ เสมอ"

น้อง ๆ มักจะคิดว่าข้อสอบเปลี่ยนแล้วยากขึ้น แต่จริง ๆ ข้อสอบไม่ได้ยากขึ้น แค่มันเปลี่ยนแนวใหม่ ผลจากความไม่ชินทำให้มันยาก เพราะไม่เคยเห็นโจทย์รูปแบบใหม่มาก่อน และยังฝึกฝีมือมาน้อยมาก

2) "ข้อสอบแนวใหม่ วัดเราให้ต้องเก่งทุกอย่าง" คำนวณต้องเป๊ะ วิเคราะห์ต้องปัง ประยุกต์ต้องได้!!

ข้อสอบแนวเก่าจะวัดเพียงแค่การคำนวณและการใช้สูตรเท่านั้น แต่ฟิสิกส์ไม่ใช่วิชาคณิตศาสตร์ การคำนวณเป็นเพียงแค่ส่วนประกอบของการแก้ปัญหาเท่านั้น

ข้อสอบแนวใหม่จะเน้นไปที่การวิเคราะห์และการประยุกต์มากขึ้น ในขณะที่การคำนวณก็ไม่ได้หายไป ทำให้น้องต้องฝึกทำโจทย์ในรูปแบบที่แตกต่างหลากหลายมากขึ้น ให้เก่งทั้งคำนวณคล่อง และวิเคราะห์แม่นยำ

3) "การท่องสูตรลัด เปล่าประโยชน์"

น้องที่ชอบท่องสูตร เพื่อทำข้อสอบสไตล์เดิม ๆ ไม่ช่วยให้ทำคะแนนได้สูงอีกแล้ว แม้ท่องเข้าไปก็อาจจะใช้ได้น้อยมาก และหลาย ๆ ข้อใช้สูตรลัดไม่ได้เลย น้องต้องอ่านโจทย์แล้วเข้าใจโจทย์มากกว่า

ที่สำคัญโจทย์หลาย ๆ ข้อเน้นการใช้ข้อมูลที่โจทย์ให้ และไม่ได้ใช้สูตรหรือสมการใด ๆ เลยในการแก้ปัญหา ดังนั้นน้องที่พลาดข้อบรรยายแบบนี้จึงเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย เพราะข้อสอบเหล่านี้เป็นข้อแจกคะแนนให้กับคนที่เข้าใจ ไม่ใช่คนที่ท่องสูตร

4) "ถ้าข้ามข้อไม่คุ้น = ต้องข้ามทุกข้อ เลือกสู้ดีกว่า"

ความกลัวจากการไม่คุ้นเคยกับโจทย์ที่ไม่เคยเจอ ทำให้ Panic และเผลอข้ามข้อง่าย ๆ ไป เพียงเพราะไม่ยอมอ่านโจทย์เพื่อแก้ปัญหาข้อที่โจทย์แปลก ๆ น้อง ๆ น่าจะลองตั้งใจอ่านโจทย์ สู้กับความไม่คุ้นเคยนั้นดูสักตั้งก่อน แต่ถ้าลองแล้วทำข้อนั้นไม่ได้จริง ๆ หรือถ้าทำแล้วรู้สึกว่าใช้เวลานานเกินไป ก็ค่อยข้ามไปทำข้ออื่นก่อน แล้วกลับมาทำข้อเดิมทีหลังก็ได้นะครับ

5) "โจทย์ยาวเป็นหน้า ต้องมีไหวพริบในการอ่านโจทย์"

โจทย์หลายข้อมีความยาวมากถึง 1 หน้าเต็ม ดังนั้นน้อง ๆ ต้องควานหาข้อมูลที่ให้มาในโจทย์ เพื่อเอามาใช้วิเคราะห์คำตอบในเวลาที่สั้นที่สุด และต้องบริหารเวลาให้ดี เพื่อทำข้อสอบให้ได้ทัน ซึ่งพี่อยากจะแนะนำน้อง ๆ ว่าการดูคำถามที่ย่อหน้าสุดท้ายก่อน แล้วไปอ่านคำบรรยายช่วยให้หาคำตอบได้ไวขึ้น

6) "ไม่เข้าใจ ‘เนื้อหา’ จริง ๆ = ทำไม่ได้"

ข้อสอบมุ่งความสำคัญไปที่การเข้าใจเนื้อหารายบท การอ่านหนังสือเรียนของ สสวท. และ concept การทดลองในแต่ละบทตามแบบเรียน สสวท. มากยิ่งขึ้น ถ้าไม่เข้าใจตัวเนื้อหาจริง ๆ แทบจะทำข้อสอบไม่ได้เลย

7) "การจำวิธีทำข้อสอบเก่าได้ ไม่ช่วยทำคะแนนแล้ว"

การจดจำสไตล์ข้อสอบเก่า หรือฝึกทำโจทย์เก่า ๆ จนคุ้นเคย เอามาใช้กับข้อสอบที่เน้นการประยุกต์ไม่ได้อีกต่อไปแล้ว น้อง ๆ มักจะมุ่งจำโจทย์เก่าที่เห็นบ่อย ๆ

แต่ในวันนี้ไม่เพียงพอในการเตรียมตัวสอบ การแค่ฝึกทำโจทย์เก่า แล้วท่องวิธีทำโจทย์ หรือจำลำดับการแก้ปัญหาของข้อเดิม ๆ ที่คุ้นเคย ใช้ไม่ได้อีกต่อไปแล้ว น้องต้องเข้าใจจริง ๆ เท่านั้น ข้อสอบคัดคนเข้าใจ ไม่ใช่คนจำเก่ง

ข้อสอบเปลี่ยนแปลงยังไง

รับมือยังไง?

ทำไมต้อง Panya?

PART 3 : ทำไมต้อง Panya?

"ทำไมข้อสอบเปลี่ยนไป จึงทำอะไร Panya Society ไม่ได้?"

       ไม่ใช่เรื่องน่ากังวลใจอีกแล้ว เมื่อน้องวิเคราะห์ข้อสอบได้ น้องเข้าใจข้อสอบจริง ๆ และเรียนรู้กับคนที่สอนให้น้องใช้ความรู้ให้เป็น ไม่ใช่ท่องสิ่งที่ไม่จำเป็นเข้าห้องสอบ แล้วพบกันในคอร์ส TCAS65 วิชาฟิสิกส์ เตรียมตัวทั้ง 9 วิชาสามัญ และ PAT2 ได้อย่างไร้กังวล พร้อมเฉลยโจทย์ข้อสอบปี 64 Update ใหม่ล่าสุด และรวบรวมการจัดหมวดหมู่ข้อสอบรวมมากที่สุดถึง 3,000 ข้อ ให้น้องฝึกทำข้อสอบทุกสไตล์ พร้อมเฉลยทุกข้อ อยากตะลุยโจทย์ หรือเตรียมอัดเนื้อหาที่มุ่งความเข้าใจแบบลึกถึงแนวคิดคนออกข้อสอบ สสวท. ก็แวะมาสอบถามได้ที่ Panya Society เลยครับ ที่นี่เรามีระบบผู้ช่วยถาม-ตอบทุกข้อสงสัยตลอด 24 ชั่วโมง
       นอกจากนี้ PANYA SOCIETY ยังได้รับเลือกจากกองบรรณาธิการ mybest ให้เป็น 1 ใน 10 สถาบัน “เรียนฟิสิกส์” ที่ไหนดี? ปี 2022 สามารถคลิกเพื่ออ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่

:: ผู้เขียน ::
สุปิติ บูรณวัฒนาโชค (พี่แชร์)

● อดีตเหรียญทองฟิสิกส์โอลิมปิก
● นักเรียนทุนป.โท วิศวะ ไฟฟ้า และคอม
● ผู้ก่อตั้งสถาบันกวดวิชาออนไลน์ Panya Society
● ผู้คิดค้นรูปแบบการเรียน Panya EnterBrain “เน้นเข้าใจ เพื่อใช้ได้จริง”

ข้อสอบเปลี่ยนแปลงยังไง

รับมือยังไง?

ทำไมต้อง Panya?

เรียนสนุก ทำโจทย์คล่อง สอบให้ติด

: คอร์สแนะนำ :

SHARE: