ข้อสอบ TCAS A-Level เคมี เปลี่ยนไปอีกแล้วเหรอ?!?

PANYA SOCIETY

ข้อสอบ TCAS A-Level เคมี เปลี่ยนไป!!!

ตัวอย่างเฉลยข้อสอบ เคมี วิชาสามัญปี 2565

MENU

ข้อสอบเปลี่ยนแปลงไปยังไง?

แล้วจะรับมือยังไง?

ทำไมต้องเรียนกับ Panya?

PART 1 : ข้อสอบเปลี่ยนแปลงไปยังไง?

สวัสดีครับน้อง ๆ #Dek66 ทุกคน วันนี้พี่ Panya Society กลับมาอีกครั้งพร้อมบทความที่เกี่ยวกับ TCAS66 อีกแล้วนะครับ โดยวันนี้เราจะว่ากันด้วยเรื่องของข้อสอบเคมี A-Level กันนะครับ หลังจากบทความที่ผ่านมา เราได้ดูหน้าตาของโครงสร้างข้อสอบ (Exam Blueprint) กันไปแล้ว มาคราวนี้พี่ Panya Society ขอบอกเลยว่าวันนี้เราจะมาเจาะลึกลงไปกว่าเดิมว่า ข้อสอบปีนี้จะมีหน้าตาเป็นอย่างไร จะยากขึ้นหรือง่ายขึ้นกว่าปีที่ผ่าน ๆ มา รวมไปถึงเทคนิคการเตรียมตัวทำข้อสอบเคมี A-Level กันครับ ถ้าพร้อมแล้ว เริ่ม!!!

และแน่นอนวันนี้พี่ Panya Society ไม่ได้มาคนเดียวอีกแล้ว วันนี้พี่มาพร้อมกับ “พี่นัท” คุณครูคนเก่งประจำวิชาเคมี แห่ง Panya Society วันนี้พี่นัทจะมาช่วยน้อง ๆ ทุกคนพิชิตข้อสอบเคมี A-Level กันครับ คราวนี้เรามาเริ่มกันที่ข้อสงสัยแรกกันเลยครับ

  • A-Level คืออะไร? วิชาสามัญและ PAT หายไปไหน?

เริ่มต้นกันด้วยคำถามเบื้องต้นก่อนเลยนะครับ แน่นอนว่าน้อง ๆ #Dek66 หลายคนคงจะตื่นเต้น และตื่นตัวกันหลาย ๆ เรื่องตั้งแต่ต้นปี 2565 กันเลยใช่ไหมครับ ว่ารูปแบบการสอบปี 2566 นี้ จะโดนเปลี่ยนอีกแล้วหรอ จนกระทั่งเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2565 ทางที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ก็ได้มีการ Live สด ชี้แจงรูปแบบการสอบ และแจ้งกำหนดการสอบการคัดเลือก TCAS66 ซึ่งเป็นการประกาศอย่างเป็นทางการว่าจะมีการยกเลิกการสอบ PAT และเปลี่ยนเป็น TPAT รวมไปถึงวิชาสามัญก็ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น A-Level (พี่ Panya Society เคยทำบทความอย่างละเอียดไว้แล้วสามารถอ่านได้ที่นี่) โดยมีเหตุผลหลัก ๆ ได้แก่

    • “ต้องการลดความซ้ำซ้อนของข้อสอบ” แน่นอนว่าระบบ TCAS ในปีก่อน ๆ ที่ผ่านมาน้อง ๆ
      ทุกคนจะต้องพบเจอกับเนื้อหาของวิชาเคมี ทั้งใน PAT2 และ วิชาสามัญ เคมี รวมไปถึงหลักเกณฑ์คัดเลือกในบางคณะใช้คะแนนเฉพาะ PAT2 บางคณะใช้เฉพาะวิชาสามัญ
      ทำให้น้อง ๆ หลายคนต้องสมัครสอบทั้ง PAT2 ทั้งวิชาสามัญ ทำให้เกิดการสิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็น มาในปีนี้ ทปอ. จึงทำการลดวิชาของการสอบ ทำให้เนื้อหาของวิชาเคมีมีอยู่แค่
      ในการสอบ A-Level เคมี เท่านั้น
    • “ต้องการปรับให้ตรงตามหลักสูตร สสวท.” การรวมข้อสอบให้เหลือชุดเดียว ช่วยให้การควบคุมเนื้อหาให้ตรงตามหลักสูตรง่ายยิ่งขึ้น แปลว่าหนังสือเรียน สสวท. หลักสูตรปัจจุบัน ยังคงเป็นแกนกลางในการออกข้อสอบ แน่นอนว่าเนื้อหาที่เกินกว่าหลักสูตร หรือถูกตัดออกไปจากหลักสูตร จะไม่ออกข้อสอบ ซึ่งทาง ทปอ. ก็ออกมายืนยันภายในการ Live สดเรียบร้อยแล้ว

คราวนี้เราลองมาดูสถิติการออกข้อสอบว่าแต่ละเนื้อหามีการออกสอบมาก – น้อยแค่ไหน เมื่อเปรียบเทียบระหว่าง เคมี วิชาสามัญปี 2564 และ 2565 กับ Exam Blueprint ของ A-Level วิชาเคมี ปี 2566 (ดู Exam Blueprint ของ A-Level เคมี ปี 2566 อย่างละเอียดได้ที่นี่)

เราลองวิเคราะห์แนวข้อสอบ A – Level วิชาเคมี จากข้อสอบเคมีวิชาสามัญ ปี 65 กัน ว่ารูปแบบของโจทย์ จะเป็นแนวทำความเข้าใจ คำนวณ หรือวิเคราะห์ ในสัดส่วนมากหรือน้อยอย่างไร

แล้วสถิติบอกอะไรกับเรา???

  • จากการวิเคราะห์ข้อสอบเคมีวิชาสามัญ ปี 65 คาดว่าข้อสอบ A – Level ปี 66 มีแนวโน้มที่จะเพิ่มข้อสอบแนววิเคราะห์ (คล้าย ๆ PAT2 แต่ง่ายกว่า) ประมาณ 30 – 40 %

  • ลดข้อสอบที่เป็นความรู้ ความเข้าใจ เหลือเพียง 30 %

  • ข้อสอบแนวคำนวณ ส่วนใหญ่เป็นการ คำนวณ 2 ขั้นขึ้นไป น้อง ๆ ต้องฝึกข้อคำนวณมาให้ดี ๆ เลย

วิเคราะห์แนวข้อสอบ A – Level วิชาเคมี ปี 66

  • จากการวิเคราะห์ข้อสอบเคมีวิชาสามัญ ปี 65 คาดว่าข้อสอบ A – Level ปี 66 จะออกแนวคล้าย ๆ กัน
    ไม่ต่างกันมาก

  • ลักษณะโจทย์ที่เป็นตัวเลือกเป็นโจทย์ยาว ๆ เกินครึ่งหน้ากระดาษ A4 ให้อ่านและคิดวิเคราะห์ ใช้เวลาในการคิดต่อข้อค่อนข้างนาน

  • โจทย์ที่เป็นการคำนวณ มักจะมีการคำนวณมากกว่า 2 ขั้น  กว่าจะได้คำตอบ

  • ไม่ได้ออกเกินเนื้อหาหลักสูตร แต่โจทย์มักจะสมมติสถานการณ์ในชีวิตขึ้นมา เป็นโจทย์อะไรก็ได้ซึ่งเราจะไม่เคยเห็น
    ซึ่งต้องเข้าใจพื้นฐาน และต้องใช้ความคิดวิเคราะห์ด้วย

  • ข้อสอบอาจมีแนวคล้ายข้อสอบวิชาสามัญ  65 และข้อสอบ PAT 2 ตั้งแต่ปี 63 ลงไป

แต่ทั้งนี้พี่ Panya Society และพี่นัทก็ไม่สามารถยืนยันได้แบบ 100% ว่าข้อสอบ A-Level เคมี จะออกตามเคมีวิชาสามัญ ปี 65 แบบแทบจะลอกกันมา เป็นเพียงการคาดการณ์จากสถิติ และตัวอย่างข้อสอบที่ทาง ทปอ. เผยแพร่มาเท่านั้น น้อง ๆ ต้องใช้วิจารณญาณในการอ่านด้วยนะครับ 🙂

ข้อสอบเปลี่ยนไปแปลงยังไง?

แล้วจะรับมือยังไง?

ทำไมต้องเรียนกับ Panya?

PART 2 : แล้วจะรับมือยังไง?

มาถึงตรงนี้น้อง ๆ หลายคนคงเริ่มคลายกังวลใจลงไปบ้างแล้วใช่ไหมครับว่าข้อสอบ A-Level เคมี ปี 2566 คงน่าจะไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปมากขนาดที่จะต้องเตรียมตัวกันใหม่
       คราวนี้พี่ Panya Society และพี่นัท อยากจะให้แนวทางการรับมือกับข้อสอบ A-Level เคมี ปี 2566 กันครับ

1. ต้องเข้าใจหลักการพื้นฐานอย่างชัดเจน

      จากการวิเคราะห์ข้อสอบ เคมีวิชาสามัญ ปี 65 จะเห็นว่ามีข้อสอบที่สมมติสถาณการณ์ที่เราไม่เคยพบมาก่อน ซึ่งต้องใช้ความเข้าใจในหลักการพื้นฐาน ในการคิดวิเคราะห์ ในการทำโจทย์
      ดังนั้น ในการจะรับมือกับข้อสอบ A – Level วิชาเคมี ปี 66 พื้นฐานสำคัญมาก ไม่ควรมองข้าม

2. สูตรการคำนวณต้องแม่น

       เนื่องจากข้อสอบที่เป็นแนวคำนวณ จะมีการคำนวณ 2 ชั้นขึ้นไป ซึ่งก็จะต้องใช้สูตรหลายสูตรในการคำนวณด้วย
      ดังนั้น น้อง ๆ ก็ควรที่จะใช้สูตรให้คล่อง และต้องมีความเข้าใจในสูตรต่าง ๆ เพราะ การท่องสูตร และจำสูตรได้ แต่ใช้สูตรไม่เป็น ก็จะไม่สามารถทำโจทย์คำนวณได้ ยิ่งมีการคำนวณหลายชั้น ยิ่งต้องแม่นในสูตรมาก ๆ

3. เน้นฝึกการคิดวิเคราะห์จากภาพ กราฟ ทุกรูปที่อยู่ในหนังสือ

ในหลักสูตรใหม่ของวิชาเคมี สสวท. ปี 2560 จะมีรูปภาพ กราฟ และแผนภูมิ ต่าง ๆ มากมาย ซึ่งมักถูกยกมาเป็นส่วนหนึ่งของข้อสอบ
      ดังนั้น น้อง ๆ ควรทำความเข้าใจกับรูป กราฟ และแผนภูมิต่าง ๆ ในหนังสือ สสวท. ทุกรูป เพื่อให้น้อง ๆ พร้อมที่จะรับมือกับข้อสอบที่มีการนำรูป กราฟ และแผนภูมิ มาใช้ในโจทย์

ข้อสอบเปลี่ยนแปลงไปยังไง?

แล้วจะรับมือยังไง?

ทำไมต้องเรียนกับ Panya?

PART 3 : ทำไมต้องเรียนกับ Panya?

"ทำไมข้อสอบเปลี่ยนไป จึงทำอะไร Panya Society ไม่ได้?"

    ไม่ใช่เรื่องน่ากังวลใจอีกแล้ว เมื่อน้องวิเคราะห์ข้อสอบได้ น้องเข้าใจข้อสอบจริง ๆ และเรียนรู้กับคนที่สอนให้น้องใช้ความรู้ให้เป็น ไม่ใช่ท่องสิ่งที่ไม่จำเป็นเข้าห้องสอบ แล้วพบกันในคอร์ส TCAS66 วิชาเคมี เตรียมตัวสอบ A-Level เคมี ได้อย่างไร้กังวล พร้อมเฉลยโจทย์ข้อสอบปี 65 Update ใหม่ล่าสุด มีการรวบรวมการจัดหมวดหมู่ของข้อสอบรวมมากที่สุดถึง 2,000 ข้อ ให้น้องฝึกทำข้อสอบทุกสไตล์ พร้อมเฉลยทุกข้อ อยากตะลุยโจทย์ หรือเตรียมอัดเนื้อหาที่มุ่งความเข้าใจแบบลึกถึงแนวคิดคนออกข้อสอบ สสวท. ก็แวะมาสอบถามได้ที่ Panya Society เลยครับ ที่นี่เรามีระบบผู้ช่วยถาม-ตอบทุกข้อสงสัยตลอด 24 ชั่วโมง

:: ผู้เขียน ::
ณัฏฐพล อิสรเสรีรักษ์ (พี่นัท)

● ปริญญาตรี โท เอก คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ
● บัณฑิตศึกษาปริญญาโทที่มีผลการเรียนดีเด่น (รางวัล ดร.แถบ นีละนิธิ)
● อาจารย์พิเศษ วิชาเคมี ห้องเรียนพิเศษ gifted โรงเรียนมัธยม

ข้อสอบเปลี่ยนแปลงไปยังไง?

แล้วจะรับมือยังไง?

ทำไมต้องเรียนกับ Panya?

เรียนสนุก ทำโจทย์คล่อง สอบให้ติด

: คอร์สแนะนำ :

SHARE: