PANYA SOCIETY

ฟังก์ชันตรีโกณมิติ

สรุปเนื้อหาคณิตศาสตร์ ม.5 เทอม 1 เรื่อง ฟังก์ชันตรีโกณมิติ

สรุปเนื้อหาที่สำคัญ

     เดินทางมาสู่บทที่ 1 ของคณิตศาสตร์ ม.5 เทอม 1 “ฟังก์ชันตรีโกณมิติ” ก็นับว่าเป็นบทสำคัญอย่างยิ่งอีกเช่นกัน เพราะในสถิติข้อสอบ TCAS สัดส่วนการออกข้อสอบบทนี้ ในปีที่ผ่านๆมา ทั้งใน PAT1 และ 9 วิชาสามัญ พบความถี่ในการออกข้อสอบสูงสุด โดยเฉลี่ยถึงประมาณ 3-4 ข้อในทุกปี

       นับว่าบทเรียนคณิตศาสตร์ ม.5 เทอม 1 เรื่อง “ฟังก์ชันตรีโกณมิติ” มีความสำคัญอย่างยิ่งที่น้อง ๆ จะต้องทำความเข้าใจเนื้อหาโดยละเอียด และอัดพื้นฐานของบทนี้ให้แน่น เพื่อพร้อมรับมือกับการทำข้อสอบที่มีความหลากหลาย และควรฝึกทำโจทย์ที่ประยุกต์หลายบทเข้าไว้ด้วยกัน ที่มีเนื้อหาร่วมกับบทนี้

      อย่างที่กล่าวข้างต้น ฟังก์ชันตรีโกณมิติ ออกข้อสอบหลายข้อจริง ๆ ดังนั้น น้อง ๆ ก็ควรใช้เป็นข้อที่ทำคะแนนอย่างยิ่ง เพื่อให้การอ่านหนังสือเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัยคุ้มค่าที่สุด

ฟังก์ชันตรีโกณมิติ มีหน่วยย่อย ดังนี้

  • ทบทวนบทเรียนเรื่องตรีโกณมิติ
  • มุมเรเดียนและวงกลมหนึ่งหน่วย 
  • ฟังก์ชันตรีโกณมิติ 
  • ทบทวนเครื่องหมายของฟังก์ชันตรีโกณมิติ 
  • กราฟของฟังก์ชันตรีโกณมิติ 
  • เอกลักษณ์ตรีโกณมิติ 
  • สูตรตรีโกณมิติ
  • ตัวผกผันของฟังก์ชันตรีโกณมิติ 
  • สมการตรีโกณมิติ 
  • กฎของโคไซน์และกฎของไซน์ 
  • การแก้ปัญหาโดยใช้ตรีโกณมิติ 

ทบทวนบทเรียนเรื่องตรีโกณมิติ

มุมภายในของรูปสามเหลี่ยม

มุมภายในของรูปสามเหลี่ยม มีผลรวมเท่ากับ 180°

สามเหลี่ยมมุมฉาก

ทฤษฎีบทพีทาโกรัส

a2 + b2 = c2

สามเหลี่ยมคล้าย

สามเหลี่ยมสองรูป จะคล้ายกันเมื่อมีมุมเท่ากันทั้งสามคู่

△ AฺBC ~ △ DEF

จะได้ว่า อัตราส่วนของด้านที่อยู่ระหว่างมุมเดียวกัน จะมีอัตราส่วนเท่ากัน

เช่น


อัตราส่วนตรีโกณมิติ

***ข้อควรรู้***

เมื่อเรารู้ความยาวด้านสองด้านของสามเหลี่ยมมุมฉาก จะหาความยาวอีกด้านได้จากทฤษฎีบทพีทาโกรัส ดังนั้น เราจะหาอัตราส่วนตรีโกณมิติทั้งหมดได้เสมอ เมื่อรู้ความยาวด้านเพียงสองด้าน


ค่าตรีโกณมิติของมุมที่พบบ่อย

กราฟของฟังก์ชันตรีโกณมิติ

– กราฟของ y = sin x

– กราฟของ y = cos x

– กราฟของ y = tan x

– กราฟของ y = cot x

– กราฟของ y = sec x

– กราฟของ y = cosec x


การแปลงกราฟของฟังก์ชันไซน์และโคไซน์

– คาบ คือ ความยาวของช่วงที่สั้นที่สุดที่ทำให้กราฟของฟังก์ชันมีลักษณะเหมือนกันกับช่วงอื่น ๆ
– แอมพลิจูด คือ ครึ่งหนึ่งของผลต่างระหว่างค่าสูงสุดและค่าต่ำสุดของฟังก์ชัน

กำหนดให้ C เป็นค่าคงที่ ซึ่งไม่เท่ากับ 0

    • sin(Cx) หรือ cos(Cx) :       คาบ = 2π/|C|   เรนจ์ = [-1, 1]   แอมพลิจูด = 1

    • sin x + C หรือ cos x + C :   คาบ = 2π   เรนจ์ = [C-1, C+1]   แอมพลิจูด = 1

    • C sin x หรือ C cos x :       คาบ = 2π   เรนจ์ = [-|C|, |C|]   แอมพลิจูด = |C|    

เอกลักษณ์ตรีโกณมิติ

กำหนดให้ n เป็นจำนวนเต็ม

sin2 θ + cos2 θ = 1

sec2 θ = tan2 θ + 1

cosec2 θ = cot2 θ + 1

sin (θ + 2nπ) = sin θ

cos (θ + 2nπ) = cos θ

tan (θ + 2nπ) = tan θ

sec (θ + 2nπ) = sec θ

cosec (θ + 2nπ) = cosec θ

cot (θ + 2nπ) = cot θ

sin (-θ ) = – sin θ

cos (-θ ) = cos θ

tan (-θ ) = – tan θ

sec (-θ ) = sec θ

cosec (-θ ) = – cosec θ

cot (-θ ) = – cot θ

สูตรตรีโกณมิติ

สูตรผลบวกและผลต่างของมุม

sin⁡(A+B) = sin⁡ A cos ⁡B + cos ⁡A sin ⁡B
sin⁡(A-B) = sin ⁡A cos ⁡B – cos ⁡A sin ⁡B
cos⁡(A+B) = cos⁡ A cos ⁡B – sin ⁡A sin⁡ B
cos⁡(A-B) = cos ⁡A cos ⁡B + sin ⁡A sin⁡ B
                                                   

 

 

สูตรมุมสองเท่า

sin⁡ 2A = 2 sin ⁡A cos ⁡A
cos⁡ 2A = cos2 A – sin2 A
          = 1 – 2 sin2 A
          = 2 cos2 A – 1                                                                               

สูตรมุมครึ่งเท่า

สูตรผลคูณของ sin กับ cos

2 cos⁡ A cos ⁡B = cos⁡(A+B) + cos(A-B)
-2 sin⁡A sin⁡B = cos⁡(A+B) – cos(A-B)
2 sin⁡A cos⁡B = sin⁡(A+B) + sin(A-B)
2 cos⁡A sin⁡B = sin⁡(A+B) – sin(A-B)

ตัวผกผันของฟังก์ชันตรีโกณมิติ

ตัวผกผันของฟังก์ชันตรีโกณมิติ เขียนแทนด้วย arc ตามด้วยฟังก์ชันตรีโกณมิติ หรือ ฟังก์ชันตรีโกณมิติ-1

เช่น       จาก sin⁡ θ = 1 

           จะได้ arcsin(1) = θ = sin-1(1) = 90°

เรนจ์ของฟังก์ชัน arc

arcsin : [-90°, 90°]
arctan : (-90°, 90°)
arccosec : [-90°, 90°] – {0°}

arccos : [0°, 180°]
arccot : (0°, 180°)
arcsec : [0°, 180°] – {90°}

เทคนิคการหาค่าของฟังก์ชันตรีโกณมิติผกผัน

1. ไม่สนใจเครื่องหมายของค่าในฟังก์ชันตรีโกณมิติผกผัน ให้หาค่า θ ของค่าบวกก่อน
2. พิจารณาว่า θ ควรอยู่ในจตุภาคใด โดยดูจากเรนจ์ของฟังก์ชันตรีโกณมิติผกผันนั้น

ตัวอย่างโจทย์

จงหา sec -1(-2)  เฉลย

เทคนิคการหาค่าของฟังก์ชันตรีโกณมิติจากมุม arc

1. กำหนดมุม arc เป็นมุม θ
2. วาดรูปสามเหลี่ยมมุมฉากของมุม α ซึ่งมีค่าฟังก์ชันตรีโกณมิติ เท่ากับ |ค่าฟังก์ชันตรีโกณมิติของมุม θ|
3. หาค่าของฟังก์ชันตรีโกณมิติที่ต้องการ จากรูปสามเหลี่ยมมุมฉากของมุม α
4. พิจารณาเครื่องหมายของค่าฟังก์ชันตรีโกณมิติที่ต้องการ โดยการพิจารณาว่ามุม θ อยู่จตุภาคใด

ตัวอย่างโจทย์

จงหา sin(2 arctan (2))  เฉลย

สมการตรีโกณมิติ

เทคนิคการแก้สมการตรีโกณมิติ

1. เปลี่ยน cosec, sec, cot ไปเป็น sin, cos, tan
2. ปรับสมการให้เหลือฟังก์ชันตรีโกณมิติน้อยที่สุด
3. ใช้สูตรหรือเอกลักษณ์ตรีโกณมิติต่าง ๆ ปรับสมการให้อยู่ในรูป ผลคูณ = 0
4. ใช้การแก้สมการตัวแปรเดียวหรือการแก้สมการพหุนาม มาช่วยแก้
   เช่น    tan2 ⁡θ – 3 tan ⁡θ + 2 = 0
          (tan ⁡θ – 2)(tan ⁡θ – 1) = 0
5. ตรวจเครื่องหมายของคำตอบและช่วงของคำตอบให้ดี เพื่อให้ได้คำตอบครบ ถูกต้อง และไม่เกิน

ตัวอย่างโจทย์

จงแก้สมการ cos 2θ + 5 sin θ + 2 = 0   เฉลย

กฎของไซน์และกฎของโคไซน์

กฎของไซน์

กฎของโคไซน์

a2 = c2 + b2 – 2bc cos A

การแก้ปัญหาโดยใช้ตรีโกณมิติ

1. วาดรูป เพื่อให้เห็นภาพและสามารถวิเคราะห์โจทย์ได้ง่ายขึ้น
2. หาข้อมูลที่เรารู้จากโจทย์
3. ตีความโจทย์ ว่าต้องการให้หาอะไร
4. ใช้ความรู้เกี่ยวกับตรีโกณมิติในการแก้ปัญหา

ตัวอย่างโจทย์

เจนนี่ยืนอยู่บนสนามแห่งหนึ่งมองเห็นยอดเสาธงเป็นมุมเงย 15° แต่เมื่อตรงเข้าไปหาเสาธงอีก 60 เมตร เขามองเห็นยอดเสาธงเป็นมุมเงย 75° ถ้าเจนนี่สูง 165° เซนติเมตร จงหาความสูงของเสาธง

 เฉลย

คุยกันท้ายบท

       จะเห็นได้ว่า ฟังก์ชันตรีโกณมิติ ในคณิตศาสตร์ ม.5 เทอม 1 จะมีความเชื่อมโยงกับบทที่ผ่านมาคือ ความสัมพันธ์ และฟังก์ชัน ซึ่งถ้าน้องคนไหน ไม่มีความรู้ความเข้าใจที่แท้จริงจากบทที่แล้ว ก็จะยิ่งสร้างปมปัญหาต่อมาถึงบทนี้ ดังนั้น ควรกลับไปทบทวน ความสัมพันธ์ และฟังก์ชัน จะได้นำความรู้ความเข้าใจจากบทที่แล้ว มาต่อยอดได้ในเนื้อหาของบทนี้

       ที่สำคัญคือ อย่าลืมฝึกทำโจทย์บ่อย ๆ และใช้เวลาว่างบนหน้าเว็บไซต์ของ Panya Society ลองฝึกทำโจทย์ที่พี่ให้ไว้ หรือเข้าไปชมตัวอย่างวิดีโอการสอนต่าง ๆ พร้อมคิดคำนวณตามไปด้วย เพื่อให้ได้ประโยชน์จากการทบทวนความรู้ครับ แล้วพบกันในบทต่อไป เข้มข้นยิ่งขึ้นกับเมทริกซ์ มีรูปแบบการคิดแบบใหม่ สนุกแน่นอนครับผม 🙂

       พี่หวังว่า น้อง ๆ จะสนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์ ม.5 เทอม 1 ไปตลอดทั้งเทอม ขอให้น้อง ๆ ประสบความสำเร็จในการเรียน ได้เกรดดังหวัง คะแนนปังทุกคนเลยครับ แวะไปชมเนื้อหาบทต่อไปของคณิตศาสตร์ ม.5 เทอม 1 กันด้วยนะ…อย่าเทพี่แชร์และพี่ปิงกลางทางนะครับ

กลับหน้าบทความหลัก

บทที่ 2 เมทริกซ์

ตัวอย่างการสอน โดยพี่แชร์

ตัวอย่างการสอน โดยพี่ปิง

เรียนสนุก ทำโจทย์คล่อง สอบให้ติด

: คอร์สแนะนำ :

SHARE: