PANYA SOCIETY
ข้อสอบ TCAS A-Level คณิตศาสตร์ เปลี่ยนไป!!!
ตัวอย่างเฉลยข้อสอบ คณิตศาสตร์ วิชาสามัญปี 2565
ตัวอย่างเฉลยข้อสอบ คณิตศาสตร์ วิชาสามัญปี 2565
PART 1 : ข้อสอบเปลี่ยนแปลงไปยังไง?
สวัสดีครับน้อง ๆ #Dek66 ทุกคน วันนี้พี่ Panya Society กลับมาอีกครั้งพร้อมบทความที่เกี่ยวกับ TCAS66 อีกแล้วนะครับ โดยวันนี้เราจะว่ากันด้วยเรื่องของข้อสอบคณิตศาสตร์ A-Level กันนะครับ หลังจากบทความที่ผ่านมา เราได้ดูหน้าตาของโครงสร้างข้อสอบ (Exam Blueprint) กันไปแล้ว มาคราวนี้พี่ Panya Society ขอบอกเลยว่าวันนี้เราจะมาเจาะลึกลงไปกว่าเดิมว่า ข้อสอบปีนี้จะมีหน้าตาเป็นอย่างไร จะยากขึ้นหรือง่ายขึ้นกว่าปีที่ผ่าน ๆ มา รวมไปถึงเทคนิคการเตรียมตัวทำข้อสอบคณิตศาสตร์ A-Level กันครับ ถ้าพร้อมแล้ว เริ่ม!!!
และแน่นอนวันนี้พี่ Panya Society ไม่ได้มาคนเดียวอีกแล้ว วันนี้พี่มาพร้อมกับ “พี่นอต” คุณครูคนเก่งประจำวิชาคณิตศาสตร์ แห่ง Panya Society วันนี้พี่นอตจะมาช่วยน้อง ๆ ทุกคนพิชิตข้อสอบคณิตศาสตร์ A-Level กันครับ คราวนี้เรามาเริ่มกันที่ข้อสงสัยแรกกันเลยครับ
- A-Level คืออะไร? วิชาสามัญและ PAT หายไปไหน?
เริ่มต้นกันด้วยคำถามเบื้องต้นก่อนเลยนะครับ แน่นอนว่าน้อง ๆ #Dek66 หลายคนคงจะตื่นเต้น และตื่นตัวกันหลาย ๆ เรื่องตั้งแต่ต้นปี 2565 กันเลยใช่ไหมครับ ว่ารูปแบบการสอบปี 2566 นี้ จะโดนเปลี่ยนอีกแล้วหรอ จนกระทั่งเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2565 ทางที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ก็ได้มีการ Live สด ชี้แจงรูปแบบการสอบ และแจ้งกำหนดการสอบการคัดเลือก TCAS66 ซึ่งเป็นการประกาศอย่างเป็นทางการว่าจะมีการยกเลิกการสอบ PAT และเปลี่ยนเป็น TPAT รวมไปถึงวิชาสามัญก็ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น A-Level (พี่ Panya Society เคยทำบทความอย่างละเอียดไว้แล้วสามารถอ่านได้ที่นี่) โดยมีเหตุผลหลัก ๆ ได้แก่
- “ต้องการลดความซ้ำซ้อนของข้อสอบ” แน่นอนว่าระบบ TCAS ในปีก่อน ๆ ที่ผ่านมาน้อง ๆ
ทุกคนจะต้องพบเจอกับเนื้อหาของวิชาคณิตศาสตร์ ทั้งใน PAT1 และ วิชาสามัญ คณิตศาสตร์ รวมไปถึงหลักเกณฑ์คัดเลือกในบางคณะใช้คะแนนเฉพาะ PAT1 บางคณะใช้เฉพาะวิชาสามัญ
ทำให้น้อง ๆ หลายคนต้องสมัครสอบทั้ง PAT1 ทั้งวิชาสามัญ ทำให้เกิดการสิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็น มาในปีนี้ ทปอ. จึงทำการลดวิชาของการสอบ ทำให้เนื้อหาของวิชาคณิตศาสตร์มีอยู่แค่
ในการสอบ A-Level คณิตศาสตร์ เท่านั้น - “ต้องการปรับให้ตรงตามหลักสูตร สสวท.” การรวมข้อสอบให้เหลือชุดเดียว ช่วยให้การควบคุมเนื้อหาให้ตรงตามหลักสูตรง่ายยิ่งขึ้น แปลว่าหนังสือเรียน สสวท. หลักสูตรปัจจุบัน ยังคงเป็นแกนกลางในการออกข้อสอบ แน่นอนว่าเนื้อหาที่เกินกว่าหลักสูตร หรือถูกตัดออกไปจากหลักสูตร จะไม่ออกข้อสอบ ซึ่งทาง ทปอ. ก็ออกมายืนยันภายในการ Live สดเรียบร้อยแล้ว
- “ต้องการลดความซ้ำซ้อนของข้อสอบ” แน่นอนว่าระบบ TCAS ในปีก่อน ๆ ที่ผ่านมาน้อง ๆ
คราวนี้เราลองมาดูสถิติการออกข้อสอบว่าแต่ละเนื้อหามีการออกสอบมาก – น้อยแค่ไหน เมื่อเปรียบเทียบระหว่าง คณิตศาสตร์ วิชาสามัญปี 2564 และ 2565 กับ Exam Blueprint ของ A-Level วิชาคณิตศาสตร์ ปี 2566 (ดู Exam Blueprint ของ A-Level วิชาคณิตศาสตร์ ปี 2566 อย่างละเอียดได้ที่นี่)
แล้วสถิติบอกอะไรกับเรา???
- ถ้าสังเกตให้ดีจำนวนข้อที่ออกสอบในแต่ละบท ค่อนข้างจะตรงกับสถิติย้อนหลังของคณิตศาสตร์วิชาสามัญทั้ง 2 ปี ที่ สสวท. เป็นคนออก
- ดังนั้นเราจึงค่อนข้างมั่นใจได้ว่าข้อสอบ A-Level คณิตศาสตร์ ปี 66 น่าจะใช้ข้อสอบ คณิตศาสตร์ วิชาสามัญปี 65 และ 64 เป็นเกณฑ์ในการอ้างอิงในการออกข้อสอบ ทำให้ข้อสอบไม่ได้เปลี่ยนไปแบบหน้ามือเป็นหลังมือขนาดนั้น
- แล้วถ้าจำนวนข้อที่ออกในเนื้อหาแต่ละบทอ้างอิงจากข้อสอบ คณิตศาสตร์ วิชาสามัญปี 65 และ 64 เราก็สามารถอนุมานได้ว่าเนื้อหาที่ออกสอบก็น่าจะอ้างอิงจากแหล่งเดียวกัน
- ซึ่งแปลว่าถ้าทำข้อสอบ คณิตศาสตร์ วิชาสามัญปี 65 และ 64 ได้ ก็จะช่วยให้ทำข้อสอบปี A-Level คณิตศาสตร์ 66 ได้แน่นอน
และเมื่อเราเอาตัวอย่างข้อสอบที่ทาง ทปอ. เผยแพร่ไว้ใน Exam Blueprint มาดูดี ๆ จะพบว่าข้อสอบเหล่านี้ถูกเคยนำไปออกสอบคณิตศาสตร์วิชาสามัญ ทั้งปี 65 และ 64 กันมาแล้วทั้งนั้น ตัวอย่างเช่น (กดที่รูปเพื่อดูภาพใหญ่)
แต่ทั้งนี้พี่ Panya Society และพี่นอตก็ไม่สามารถยืนยันได้แบบ 100% ว่าข้อสอบ A-Level คณิตศาสตร์ จะออกตาม คณิตศาสตร์ วิชาสามัญ ปี 65 และ 64 แบบแทบจะลอกกันมา เป็นเพียงการคาดการณ์จากสถิติ และตัวอย่างข้อสอบที่ทาง ทปอ. เผยแพร่มาเท่านั้น น้อง ๆ ต้องใช้วิจารณญาณในการอ่านด้วยนะครับ 🙂
นอกจากนี้พี่ Panya Society และพี่นอต ขอแนะนำให้น้อง ๆ ดูข้อสอบ PAT1 ปี 64 และ 65 ด้วย เพราะข้อสอบมีความคล้ายกับข้อสอบวิชาสามัญมาก จะได้มีโจทย์ให้ฝึกทำเพิ่ม รับรองว่ามีประโยชน์แน่นอน
PART 2 : แล้วจะรับมือยังไง?
มาถึงตรงนี้น้อง ๆ หลายคนคงเริ่มคลายกังวลใจลงไปบ้างแล้วใช่ไหมครับว่าข้อสอบ A-Level คณิตศาสตร์ ปี 2566 คงน่าจะไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปมากขนาดที่จะต้องเตรียมตัวกันใหม่
คราวนี้พี่ Panya Society และพี่นอต อยากจะให้แนวทางการรับมือกับข้อสอบ รวมไปถึงตัวอย่างข้อสอบที่คาดว่าน่าจะพบเจอในการสอบ A-Level คณิตศาสตร์ ปี 2566 กันครับ
1. ฝึกแนวโจทย์ที่คาดว่าจะออกทุกปี
จากสถิติข้อสอบปี 64 และ 65 จะพบว่า มีโจทย์อยู่ 3 แนว ที่มักจะออกเป็นประจำทุกปี ได้แก่
- โจทย์ปัญหาจำนวนจริง
- ดอกเบี้ยทบต้น
- การแจกแจงปกติ
ดังนั้น การฝึกทำโจทย์เหล่านี้ให้ได้ ก็เหมือนได้คะแนนมาเก็บไว้แล้วส่วนหนึ่ง
ตัวอย่างข้อสอบโจทย์ปัญหาจำนวนจริง
ตัวอย่างข้อสอบดอกเบี้ยทบต้น
ตัวอย่างข้อสอบการแจกแจงปกติ
2. อ่านแผนภูมิหรือกราฟให้เป็น
จากสถิติข้อสอบปี 64 และ 65 จะพบว่ามีโจทย์บางข้อที่นำเสนอข้อมูลออกมาในรูปแบบแผนภูมิ หรือกราฟ ซึ่งหากน้อง ๆ สามารถอ่านและตีความข้อมูลจากแผนภูมิหรือกราฟได้ โจทย์เหล่านั้นก็จะกลายเป็นโจทย์ธรรมดาที่น้อง ๆ เคยเห็นบ่อย ๆ และเป็นโจทย์ที่ไม่ยาก ไม่ควรพลาดคะแนนจากข้อเหล่านี้
ตัวอย่างข้อสอบที่มีแผนภูมิและกราฟ
3. บทใหม่ก็ออกสอบด้วย
ในหลักสูตรใหม่ของวิชาคณิตศาสตร์ สสวท. ปี 2560 เนื้อหาของ ม.6 เทอม 2 จะมีบทใหม่เพิ่มมา คือ ตัวแปรสุ่มและการแจกแจงความน่าจะเป็น
ซึ่งบทใหม่นี้ก็มีออกสอบในข้อสอบปี 64 และ 65 ที่ผ่านมาเช่นกัน น้อง ๆ อย่าลืมไปดูเนื้อหาในบทใหม่นี้มากันด้วยนะ
ตัวอย่างข้อสอบตัวแปรสุ่มและการแจกแจงความน่าจะเป็น
4. พื้นฐานง่าย ๆ อย่ามองข้าม
ในการเรียนคณิตศาสตร์นั้น พื้นฐานของแต่ละบทเป็นสิ่งที่สำคัญและไม่ควรมองข้าม เพราะการเข้าใจในพื้นฐานจะทำให้น้อง ๆ เข้าใจเนื้อหาทั้งหมดของบทนั้น ๆ ได้ไม่ยาก ซึ่งจะช่วยให้การเรียนคณิตศาสตร์ของน้อง ๆ ง่ายขึ้นเยอะมาก
นอกจากจะช่วยให้เรียนได้ง่ายขึ้นแล้ว ในข้อสอบคณิตศาสตร์ปี 64 และ 65 ยังมักจะถามถึงเนื้อหาที่เป็นพื้นฐานมาก ๆ ของบทนั้น ๆ หรือไม่ก็ต้องใช้ความรู้พื้นฐานเหล่านั้นมมาช่วยแก้โจทย์
ดังนั้น จึงไม่ควรมองข้ามเนื้อหาที่เป็นพื้นฐานง่าย ๆ จนลืมเนื้อหาส่วนนั้้นไป
ตัวอย่างข้อสอบที่ต้องใช้ความรู้พื้นฐานในการแก้โจทย์
PART 3 : ทำไมต้องเรียนกับ Panya?
- เรียนกับ 'คนที่เข้าใจข้อสอบ’
- เรียนกับคนที่สอนด้วยความเข้าใจ ไม่ใช่การใช้สูตรลัด หรือการจำ pattern ข้อสอบเข้าห้องสอบ
- ข้อสอบเปลี่ยนไปแล้ว น้องติวแบบเดิม ท่องแบบเดิม ‘สอบไม่ติดแน่นอนครับ’
- หนทางเดียวที่จะสอบติด คือ เรียนคณิตศาสตร์เพื่อความเข้าใจกันนะครับ แล้วพบกันครับ
- เรียนกับ 'คนที่เข้าใจข้อสอบ’
- เรียนกับคนที่สอนด้วยความเข้าใจ ไม่ใช่การใช้สูตรลัด หรือการจำ pattern ข้อสอบเข้าห้องสอบ
- ข้อสอบเปลี่ยนไปแล้ว น้องติวแบบเดิม ท่องแบบเดิม ‘สอบไม่ติดแน่นอนครับ’
- หนทางเดียวที่จะสอบติด คือ เรียนคณิตศาสตร์เพื่อความเข้าใจกันนะครับ แล้วพบกันครับ
"ทำไมข้อสอบเปลี่ยนไป จึงทำอะไร Panya Society ไม่ได้?"
ไม่ใช่เรื่องน่ากังวลใจอีกแล้ว เมื่อน้องวิเคราะห์ข้อสอบได้ น้องเข้าใจข้อสอบจริง ๆ และเรียนรู้กับคนที่สอนให้น้องใช้ความรู้ให้เป็น ไม่ใช่ท่องสิ่งที่ไม่จำเป็นเข้าห้องสอบ แล้วพบกันในคอร์ส TCAS วิชาคณิตศาสตร์ เตรียมตัวสอบ A-Level คณิตศาสตร์ ได้อย่างไร้กังวล พร้อมเฉลยโจทย์ข้อสอบปี 65 Update ใหม่ล่าสุด ทั้ง วิชาสามัญ และ PAT1 มีการรวบรวมการจัดหมวดหมู่ของข้อสอบรวมมากที่สุดถึง 1,500 ข้อ ให้น้องฝึกทำข้อสอบทุกสไตล์ พร้อมเฉลยทุกข้อ อยากตะลุยโจทย์ หรือเตรียมอัดเนื้อหาที่มุ่งความเข้าใจแบบลึกถึงแนวคิดคนออกข้อสอบ สสวท. ก็แวะมาสอบถามได้ที่ Panya Society เลยครับ ที่นี่เรามีระบบผู้ช่วยถาม – ตอบทุกข้อสงสัยตลอด 24 ชั่วโมง
:: ผู้เขียน ::
ดร.ธรรมนิติ์ พิพัฒน์ศรีสวัสดิ์ (พี่นอต)
● ทำงานตำแหน่ง Software Engineer ที่ Google กว่า 10 ปี
● ผู้ก่อตั้งสถาบันกวดวิชาออนไลน์ Panya Society
● ผู้คิดค้นรูปแบบการเรียน Panya EnterBrain “เน้นเข้าใจ เพื่อใช้ได้จริง”