ฟิสิกส์ - การล้มของวัตถุ ถ้ามีกล่องใบใหญ่อยู่นิ่งบนพื้นที่มีแรงเสียดทาน และเราดึงกล่องใบนั้น โดยให้แนวแรงผ่านจุดศูนย์กลางมวลแต่วัตถุก็ยังอยู่นิ่ง ดังรูป การที่กล่องอยู่นิ่งได้ แสดงว่าอยู่ในสมดุลจาก ΣF = 0 : F = fs และ FN = mg แต่ถ้าใช้ Στ = 0 และให้จุด cm เป็นจุดหมุน ทำให้แรงที่ผ่านจุดหมุนไม่ต้องนำมาคิด แต่มีแรง fs ที่ไม่ผ่านจุดหมุนเพียงแรงเดียว ดังนั้น Στ ไม่มีทางเท่ากับ 0 แต่วัตถุกลับไม่หมุน เป็นเพราะว่า แรง FN จากรูป มีการเลื่อนไปด้านขวาด้วย ทำให้เกิดทอร์กที่ทิศตรงข้ามกับทอร์กจากแรง fs ดังรูป การที่แรง FN เลื่อนไปอยู่ทางขวาก็เพราะมีแรง F มาดึงวัตถุทางขวา ทำให้ทางซ้ายของกล่องจะแตะพื้นด้วยน้ำหนักที่น้อยลง FN จึงเลื่อนมาทางขวา เมื่อแรง F มีค่ามากขึ้นจนแรง FN ไปอยู่ตรงขอบของวัตถุ แสดงว่าวัตถุจะเริ่มล้ม แต่ถ้าแรง F เท่ากับแรงเสียดทานสถิตมากสุด ก่อนที่ FN จะเลื่อนมาถึงขอบ วัตถุจะเริ่มไถล F < Fsmax วัตถุจะเริ่มล้ม F = Fsmax วัตถุจะเริ่มไถล กลับไปหน้าบทความหลัก กลับไปหน้าบทความฟิสิกส์ TAG:TCAS, เรียนออนไลน์, เรียนTCAS, เรียนพิเศษTCAS, ติวสอบแพทย์, ติวเข้าแพทย์, ติวสอบหมอ, ติวเข้าหมอ, ติวโอเน็ต, ติวสอบonet, ติว9วิชาสามัญ, เรียนฟิสิกส์, เรียนพิเศษฟิสิกส์, ติวฟิสิกส์ออนไลน์, สอนฟิสิกส์ออนไลน์, ติวเตอร์ฟิสิกส์ออนไลน์, คอร์สติวpat2, คอร์สpat2, ฟิสิกส์ออนไลน์, ฟิสิกส์ SHARE: Facebook Twitter Instagram Youtube