ฟิสิกส์ - งาน

งานในทางฟิสิกส์จะเกิดขึ้นได้ต้องมีแรงมากระทำกับวัตถุให้วัตถุเคลื่อนที่ไปในทิศเดียวกับแรงที่กระทำเท่านั้น

สูตรของงาน คือ

W = FS หน่วย J (จูล) หรือ N.m

โดยที่

W = งานที่เกิดขึ้น
 F = แรงที่มากระทำต่อวัตถุนั้น
 S = การกระจัดที่วัตถุเคลื่อนที่

สูตรการคำนวณหางานมีหลายกรณี

กรณีที่ 1 แรงมีทิศเดียวกับการเคลื่อนที่

ตรงตามนิยาม ใช้สูตร W = FS ได้เลย

กรณีที่ 2 ทิศของแรงกระทำและการเคลื่อนที่ของวัตถุไม่ได้อยู่ในแนวเดียวกัน

เนื่องจากแรง F ไม่มีทิศตามการเคลื่อนที่ จึงต้องใช้การแตกแรงช่วย

จะเห็นได้ว่าแรงที่มีทิศเดียวกับการเคลื่อนที่ คือ Fcosθ นำไปใส่สูตร

จึงได้สูตรว่า

W  =  FScosθ

โดย

 θ  =  มุมระหว่างแรงกับการกระจัด

กรณีที่ 3 แรงมีทิศตรงข้ามกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ

เนื่องจากแรงมีทิศตรงข้ามกับการเคลื่อนที่ของวัตถุจะใช้สูตร W = FS ไม่ได้ แต่จากกรณีที่ 2 มีสูตรว่า W = FScosθ การที่ทิศตรงข้ามกันแปลว่าทำมุมกัน 180°

นำไปใส่สูตร

W  =  FScosθ

จะได้

W  =  FScos 180°

W  =  -FS

สุปิติ บูรณวัฒนาโชค

ปัจจุบันทำงานในบริษัท Start-up ด้านเทคโนโลยีหลายแห่ง
อดีตตัวแทนนักเรียนไทยไปแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกระหว่างประเทศ
ได้รับทุนธนาคารแห่งประเทศไทย ไปศึกษาต่อระดับปริญญาตรีและโท คณะ Electrical and Computer Engineering (วิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์) ที่ Carnegie Mellon University ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยจบทั้งสองปริญญาในเวลา 4 ปี
เคยทำงานที่บริษัท Oracle สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นบริษัทซอฟต์แวร์ระดับ Top 5 ของโลก
ผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์เด็กดีดอทคอม