ฟิสิกส์ - การล้มของวัตถุ

ถ้ามีกล่องใบใหญ่อยู่นิ่งบนพื้นที่มีแรงเสียดทาน และเราดึงกล่องใบนั้น โดยให้แนวแรงผ่านจุดศูนย์กลางมวลแต่วัตถุก็ยังอยู่นิ่ง ดังรูป

การที่กล่องอยู่นิ่งได้ แสดงว่าอยู่ในสมดุล
จาก ΣF = 0 : F = fs และ FN = mg

แต่ถ้าใช้ Στ = 0 และให้จุด cm เป็นจุดหมุน ทำให้แรงที่ผ่านจุดหมุนไม่ต้องนำมาคิด แต่มีแรง fs ที่ไม่ผ่านจุดหมุนเพียงแรงเดียว ดังนั้น Στ ไม่มีทางเท่ากับ 0

แต่วัตถุกลับไม่หมุน เป็นเพราะว่า แรง FN จากรูป มีการเลื่อนไปด้านขวาด้วย ทำให้เกิดทอร์กที่ทิศตรงข้ามกับทอร์กจากแรง fs ดังรูป

การที่แรง FN เลื่อนไปอยู่ทางขวาก็เพราะมีแรง F มาดึงวัตถุทางขวา ทำให้ทางซ้ายของกล่องจะแตะพื้นด้วยน้ำหนักที่น้อยลง FN จึงเลื่อนมาทางขวา

เมื่อแรง F มีค่ามากขึ้นจนแรง FN ไปอยู่ตรงขอบของวัตถุ แสดงว่าวัตถุจะเริ่มล้ม แต่ถ้าแรง F เท่ากับแรงเสียดทานสถิตมากสุด ก่อนที่ FN จะเลื่อนมาถึงขอบ วัตถุจะเริ่มไถล

F < Fsmax

วัตถุจะเริ่มล้ม

F = Fsmax

วัตถุจะเริ่มไถล

สุปิติ บูรณวัฒนาโชค

ปัจจุบันทำงานในบริษัท Start-up ด้านเทคโนโลยีหลายแห่ง
อดีตตัวแทนนักเรียนไทยไปแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกระหว่างประเทศ
ได้รับทุนธนาคารแห่งประเทศไทย ไปศึกษาต่อระดับปริญญาตรีและโท คณะ Electrical and Computer Engineering (วิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์) ที่ Carnegie Mellon University ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยจบทั้งสองปริญญาในเวลา 4 ปี
เคยทำงานที่บริษัท Oracle สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นบริษัทซอฟต์แวร์ระดับ Top 5 ของโลก
ผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์เด็กดีดอทคอม