PANYA SOCIETY
Update Blueprint ข้อสอบ TCAS66 มาดูกัน!
TCAS66 EXAM BLUEPRINT
จากบทความที่ผ่านมาเรื่อง “Update ล่าสุดจาก ทปอ. เรื่อง TCAS66” น้อง ๆ ทุกคนคงเห็นแล้วว่ารูปแบบการสอบ TCAS66 จะมีกำหนดการ และการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด จนมาถึงวันที่ 28 เมษายน 2565 ก็ได้มีความเคลื่อนไหวจากทางที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) อีกครั้ง ผ่านทางเว็บไซต์ Mytcas.com ซึ่งเป็นการ Update เกี่ยวกับ Exam Blueprint ของข้อสอบ TGAT TPAT และ A-Level ซึ่งวันนี้พี่ Panya Society จะมาสรุป วิเคราะห์ และเปรียบเทียบกับปีก่อน ๆ ให้น้อง ๆ ฟังกันครับ จะเป็นยังไงลองมาดูกันเลย…
เรามาดูกันอย่างละเอียดดีกว่าว่าน้อง ๆ #Dek66 ทุกคน จะต้องเจอกับวิชาอะไรบ้าง แล้วแต่ละวิชามีโครงสร้างเป็นอย่างไร
A-Level คืออะไร?
A-Level (Applied Knowledge Level)
- ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงมาจากวิชาสามัญเดิม เป็นการวัดความรู้เชิงประยุกต์ เน้นการนําความรู้เชิงวิชาการที่เรียนในหลักสูตรไปประยุกต์ใช้งานได้
- ไม่สอบเนื้อหาความรู้เชิงวิชาการที่เกินหลักสูตร
- มีทั้งหมด 15 วิชา แต่เลือกสอบได้สูงสุดไม่เกิน 10 วิชา
- วิชา Math1 และ Math2 สามารถสมัครสอบได้ทั้ง 2 วิชา เนื่องจากสอบคนละเวลา
- ยุบวิชาภาษาอาหรับ เนื่องจากมีคนสอบน้อย และคณะที่เปิดรับมีน้อย โดยจะมีการสอบโดยใช้ข้อสอบของแต่ละมหาวิทยาลัยเอง
- ให้เวลาสอบวิชาละ 1 ชั่วโมง 30 นาที คะแนนเต็มวิชาละ 100 คะแนน
- รูปแบบการสอบยังเป็น PBT (สอบบนกระดาษ) อยู่เช่นเดิม โดยมีค่าสมัครสอบวิชาละ 100 บาท เปิดรับสมัครช่วงวันที่ 1-10 ก.พ. 66 สอบวันที่ 18-20 มี.ค. 66 ประกาศผลวันที่ 17 เม.ย. 66
A-Level ≠ วิชาสามัญ น้อง ๆ หลายคนอาจจะมองว่า ข้อสอบ A-Level จะเหมือนกันกับข้อสอบวิชาสามัญของปีที่ผ่าน ๆ มาหรือเปล่า ซึ่งพี่ Panay Society ได้วิเคราะห์และมองเห็นถึงข้อแตกต่างออกมาได้ดังนี้
- ข้อสอบ A-Level ย่อมาจาก Applied Knowledge Level ซึ่งก็หมายความว่าข้อสอบจะมีความ “ประยุกต์” มากขึ้นกว่าเดิม ไม่ใช่อาศัยการท่องจำแบบที่ผ่านมา ทำให้น้อง ๆ ต้องมีความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาอย่างแท้จริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้
- เมื่อมีการประยุกต์ ก็ทำให้โจทย์น่าจะมีความยาวมากขึ้นกว่าเดิม มีการแต่งเรื่องราวให้เข้ากับชีวิตประจำวันมากขึ้น มีการยกตัวอย่างการทดลองต่าง ๆ มาประกอบ ทำให้แต่ละข้ออาจจะต้องใช้เวลามากขึ้น
- แต่น้อง ๆ ไม่ต้องกังวลไปเนื่องจาก ทปอ. ได้ยืนยันแล้วว่า ขอบเขตเนื้อหาของข้อสอบจะอยู่ในบทเรียนอย่างแน่นอน
ตารางกำหนดการสอบ A-Level
ฟิสิกส์
สำหรับข้อสอบฟิสิกส์ปีนี้ น้อง ๆ ทุกคนจะพบเจอเนื้อหาของวิชาฟิสิกส์ได้ในข้อสอบ 2 ข้อสอบ ได้แก่ TPAT3 และ A-Level รหัส 64 ตัวย่อ Phy วิชาฟิสิกส์ ซึ่ง ณ ปัจจุบัน (28 เมษายน 2565) ทาง ทปอ. ได้ปล่อย Exam Blueprint มาแค่ของ A-Level วิชาฟิสิกส์ เท่านั้น ซึ่งถ้าหากมีการ Update ในส่วนของ TPAT3 เพิ่มเติมพี่ Panya Society จะรีบนำมาแจ้งให้น้อง ๆ ทราบโดยเร็วครับ
คราวนี้เราลองมาดูกันดีกว่าว่า Exam Blueprint ของ A-Level วิชาฟิสิกส์นั้นน้อง ๆ จะต้องเจอกับเนื้อหาอะไรบ้าง
A-Level วิชาฟิสิกส์ จำนวนข้อทั้งหมด 30 ข้อ* คะแนนเต็ม 100 คะแนนระยะเวลาสอบ 90 นาที (*ปรนัย 5 ตัวเลือก 25 ข้อ 75 คะแนน / อัตนัย(ระบายคำตอบที่เป็นค่า/ตัวเลข) 5 ข้อ 25 คะแนน)
- กลศาสตร์ (8-10 ข้อ)
- ธรรมชาติและพัฒนาการทางฟิสิกส์
- การเคลื่อนที่แนวตรง
- แรงและกฎการเคลื่อนที่
- สมดุลกลของวัตถุ
- งานและกฎการอนุรักษ์พลังงานกล
- โมเมนตัมและการชน
- การเคลื่อนที่แนวโค้ง
- การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกส์อย่างง่าย
- คลื่นกล และแสง (5-7 ข้อ)
- คลื่น
- เสียง
- แสง
- ไฟฟ้า แม่เหล็กและคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (6-8 ข้อ)
- ไฟฟ้าสถิต
- ไฟฟ้ากระแส
- แม่เหล็กและไฟฟ้า
- คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
- อุณหพลศาสตร์และสมบัติเชิงกลของสาร (3-5 ข้อ)
- ความร้อนและแก๊ส
- ของแข็งและของไหล
- ฟิสิกส์แผนใหม่ (3-5 ข้อ)
- ฟิสิกส์อะตอม
- ฟิสิกส์นิวเคลียร์และฟิสิกส์อนุภาค
คราวนี้เราลองจัดกลุ่มเนื้อหาแต่ละระดับชั้น และเปรียบเทียบกับข้อสอบ ฟิสิกส์ วิชาสามัญปี 2565 กันดูครับ
ระดับชั้น | ชื่อบท | ปี 2565 | ปี 2566 |
ม.4 เทอม 1 | ธรรมชาติและพัฒนาการทางฟิสิกส์ | 9 ข้อ | 8 – 10 ข้อ |
การเคลื่อนที่แนวตรง | |||
แรงและกฎการเคลื่อนที่ | |||
ม.4 เทอม 2 | สมดุลกล | ||
งานและพลังงาน | |||
โมเมนตัมและการชน | |||
การเคลื่อนที่แนวโค้ง | |||
ม.5 เทอม 1 | การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย | ||
คลื่น | 7 ข้อ | 5 – 7 ข้อ | |
แสงเชิงคลื่น | |||
แสงเชิงรังสี | |||
ม.5 เทอม 2 | เสียง | ||
ไฟฟ้าสถิต | 7 ข้อ | 6 – 8 ข้อ | |
ไฟฟ้ากระแส | |||
ม.6 เทอม 1 | แม่เหล็กและไฟฟ้า | ||
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า | |||
ความร้อนและแก๊ส | 4 ข้อ | 3 – 5 ข้อ | |
ของแข็งและของไหล | |||
ม.6 เทอม 2 | ฟิสิกส์อะตอม | 3 ข้อ | 3 – 5 ข้อ |
ฟิสิกส์นิวเคลียร์และฟิสิกส์อนุภาค |
จากตารางข้างบนน้อง ๆ คงเห็นแล้วว่าขอบเขตเนื้อหาและจำนวนข้อมีความคล้ายกับวิชาสามัญปี 65 เป็นอย่างมาก เรียกได้ว่าแทบจะเหมือนกันเลย พี่ Panya Society เลยลองยกตัวอย่างข้อสอบ ฟิสิกส์ วิชาสามัญ ปี 65 มาให้น้อง ๆได้ทดลองทำ เพื่อเป็นแนวทางกันดูครับ
ตัวอย่างข้อสอบ ฟิสิกส์ วิชาสามัญ ปี 65
1. กระบอกสูบอันหนึ่งเคลื่อนที่ได้อิสระ ภายในบรรจุแก๊สอุดมคติจำนวน 2 โมล ตอนเริ่มต้นมีอุณหภูมิ 67 องศาเซลเซียส และมีความดัน 10 กิโลพาสคัล ถ้าลดอุณหภูมิลงอย่างช้า ๆ จนมีอุณหภูมิเป็น 48 องศาเซลเซียส โดยความดันไม่เปลี่ยนแปลง ปริมาตรของกระบอกสูบจะเพิ่มขึ้นหรือลดลง และงานที่เกิดขึ้นเมื่อลูกสูบเคลื่อนที่เป็นเท่าใด (ให้ R คือ ค่าคงที่ของแก๊ส)
- ปริมาตรลดลง และงานเท่ากับ 38R 10-3
- ปริมาตรลดลง และงานเท่ากับ 38R
- ปริมาตรเพิ่มขึ้น และงานเท่ากับ 38R
- ปริมาตรลดลง และงานเท่ากับ 38R 105
- ปริมาตรเพิ่มขึ้น และงานเท่ากับ 38R 105
2. ออกแรงกระทำต่อวัตถุ ในเวลา 10 วินาที โดยกราฟของแรงกับการกระจัดแสดงดังรูป
ถ้าทิศของแรงและการกระจัดของวัตถุขนานกันตลอดการเคลื่อนที่
จงหากำลังเฉลี่ย ในช่วงเวลา 10 วินาทีนี้ ในหน่วยวัตต์
(ตอบเป็นทศนิยม 2 ตำแหน่ง)
3. ขดลวดมีพื้นที่ 0.5 ตารางเมตร วางตั้งฉากกับสนามแม่เหล็กค่าหนึ่ง ทำให้เกิดฟลักซ์แม่เหล็ก 0.4 เวเบอร์ จงหาขนาดของสนามแม่เหล็ก และถ้าเปลี่ยนเป็นวางขดลวดขนานกับสนามแม่เหล็กแทน ฟลักซ์แม่เหล็กจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงเท่าใด
- 0.2 เทสลา และฟลักซ์แม่เหล็กลดลง 0.2 เวเบอร์
- 0.8 เทสลา และฟลักซ์แม่เหล็กเพิ่มขึ้น 0.4 เวเบอร์
- 0.8 เทสลา และฟลักซ์แม่เหล็กลดลง 0.4 เวเบอร์
- 1.25 เทสลา และฟลักซ์แม่เหล็กเพิ่มขึ้น 0.2 เวเบอร์
- 1.25 เทสลา และฟลักซ์แม่เหล็กลดลง 0.4 เวเบอร์
4. แก๊สอุดมคติจำนวนหนึ่ง บรรจุอยู่ในภาชนะปิดปริมาตร 0.5 ลูกบาศก์เมตร โดยกราฟระหว่างความดันและอุณหภูมิของแก๊ส เป็นดังรูป
แก๊สนี้มีจำนวนกี่โมล (ตอบเป็น ทศนิยม 2 ตำแหน่ง)
5. เสียงจุดพลุมีความถี่ 1000 Hz ถ้าทดลองจุดที่ระยะ 15 m จะวัดระดับความเข้มเสียงได้ 140 dB ถ้าจะจุดพลุนี้ให้ปลอดภัยต่อชาวบ้าน ต้องจุดพลุห่างจากหมูบ้านกี่เมตร โดยขีดเริ่มของความเจ็บปวดของหู เป็นดังกราฟ
- 47 เมตร
- 80 เมตร
- 100 เมตร
- 120 เมตร
- 150 เมตร
เฉลยข้อสอบฟิสิกส์ วิชาสามัญ ปี 65
นอกจากนี้ PANYA SOCIETY ยังได้รับเลือกจากกองบรรณาธิการ mybest ให้เป็น 1 ใน 10 สถาบัน “เรียนฟิสิกส์” ที่ไหนดี? ปี 2022 สามารถคลิกเพื่ออ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ ที่นี่
เคมี
สำหรับข้อสอบ A-Level เคมีปีนี้ มีรหัสคือ 65 ตัวย่อ Chem วิชาเคมี และ Exam Blueprint ของ A-Level วิชาเคมีนั้นน้อง ๆ จะต้องเจอกับเนื้อหาอะไรบ้างมาลองดูกันครับ
A-Level วิชาเคมี จำนวนข้อทั้งหมด 35 ข้อ* คะแนนเต็ม 100 คะแนนระยะเวลาสอบ 90 นาที (*ปรนัย 5 ตัวเลือก 30 ข้อ 75 คะแนน / อัตนัย(ระบายคำตอบที่เป็นค่า/ตัวเลข) 5 ข้อ 25 คะแนน)
- สมบัติของธาตุและสารประกอบ (15 -17 ข้อ)
- อะตอมและสมบัติของธาตุ
- พันธะเคมี
- แก๊ส
- เคมีอินทรีย์
- พอลิเมอร์
- สมการเคมีและการเปลี่ยนแปลงทางเคมี (15 – 17 ข้อ)
- ปริมาณสัมพันธ์
- อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
- สมดุลเคมี
- กรด–เบส
- เคมีไฟฟ้า
- ทักษะในปฏิบัติการเคมีและการคำนวณปริมาณของสาร (2 – 4 ข้อ)
- ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี
- โมล
- สารละลาย
คราวนี้เราลองจัดกลุ่มเนื้อหาแต่ละระดับชั้น และเปรียบเทียบกับข้อสอบ เคมี วิชาสามัญปี 2565 กันดูครับ
ระดับชั้น | ชื่อบท | ปี 2565 | ปี 2566 |
ม.4 เทอม 1 | ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี | 4 – 6 ข้อ | 2 – 4 ข้อ |
อะตอมและสมบัติของตารางธาตุ | |||
พันธะเคมี | |||
ม.4 เทอม 2 | โมลและสูตรเคมี | ||
สารละลาย | |||
ปริมาณสารสัมพันธ์ | 20 – 22 ข้อ | 15 – 17 ข้อ | |
ม.5 เทอม 1 | แก๊สและสมบัติของแก๊ส | ||
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี | |||
สมดุลเคมี | |||
ม.5 เทอม 2 | กรด – เบส | ||
เคมีไฟฟ้า | |||
ม.6 เทอม 1 | เคมีอินทรีย์ | 18 – 20 ข้อ | 15 – 17 ข้อ |
พอลิเมอร์ | |||
ม.6 เทอม 2 | – | – | – |
จากตารางข้างต้นน้อง ๆ คงจะเห็นแล้วว่าจำนวนข้อสอบลดลงจากปีที่แล้ว จาก 45 ข้อ ลดเหลือ 35 ข้อในปีนี้ ทำให้สัดส่วนเนื้อหาในช่วงต้นของวิชาเคมี (ม.4 เทอม 1-2) ถูกปรับลดลง และมีการกระจายข้อสอบไปยังเนื้อหาส่วนที่ยากเพิ่มมากขึ้น (สมการเคมี, สมบัติของธาตุและสารประกอบ) ยิ่งเป็นการยืนยันว่าข้อสอบ A-Level เคมีปีนี้โจทย์น่าจะมีความซับซ้อน และต้องใช้เวลาในการทำต่อข้อเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นน้อง ๆ ทุกคนควรจะต้องเตรียมพร้อมรับมือให้ดีนะครับ…
เฉลยข้อสอบเคมี วิชาสามัญ ปี 65
บทสรุป
เป็นยังไงกันบ้างครับสำหรับ Exam Blueprint ของข้อสอบ TCAS66 ที่กำลังจะมาถึง น้อง ๆ #Dek66 ที่ได้อ่านบทความนี้ไปพี่ Panya Society หวังว่าน้อง ๆ คงจะได้แนวทางในการเตรียมตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของข้อสอบที่จะเกิดขึ้นในปีนี้กันแล้ว ซึ่งถ้าหากหลังจากนี้ทาง ทปอ. มีการ Update Exam Blueprint วิชาอื่น ๆ พี่ Panya Society ก็จะรีบนำมา Update และวิเคราะห์ให้น้อง ๆ เพิ่มเติมอย่างแน่นอน ขอให้น้อง ๆ ติดตามเพจ Panya Society กันไว้ได้เลย 🙂
และสำหรับน้อง ๆ คนไหนที่ต้องการเตรียมตัวสอบ TCAS66 พี่ PANYA SOCIETY ขอแนะนำคอร์ส “TCAS66 ทั้ง 6 วิชาจาก PANYA SOCIETY” ซึ่งเป็นคอร์ส เตรียมตัวสอบ TCAS66 ฉบับสมบูรณ์แบบ ที่ Update ล่าสุด ได้ทั้งทบทวนเนื้อหา ม.4-5-6 ไปพร้อมกับเก็งข้อสอบแนวรูปแบบใหม่ ฝึกทำข้อสอบเพียบ ทบทวนเต็มที่ เก็งข้อสอบแม่นยำ พร้อมทำโจทย์แนวใหม่ ไม่ตกเทรนด์ พร้อมกับโค้ชผู้ช่วยส่วนตัวที่ถาม-ตอบได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ไร้กังวล ติวกับ PANYA SOCIETY ข้อสอบ TCAS66 จะเปลี่ยนไปแค่ไหน พี่ ๆ จะตามติดพัฒนาคอร์สไปพร้อมกับ Exam Blueprint ใหม่ล่าสุด ไม่พลาดแน่นอน!!!
VDO ตัวอย่างการสอน
TCAS สายวิทย์
TCAS สายศิลป์
🔥ติวเตอร์คนเก่ง🔥
- ทำงานตำแหน่ง Software Engineer ที่ Google กว่า 10 ปี
- ได้รับทุนเล่าเรียนหลวงไปศึกษาระดับปริญญาตรีด้าน Electrical and Computer Engineering และ computer science ที่ Carnegie Mellon University ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
- จบปริญญาเอกด้าน Artificial Intelligence (AI) พร้อมรางวัลนักเรียนดีเด่นจาก UCLA
- ผลงานวิจัยด้าน Artificial Intelligence (AI) ของอ.นอตได้รับรางวัลงานวิจัยดีเยี่ยมจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติในปี 2557
- อาจารย์ภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ได้รับทุนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ไปศึกษาระดับปริญญาเอก ที่ University of California, Los Angeles ทางด้านคณิตศาสตร์
- ปริญญาตรี ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง เหรียญทอง
- นักเรียนโอลิมปิกปี พ.ศ.2545
- ปัจจุบันทำงานในบริษัท Start-up ด้านเทคโนโลยีหลายแห่ง
- อดีตเหรียญทองฟิสิกส์โอลิมปิก
- ได้รับทุนธนาคารแห่งประเทศไทย ไปศึกษาต่อระดับปริญญาตรีและโท คณะ Electrical and Computer Engineering (วิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์) ที่ Carnegie Mellon University ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยจบทั้งสองปริญญาในเวลา 4 ปี
- เคยทำงานที่บริษัท Oracle สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นบริษัทซอฟต์แวร์ระดับ Top 5 ของโลก
- ผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์เด็กดีดอทคอม
- ปริญญาตรี โท เอก คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ
- บัณฑิตศึกษาปริญญาโทที่มีผลการเรียนดีเด่น (รางวัล ดร.แถบ นีละนิธิ)
- อาจารย์พิเศษ วิชาเคมี ห้องเรียนพิเศษ gifted โรงเรียนมัธยม
- วิทยากรรับเชิญ เตรียมสอบ O-NET วิชาวิทยาศาสตร์ ม.ต้น ม.ปลาย
- วิทยากรรับเชิญเตรียมสอบ PAT2 และ วิชาสามัญ (เคมี)
- นิสิตทุนโปรแกรมเกียรตินิยม ปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 1) วิชาเอกภาษาไทยขั้นสูง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ปริญญาโท ด้านการสอนและการเรียนรู้ MSc Education (Distinction) University of Bristol ประเทศอังกฤษ
- ลำดับที่ 1 สอบแข่งขันรับราชการครูผู้ช่วยวิชาเอกภาษาไทย (ประจวบฯ) ประจำปี พ.ศ.2560
- ผู้เขียนหนังสือเรียนภาษาไทย O-NET ทรูปลูกปัญญา และภาษาไทย วิชาสามัญ veo-online
- วิทยากร โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติ (O-NET) วิชาภาษาไทย โรงเรียนต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ
- วิทยากร โครงการอบรมเชิงปฏิบัติ การพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาด้านการสอนภาษาไทย (การเรียนรู้เชิงรุก Active Learning)
- ปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาวิชามัธยมศึกษา (มนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์) วิชาเอกสังคมศึกษาขั้นสูง (เกียรตินิยมอันดับ 1)
- ที่ 2 สอบครูผู้ช่วย สนามสอบกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2561
- วิทยากรติว O-NET และ 9 วิชาสามัญ โรงเรียนในกรุงเทพมหานคร
- ครูผู้ฝึกซ้อมนักเรียนเข้าแข่งขันความรู้ทางวิชาการ และความเป็นเลิศในรายวิชาสังคมศึกษา ทั้งกฎหมาย รัฐศาสตร์ พุทธศาสนา เศรษฐศาสตร์ และสังคมวิทยา
- อาจารย์ประจำโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- ปริญญาโท ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาวิชา การสอนสังคมศึกษา
- ปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาวิชามัธยมศึกษา(มนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์) วิชาเอกสังคมศึกษาขั้นสูง (เกียรตินิยมอันดับ 2)
- เป็นสุดยอดแฟนพันธุ์แท้ “อาณาจักรโรมัน” และแฟนพันธุ์แท้ “เทพปกรณัมกรีก”
- กำลังศึกษาปริญญาโท คณะศิลปศาสตร์ สาขาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ปริญญาตรี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง)
- พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน สายการบินนานาชาติกว่า 6 ปี
- ติวเตอร์ภาษาอังกฤษประสบการณ์สอนกว่า 10 ปี ที่เชื่อว่าภาษาเป็นทักษะ ใครๆ ก็เก่งได้แค่ฝึกฝนให้ถูกทาง
- นักเรียนทุนรัฐบาลไปศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
- ปริญญาตรีสาขาชีวเคมีจาก University of Pennsylvania
- ปริญญาโท-เอกสาขาชีวเคมีจาก California Institute of Technology
- ปัจจุบันทำหน้าที่เป็นนักวิจัยด้านไวรัสวิทยาและวัคซีน
- ได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์จากสภาวิจัยแห่งชาติ
- ได้รับรางวัลผลงานวิจัยจากสภาวิจัยแห่งชาติ
- อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ คณะวิทยาศาสตร์
- ตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิก 3 ปี (1996, 1997, 1998)
- อันดับ 1 ทุนเล่าเรียนหลวงสายวิทยาศาสตร์ปี 2541
- ปริญญาตรีสาขาฟิสิกส์ California Institute of Technology
- ปริญญาโท-เอกสาขาอุตุนิยมวิทยาและสมุทรศาสตร์ University of California, Los Angeles