สรุปเนื้อหาคณิตศาสตร์ ม.4 เทอม 2​

PANYA SOCIETY

สรุปเนื้อหาคณิตศาสตร์ ม.4 เทอม 2

สรุปเนื้อหาที่สำคัญ

      พี่นอต แห่ง Panya Society ได้ฝากถึงน้อง ๆ ม.4 ทุก ๆ คนว่า “ตอนนี้น้อง ๆได้เรียนวิชาคณิตศาสตร์ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ผ่านมา 1 เทอมกันแล้ว และก็เดินทางมาถึงเทอม 2 ของเลข ม.4 ซึ่งเป็นวิชาที่น้อง ๆ หลาย ๆ คนมักกลัวการคำนวณ แต่จากเทอม 1 ที่ผ่านมา ทั้ง 3 บท ได้แก่ เซต, ตรรกศาสตร์ จำนวนจริงและพหุนาม ทั้งหมดทุกบทไม่ได้มุ่งเน้นการคำนวณที่ยาก แต่เป็นการพยายามวัดตรรกะ ความรู้ ความเข้าใจ ความเป็นเหตุเป็นผล และการเชื่อมโยงข้อมูลมากกว่า ดังนั้น คณิตศาสตร์ ม.ปลาย ไม่ได้ยากอย่างที่คิดครับ ดังนั้นเมื่อมาถึงบทในเทอม 2 นี้ สำหรับวิชาคณิตศาสตร์ น้อง ๆ จะได้พบกับ 3 บท ได้แก่…”

คณิตศาสตร์ ม.4 เทอม 2

21 Videos
  • คู่อันดับและผลคูณคาร์ทีเซียน
  • ความสัมพันธ์
  • กราฟของความสัมพันธ์
  • การประยุกต์ของกราฟ
  • ฟังก์ชัน
  • ฟังก์ชันต่าง ๆ บางชนิด
  • แบบต่าง ๆ ของฟังก์ชัน
  • ฟังก์ชันผกผัน
  • การบวก การลบ การคูณ การหาร และการคูณด้วยจำนวนจริงของฟังก์ชัน
  • ฟังก์ชันประกอบ
  • เลขยกกำลัง
    • การเปรียบเทียบเลขยกกำลัง 
    • สมการรากที่สอง 
    • รูปแบบรูทไม่รู้จบ
  • ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล
    • กราฟของฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล และการแปลงกราฟ
    • สมการเอกซ์โพเนนเชียล
    • อสมการเอกซ์โพเนนเชียล
  • ฟังก์ชันลอการิทึม
    • กราฟของฟังก์ชันลอการิทึม และการแปลงกราฟ 
    • สมบัติของฟังก์ชันลอการิทึม 
    • การเปรียบเทียบค่าลอการิทึม
    • แมนทิสซา และคาแรกเทอริสติก 
    • สมการลอการิทึม
    • อสมการลอการิทึม
  • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเรขาคณิตวิเคราะห์
    • ระยะทางระหว่างจุดสองจุด
    • จุดกึ่งกลางระหว่างจุดสองจุด
    • ความชันของเส้นตรง
    • เส้นขนาน
    • เส้นตั้งฉาก
    • ความสัมพันธ์ซึ่งมีกราฟเป็นเส้นตรง
    • ระยะห่างระหว่างเส้นตรงกับจุด
  • ภาคตัดกรวย
    • วงกลม
    • วงรี
    • พาราโบลา (Parabola)
    • ไฮเพอร์โบลา (Hyperbola)
    • การเลื่อนกราฟ

        จากเนื้อหาทั้งหมดของคณิตศาสตร์ ม.4 เทอม 2 จะเห็นได้ว่าภาพรวมของเทอม 2 นี้ จะเน้นเรื่องความเข้าใจของความสัมพันธ์ สมการและอสมการ กราฟ และการจัดระบบชุดความคิดเชิงข้อมูล มากกว่าเน้นการคำนวณเช่นเดียวกับ คณิตศาสตร์ ม.4 เทอม 1 ดังนั้น สิ่งที่น้อง ๆ จำเป็นก็คือ ต้องสร้างความรู้ความเข้าใจในพื้นฐาน มากกว่าการมุ่งเน้นการคำนวณ     

      นอกจากนี้ น้อง ๆ มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องเก็บเนื้อหาของทั้ง 3 บทนี้ให้ครบถ้วนที่สุด เพราะเป็นบทสำคัญที่พบว่าออกข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย A – Level มาอย่างต่อเนื่องตลอดหลายปีที่ผ่านมา เรามาดูสถิติการออกข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยย้อนหลังในอดีต ของเนื้อหาคณิตศาสตร์ ม.4 เทอม 2 กันดีกว่าว่า 3 บทนี้ มีจำนวนข้อ และการออกบ่อยน้อย-มากแค่ไหนตามตารางนี้ครับ

ชื่อบทA – Level 66A – Level 67
ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน11
ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม22
เรขาคณิตวิเคราะห์ และภาคตัดกรวย22

 

        น้อง ๆ คงเห็นแล้วว่า เนื้อหาของเลข ม.4 เทอม 2 ถูกพบอยู่ในข้อสอบเยอะขนาดนี้ แถมเนื้อหายังไม่ค่อยซับซ้อน อาศัยการคำนวนเพียงเล็กน้อย ทำให้น้อง ๆ สามารถเก็บคะแนนจากเนื้อหาส่วนนี้ได้โดยไม่ยาก พี่เลยอยากให้น้องทุกคนควรฟิตความรู้ของเลข ม.4 เทอม 2 และเตรียมตัวให้เข้าใจเนื้อหาการเรียนตั้งแต่วันนี้ เพื่อปูเป็นพื้นฐานในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยให้พร้อมที่สุด

         เพราะฉะนั้น พี่นอต แห่ง Panya Society ขอแนะนำคอร์ส “คณิตศาสตร์ ม.4 เทอม 2” ซึ่งภายในบทเรียนจะประกอบไปด้วย เนื้อหาที่ปูพื้นฐานตั้งแต่ง่ายไปจนถึงระดับสูง เน้นฝึกให้นักเรียนเข้าใจ ไม่ต้องท่องจำ และอธิบายอย่างละเอียดโดยเชื่อมโยงระหว่างคณิตศาสตร์กับชีวิตจริง พร้อมแบบฝึกหัดทุกระดับทั้งง่าย-ยาก ทำให้มั่นใจได้ว่าหลังจากที่น้องได้เรียนเทคนิค Math Magic แล้วจะทำให้เข้าใจเนื้อหาอย่างละเอียด และเสกโจทย์ยากให้กลายเป็นง่ายได้แน่นอน

         คอร์สนี้เหมาะกับน้อง ๆ ระดับชั้น ม.4 ที่โรงเรียนใช้หลักสูตรใหม่ (2560) และเบื่อกับการเรียนเลขแบบท่องจำ แต่ดันทำโจทย์ไม่ได้ พี่นอตจะมาเสกให้น้องเข้าใจเนื้อหา และสนุกไปกับคณิตศาสตร์ หรือแม้แต่การติวคณิตศาสาตร์เตรียมตัวเพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัย A – Level ก็สามารถใช้ความรู้ ความเข้าใจจากการเรียนคอร์สนี้ได้เช่นกัน

       สุดท้ายนี้พี่หวังว่า น้อง ๆ จะสนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์ ม.4 เทอม 2 และขอให้น้อง ๆ ประสบความสำเร็จในการเรียนในเทอมนี้ครับ แล้วพบกันใหม่ในบทความต่อไปครับ…

กลับหน้าบทความหลัก

ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน

SHARE:

TCASPhysicsHasChanged

PANYA SOCIETY

การเปลี่ยนแปลงของข้อสอบฟิสิกส์ ปี 64

VIDEO : ระวังโดนแกง! ติวแบบเดิมสอบไม่ติดแน่ : แนวข้อสอบฟิสิกส์ PAT2 + วิชาสามัญ

MENU

ข้อสอบเปลี่ยนแปลงยังไง

รับมือยังไง?

ทำไมต้อง Panya?

PART 1 : ข้อสอบเปลี่ยนแปลงยังไง?

    พี่แชร์ ฟิสิกส์ ตั้งข้อสังเกตข้อสอบแนวใหม่จาก สสวท. พบประเด็นสำคัญ 10 อย่างของข้อสอบ TCAS65 วิชาฟิสิกส์ แนวใหม่ ที่ DEK65 ไม่รู้ ไม่ได้จริง ๆ

ปรากฏการณ์ของข้อสอบปี 64 ในสายวิชาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์

"ข้อสอบเปลี่ยนแปลงทั้งหมด"

เพราะผู้ออกข้อสอบเปลี่ยนทีมงานไปเป็น สสวท.

ซึ่งเป็นปีแรกของการเปลี่ยนแปลง จึงไม่มีข้อสอบเทียบเคียงใด ๆ ให้เราทราบแนวโน้มที่แน่ชัด แต่เรารู้แล้วว่ามันมีผลต่อข้อสอบ TCAS65 อย่างแน่นอน ที่น่าจะไปในทางที่สอดคล้องกัน
    วันนี้พี่แชร์ ฟิสิกส์ แห่ง Panya Society ได้วิเคราะห์ข้อสอบ และมั่นใจว่าทางสถาบันจะช่วยน้อง ๆ DEK65 ให้ประสบความสำเร็จได้ เพราะทีมสอนของเราสอนบน “ความเข้าใจ เน้นการวิเคราะห์ และประยุกต์ใช้ได้จริง” มาตลอด ตั้งแต่ก่อนข้อสอบเปลี่ยนอยู่แล้ว และข้อสอบเปลี่ยนไปแค่ไหน มารู้จักข้อสอบ TCAS65 วิชาฟิสิกส์ ทั้ง 9 วิชาสามัญ และ PAT2 กันให้มากขึ้นดีกว่า

ตารางแสดงการเปลี่ยนแปลงของข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย

-คลิกที่ภาพเพื่อดูภาพใหญ่-

บทวิเคราะห์ข้อสอบฟิสิกส์ 64

     การวิเคราะห์ข้อมูลข้อสอบ 64 เมื่อเทียบกับ พ.ศ. ที่ผ่านมา แล้วพบว่าไม่ตรงกับสไตล์เดิม ๆ ถึงจำนวนหลายข้อมาก หากนับเป็น % ของข้อสอบทั้ง 9 วิชาสามัญ และ PAT2 เราจะเห็นว่า ข้อสอบเปลี่ยนไปมากในระดับที่ยึดสิ่งเดิม ๆ ในอดีตไม่ได้อีกต่อไปแล้ว เพราะจะทำให้น้องทำคะแนนได้น้อยลงกว่าที่ตนเองประเมินไว้ 

วิเคราะห์ PAT2 ฟิสิกส์ ปี 64 “เปลี่ยนไปมากถึง 75%”

เปลี่ยนไปมากถึง 75% เปลี่ยนอะไรบ้าง?

“ลักษณะของข้อสอบ”

-คลิกที่ภาพเพื่อดูภาพใหญ่-

สรุปการเปลี่ยนแปลงของข้อสอบ PAT2 ปี 64 วิชาฟิสิกส์

1. เปลี่ยนไป 12 ข้อ จาก 16 ข้อ (75%) จำนวนข้อลดลง (เดิม 25 ข้อ)
2. แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ
    2.1 โจทย์ลักษณะเดิม 4 ข้อ (34 46 47 48)
    2.2 วิเคราะห์ 4 ข้อ (36 39 40 44)
    2.3 การทดลอง 4 ข้อ (41 42 43 45)
    2.4 ประยุกต์ 4 ข้อ (33 35 37 38)
*สิ่งที่ข้อสอบเกือบทุกข้อมีเหมือนกัน คือ การแต่งเรื่องให้เข้ากับสถานการณ์จริงในชีวิตประจำวัน*
3. บทที่ไม่ได้ออกสอบ
คือ
    – โมเมนตัมและการชน
    – การเคลื่อนที่แนวโค้ง
    – การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย
    – คลื่น
    – แสงเชิงฟิสิกส์
    – ไฟฟ้าสถิต
    – คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
*7 บท จาก 20 บท*
4. บทที่ออกสอบ แต่ไม่ได้ออกเนื้อหาสำคัญ
คือ
    – ธรรมชาติและพัฒนาการทางฟิสิกส์
    – ไฟฟ้ากระแส
    – แม่เหล็กและไฟฟ้า
    – ความร้อนและแก๊ส
*4 บท จาก 13 บท*
5. จากข้อมูลปี 64 คาดการณ์ของปี 65 ที่น้องๆจะเจอก็คือ?!?

    5.1 มีจำนวนข้อมากกว่าปี 64 (ประมาณ 20 ข้อ) เพราะ
      – มีหลายบทที่ยังไม่ได้ออกสอบ
      – มีหลายหัวข้อสำคัญที่ยังไม่ได้ออกสอบ
      – คาดว่าปีนี้ออกข้อสอบไม่ทัน จำนวนข้อจึงมีน้อย
      – พึ่งออกข้อสอบปีนี้เป็นปีแรก อาจจะลองเชิง
    5.2 มีจำนวนข้อน้อยกว่าก่อนปี 64 (ทั้งปี 65 และในอนาคต) เพราะ
      – เน้นแต่งเรื่องให้อ่าน จำนวนข้อเยอะไม่ได้
      – เน้นการวิเคราะห์ ต้องใช้เวลาต่อข้อมากขึ้น
    5.3 ระดับความยากและแนวข้อสอบเหมือนกับปี 64 คือ
      – เน้นความเข้าใจในตัวบทเรียนมากกว่าการท่องจำ
      – เน้นการอ่านเพื่อทำความเข้าใจ
      – เน้นการวิเคราะห์ และเชื่อมโยงกับสิ่งที่เรียนมา
      – เน้นการประยุกต์ให้เข้ากับเหตุการณ์จริง
      – มีตัวอย่างการทดลอง เพื่อฝึกทักษะทางฟิสิกส์
*ข้อสังเกต ตั้งใจจะลดการเรียนกับติวเตอร์*

ลักษณะข้อสอบที่เปลี่ยนไป

ตัวอย่างโจทย์ PAT2 ฟิสิกส์ ปี 64

ข้อสอบแนวเก่า ที่ PAT2 เคยเป็นมา เหลือเพียง 4 ข้อจาก 16 ข้อ

2. กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความเร็ว (v) กับเวลา (t) ในการวิ่งของนักกีฬาคนหนึ่งในช่วงเวลา t = 0 s ถึง t = 100 s เป็นดังนี้

ข้อใดสรุปเกี่ยวกับการวิ่งของนักกีฬาได้ถูกต้อง

1. อัตราเร็วลดลงในช่วงเวลา t = 30 s ถึง t = 70 s
2. อัตราเร็วลดลงในช่วงเวลา t = 30 s ถึง t = 50 s และในช่วงเวลา t = 80 s ถึง t = 100 s
3. อัตราเร็วเพิ่มขึ้นในช่วงเวลา t = 0 s ถึง t = 20 s และในช่วงเวลา t = 80 s ถึง t = 100 s
4. ขณะเวลา t = 50 s ความเร่งมีค่าเท่ากับศูนย์
5. ขณะเวลา t = 90 s ขนาดของความเร่งมีค่าเท่ากับ 3 m/s2

ข้อสอบสไตล์ ‘เล่าเรื่อง’ ฝึกประยุกต์จากเหตุการณ์จริง

39. การแข่งขันวิ่งผลัด 4 x 100 เมตร มีกติกาในการรับส่งไม้คทาดังนี้

     – ผู้ส่งและผู้รับจะต้องเปลี่ยนคทามือต่อมือภายในเขตรับส่งซึ่งมีระยะ 20.0 เมตร เท่านั้น

แต่เพื่อให้ผู้รับวิ่งด้วยความเร็วที่เหมาะสมในการรับไม้คทา กติกาจึงอนุญาตให้ผู้รับถอยหลังไปอยู่ก่อนเขตรับส่งจริงได้ 10.0 เมตร แต่จะไม่สามารถรับไม้คทาในระยะนี้ได้ ถ้าผู้รับคทาอยู่ก่อนถึงเขตรับส่งเป็นระยะ 10.0 เมตร และออกวิ่งเมื่อเห็นผู้ส่งคทาอยู่ที่ระยะห่างจากผู้รับคทา 16.0 เมตร ดังรูป

ความสัมพันธ์ระหว่างความเร็ว (v) กับเวลา (t) ของผู้ส่งคทาและผู้รับคทานับจากเวลาที่ผู้รับคทาเริ่มออกวิ่ง เป็นดังกราฟ

เมื่อผู้รับคทาและผู้ส่งคทาวิ่งทันกันครั้งแรก ผู้รับคทาจะรับคทาได้เป็นไปตามกติกาที่กำหนดหรือไม่ เพราะเหตุใด

1. เป็นไปตามกติกา เพราะผู้รับคทาจะรับคทาหลังจากจุดเริ่มต้นของเขตรับส่งเป็นระยะ 4.0 เมตร
2. เป็นไปตามกติกา เพราะผู้รับคทาจะรับคทาหลังจากจุดเริ่มต้นของเขตรับส่งเป็นระยะ 12.5 เมตร
3. เป็นไปตามกติกา เพราะผู้รับคทาจะรับคทาหลังจากจุดเริ่มต้นของเขตรับส่งเป็นระยะ 17.0 เมตร
4. ไม่เป็นไปตามกติกา เพราะผู้รับคทาจะรับคทาก่อนถึงจุดเริ่มต้นของเขตรับส่งเป็นระยะ 1.5 เมตร
5. ไม่เป็นไปตามกติกา เพราะผู้รับคทาจะรับคทาเลยจากจุดสิ้นสุดของเขตรับส่งเป็นระยะ 2.0 เมตร

ข้อสอบสไตล์ ‘เล่าเรื่อง’ เน้นการทดลอง

43. นักเรียนคนหนึ่งออกแบบการทดลอง เพื่อวัดค่าความต้านทานของแผ่นโลหะชนิดหนึ่งที่มีพื้นที่หน้าตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ที่มีความยาวด้าน L และมีความหนา t โดยวัดค่าความต้านทานระหว่างจุด A และ B ดังภาพ

จากนั้นเปลี่ยนขนาดของแผ่นโลหะให้แตกต่างกันจำนวน 5 ชุดการทดลอง แล้ววัดค่าความต้านทาน ได้ผลดังตาราง

จากข้อมูลในตาราง ข้อใดกล่าวถูกต้อง

1. ความต้านทานของแผ่นโลหะขึ้นอยู่กับความยาวด้าน
2. ค่าความหนา y ในชุดทดลอง จ มีค่า 2.0 มิลลิเมตร
3. ข้อมูลจาก 5 ชุดการทดลอง ไม่สามารถใช้คำนวณหาค่าความต้านทาน x ได้
4. ในกรณีที่ความยาวด้านคงตัว กราฟความสัมพันธ์ระหว่างความต้านทานกับความหนา จะได้เป็นกราฟเส้นตรงที่ผ่านจุดกำเนิด
5. ในกรณีที่ความหนาคงตัว กราฟความสัมพันธ์ระหว่างความต้านทานกับความยาวด้านกำลังสอง จะได้เป็นกราฟเส้นตรงที่ผ่านจุดกำเนิด

ข้อสอบสไตล์ ‘เล่าเรื่อง’ เน้นการทดลอง + วิเคราะห์ข้อมูล

44. การใช้หลอดเพื่อดูดน้ำในแก้ว สามารถอธิบายได้ด้วยหลักการของ “ความดันอากาศ”

จากภาพที่ 1 ก่อนดูดน้ำ ความดันอากาศภายใน (P1) และภายนอกหลอด (Pout) มีค่าเท่ากัน และระดับน้ำภายในและภายนอกหลอดสูงเท่ากันพอดี

ขณะดูดน้ำด้วยหลอดดังภาพที่ 2 ปริมาตรช่องอกจะเพิ่มขึ้น อากาศที่เคยอยู่ภายในหลอดจะเคลื่อนที่เข้าสู่ปาก ทำให้ความดันอากาศภายในหลอดลดลง และมีค่าน้อยกว่าความดันอากาศภายนอก น้ำส่วนหนึ่งจึงถูกดันให้เข้าไปในหลอดได้มากขึ้นเนื่องจากผลต่างของความดันอากาศ
(กำหนดให้ ρ = ความหนาแน่นของน้ำ, g = ความเร่งโน้มถ่วง และอุณหภูมิของระบบนี้คงตัว)

ถ้าใช้หลอดดูดน้ำในแก้วจนระดับน้ำภายในหลอดมีความสูงวัดจากระดับน้ำในแก้วเท่ากับ h แล้วปริมาตรของช่องอกที่เพิ่มขึ้นจะคิดเป็นร้อยละเท่าใดของปริมาตรเดิม

การเปลี่ยนแปลงของข้อสอบฟิสิกส์64_11
การเปลี่ยนแปลงของข้อสอบฟิสิกส์64_14

วิเคราะห์ วิชาสามัญ ฟิสิกส์ ปี 64

“ไม่ใช่แนวใหม่ แต่เปลี่ยนทิศทางของข้อสอบ”

จากวิเคราะห์ตัวแปร กลายเป็นข้อสอบคำนวณ

-คลิกที่ภาพเพื่อดูภาพใหญ่-

สรุปการเปลี่ยนแปลงของข้อสอบวิชาสามัญ 64 วิชาฟิสิกส์

1. เปลี่ยนไปโดยลักษณะ 9 ข้อ จาก 30 ข้อ (30%) จำนวนข้อเพิ่มขึ้น (เดิม 25 ข้อ)
    1.1 มีข้อสอบแบบเติมคำตอบ
    1.2 มีเรื่องที่ไม่เคยออกสอบ
      – ธรรมชาติและพัฒนาการทางฟิสิกส์
      – ฟิสิกส์อนุภาค
    1.3 มีเรื่องที่เคยออกสอบบ่อย ๆ หายไป
      – สมการนิวเคลียร์
    1.4 มีเนื้อหาที่ต้องอ่านในหนังสือเรียน (เรียนกับติวเตอร์อาจจะไม่รู้)
2. เปลี่ยนไปโดยโครงสร้าง คำนวณ 20 ข้อ จาก 30 ข้อ (66.67%)

ตารางการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง

3. คาดการณ์ของปี 65
    3.1 จำนวนข้อของข้อสอบ
      – คาดว่ามี 30 ข้อ เท่าเดิม
      – คาดว่าจะคงสัดส่วน 25 : 5 เอาไว้
      – คาดว่าจะมีข้อสอบแบบเติมคำตอบไปเรื่อย ๆ
    3.2 ระดับความยากและแนวทางของข้อสอบ
      – คาดว่าข้อสอบจะยากกว่าปี 64
      – คาดว่าข้อสอบจะง่ายลงกว่าก่อนปี 64
      – คาดว่าจะปรับโครงสร้างเป็นแบบคำนวณ
      – เน้นเนื้อหาในหนังสือเรียน (ปรับเปลี่ยนทั้งครูและนักเรียน)
      – ไม่เน้นวิเคราะห์และตีความยาก
      – เน้นองค์ความรู้พื้นฐาน
      – เน้นออกข้อสอบทุกบท ออกเนื้อหาหลัก ๆ ของบท
*ข้อสังเกต ตั้งใจจะลดการเรียนกับติวเตอร์*

ลักษณะข้อสอบที่เปลี่ยนไป

ตัวอย่างโจทย์ วิชาสามัญ ฟิสิกส์ ปี 64

ข้อสอบสไตล์เก่า “จัดรูปตัวแปร”

22. น้ำที่มีความหนาแน่น ρ ไหลเข้าไปในท่อด้วยความดัน 8 เท่าของความดันบรรยากาศ และไหลออกจากปลายท่อด้านที่อยู่สูงจากปากท่อขาเข้าเป็นระยะ H ที่ความดันบรรยากาศ P0 หากปลายท่อขาออกมีพื้นที่หน้าตัดเป็น 1/√3 เท่าของปลายท่อขาเข้า

จงหาอัตราเร็วของน้ำตอนออกจากท่อนี้

ข้อสอบอิงเนื้อหา สสวท. “ต้องตอบตามเงื่อนไข”

1. ในการทดลองวัดความยาวของวัตถุชิ้นหนึ่งที่มีความยาวประมาณ 6 เซนติเมตร ด้วยไม้บรรทัดที่มีความละเอียด 0.1 เซนติเมตร โดยทำการวัดทั้งหมด 5 ครั้ง ได้ข้อมูลดังนี้
      5.84  6.00  6.26  5.90  12.25
ถ้าจะต้องรายงานค่าเฉลี่ยของการวัดความยาวครั้งนี้ (x̄) และรายงานความคลาดเคลื่อนของความยาวเฉลี่ย (∆x̄) ด้วยสูตร

เมื่อ xmax  และ xmin คือ ค่าที่มากที่สุด และค่าที่น้อยที่สุดของข้อมูล ตามลำดับ 

ข้อใดแสดงผลการรายงานการวัดความยาวได้ถูกต้อง

1. 6 ± 0.2 เซนติเมตร
2. 6.0 ± 0.2 เซนติเมตร
3. 6.00 ± 0.21 เซนติเมตร
4. 7.3 ± 3.2 เซนติเมตร
5. 7.25 ± 3.20 เซนติเมตร

ข้อสอบคำนวณอย่างง่าย “เพิ่มสัดส่วนเยอะขึ้น”

3. วัตถุทรงกระบอกมวล 2.0 kg วางอยู่บนพื้นระดับลื่น มีแรงมากระทำ 3 แรง ในทิศขนานกับพื้นและผ่านจุดศูนย์กลางมวลโดยไม่ทำให้วัตถุล้ม ดังรูปเป็นมุมมองจากด้านบน

จงหาขนาดและทิศทางของความเร่งของวัตถุนี้
กำหนดให้ sinθ = 4/5, cosθ = 3/5

ข้อสอบบรรยาย “ต้องอ่านหนังสือ สสวท”

17. จากข้อความต่อไปนี้
    ก. เครื่องรับวิทยุ รับสัญญาณเสียงจากสถานีแล้วแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้า
    ข. คลื่นไมโครเวฟถูกใช้ในการระบุตำแหน่งบนพื้นโลกหรือ GPS
    ค. สัญญาณที่มีการเปลี่ยนสถานะระหว่าง +1 กับ -1 อย่างต่อเนื่องจัดเป็นสัญญาณ Digital

ข้อความใดถูกต้อง

1. ข. เท่านั้น
2. ค. เท่านั้น
3. ก. และ ข.
4. ก. และ ค.
5. ข. และ ค.

    จากข้อมูลข้างต้น ในภาพรวมของข้อสอบ น้อง ๆ DEK65 จะเห็นว่า การเตรียมตัวทำข้อสอบคำนวณแบบเก่า ที่ต้องหาสมการ และแทนค่าตัวแปรในโจทย์ หรือท่องสูตรลัดเข้าห้องสอบ กำลังลดคุณค่าลงในข้อสอบฉบับปัจจุบัน และไม่ได้ช่วยให้น้องทำคะแนนได้มากพอ สำหรับการสอบติดคณะที่มุ่งหวังอีกแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน PAT2 ที่รูปแบบข้อสอบเปลี่ยนแปลงสูงถึง 75% จากข้อสอบเก่า ที่อิงของเดิมแทบไม่ได้เลย และการฝึกทำข้อสอบเก่าในอดีตปริมาณมากๆ หลายฉบับจากหลาก พ.ศ. ก็อาจจะไม่ได้ช่วยสร้างทักษะทำโจทย์แบบใหม่ เพื่อเพิ่มคะแนนได้อีกต่อไป นั่นทำให้น้องต้องเปลี่ยนกลยุทธ์ในการทำข้อสอบใหม่ ก็คือ “การเข้าใจวิธีคิดของคนออกข้อสอบ และสิ่งที่เขาต้องการวัดผลจากผู้เรียน”

ข้อสอบเปลี่ยนแปลงยังไง

รับมือยังไง?

ทำไมต้อง Panya?

PART 2 : รับมือยังไง?

1) "อะไรที่ไม่เคยเจอ ‘ยาก’ เสมอ"

น้อง ๆ มักจะคิดว่าข้อสอบเปลี่ยนแล้วยากขึ้น แต่จริง ๆ ข้อสอบไม่ได้ยากขึ้น แค่มันเปลี่ยนแนวใหม่ ผลจากความไม่ชินทำให้มันยาก เพราะไม่เคยเห็นโจทย์รูปแบบใหม่มาก่อน และยังฝึกฝีมือมาน้อยมาก

2) "ข้อสอบแนวใหม่ วัดเราให้ต้องเก่งทุกอย่าง" คำนวณต้องเป๊ะ วิเคราะห์ต้องปัง ประยุกต์ต้องได้!!

ข้อสอบแนวเก่าจะวัดเพียงแค่การคำนวณและการใช้สูตรเท่านั้น แต่ฟิสิกส์ไม่ใช่วิชาคณิตศาสตร์ การคำนวณเป็นเพียงแค่ส่วนประกอบของการแก้ปัญหาเท่านั้น

ข้อสอบแนวใหม่จะเน้นไปที่การวิเคราะห์และการประยุกต์มากขึ้น ในขณะที่การคำนวณก็ไม่ได้หายไป ทำให้น้องต้องฝึกทำโจทย์ในรูปแบบที่แตกต่างหลากหลายมากขึ้น ให้เก่งทั้งคำนวณคล่อง และวิเคราะห์แม่นยำ

3) "การท่องสูตรลัด เปล่าประโยชน์"

น้องที่ชอบท่องสูตร เพื่อทำข้อสอบสไตล์เดิม ๆ ไม่ช่วยให้ทำคะแนนได้สูงอีกแล้ว แม้ท่องเข้าไปก็อาจจะใช้ได้น้อยมาก และหลาย ๆ ข้อใช้สูตรลัดไม่ได้เลย น้องต้องอ่านโจทย์แล้วเข้าใจโจทย์มากกว่า

ที่สำคัญโจทย์หลาย ๆ ข้อเน้นการใช้ข้อมูลที่โจทย์ให้ และไม่ได้ใช้สูตรหรือสมการใด ๆ เลยในการแก้ปัญหา ดังนั้นน้องที่พลาดข้อบรรยายแบบนี้จึงเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย เพราะข้อสอบเหล่านี้เป็นข้อแจกคะแนนให้กับคนที่เข้าใจ ไม่ใช่คนที่ท่องสูตร

4) "ถ้าข้ามข้อไม่คุ้น = ต้องข้ามทุกข้อ เลือกสู้ดีกว่า"

ความกลัวจากการไม่คุ้นเคยกับโจทย์ที่ไม่เคยเจอ ทำให้ Panic และเผลอข้ามข้อง่าย ๆ ไป เพียงเพราะไม่ยอมอ่านโจทย์เพื่อแก้ปัญหาข้อที่โจทย์แปลก ๆ น้อง ๆ น่าจะลองตั้งใจอ่านโจทย์ สู้กับความไม่คุ้นเคยนั้นดูสักตั้งก่อน แต่ถ้าลองแล้วทำข้อนั้นไม่ได้จริง ๆ หรือถ้าทำแล้วรู้สึกว่าใช้เวลานานเกินไป ก็ค่อยข้ามไปทำข้ออื่นก่อน แล้วกลับมาทำข้อเดิมทีหลังก็ได้นะครับ

5) "โจทย์ยาวเป็นหน้า ต้องมีไหวพริบในการอ่านโจทย์"

โจทย์หลายข้อมีความยาวมากถึง 1 หน้าเต็ม ดังนั้นน้อง ๆ ต้องควานหาข้อมูลที่ให้มาในโจทย์ เพื่อเอามาใช้วิเคราะห์คำตอบในเวลาที่สั้นที่สุด และต้องบริหารเวลาให้ดี เพื่อทำข้อสอบให้ได้ทัน ซึ่งพี่อยากจะแนะนำน้อง ๆ ว่าการดูคำถามที่ย่อหน้าสุดท้ายก่อน แล้วไปอ่านคำบรรยายช่วยให้หาคำตอบได้ไวขึ้น

6) "ไม่เข้าใจ ‘เนื้อหา’ จริง ๆ = ทำไม่ได้"

ข้อสอบมุ่งความสำคัญไปที่การเข้าใจเนื้อหารายบท การอ่านหนังสือเรียนของ สสวท. และ concept การทดลองในแต่ละบทตามแบบเรียน สสวท. มากยิ่งขึ้น ถ้าไม่เข้าใจตัวเนื้อหาจริง ๆ แทบจะทำข้อสอบไม่ได้เลย

7) "การจำวิธีทำข้อสอบเก่าได้ ไม่ช่วยทำคะแนนแล้ว"

การจดจำสไตล์ข้อสอบเก่า หรือฝึกทำโจทย์เก่า ๆ จนคุ้นเคย เอามาใช้กับข้อสอบที่เน้นการประยุกต์ไม่ได้อีกต่อไปแล้ว น้อง ๆ มักจะมุ่งจำโจทย์เก่าที่เห็นบ่อย ๆ

แต่ในวันนี้ไม่เพียงพอในการเตรียมตัวสอบ การแค่ฝึกทำโจทย์เก่า แล้วท่องวิธีทำโจทย์ หรือจำลำดับการแก้ปัญหาของข้อเดิม ๆ ที่คุ้นเคย ใช้ไม่ได้อีกต่อไปแล้ว น้องต้องเข้าใจจริง ๆ เท่านั้น ข้อสอบคัดคนเข้าใจ ไม่ใช่คนจำเก่ง

ข้อสอบเปลี่ยนแปลงยังไง

รับมือยังไง?

ทำไมต้อง Panya?

PART 3 : ทำไมต้อง Panya?

"ทำไมข้อสอบเปลี่ยนไป จึงทำอะไร Panya Society ไม่ได้?"

       ไม่ใช่เรื่องน่ากังวลใจอีกแล้ว เมื่อน้องวิเคราะห์ข้อสอบได้ น้องเข้าใจข้อสอบจริง ๆ และเรียนรู้กับคนที่สอนให้น้องใช้ความรู้ให้เป็น ไม่ใช่ท่องสิ่งที่ไม่จำเป็นเข้าห้องสอบ แล้วพบกันในคอร์ส TCAS65 วิชาฟิสิกส์ เตรียมตัวทั้ง 9 วิชาสามัญ และ PAT2 ได้อย่างไร้กังวล พร้อมเฉลยโจทย์ข้อสอบปี 64 Update ใหม่ล่าสุด และรวบรวมการจัดหมวดหมู่ข้อสอบรวมมากที่สุดถึง 3,000 ข้อ ให้น้องฝึกทำข้อสอบทุกสไตล์ พร้อมเฉลยทุกข้อ อยากตะลุยโจทย์ หรือเตรียมอัดเนื้อหาที่มุ่งความเข้าใจแบบลึกถึงแนวคิดคนออกข้อสอบ สสวท. ก็แวะมาสอบถามได้ที่ Panya Society เลยครับ ที่นี่เรามีระบบผู้ช่วยถาม-ตอบทุกข้อสงสัยตลอด 24 ชั่วโมง
       นอกจากนี้ PANYA SOCIETY ยังได้รับเลือกจากกองบรรณาธิการ mybest ให้เป็น 1 ใน 10 สถาบัน “เรียนฟิสิกส์” ที่ไหนดี? ปี 2022 สามารถคลิกเพื่ออ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่

:: ผู้เขียน ::
สุปิติ บูรณวัฒนาโชค (พี่แชร์)

● อดีตเหรียญทองฟิสิกส์โอลิมปิก
● นักเรียนทุนป.โท วิศวะ ไฟฟ้า และคอม
● ผู้ก่อตั้งสถาบันกวดวิชาออนไลน์ Panya Society
● ผู้คิดค้นรูปแบบการเรียน Panya EnterBrain “เน้นเข้าใจ เพื่อใช้ได้จริง”

ข้อสอบเปลี่ยนแปลงยังไง

รับมือยังไง?

ทำไมต้อง Panya?

เรียนสนุก ทำโจทย์คล่อง สอบให้ติด

: คอร์สแนะนำ :

SHARE:

ปฏิทิน TCAS 65

ปฏิทินการสอบ TCAS 65

ปฏิทินการสอบ O-NET ปีการศึกษา 2564

ตารางสอบ O-NET ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เริ่มสอบวันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 – วันอาทิตย์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2565 โดยมีรายละเอียดดังนี้
ประกาศผล: 28 มีนาคม พ.ศ. 2565

ปฏิทินการสมัครสอบ GAT/PAT และ วิชาสามัญ ปีการศึกษา 2565

เริ่มตั้งแต่ลงทะเบียนในระบบ TCAS65 ในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2564 จนถึงวันที่ยื่นคำร้องขอทบทวนผลสอบออนไลน์ ในวันที่ 21-28 เมษายน พ.ศ. 2565 โดยมีรายละเอียดดังนี้
TCAS65: ประกาศเลื่อนวันสอบวิชา GAT/PAT

 

ปฏิทินการสมัครสอบ GAT/PAT ปีการศึกษา 2565

ปฎิทินการสอบ GAT/PAT ปีการศึกษา 2565 เริ่มสอบตั้งแต่วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2565 –
วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2565 โดยมีรายละเอียดดังนี้
ประกาศผล: 18 เมษายน 2565

ปฏิทินการสมัครสอบวิชาสามัญ ปีการศึกษา 2565

ปฎิทินการสอบวิชาสามัญ ปีการศึกษา 2565 เริ่มสอบตั้งแต่วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2565 – วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2565 โดยมีรายละเอียดดังนี้
ประกาศผล: 20 เมษายน 2565

SHARE:

GATPAT คือ?

GAT/PAT คือ?

GAT/PAT ดำเนินการจัดสอบ โดย สทศ.

     สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(องค์การมหาชน) เรียกโดยย่อว่า “สทศ.” ใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “National  Institute of Educational Testing Service (Public Organization)” เรียกโดยย่อว่า “NIETS” จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2548 ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2548 ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ 

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(องค์การมหาชน) จัดตั้งขึ้นเป็นองค์การมหาชนเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพสามารถใช้ประโยชน์ทรัพยากรและบุคลากรได้สูงสุด มีความเป็นอิสระไม่ขึ้นอยู่กับสายการบริหารของหน่วยงานที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบการจัดการศึกษาจึงมีความเป็นกลาง เป็นสถาบันที่มีการกำหนดหลักการ นโยบาย มาตรการและเป้าหมาย โครงสร้างการบริหาร และการดำเนินกิจการ ความสัมพันธ์กับรัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บุคลากร การเงิน การตรวจสอบ และการประเมินผลที่เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์การจัดตั้งสถาบันเพื่อบริหารจัดการและดำเนินการเกี่ยวกับการศึกษา วิจัย และให้บริการทางด้านการประเมินผลทางการศึกษาและทดสอบทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเป็นศูนย์กลางความร่วมมือด้านการทดสอบทางการศึกษาในระดับชาติและนานาชาติ
 

GAT คือ การทดสอบวิชาความถนัดทั่วไป (General Aptitude Test)

        การวัดศักยภาพในการเรียนในมหาวิทยาลัยให้ประสบความสำเร็จ มี 2 ส่วน คือ 
ส่วนที่ 1 ความสามารถในการอ่าน/การเขียน/การคิดเชิงวิเคราะห์/และการแก้โจทย์ปัญหา
ส่วนที่ 2 คือ ความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ ประกอบด้วย 
  – Speaking and Conversation 
  – Vocabulary 
  – Structure and Writing
  –
Reading Comprehension

GAT เป็นการสอบที่ดูว่านักเรียนคนหนึ่งมีความพร้อมในการจะเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยมากน้อยแค่ไหน

PAT เป็นการทดสอบวิชาความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพ (Professional and Academic Aptitude Test)

      การวัดความรู้ที่เป็นพื้นฐาน กับศักยภาพที่จะเรียนในวิชาชีพนั้น ๆ ให้ประสบความสำเร็จมี 7 วิชา คือ
PAT 1 คือ ความถนัดทางคณิตศาสตร์
PAT 2 คือ ความถนัดทางวิทยาศาสตร์
PAT 3 คือ ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์
PAT 4 คือ ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์
PAT 5 คือ ความถนัดทางวิชาชีพครู
PAT 6 คือ ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์
PAT 7 คือ ความถนัดทางภาษาต่างประเทศ ประกอบด้วย
PAT 7.1 ความถนัดทางภาษาฝรั่งเศส
PAT 7.2 ความถนัดทางภาษาเยอรมัน
PAT 7.3 ความถนัดทางภาษาญี่ปุ่น
PAT 7.4 ความถนัดทางภาษาจีน
PAT 7.5 ความถนัดทางภาษาอาหรับ
PAT 7.6 ความถนัดทางภาษาบาลี
PAT 7.7 ความถนัดทางภาษาเกาหลี

PAT เป็นการสอบที่จะดูว่านักเรียนคนหนึ่งมีแววจะเข้าสู่เส้นทางอาชีพในคณะที่เลือกไหม

Q&A เกี่ยวกับ GAT/PAT

1. ใครสอบ GAT/PAT ได้บ้าง

คุณสมบัติของผู้ที่จะเข้ารับการทดสอบ GAT/PAT จะต้องเป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า หรือผู้ที่จบการศึกษาตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ขึ้นไปเท่านั้น

2. นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ชั้น ม.5 สมัครสอบ GAT/PAT ได้หรือไม่

ไม่ได้ เพราะการสอบ GAT/PAT ได้กำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะสมัครสอบ ณ วันสอบว่าต้องเป็นผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้น ม.6 หรือเทียบเท่า หรือเป็นผู้ที่จบการศึกษาระดับชั้น ม.6 ขึ้นไปเท่านั้น

**น้อง ๆ ที่กำลังเรียนในระดับชั้นอื่นๆ ที่ไม่ใช่ ม.6 สทศ. ไม่อนุญาตให้เข้าสอบ และหากน้อง ๆ กรอกข้อมูลในระบบรับสมัครว่าเป็นนักเรียนชั้น ม.6 หรือสูงกว่า ถือว่าเป็นการให้ข้อมูลที่ไม่ตรงตามความเป็นจริง เป็นความผิดด้วยนะ**

3. GAT/PAT สอบเมื่อไหร่

GAT/PAT เริ่มสอบมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 โดยจัดสอบจำนวน 3 ครั้ง คือเดือนมีนาคม เดือนกรกฎาคม และเดือนตุลาคม จนมาปีการศึกษา 2555 สทศ. ได้จัดสอบ GAT/PAT จำนวน 2 ครั้งต่อปี โดยส่วนใหญ่จะกำหนดการสอบ ครั้งที่ 1 ช่วงปลายปีและครั้งที่ 2 ช่วงเดือนมีนาคมของปีถัดไป แต่มีบางปีที่เกิดเหตุการณ์ภัยธรรมชาติและสถานการณ์การเมืองทำให้ต้องเลื่อนการสอบไป สำหรับในปีการศึกษา 2559 สทศ. จัดสอบตามมติ ที่ประชุม ทปอ. โดยครั้งที่ 1 ในช่วงปลายเดือนตุลาคม 2558 และครั้งที่ 2 เดือนมีนาคม 2559

4. สทศ. จัดสอบ GAT/PAT ได้อย่างไร

ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ได้มีมติให้เปลี่ยนแปลงองค์ประกอบในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา (Admissions) ในปีการศึกษา 2553 จากเดิมที่กำหนดให้ใช้คะแนนการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นสูง (A-NET) ซึ่งจัดสอบโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเป็นการใช้ผลการสอบวิชาความถนัดทั่วไป (GAT) และความถนัดทางวิชาการและวิชาชีพ (PAT) และขอความร่วมมือให้ สทศ. เป็นผู้ดำเนินการจัดการทดสอบ สทศ. จึงได้รับเป็นหน่วยงานกลางในการดำเนินการจัดการทดสอบตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2552 เป็นต้น มติและสถานการณ์การเมืองทำให้ต้องเลื่อนการสอบไป สำหรับในปีการศึกษา 2559 สทศ. จัดสอบตามมติที่ประชุม ทปอ. โดยครั้งที่ 1 ในช่วงปลายเดือนตุลาคม 2558 และครั้งที่ 2 เดือนมีนาคม 2559

5. ลืมรหัสผู้ใช้งาน หรือรหัสผ่านเข้าระบบต้องทำอย่างไร

ถ้าผู้สมัครสอบลืมรหัสผู้ใช้งาน หรือรหัสผ่าน ดำเนินการได้ดังนี้

วิธีที่ 1 เข้าระบบและเลือกเมนู ผู้สมัครรายเก่า
เข้าระบบและเลือกเมนู ผู้สมัครรายเก่า ต้องการสอบถามรหัสผู้ใช้งานหรือรหัสผ่าน (วิธีนี้ผู้สมัครสอบต้องจำคำถามและคำตอบเมื่อลืมรหัสผ่านได้)

วิธีที่ 2 โทรศัพท์สอบถามในระบบโทรศัพท์อัตโนมัติของ สทศ.
โทรศัพท์ที่เบอร์ 02-217-3800 เมื่อมีเสียงตอบรับแล้วให้ดำเนินการ ดังนี้
  1. กด 1 เพื่อสอบถามเกี่ยวกับระบบ GAT/PAT
  2. กด 1 อีกครั้ง เพื่อตรวจสอบชื่อผู้ใช้ และรหัสผ่าน
  3. ทำตามขั้นตอน โดยกดเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ตามด้วย #
  4. ระบบจะประมวลผล ถ้าเจอ ระบบจะถามว่า ถ้าทราบรหัสผู้ใช้ กด 1 ไม่ทราบ กด 2
     4.1 กรณีกด 1 ระบบจะให้กดรหัสผู้ใช้งาน 10 หลักแล้วตามด้วย # ระบบก็จะแจ้งรหัสผ่านให้
     4.2 กรณีกด 2 ระบบจะให้กด วัน เดือน ปีเกิด แล้วตามด้วย # ระบบก็จะแจ้งรหัสผู้ใช้งาน และรหัสผ่านให้

วิธีที่ 3 สอบถามที่เคาน์เตอร์เซอร์วิส (วิธีนี้ต้องเสียค่าบริการด้วย)
สอบถามที่เคาน์เตอร์เซอร์วิส (วิธีนี้ต้องเสียค่าบริการด้วย)
  1. ผู้สมัครสอบต้องยื่นบัตรประจำตัวประชาชนให้พนักงานและแจ้งความจำนงค์ว่าต้องการขอรหัสผ่าน GAT/PAT ของ สทศ.
  2. กรณีพนักงานไม่ทราบว่าต้องดำเนินการอย่างไร ให้แจ้งว่า ให้เปิดแผ่นผู้ว่าจ้าง และหา Barcode สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) GAT/PAT และให้พนักงานยิง Barcode
  3. พนักงานจะแจ้งรหัสผู้ใช้งาน และรหัสผ่านให้เป็นแผ่นสลิป พร้อมให้ผู้สมัครสอบเสียค่าบริการ 20 บาท (ยังไม่รวมค่าธรรมเนียม) 

6. ติดต่อ สทศ.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) 128 อาคารพญาไท พลาซ่า ชั้น 36 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทร: +66 2-217-3800  
โทรสาร: 02-219-2996 , 02-129-3866-67
E-mail: webmaster@niets.or.th
Twitter: @niets_official
Facebook: https://www.facebook.com/nietsofficial/

7. ชาวต่างชาติที่ไม่มีเลขประจำตัวประชาชนต้องสมัครสอบอย่างไร

กรณีชาวต่างประเทศที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ระบุ แต่ไม่มีเลขประจำตัวประชาชนประสงค์จะสมัครสอบให้ดำเนินการ ดังนี้
  1. กรอกรายละเอียดตามแบบคำขอลงทะเบียนสมัครสอบ GAT และ PAT ประจำปีการศึกษา xxxx สำหรับผู้สมัครสอบ (รายใหม่) ที่เป็นชาวต่างประเทศ ที่ไม่มีเลขประจำตัวประชาชน (แบบคำขอลงทะเบียนจะแนบท้ายประกาศ รับสมัครสอบ)
  2. แนบสำเนาหลักฐานหน้าแรกของหนังสือเดินทาง (Passport) ที่มีรูปถ่าย และข้อมูลของผู้ถือหนังสือและลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง
  3. จัดส่งเอกสารมายัง สทศ. ตามช่องทาง ดังนี้
    3.1 ยื่นด้วยตนเอง ณ ที่ทำการ สทศ. อาคารพญาไทพลาซ่า ชั้น 36
     – วันทำการตั้งแต่เวลา 08.30 – 18.00 น.
     – วันหยุดทำการ (วันเสาร์ อาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์) ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.00 น. (เฉพาะช่วงการรับสมัครสอบ)
    3.2 ทางโทรสาร หมายเลข 02-219-2996 ระบบอัตโนมัติ
  3.3 ทางไปรษณีย์ จ่าหน้าซอง “กลุ่มงานบริการการทดสอบสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
128 อาคารพญาไทพลาซ่า ชั้น 36 ถนนพญาไท แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400″

สทศ. จะดำเนินการลงทะเบียนในระบบให้ และจะแจ้งรหัสชื่อผู้ใช้งานสำหรับเข้าระบบกลับไปทางโทรศัพท์ หรือทางไปรษณีย์อิเลคทรอนิกส์ของผู้สมัครสอบภายใน 1 วันทำการ นับแต่ได้รับแบบคำขอลงทะเบียนของผู้สมัครสอบ เพื่อให้ผู้สมัครสอบดำเนินการตามขั้นตอนการสมัครสอบที่กำหนด ทั้งนี้ ผู้สมัครสอบต้องดำเนินการกรอกแบบคำขอลงทะเบียน สมัครสอบ และชำระเงิน ภายในระยะเวลาการเปิดและปิดระบบรับสมัครสอบและชำระเงินที่ประกาศกำหนดไว้

8. ความต้องการพิเศษคืออะไร

เนื่องจาก สทศ. ได้จัดการทดสอบให้น้อง ๆ ที่มีความบกพร่องทางสายตา การได้ยิน และทางร่างกาย โดยแบ่งเป็น 6 ประเภท และมีการเตรียมการจัดการทดสอบให้ตามความเหมาะสม ดังนี้

001ตาบอดต้องการข้อสอบอักษรเบรลล์ (ภาษาอังกฤษตัวเต็ม)
ผู้ที่ตาบอด และอ่านอักษรเบรลล์ได้ โดยวิชาภาษาอังกฤษใช้ตัวเต็ม ให้เลือกประเภทนี้
002ตาบอดต้องการข้อสอบอักษรเบรลล์ (ภาษาอังกฤษตัวย่อ)
ผู้ที่ตาบอด และอ่านอักษรเบรลล์ได้ โดยวิชาภาษาอังกฤษใช้ตัวย่อ ให้เลือกประเภทนี้

001 และ 002 สทศ. จะเตรียมข้อสอบอักษรเบรลล์ (ยกเว้นวิชาภาษาต่างประเทศ PAT 7) ผู้ช่วยฝนกระดาษคำตอบ และจัดให้อยู่ในห้องพิเศษที่แยกจากห้องสอบปกติ

003ตาเลือนราง ต้องการข้อสอบอักษรขยาย
ผู้ที่ตาเลือนราง และไม่สามารถอ่านตัวหนังสือขนาดปกติได้ (ไม่ใช่สายตาสั้นแล้วใส่แว่นนะ) ให้เลือกประเภทนี้ สทศ. จะเตรียมข้อสอบที่ขยายตัวอักษรใหญ่เป็นพิเศษให้ ผู้ช่วยฝนกระดาษคาตอบ (กรณีที่ต้องการ) และจัดให้อยู่ในห้องพิเศษที่แยกจากห้องสอบปกติ
004ตาบอด/ตาเลือนรางต้องการผู้ช่วยอ่าน
ผู้ที่ตาบอด และไม่สามารถอ่านอักษรเบรลล์ได้ หรือผู้ที่ตาเลือนราง จนไม่สามารถอ่านหนังสือเองได้ ต้องมีผู้ช่วยอ่านข้อสอบให้ให้เลือกประเภทนี้ สทศ. จะเตรียมผู้ช่วยอ่านข้อสอบ ผู้ช่วยฝนกระดาษคาตอบ และจัดให้อยู่ในห้องพิเศษที่แยกจากห้องสอบปกติ
005พิการทางร่างกายต้องการผู้ช่วยพาเดินเข้าห้องสอบ
ผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกายและต้องการให้อานวยความสะดวกในการเดินเข้าห้องสอบได้ให้เลือกประเภทนี้ สทศ. จะประสานสนามสอบให้ดูแลตามความเหมาะสม
006บกพร่องทางการได้ยิน
ผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ให้เลือกประเภทนี้ เพื่อให้ สทศ. ประสานสนามสอบให้ดูแลตามความเหมาะสม

การกรอกข้อมูลกรณีนี้จะอยู่ตรงหัวข้อ “ความต้องการพิเศษ” ดังนั้น ขอให้เลือกประเภทให้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง และความต้องการของผู้สมัครสอบเอง และตรวจสอบความถูกต้องก่อนการสมัครสอบ สทศ. จะยึดตามข้อมูลที่ผู้สมัครสอบกรอกไว้ในระบบ
ระวัง!!! ผู้ที่ไม่ได้มีความบกพร่อง แล้วให้ข้อมูลว่าบกพร่องไว้ อาจจะต้องสอบด้วยข้อสอบพิเศษที่ สทศ. จัดไว้ให้ตามที่แจ้งไว้

9. ถ้าตอนสมัครสอบ สนามสอบในกรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี เต็ม ต้องทำอย่างไร

ถ้าเกิดกรณีที่ในช่วงสมัครสอบ สนามสอบในกรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี เต็มทุกสนามสอบแล้วยังไม่ได้เลือกสนามสอบไว้เลย ให้ผู้สมัครคงเขต/อำเภอที่เลือกไว้ ตอนสมัครสอบ สทศ. จะจัดสนามสอบให้ผู้สมัครสอบตามเขต/อำเภอที่ระบุไว้ หรือที่ใกล้เคียง หรือที่ยังมีที่ว่างอยู่ ผู้สมัครสอบไม่จำเป็นต้องเลือกสนามสอบในจังหวัดอื่น หากไม่ได้ประสงค์จะไปสอบในจังหวัดนั้น ๆ

10. หลังจากสมัครสอบไปแล้วถ้าจะเปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมรายวิชา ต้องทำอย่างไร

หลังจากสมัครสอบไปแล้วถ้าจะเปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมรายวิชา ต้องทำอย่างไร
  1. สมัครสอบแล้วแต่ยังไม่ชำระเงิน ผู้สมัครสอบสามารถสมัครสอบใหม่ได้โดยเลือกวิชาที่จะสอบใหม่ และพิมพ์ใบจ่ายเงินใบล่าสุดไปชำระเงินเท่านั้น หากผู้สมัครสอบสมัครสอบใหม่แต่ใช้ใบชำระเงินใบเดิม สถานะการชำระเงินของผู้สมัครสอบจะไม่เปลี่ยนแปลงต้องติดต่อ สทศ. ทันที
  2. สมัครสอบและชำระเงินแล้ว ให้ผู้สมัครสอบสมัครสอบเฉพาะวิชาที่ต้องการเพิ่มเติมเท่านั้น และพิมพ์ใบชำระเงินไปชำระเงิน ระบบจะรวมวิชาทุกใบสมัครที่ชำระเงินแล้วให้เองอัตโนมัติ สำหรับการเปลี่ยนแปลงรายวิชาไม่สามารถดำเนินการได้ ต้องสมัครสอบเพิ่มเติมเท่านั้น
  3. ต้องการเปลี่ยนแปลงรายวิชาภาษาต่างประเทศ (PAT 7) หลังจากชำระเงินแล้ว ให้ผู้สมัครสอบยื่นคำร้องพร้อมเหตุผลที่ขอเปลี่ยนรายวิชามายัง สทศ. สทศ. จะพิจารณาตามความจำเป็น และจะดำเนินการเปลี่ยนแปลงให้หากเห็นเหตุสมควร

11. ถ้าต้องการแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลในระบบ หลังการชำระเงินแล้ว ต้องทำอย่างไร

การแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สมัครสอบในระบบ แบ่งเป็น
  1. ข้อมูลที่ผู้สมัครสอบไม่สามารถแก้ไขได้เอง คือ 1) คำนำหน้าชื่อ 2) ชื่อ 3) นามสกุล และ 4) เลขประจำตัวประชาชน ผู้สมัครสอบต้องส่งเอกสารมายัง สทศ. ทางไปรษณีย์ หรือไปรษณีย์อิเลคทรอนิกส์ e-mail : testingservice@niets.or.th สทศ. จะดำเนินการแก้ไขข้อมูลหลังจากได้รับเอกสารที่ครบถ้วนและสมบูรณ์ ไม่เกิน 2 วัน
  2. ข้อมูลอื่นๆ ในระบบ นอกจากข้อมูลตามข้อ 1 ผู้สมัครสอบ สามารถแก้ไขข้อมูลได้เองในระบบส่วนบุคคล

การดำเนินการแก้ไขข้อมูลต้องดำเนินการภายในระยะเวลาที่ สทศ. กำหนด

12. พิมพ์ใบจ่ายเงิน ไม่ได้ต้องทำอย่างไร

กรณีที่กดพิมพ์ใบจ่ายเงิน หรือบัตรแสดงข้อมูลสถานที่สอบ เลขที่นั่งสอบ แล้วไม่ปรากฎหน้าจอใหม่ ให้ดำเนินการดังนี้
  1. ให้ผู้สมัครสอบเลือกเมนูด้านบนคำว่า TOOLS

  2. ไปที่ POP UP BLOCKER แล้วเลือกคำว่า TURN OFF POP UP BLOCKER

  3. แล้วกดคำว่า พิมพ์
  4. หลังจากกดคำว่า “พิมพ์” จะปรากฎหน้าจอใหม่ ดังภาพด้านล่างนี้

SHARE:

จำนวนและร้อยละของนักเรียนตามช่วงคะแนน วิชาสามัญ 2564

รายงาน Score Distribution

การสอบวิชาสามัญ ประจำปี 2564

จำนวนและร้อยละของนักเรียนตามช่วงคะแนน

รายงาน Score Distribution การสอบวิชาสามัญ ประจำปี 2564
จำนวนและร้อยละของนักเรียนตามช่วงคะแนน ประกอบด้วย9 วิชา ภาษาไทย, สังคมศึกษา, ภาษาอังกฤษ, คณิตศาสตร์ 1, ฟิสิกส์, เคมี, ชีววิทยา, คณิตศาสตร์ 2, วิทยาศาสตร์ทั่วไป

-คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่-

รายงานค่าสถิติพื้นฐานการสอบ วิชาสามัญ 2564

รายงานค่าสถิติพื้นฐาน

การสอบวิชาสามัญ ประจำปี 2564

รายงานค่าสถิติพื้นฐาน การสอบวิชาสามัญ ประจำปี 2564 
ประกอบด้วย 9 วิชา ภาษาไทย, สังคมศึกษา, ภาษาอังกฤษ, คณิตศาสตร์ 1, ฟิสิกส์, เคมี, ชีววิทยา, คณิตศาสตร์ 2, วิทยาศาสตร์ทั่วไป
โดยมีสถิติพื้นฐาน ดังนี้ 1. คะแนนเต็ม 2. จำนวนผู้เข้าสอบ (N) 3. คะแนนเฉลี่ย (Mean) 4. ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 5. คะแนนต่ำสุด (Min.) 6. คะแนนสูงสุด (Max.) 7. มัธยฐาน (Median) และ 8. ฐานนิยม (Mode)

-คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่-

จำนวนและร้อยละของนักเรียนตามช่วงคะแนน GAT/PAT 2564

รายงาน Score Distribution

การสอบ GAT/PAT ประจำปี 2564

(มีนาคม 2564)

จำนวนและร้อยละของนักเรียนตามช่วงคะแนน

รายงาน Score Distribution การสอบ GAT/PAT ประจำปี 2564 (มีนาคม 2564)
จำนวนและร้อยละของนักเรียนตามช่วงคะแนน ประกอบด้วยวิชา GAT, GAT (1), GAT (2), PAT 1, PAT 2, PAT 3, PAT 4, PAT 5, PAT 6, PAT 7.1, PAT 7.2, PAT 7.3, PAT 7.4, PAT 7.5, PAT 7.6, PAT 7.7

-คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่-

SHARE:

รายงานค่าสถิติพื้นฐานการสอบ GAT/PAT 2564

รายงานค่าสถิติพื้นฐาน

การสอบ GAT/PAT ประจำปี 2564

(มีนาคม 2564)

รายงานค่าสถิติพื้นฐาน การสอบ GAT/PAT ประจำปี 2564 (มีนาคม 2564)
ประกอบด้วยวิชา GAT, PAT 1, PAT 2, PAT 3, PAT 4, PAT 5, PAT 6, PAT 7.1, PAT 7.2, PAT 7.3, PAT 7.4, PAT 7.5, PAT 7.6, PAT 7.7
โดยมีสถิติพื้นฐาน ดังนี้ 1. คะแนนเต็ม 2. จำนวนผู้เข้าสอบ (N) 3. คะแนนเฉลี่ย (Mean) 4. ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 5. คะแนนต่ำสุด (Min.) 6. คะแนนสูงสุด (Max.) 7. มัธยฐาน (Median) และ 8. ฐานนิยม (Mode)

-คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่-

คลังข้อสอบเคมีONET64

เฉลย O-NET’64 เคมี โดย พี่นัท

ดูคลิปเฉลยได้ที่นี่

○ สารต่อไปนี้มีโครงสร้างดังนี้

ข้อใดถูกต้อง
1. สารที่เป็นกรด C สารที่เป็นเบส A
2. สารที่เป็นกรด B สารที่เป็นเบส C
3. สารที่เป็นกรด C สารที่เป็นเบส D
4. สารที่เป็นกรด D สารที่เป็นเบส B
5. สารที่เป็นกรด A สารที่เป็นเบส D

ตอบ 2. สารที่เป็นกรด B สารที่เป็นเบส C


วัสดุ A  คุณสมบัติ: แข็งเหนียว ทนความร้อน ผลิตภัณฑ์: ขวดน้ำใส
วัสดุ B  คุณสมบัติ: แข็งเปราะ น้ำหนักเบา ผลิตภัณฑ์: ช้อนพลาสติก
วัสดุ C  คุณสมบัติ: แข็ง ทนร้อน ผลิตภัณฑ์: ปลั๊กไฟ
วัสดุ D  คุณสมบัติ: เหนียวยืดหยุ่น โปร่งใส ผลิตภัณฑ์: ถุงพลาสติกใส่ของเย็น

ข้อใดถูกต้อง
1. A และ B มีโครงสร้างแบบเส้น
2. C และ D รีไซเคิลได้
3. A มีจุดหลอมเหลวมากกว่า D
4. B และ D เทอร์ดมพลาสติก
5. D เป็น polyethylene ความหนาแน่นต่ำ

ตอบ 5. D เป็น polyethylene ความหนาแน่นต่ำ

○ จากตารางธาตุนี้ ข้อใดไม่ถูกต้อง

1. Q มีแนวโน้มรับ eเมื่อทำปฏิกิริยากับ Z
2. E นำไฟฟ้าได้ดีกว่า L แต่ไม่เท่า D
3. W, E, L มีเวเลนซ์อิเล็กตรอน 2, 4, 6 ตามลำดับ
4. G มีสถานะเป็นแก๊สเมื่ออยู่ในรูปอะตอมเดี่ยว ไม่ทำปฏิกิริยา
5. Z, M มีคุณสมบัติทางเคมีคล้ายกัน แต่ Z อยู่ในคาบที่มีค่าเลขมาก

ตอบ 5. Z, M มีคุณสมบัติทางเคมีคล้ายกัน แต่ Z อยู่ในคาบที่มีค่าเลขมาก

○ จากตารางธาตุนี้ ข้อใดไม่ถูกต้อง

A :  Na+     No3

B : Al3+     S2-

C : NH4+    SO42-

D : Mg2+  PO43-

E :  Ca2+    Cl

อัตราส่วนจำนวนไอออน + ต่อจำนวนไอออน – ข้อใดถูกต้อง
1. A -> 2 : 1
2. B -> 3 : 2
3. C -> 2 : 1
4. D -> 1 : 4
5. E -> 2 : 1

ตอบ 3. C -> 2 : 1

○ สาร A 0.25 g ทำปฏิกิริยากับ B ความเข้มข้น 0.40% โดยมวลต่อปริมาตร ปริมาตร 10 cm3  มีสมการดังนี้ อุณหภูมิ 30°C

2A(s) + 2B(aq) -> 2C(aq) + 2D(g)

C คือรูปใด และทำอย่างไรให้มีอัตราการเกิดปฏิกิริยาเร็วขึ้น

1. บด A ให้ละเอียด

2. บด A ให้ละเอียด

3. เพิ่มปริมาณสาร B เป็น 20 cm3

4. ให้ความเข้มข้น B เป็น 0.50% โดยมวลต่อปริมาตร

5. ให้ความเข้มข้น B เป็น 0.50% โดยมวลต่อปริมาตร

ตอบ 1. บด A ให้ละเอียด


X เลขมวล 23 จำนวนนิวตรอน 12
Y เลขมวล 18 จำนวนนิวตรอน 10
W เลขมวล 27 จำนวนนิวตรอน 14
Z เลขมวล 16 จำนวนนิวตรอน 8

ข้อใดถูกต้อง

1. เลขอะตอม W = 14
2. Y เป็นธาตุเดียวกับ Z
3. สัญลักษณ์นิวเคลียร์ของ X คือ 1223X
4.  Z2- มีโปรตอน = 6
5. X+ และ W มีอิเล็กตรอนเท่ากัน

ตอบ 2. Y เป็นธาตุเดียวกับ Z

ดร.ณัฏฐพล อิสรเสรีรักษ์

ปริญญาตรี โท เอก คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ
บัณฑิตศึกษาปริญญาโทที่มีผลการเรียนดีเด่น (รางวัล ดร.แถบ นีละนิธิ)
อาจารย์พิเศษ วิชาเคมี ห้องเรียนพิเศษ gifted โรงเรียนมัธยม
วิทยากรรับเชิญ เตรียมสอบ O-NET วิชาวิทยาศาสตร์ ม.ต้น ม.ปลาย
วิทยากรรับเชิญเตรียมสอบ PAT2 และ วิชาสามัญ (เคมี)

ปริญญาตรี โท เอก คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ
บัณฑิตศึกษาปริญญาโทที่มีผลการเรียนดีเด่น (รางวัล ดร.แถบ นีละนิธิ)
อาจารย์พิเศษ วิชาเคมี ห้องเรียนพิเศษ gifted โรงเรียนมัธยม
วิทยากรรับเชิญ เตรียมสอบ O-NET วิชาวิทยาศาสตร์ ม.ต้น ม.ปลาย
วิทยากรรับเชิญเตรียมสอบ PAT2 และ วิชาสามัญ (เคมี)

SHARE:

แนะแนววิชาสามัญเคมี

แนะแนวการทำข้อสอบวิชาสามัญ เคมี (TCAS)

● อะตอมและสมบัติของธาตุ

สัดส่วน 15.90

● กรด เบส

สัดส่วน 12.88

● ไฟฟ้าเคมี

สัดส่วน 12.88

● เคมีอินทรีย์

สัดส่วน 9.85

● อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี

สัดส่วน 9.85

● สมดุลเคมี

สัดส่วน 9.10

● การคำนวณเกี่ยวกับสมการเคมี

สัดส่วน 9.10

● พันธะเคมี

สัดส่วน 6.81

● แก๊ส

สัดส่วน 6.06

● พอลิเมอร์

สัดส่วน 3.03

1. แบ่งระดับความยากของข้อสอบ

โจทย์ง่ายประเภท 1

● โจทย์ที่หาข้อถูกข้อผิด
หลายตัวเลือก (ก-จ) แบบไม่มีคำนวณ เช่น
– อะตอมและตารางธาตุ
– อัตราการเกิดปฏิกิริยา
– สมดุลเคมี
– กรด-เบส
– เคมีอินทรีย์
– พอลิเมอร์

โจทย์ง่ายประเภท 2

● โจทย์ที่อ่านแล้ว สามารถตอบได้เลย
แบบไม่มีคำนวณ เช่น
– ธาตุและสารประกอบ
– พันธะเคมี
– กรด-เบส
– ไฟฟ้าเคมี
– พอลิเมอร์

โจทย์ง่ายประเภท 3

● โจทย์ที่มีการคำนวณเพียงขั้นเดียว แล้วได้คำตอบเลย เช่น
– สารละลาย
– สมดุลเคมี
– กรด-เบส
– เคมีไฟฟ้า

2. โจทย์ง่ายและออกบ่อย

● อะตอมและตารางธาตุ

– การจัดเรียงอิเล็กตรอน
– การจัดเรียงออร์บิทัลหาจำนวนอิเล็กตรอนเดี่ยว
– สัญลักษณ์นิวเคลียร์
– ไอโซโทป
– IE
– สเปกตรัม
– สมการนิวเคลียร์
– ครึ่งชีวิต

● พันธะเคมี

– จุดเดือด
– มุมพันธะ
– รูปร่างโมเลกุล
– ความมีขั้ว
– แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล

● ปริมาณสารสัมพันธ์

– สูตรอย่างง่าย
– ความเข้มข้นสารละลาย
– การเจือจางสารละลาย
– สมบัติคอลิเกทีฟ
– สมการไอออนิกสุทธิ

● แก๊ส

– กฎรวมแก๊ส
– กฎของแก๊สสัมบูรณ์

● อัตราการเกิดปฏิกิริยา

– กราฟการดำเนินไปของปฏิกิริยา
– การหาอัตราการเกิดปฏิกิริยา
– สมการกฎอัตรา
– ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดปฏิกิริยา

● สมดุลเคมี

– ค่าคงที่สมดุล
– ค่าคงที่การละลาย

● กรด-เบส

– ทฤษฎีกรด-เบส
– ร้อยละการแตกตัว
– ค่า pH
– อินดิเคเตอร์
– ไทเทรต
– เกลือ
– บัฟเฟอร์

● เคมีไฟฟ้า

– การดุลสมการรรีดอกซ์
– การหาตัวรีดิวซ์ ตัวออกซิไดส์
– เซลล์กัลวานิก
– แผนภาพเซลล์
– คำนวณค่าศักย์ไฟฟ้า
– การผุกร่อนของโลหะ

● พอลิเมอร์

– พอลิเมอร์แบบเติม
– พอลิเมอร์แบบควบแน่น
– พอลิเมอร์ที่นำไฟฟ้า
– โฮโมพอลิเมอร์ โคพอลิเมอร์

SHARE: