PANYA SOCIETY
วางแผนอ่านหนังสือ TCAS68 วิชาฟิสิกส์เน้นบทไหนดี #DEK68
วางแผนอ่านหนังสือวิชาฟิสิกส์
สวัสดีครับน้อง ๆ #Dek68 ทุกคน วันนี้พี่ Panya Society กลับมาอีกครั้งพร้อมบทความที่เกี่ยวกับ TCAS68 นะครับ หลังจากที่เราคนหาตัวตนเจอแล้วว่าอยากเข้าคณะอะไร เราก็จะมาวางแผนอ่านหนังสือ TCAS68 กันต่อเลย วันนี้พี่ Panya Society จะมาแนะนำแผนการอ่านหนังสือวิชาฟิสิกส์ เพื่อช่วยน้อง ๆ #Dek68 อ่านหนังสือได้ดีขึ้น ขอบอกเลยว่า #Dek68 ที่กำลังเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัยทุกคน จำเป็นวางแผนอ่านหนังสือให้ดี เพื่อให้ไม่รู้สึกว่าอ่านหนักเกินไป และพร้อมสอบมากยิ่งขึ้น ถ้าพร้อมแล้ว เริ่ม!!!
สถิติออกสอบ A - Level ฟิสิกส์
ในการวางแผนอ่านหนังสือนั้น เราควรจะต้องรู้ว่าควรจะเน้นไปที่บทไหน วันนี้พี่ Panya Society จึงจะพาน้อง ๆ #Dek68 มาดูสถิติออกสอบ A – Level ฟิสิกส์ ว่าบทไหนออกเยอะหรือออกน้อยบ้าง เพื่อเป็นแนวทางในการเตรียมสอบ TCAS68 ดังนี้
บทที่ออก 2 – 4 ข้อ ควรเน้น คือ
- แรงและกฎการเคลื่อนที่
- การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย
- แสงเชิงรังสี
- ไฟฟ้าสถิต
- ไฟฟ้าและแม่เหล็ก
- ความร้อนและแก๊ส
- ฟิสิกส์อะตอม
บทที่ออก 1 – 2 ข้อ ควรเน้นบ้าง คือ
- คลื่น
- ไฟฟ้ากระแส
- ของแข็งและของไหล
- ฟิสิกส์นิวเคลียร์และฟิสิกส์อนุภาค
บทที่ออก 0 – 1 ข้อ ควรเน้นไม่มาก คือ
- ธรรมชาติและพัฒนาการทางฟิสิกส์
- การเคลื่อนที่แนวตรง
- สมดุลกล
- งานและพลังงาน
- โมเมนตัมและการชน
- การเคลื่อนที่แนวโค้ง
- แสงเชิงคลื่น
- เสียง
- คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
มาถึงตรงนี้ น้อง ๆ #Dek68 คงจะเห็นแล้วว่า บทไหนควรเน้นหรือไม่ควรเน้น แต่พี่ Panya Society ขอเตือนไว้ก่อนเลยว่า ถึงบางบทจะออกน้อย แต่ก็เป็นพื้นฐานในการนำไปใช้ต่อในบทอื่น ๆ ดังนั้น ถ้าเป็นไปได้ก็ควรเก็บเนื้อหาให้ได้ครบทุกบทนะครับ
คำนวณเวลาที่ต้องใช้อ่านทั้งหมด
ก่อนที่เราเริ่มอ่าน เรามาดูกันก่อนว่า วิชาฟิสิกส์มีเนื้อหาอะไรบ้าง และแต่ละบทจะต้องใช้เวลาอ่านมากหรือน้อยอย่างไร เพื่อจะได้วางแผนการอ่านได้ง่ายขึ้น
บทที่ 1 : ธรรมชาติและพัฒนาการทางฟิสิกส์
จะเรียนเกี่ยวกับประวัติของวิชาฟิสิกส์ รวมถึงพื้นฐานเกี่ยวกับวิชาฟิสิกส์
พื้นฐานบทอื่นที่ต้องมี : ไม่ต้องมีพื้นฐานบทอื่น
เวลาที่ควรใช้อ่าน : ประมาณ 8 ชั่วโมง
บทที่ 2 : การเคลื่อนที่แนวตรง
จะเรียนเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรงของวัตถุต่าง ๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานในการเรียนบทอื่น ๆ อีกหลายบท
พื้นฐานบทอื่นที่ต้องมี : ไม่ต้องมีพื้นฐานบทอื่น
เวลาที่ควรใช้อ่าน : ประมาณ 9 ชั่วโมง
บทที่ 3 : แรงและกฎการเคลื่อนที่
จะเรียนเกี่ยวกับผลของแรงที่มีต่อการเคลื่อนที่ของวัตถุ และได้รู้จักแรงชนิดต่าง ๆ เป็นอีกหนึ่งบทที่เป็นพื้นฐานสำคัญของอีกหลาย ๆ บท
พื้นฐานบทอื่นที่ต้องมี : การเคลื่อนที่แนวตรง
เวลาที่ควรใช้อ่าน : ประมาณ 10 ชั่วโมง
บทที่ 4 : สมดุลกล
จะเรียนเกี่ยวกับวัตถุที่อยู่นิ่ง หรือเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ รวมไปถึงการล้มของวัตถุ
พื้นฐานบทอื่นที่ต้องมี : แรงและกฎการเคลื่อนที่
เวลาที่ควรใช้อ่าน : ประมาณ 6 ชั่วโมง
บทที่ 5 : งานและพลังงาน
จะเรียนเกี่ยวกับพลังงานต่าง ๆ ที่สะสมอยู่ในวัตถุ และกฎเกี่ยวกับพลังงาน
พื้นฐานบทอื่นที่ต้องมี : แรงและกฎการเคลื่อนที่
เวลาที่ควรใช้อ่าน : ประมาณ 9 ชั่วโมง
บทที่ 6 : โมเมนตัมและการชน
จะเรียนเกี่ยวกับปริมาณหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ และเรียนเกี่ยวกับการชนกันของวัตถุ
พื้นฐานบทอื่นที่ต้องมี : การเคลื่อนที่แนวตรง
เวลาที่ควรใช้อ่าน : ประมาณ 7 ชั่วโมง
บทที่ 7 : การเคลื่อนที่แนวโค้ง
จะเรียนเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของวัตถุในลักษณะเป็นเส้นโค้ง หรือเป็นวงกลม
พื้นฐานบทอื่นที่ต้องมี : การคลื่อนที่แนวตรง, แรงและกฎการเคลื่อนที่
เวลาที่ควรใช้อ่าน : ประมาณ 6 ชั่วโมง
บทที่ 8 : การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย
จะเรียนเกี่ยวกับการเคลื่อนที่กลับไปกลับมาของวัตถุเมื่อวัตถุติดอยู่กับสปริง หรือถูกแกว่งด้วยเชือก
พื้นฐานบทอื่นที่ต้องมี : แรงและกฎการเคลื่อนที่, การเคลื่อนที่แนวโค้ง
เวลาที่ควรใช้อ่าน : ประมาณ 4 ชั่วโมง
บทที่ 9 : คลื่น
จะเรียนเกี่ยวกับนิยามของคลื่น และสมบัติต่าง ๆ ของคลื่น
พื้นฐานบทอื่นที่ต้องมี : ไม่ต้องมีพื้นฐานบทอื่น
เวลาที่ควรใช้อ่าน : ประมาณ 8 ชั่วโมง
บทที่ 10 : แสงเชิงคลื่น
จะเรียนเกี่ยวกับคุณสมบัติของแสงเมื่อผ่านช่องแคบต่าง ๆ
พื้นฐานบทอื่นที่ต้องมี : คลื่น
เวลาที่ควรใช้อ่าน : ประมาณ 4 ชั่วโมง
บทที่ 11 : แสงเชิงรังสี
จะเรียนเกี่ยวกับคุณสมบัติของแสง และเรียนเกี่ยวกับอุปกรณ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับแสง และการมองเห็นแสง
พื้นฐานบทอื่นที่ต้องมี : คลื่น
เวลาที่ควรใช้อ่าน : ประมาณ 10 ชั่วโมง
บทที่ 12 : เสียง
จะเรียนเกี่ยวกับคุณสมบัติต่าง ๆ ของเสียง การวัดระดับเสียง และปรากฏการณ์เกี่ยวกับเสียง
พื้นฐานบทอื่นที่ต้องมี : คลื่น
เวลาที่ควรใช้อ่าน : ประมาณ 8 ชั่วโมง
บทที่ 13 : ไฟฟ้าสถิต
จะเรียนเกี่ยวกับประจุไฟฟ้า แรงทางไฟฟ้า และพลังงานไฟฟ้า
พื้นฐานบทอื่นที่ต้องมี : ไม่ต้องมีพื้นฐบานบทอื่น
เวลาที่ควรใช้อ่าน : ประมาณ 8 ชั่วโมง
บทที่ 14 : ไฟฟ้ากระแส
จะเรียนเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของประจุไฟฟ้า ความต้านมานไฟฟ้า และวงจรไฟฟ้าในลักษณะต่าง ๆ
พื้นฐานบทอื่นที่ต้องมี : ไฟฟ้าสถิต
เวลาที่ควรใช้อ่าน : ประมาณ 9 ชั่วโมง
บทที่ 15 : แม่เหล็กและไฟฟ้า
จะเรียนเกี่ยวกับผลของสนามแม่เหล็กที่มีต่อประจุไฟฟ้า และเรียนเกี่ยวกับวงจรไฟฟ้ากระแสสลับ
พื้นฐานบทอื่นที่ต้องมี : ไฟฟ้าสถิต, ไฟฟ้ากระแส
เวลาที่ควรใช้อ่าน : ประมาณ 10 ชั่วโมง
บทที่ 16 : ความร้อนและแก๊ส
จะเรียนเกี่ยวกับการถ่ายโอนพลังงานความร้อน และเรียนเกี่ยวกับพลังงานองแก๊ส
พื้นฐานบทอื่นที่ต้องมี : งานและพลังงาน
เวลาที่ควรใช้อ่าน : ประมาณ 6 ชั่วโมง
บทที่ 17 : ของแข็งและของไหล
จะเรียนเกี่ยวกับคุณสมบัติของสสารทั้งของแข็งและของไหล
พื้นฐานบทอื่นที่ต้องมี : แรงและกฎการเคลื่อนที่
เวลาที่ควรใช้อ่าน : ประมาณ 8 ชั่วโมง
บทที่ 18 : คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
จะเรียนเกี่ยวกับคุณสมบัติของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และจำแนกประเภทของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
พื้นฐานบทอื่นที่ต้องมี : แม่เหล็กและไฟฟ้า
เวลาที่ควรใช้อ่าน : ประมาณ 4 ชั่วโมง
บทที่ 19 : ฟิสิกส์อะตอม
จะเรียนเกี่ยวกับวิวัฒนาการของแบบจำลองอะตอมต่าง ๆ และปรากฎการณ์ที่ค้นพบ
พื้นฐานบทอื่นที่ต้องมี : งานและพลังงาน
เวลาที่ควรใช้อ่าน : ประมาณ 6 ชั่วโมง
บทที่ 20 : ฟิสิกส์นิวเคลียร์และฟิสิกส์อนุภาค
จะเรียนเกี่ยวกับนิวเคลียสของอะตอมต่าง ๆ การสลายตัวของนิวเคลียสของธาตุที่ไม่เสถียร พลังงานในการยึดเหนี่ยวนิวเคลียส และเรียนเกี่ยวกับอนุภาคย่อย ๆ ของนิวเคลียส
พื้นฐานบทอื่นที่ต้องมี : งานและพลังงาน
เวลาที่ควรใช้อ่าน : ประมาณ 6 ชั่วโมง
มาถึงจุดนี้น้อง ๆ #Dek68 ก็จะได้รู้แล้วว่า วิชาฟิสิกส์ ทั้ง 20 บทนี้ เรียนเกี่ยวกับอะไรโดยคร่าว ๆ และจุดที่พี่ Panya Society อยากให้น้องสนใจมากที่สุด ก็คือ เวลาที่ควรใช้อ่าน ซึ่งทั้ง 20 บทนี้ ใช้เวลาอ่านรวมทั้งหมดประมาณ 146 ชั่วโมง
วางแผนการเก็บคะแนน
จากผลคะแนน TCAS ของปีที่ผ่านมา จะเห็นว่าบางคณะต้องได้คะแนน TCAS สูงมาก ๆ จึงจะสอบติด และวิชาฟิสิกส์ก็ถือเป็นวิชาสำคัญที่หลาย ๆ คณะเลือกใช้เป็นเกณฑ์ในการคิดคะแนน และ A – Level ฟิสิกส์ ก็มีสัดส่วนคะแนนค่อนข้างสูงในหลาย ๆ คณะ ดังนั้น น้อง ๆ ควรตั้งเป้าหมายให้ได้ 70 คะแนนขึ้นไป เพื่อให้มั่นใจว่า จะสามารถเข้าคณะที่ต้องการได้อย่างแน่นอน
พี่ Panya Society ขอแบ่งวิชาฟิสิกส์ ออกเป็น 5 กลุ่ม เพื่อให้น้อง ๆ ที่มีความถนัดในกลุ่มเนื้อหาต่าง ๆ ได้เลือกอ่านตามความถนัดของน้อง ๆ ดังนี้
1. กลศาสตร์
เป็นกลุ่มเนื้อหาหลักของวิชาฟิสิกส์ และครอบคลุมเนื้อหาของฟิสิกส์มากที่สุด น้อง ๆ ทุกคนควรเก็บคะแนนในส่วนนี้ให้ได้ ได้แก่
1) ธรรมชาติและพัฒนาการทางฟิสิกส์ : ออกสอบ 1 ข้อ คิดเป็น 3 คะแนน
2) การเคลื่อนที่แนวตรง : ออกสอบ 1 ข้อ คิดเป็น 3 คะแนน
3) แรงและกฎการเคลื่อนที่ : ออกสอบ 2 ข้อ คิดเป็น 6 คะแนน
4) สมดุลกล : ออกสอบ 1 ข้อ คิดเป็น 3 คะแนน
5) งานและพลังงาน : ออกสอบ 1 ข้อ คิดเป็น 3 คะแนน
6) โมเมนตัมและการชน : ออกสอบ 1 ข้อ คิดเป็น 3 คะแนน
7) การเคลื่อนที่แนวโค้ง : ออกสอบ 1 ข้อ คิดเป็น 3 คะแนน
8) การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย : ออกสอบ 1 ข้อ คิดเป็น 3 คะแนน
รวม ออกสอบ 9 ข้อ คิดเป็น 27 คะแนน ใช้เวลาอ่านประมาณ 59 ชั่วโมง
2. คลื่น
เป็นเนื้อหาที่เหมาะกับน้อง ๆ ที่ถนัดในการมองลักษณะของคลื่น และสมบัติต่าง ๆ ของคลื่น ได้แก่
1) คลื่น : ออกสอบ 2 ข้อ คิดเป็น 6 คะแนน
2) แสงเชิงคลื่น : ออกสอบ 2 ข้อ คิดเป็น 6 คะแนน
3) แสงเชิงรังสี : ออกสอบ 1 ข้อ คิดเป็น 3 คะแนน
4) เสียง : ออกสอบ 1 ข้อ คิดเป็น 3 คะแนน
รวม ออกสอบ 6 ข้อ คิดเป็น 18 คะแนน ใช้เวลาอ่านประมาณ 30 ชั่วโมง
3. ไฟฟ้าและแม่เหล็ก
เป็นเนื้อหาที่เหมาะกับน้อง ๆ ที่ถนัดในสมบัติของประจุไฟฟ้า วงจรไฟฟ้า และสมบัติของสนามแม่เหล็ก ได้แก่
1) ไฟฟ้าสถิต : ออกสอบ 1 ข้อ คิดเป็น 3 คะแนน
2) ไฟฟ้ากระแส : ออกสอบ 2 ข้อ คิดเป็น 6 คะแนน
3) แม่เหล็กและไฟฟ้า : ออกสอบ 2 ข้อ คิดเป็น 6 คะแนน
4) คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า : ออกสอบ 1 ข้อ คิดเป็น 3 คะแนน
รวม ออกสอบ 6 ข้อ คิดเป็น 18 คะแนน ใช้เวลาอ่านประมาณ 31 ชั่วโมง
4. สสาร
เป็นเนื้อหาที่เหมาะกับน้อง ๆ ที่ถนัดในสมบัติของสสารต่าง ๆ ทั้งของแข็ง ของเหลว และแก๊ส ได้แก่
1) ความร้อนและแก๊ส : ออกสอบ 2 ข้อ คิดเป็น 6 คะแนน
2) ของแข็งและของไหล : ออกสอบ 2 ข้อ คิดเป็น 6 คะแนน
รวม ออกสอบ 4 ข้อ คิดเป็น 12 คะแนน ใช้เวลาอ่านประมาณ 14 ชั่วโมง
5. ฟิสิกส์แผนใหม่
เป็นเนื้อหาที่เหมาะกับน้อง ๆ ที่ถนัดในการมองลักษณะของอะตอม และนิวเคลียร์สของธาตุต่าง ๆ ซึ่งเนื้อหาในส่วนนี้ไม่เยอะ และไม่ได้ยากมาก ควรเก็บคะแนนให้ได้ ได้แก่
1) ฟิสิกส์อะตอม : ออกสอบ 2 ข้อ คิดเป็น 6 คะแนน
2) ฟิสิกส์นิวเคลียร์และฟิสิกส์อนุภาค : ออกสอบ 2 ข้อ คิดเป็น 6 คะแนน
รวม ออกสอบ 4 ข้อ คิดเป็น 12 คะแนน ใช้เวลาอ่านประมาณ 12 ชั่วโมง
จาก 5 กลุ่มวิชานี้ น้อง ๆ ควรเลือกอ่าน
- กลศาสตร์
- ฟิสิกส์สมัยใหม่
- ส่วนเนื้อหากลุ่ม คลื่น , ไฟฟ้าและแม่เหล็ก , สสาร ให้เลือกอ่าน 2 กลุ่ม ตามความถนัดของน้อง ๆ
เพียงเท่านี้ก็จะได้คะแนนประมาณ 70 คะแนน ได้ไม่ยากมาก
และหากยังมีเวลาเหลือก็ควรอ่านอีกกลุ่มเนื้อหาที่เหลือไปด้วย เพื่อให้ได้คะแนนเพิ่มขึ้นไปอีกครับ
วางแผนแบ่งเวลาอ่านฟิสิกส์
สำหรับน้อง ๆ #Dek68 พี่ Panya Society อยากให้น้อง ๆ เผื่อเวลาไว้ฝึกทำข้อสอบจริง อย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนสอบ ดังนั้น น้อง ๆ จะมีเวลาเก็บเนื้อหาทั้งหมดถึงสิ้นเดือน กุมภาพันธ์ 67 เท่านั้น
เราได้รู้แล้วว่า ควรต้องใช้เวลาอ่านเนื้อหาฟิสิกส์ทั้งหมดประมาณ 146 ชั่วโมง สำหรับวิชาฟิสิกส์เป็นวิชาที่จะต้องทำความเข้าใจในเนื้อหาอย่างลึกซึ้ง เพื่อให้สามารถทำโจทย์ที่มีการประยุกต์ได้ และการฝึกทำโจทย์ก็จะช่วยให้เข้าใจเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้นนั่นเองครับ
การแบ่งเวลาอ่านหนังสือในแต่ละวัน จึงขึ้นอยู่กับว่า น้องเหลือเวลาอ่านอีกกี่วัน
เริ่มอ่านเดือน มิถุนายน (ช่วงเปิดเทอม 1)
เหลือเวลาอ่าน : 9 เดือน
เนื้อหาที่ควรอ่าน : ทุกบท
ควรอ่านวันละ : 30 นาที
เริ่มอ่านเดือน ตุลาคม (ช่วงปิดเทอมเล็ก)
เหลือเวลาอ่าน : 5 เดือน
เนื้อหาที่ควรอ่าน : ทุกบท
ควรอ่านวันละ : 1 ชั่วโมง
เริ่มอ่านเดือน ธันวาคม
เหลือเวลาอ่าน : 3 เดือน
เนื้อหาที่ควรอ่าน : ทุกบท
ควรอ่านวันละ : 2 ชั่วโมง
เริ่มอ่านเดือน มกราคม
เหลือเวลาอ่าน : 2 เดือน
เนื้อหาที่ควรอ่าน : อ่าน 4 กลุ่มเนื้อหาที่ถนัด
ควรอ่านวันละ : 3 ชั่วโมง
เริ่มอ่านเดือน กุมภาพันธ์
เหลือเวลาอ่าน : 1 เดือน
เนื้อหาที่ควรอ่าน : อ่าน 4 กลุ่มเนื้อหาที่ถนัด
ควรอ่านวันละ : 4 ชั่วโมง
พี่ Panya Society ไม่แนะนำให้น้อง ๆ อ่านเกินวันละ 4 ชั่วโมง เพราะอาจทำให้สมองล้า และอ่านได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ ควรเริ่มอ่านให้เร็วที่สุด เพื่อให้ได้ทยอยอ่านวันละนิด ไม่หักโหมมาก และลดความกดดันในการอ่านได้อีกด้วย
พูดคุยหลังอ่าน
เป็นยังไงกันบ้างครับ #Dek68 ทุกคน หวังว่าพี่ ๆ Panya Society จะช่วยให้น้อง ๆ ได้วางแผนในการอ่านหนังสือวิชาฟิสิกส์ เพื่อให้น้อง ๆ ได้คะแนนตามที่หวังกันนะครับ แต่พี่ ๆ ต้องขอบอกไว้ก่อนว่าแผนการอ่านหนังสือนี้ เป็นการคาดการณ์จากตัวเลขค่าเฉลี่ยเท่านั้น สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความถนัดของน้อง ๆ เอง และสำหรับน้อง ๆ คนที่ต้องเตรียมตัวสอบหลายวิชา อย่าลืมวางแผนเผื่อเวลาไว้สำหรับวิชาอื่นกันด้วยนะครับ
หลังจากน้อง ๆ ทุกคนได้วางแผนการอ่านฟิสิกส์ สำหรับ TCAS68 นี้หวังว่าจะช่วยให้น้อง ๆ อ่านหนังสือได้ง่ายขึ้น และจะเห็นว่าหลายคณะ ต้องใช้คะแนนสอบค่อนข้างสูง น้อง ๆ ทุกคนควรจะรีบเตรียมตัวตั้งแต่วันนี้ ดังนั้น พี่ PANYA ขอแนะนำคอร์ส “ฟิสิกส์ A – Level TCAS68 จาก PANYA SOCIETY” ซึ่งเป็นคอร์ส เตรียมตัวสอบ TCAS68 ฉบับสมบูรณ์แบบ ที่ Update ล่าสุด ได้ทั้งทบทวนเนื้อหา ม.4-5-6 ไปพร้อมกับเก็งข้อสอบแนวรูปแบบใหม่ ฝึกทำข้อสอบเพียบ ทบทวนเต็มที่ เก็งข้อสอบแม่นยำ พร้อมทำโจทย์แนวใหม่ ไม่ตกเทรนด์ พร้อมกับโค้ชผู้ช่วยส่วนตัวที่ถาม-ตอบได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ไร้กังวล ติวกับ PANYA SOCIETY ข้อสอบ TCAS68 จะเปลี่ยนไปแค่ไหน พี่ ๆ จะตามติดพัฒนาคอร์สไปพร้อมกับ Test Blueprint ใหม่ล่าสุด ไม่พลาดแน่นอน!!!
VDO ตัวอย่างการสอน
ฟิสิกส์ A-Level
🔥ติวเตอร์คนเก่ง🔥
- ทำงานตำแหน่ง Software Engineer ที่ Google กว่า 10 ปี
- ได้รับทุนเล่าเรียนหลวงไปศึกษาระดับปริญญาตรีด้าน Electrical and Computer Engineering และ computer science ที่ Carnegie Mellon University ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
- จบปริญญาเอกด้าน Artificial Intelligence (AI) พร้อมรางวัลนักเรียนดีเด่นจาก UCLA
- ผลงานวิจัยด้าน Artificial Intelligence (AI) ของอ.นอตได้รับรางวัลงานวิจัยดีเยี่ยมจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติในปี 2557
- ปัจจุบันทำงานในบริษัท Start-up ด้านเทคโนโลยีหลายแห่ง
- อดีตเหรียญทองฟิสิกส์โอลิมปิก
- ได้รับทุนธนาคารแห่งประเทศไทย ไปศึกษาต่อระดับปริญญาตรีและโท คณะ Electrical and Computer Engineering (วิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์) ที่ Carnegie Mellon University ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยจบทั้งสองปริญญาในเวลา 4 ปี
- เคยทำงานที่บริษัท Oracle สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นบริษัทซอฟต์แวร์ระดับ Top 5 ของโลก
- ผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์เด็กดีดอทคอม
- ปริญญาตรี โท เอก คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ
- บัณฑิตศึกษาปริญญาโทที่มีผลการเรียนดีเด่น (รางวัล ดร.แถบ นีละนิธิ)
- อาจารย์พิเศษ วิชาเคมี ห้องเรียนพิเศษ gifted โรงเรียนมัธยม
- วิทยากรรับเชิญ เตรียมสอบ O-NET วิชาวิทยาศาสตร์ ม.ต้น ม.ปลาย
- วิทยากรรับเชิญเตรียมสอบ PAT2 และ วิชาสามัญ (เคมี)
- นิสิตทุนโปรแกรมเกียรตินิยม ปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 1) วิชาเอกภาษาไทยขั้นสูง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ปริญญาโท ด้านการสอนและการเรียนรู้ MSc Education (Distinction) University of Bristol ประเทศอังกฤษ
- ลำดับที่ 1 สอบแข่งขันรับราชการครูผู้ช่วยวิชาเอกภาษาไทย (ประจวบฯ) ประจำปี พ.ศ.2560
- ผู้เขียนหนังสือเรียนภาษาไทย O-NET ทรูปลูกปัญญา และภาษาไทย วิชาสามัญ veo-online
- วิทยากร โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติ (O-NET) วิชาภาษาไทย โรงเรียนต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ
- วิทยากร โครงการอบรมเชิงปฏิบัติ การพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาด้านการสอนภาษาไทย (การเรียนรู้เชิงรุก Active Learning)
- ปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาวิชามัธยมศึกษา (มนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์) วิชาเอกสังคมศึกษาขั้นสูง (เกียรตินิยมอันดับ 1)
- ที่ 2 สอบครูผู้ช่วย สนามสอบกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2561
- วิทยากรติว O-NET และ 9 วิชาสามัญ โรงเรียนในกรุงเทพมหานคร
- ครูผู้ฝึกซ้อมนักเรียนเข้าแข่งขันความรู้ทางวิชาการ และความเป็นเลิศในรายวิชาสังคมศึกษา ทั้งกฎหมาย รัฐศาสตร์ พุทธศาสนา เศรษฐศาสตร์ และสังคมวิทยา
- อาจารย์ประจำโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- ปริญญาโท ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาวิชา การสอนสังคมศึกษา
- ปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาวิชามัธยมศึกษา(มนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์) วิชาเอกสังคมศึกษาขั้นสูง (เกียรตินิยมอันดับ 2)
- เป็นสุดยอดแฟนพันธุ์แท้ “อาณาจักรโรมัน” และแฟนพันธุ์แท้ “เทพปกรณัมกรีก”
- กำลังศึกษาปริญญาโท คณะศิลปศาสตร์ สาขาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ปริญญาตรี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง)
- พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน สายการบินนานาชาติกว่า 6 ปี
- ติวเตอร์ภาษาอังกฤษประสบการณ์สอนกว่า 10 ปี ที่เชื่อว่าภาษาเป็นทักษะ ใครๆ ก็เก่งได้แค่ฝึกฝนให้ถูกทาง
- แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปประจำโรงพยาบาลเอกชน
- ปัจจุบันทำงานเกี่ยวกับ HealthTech ในบริษัทเอกชนด้าน IT
- ผู้ก่อตั้งและพัฒนาแอพแจ้งเตือนมลภาวะทางอากาศทาง Line
- อดีตตัวแทนประเทศไทย แข่งขันคณิตศาสตร์โลก International Mathematics Competition 2011 (IMC)
- ปริญญาตรี แพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- นักเรียนทุนรัฐบาลไปศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
- ปริญญาตรีสาขาชีวเคมีจาก University of Pennsylvania
- ปริญญาโท-เอกสาขาชีวเคมีจาก California Institute of Technology
- ปัจจุบันทำหน้าที่เป็นนักวิจัยด้านไวรัสวิทยาและวัคซีน
- ได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์จากสภาวิจัยแห่งชาติ
- ได้รับรางวัลผลงานวิจัยจากสภาวิจัยแห่งชาติ
- อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ คณะวิทยาศาสตร์
- ตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิก 3 ปี (1996, 1997, 1998)
- อันดับ 1 ทุนเล่าเรียนหลวงสายวิทยาศาสตร์ปี 2541
- ปริญญาตรีสาขาฟิสิกส์ California Institute of Technology
- ปริญญาโท-เอกสาขาอุตุนิยมวิทยาและสมุทรศาสตร์ University of California, Los Angeles