PANYA SOCIETY
TGAT คืออะไร สอบอะไรบ้าง เตรียมตัวอย่างไร เน้นเรื่องไหนดี สิ่งที่ #DEK68 ต้องรู้
ทำความรู้จัก TGAT
สวัสดีครับน้อง ๆ #Dek68 ทุกคน วันนี้พี่ Panya Society กลับมาอีกครั้งพร้อมบทความที่เกี่ยวกับ TGAT นะครับ สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่ยังไม่รู้จัก TGAT วันนี้พี่ Panya Society จะพาไปรู้จักกับ TGAT อย่างละเอียดในทุก ๆ มุม และจะแนะนำแผนการอ่านหนังสืออีกด้วย เพื่อช่วยน้อง ๆ #Dek68 ให้อ่านหนังสือได้ดีขึ้น ขอบอกเลยว่า #Dek68 ที่กำลังเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัยทุกคน จำเป็นต้องรู้จัก TGAT เพราะเป็นวิชาที่สำคัญมาก ถ้าพร้อมแล้ว เริ่ม!!!
TGAT คืออะไร
ในการจะสมัครเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัย โดยทั่วไปจะต้องสมัครผ่านทางระบบ TCAS68 ซึ่งน้อง ๆ จะต้องสอบข้อสอบกลางจำนวนหลายชุด เพื่อใช้ยื่นในระบบ TCAS68 และหนึ่งในข้อสอบกลางที่น้องจะต้องสอบก็คือ ข้อสอบ TGAT
TGAT ย่อมาจาก Thailand General Aptitude Test หรือชื่อภาษาไทยคือ ความถนัดทั่วไป เป็นข้อสอบที่จะวัดความสามารถทั่วไปที่จะนำไปใช้เรียนต่อในมหาวิทยาลัย รวมไปถึงการทำงานต่อในอนาคต
เรื่องที่ข้อสอบ TGAT ต้องการทดสอบ ได้แก่
– การสื่อสารภาษาอังกฤษ
– การสื่อสารภาษาไทย
– คณิตศาสตร์พื้นฐานและความสัมพันธ์ของตัวเลข
– การมองมิติสัมพันธ์และความสัมพันธ์ของรูปภาพ
– การคิดโดยใช้หลักเหตุผล
– ความคิดเชิงนวัตกรรม
– การแก้ไขปัญหา
– การจัดการอารมณ์
– การเป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วมของสังคม
จะเห็นว่าทักษะเหล่านี้เป็นทักษะที่น้อง ๆ จำเป็นต้องมี เพื่อให้สามารถเรียนและทำงานต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อสอบ TGAT จึงจะทดสอบน้อง ๆ ในเรื่องเหล่านี้
TGAT สอบอะไรบ้าง
ข้อสอบ TGAT มีทั้งหมด 200 ข้อ คะแนนรวม 300 คะแนน ใช้เวลาทำข้อสอบรวม 3 ชั่วโมง
*** การคิดคะแนน TGAT จะปรับคะแนนเต็มเป็น 100 คะแนน โดยเอาคะแนนของ TGAT แต่ละส่วนมาเฉลี่ยกัน
TGAT แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้
TGAT1 : การสื่อสารภาษาอังกฤษ
จำนวนข้อ : 60 ข้อ
คะแนนเต็ม : 100 คะแนน
รูปแบบข้อสอบ : ปรนัย 4 ตัวเลือก
ลักษณะข้อสอบ : เป็นข้อสอบภาษาอังกฤษ โดยจะเน้นไปที่การสื่อสารเป็นหลัก ลักษณะโจทย์จะเป็นบทสนนา การเติมเนื้อเรื่องให้สมบูรณ์ และการอ่านจับใจความ แบ่งเป็น 2 ด้าน
1.) ทักษะการพูด (Speaking Skill) 30 ข้อ
2.) ทักษะการอ่าน (Reading Skill) 30 ข้อ
TGAT2 : การคิดอย่างมีเหตุผล
จำนวนข้อ : 80 ข้อ
คะแนนเต็ม : 100 คะแนน
รูปแบบข้อสอบ : ปรนัย 5 ตัวเลือก
ลักษณะข้อสอบ : เป็นข้อสอบวัดทักษะการคิด การจินตนาการ การหาความสัมพันธ์ และวัดตรรกะ และด้วยจำนวนข้อสอบที่เยอะแต่กลับมีเวลาทำน้อย จึงถือเป็น speed test เช่นกัน ข้อสอบแบ่งเป็น 4 ด้าน
1.) ความสามารถทางภาษา 20 ข้อ
2.) ความสามารถทางตัวเลข 20 ข้อ
3.) ความสามารถทางมิติสัมพันธ์ 20 ข้อ
4.) ความสามารถทางเหตุผล 20 ข้อ
TGAT3 : สมรรถนะการทำงาน
จำนวนข้อ : 60 ข้อ
คะแนนเต็ม : 100 คะแนน
รูปแบบข้อสอบ :
แบบที่ 1 : ข้อสอบ 1 ข้อ มี 4 ตัวเลือก โดยเลือกตอบได้หลายตัวเลือก ให้เลือกฝนเฉพาะตัวเลือกที่ถูก
– ฝนตัวเลือกที่ถูก จะได้ 0.25 คะแนน
– ไม่ฝนตัวเลือกที่ผิด จะได้ 0.25 คะแนน
แบบที่ 2 : เป็นปรนัย 4 ตัวเลือก แต่ละตัวเลือกจะมีคะแนนไม่เท่ากัน โดยคะแนนจะลดหลั่นลงตามความถูกต้องของตัวเลือก ตั้งแต่ 0 – 1 คะแนน
ลักษณะข้อสอบ : เป็นข้อสอบวัดความคิด ทัศนคติ ความคิดสร้างสรรค์ ทักษะการแก้ปัญหาในการทำงาน การจัดการอารมณ์ และการอยู่รวมกับผู้อื่น โดยคำตอบไม่ได้มีผิดหรือถูกชัดเจน แต่จะให้คะแนนตามความเหมาะสมของตัวเลือกที่น้อง ๆ เลือก ซึ่งข้อสอบแบ่งเป็น 4 ด้าน
1.) การสร้างคุณค่าและนวัตกรรม 15 ข้อ
2.) การแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน 15 ข้อ
3.) การบริหารจัดการอารมณ์ 15 ข้อ
4.) การเป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วมของสังคม 15 ข้อ
มาถึงจุดนี้น้อง ๆ #Dek68 ก็จะได้รู้แล้วว่า TGAT ทั้ง 3 ส่วน สอบอะไรบ้างโดยคร่าว ๆ และพี่ Panya Society แนะนำว่าใครถนัดส่วนไหนก็ให้เน้นไปที่ส่วนนั้นให้ได้คะแนนเยอะที่สุด แต่ส่วนอื่น ๆ ที่อาจไม่ถนัดมากก็ไม่ควรทิ้ง เพราะ TGAT จะคิดคะแนนเฉลี่ยรวมทั้ง 3 ส่วน
TGAT เตรียมตัวอย่างไร เน้นเรื่องไหนดี
ก่อนที่จะไปเตรียมตัวทำข้อสอบ TGAT เรามาดูสถิติคะแนน TGAT ของปีที่ผ่านมากันก่อน เพื่อให้น้อง ๆ #Dek68 จะได้ตั้งเป้าหมายคะแนนได้ง่ายขึ้น
จะเห็นว่าการทำคะแนน TGAT ได้เพิ่มขึ้นอีกเพียง 5 คะแนน จะทำให้น้อง ๆ ชนะคนอื่นได้อีกหลายหมื่นคน ดังนั้น มาวางแผนเตรียมตัวและตั้งเป้าหมายคะแนน TGAT กันเลย
เตรียมตัวสอบ TGAT อย่างไรดี?
1. ตั้งเป้าหมายคะแนน TGAT รวม
– ตั้งให้สูงกว่าคะแนนขั้นต่ำของคณะที่น้องอยากเข้า เพื่อให้ TGAT ช่วยดึงคะแนนขึ้น
2. ตั้งเป้าหมายคะแนน TGAT แต่ละส่วน
– ตั้งเป้าคะแนน TGAT1 TGAT2 TGAT3 ตามความถนัดของน้อง ๆ
– ให้คะแนนเฉลี่ยของทั้ง 3 ส่วน เป็นไปตามเป้าหมาย
– ดูสถิติคะแนน TGAT ของปีที่ผ่าน ๆ มา เพื่อให้ตั้งเป้าหมายได้ง่ายขึ้น
จากตาราง จะเห็นว่า
TGAT1 มีคะแนนเฉลี่ยประมาณ 40 คะแนน
– ใครถนัดภาษาอังกฤษสามารถตั้งเป้า 80+ ได้เลย จะได้ช่วยดึงส่วนอื่นขึ้นเยอะ ๆ
– ส่วนใครไม่ถนัดลองพยายามทำให้ได้ 60+ พี่เชื่อว่าน้องทำได้
TGAT2 มีคะแนนเฉลี่ยประมาณ 44 คะแนน
– ถ้าฝึกทำโจทย์เยอะ ๆ สามารถตั้งเป้า 65+ ได้เลย
TGAT3 มีคะแนนเฉลี่ยสูงมาก ประมาณ 63 คะแนน
– คนอื่นทำได้ เราก็ต้องทำได้ ตั้งเป้า 70+ ไว้ก่อน
3. เน้นอ่านให้ตรงจุด
เรามาดูกันว่า TGAT แต่ละส่วนควรเน้นเรื่องอะไรบ้าง
TGAT1 การสื่อสารภาษาอังกฤษ
– เน้นพาร์ท speaking conversation
– อ่าน choice ก่อน เพื่อเดาประเภทคำถาม
TGAT2 การคิดอย่างมีเหตุผล
– ภาษาไทย เน้นเก็บเเต้มพาร์ทการอ่าน
– ด้านตัวเลข มิติสัมพันธ์ และเหตุผล เน้นการเจอโจทย์หลายแนว
TGAT3 สมรรถนะการทำงาน
– ใช้หลักเกณฑ์ในการพิจารณาคำตอบ
– เน้นตอบตรงตามตำรา ไม่ใช้ความรู้สึกส่วนตัว
ตอนนี้น้อง ๆ ก็ได้ตั้งเป้าคะแนน และรู้จุดที่ควรเน้นในการสอบ TGAT แล้ว พี่ Panya Society หวังว่าจะช่วยให้น้อง ๆ เตรียมตัวสอบ TGAT ได้ง่ายขึ้น
คำถามยอดฮิตเกี่ยวกับ TGAT
สมัครสอบ TGAT อย่างไร?
ตอบ : ลงทะเบียนกับ MyTCAS ที่ https://student.mytcas.com และสมัครสอบ TGAT ได้จนถึงวันที่ 5 พ.ย. 67
TGAT สอบวันไหน?
ตอบ : วันที่ 8 ธ.ค. 67 เวลา 9.00 น. – 12.00 น.
ตอนสอบ TGAT แจกข้อสอบพร้อมกันทั้ง 3 พาร์ตไหม?
ตอบ : ข้อสอบ TGAT แจกข้อสอบพร้อมกันทั้ง 3 พาร์ต น้องสามารถบริหารเวลาได้ตามความถนัด
ต้องสอบ TGAT ทุกคนไหม?
ตอบ : อาจมีบางคณะที่ไม่ใช้คะแนน TGAT แต่คณะส่วนใหญ่ต้องใช้ แนะนำให้สอบทุกคนครับ
ต้องสอบ TGAT ทั้ง 3 พาร์ตไหม?
ตอบ : อาจมีบางคณะใช้คะแนน TGAT แค่บางพาร์ต แต่คณะส่วนใหญ่ต้องใช้ครบทั้ง 3 พาร์ต แนะนำให้สอบครบทั้ง 3 พาร์ตครับ
TGAT ต้องไปสอบที่ไหน?
ตอบ : ตอนที่น้องสมัครสอบ TGAT จะมีให้เลือกสนามสอบได้ 3 อันดับ ตามที่น้องแต่ละคนสะดวกครับ
TGAT สอบแบบกระดาษหรือแบบคอมพิวเตอร์?
ตอบ : มีให้เลือกสอบทั้ง 2 รูปแบบ น้องสามารถเลือกตามความถนัดได้เลยครับ
ใครสอบ TGAT ได้บ้าง?
ตอบ : จะสอบได้ต้องเป็นนักเรียนที่กำลังเรียนชั้น ม.6 หรือเทียบเท่าขึ้นไป น้อง ๆ ม.4-5 ยังสอบไม่ได้ครับ
TGAT ใช้ยื่นคณะอะไรได้บ้าง?
ตอบ : ใช้ยื่นได้แทบทุกคณะ มีเพียงบ้างคณะเท่านั้นที่ไม่ใช้คะแนน TGAT
แต่ละคณะใช้คะแนนกี่เปอร์เซ็นต์?
ตอบ : ขึ้นอยู่กับแต่ละคณะ มีตั้งแต่ 10% จนไปถึง 90%
คะแนน TGAT อยู่ได้กี่ปี?
ตอบ : คะแนน TGAT มีอายุเพียง 1 ปี หากต้องการซิ่ว ต้องสอบใหม่ทุกปี
พี่ Panya Society หวังว่าคำถามเกี่ยวกับ TGAT เหล่านี้จะตรงใจน้อง ๆ นะครับ และใครที่มีคำถามเพิ่มเติมสามารถทักมาถามพี่ ๆ ได้ตลอดเวลาเลยครับ
พูดคุยหลังอ่าน
เป็นยังไงกันบ้างครับน้อง ๆ #Dek68 ทุกคน หวังว่าพี่ ๆ Panya Society จะช่วยให้น้อง ๆ ได้รู้จัก TGAT มากขึ้น เพื่อให้น้อง ๆ เตรียมตัวสอบ TGAT ได้ง่ายขึ้น และได้คะแนนตามเป้าหมายที่วางไว้กันนะครับ แต่พี่ ๆ ต้องขอบอกไว้ก่อนว่าข้อมูลและแผนการเตรียมตัวอ่านหนังสือนี้ เป็นการคาดการณ์จากตัวเลขค่าเฉลี่ยเท่านั้น สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความถนัดของน้อง ๆ เอง และสำหรับน้อง ๆ คนที่ต้องเตรียมตัวสอบหลายวิชา อย่าลืมวางแผนเผื่อเวลาไว้สำหรับวิชาอื่นกันด้วยนะครับ
หลังจากน้อง ๆ ทุกคนได้รู้จัก TGAT และวางแผนเตรียมตัวอ่าน TGAT สำหรับ TCAS68 นี้หวังว่าจะช่วยให้น้อง ๆ อ่านหนังสือได้ง่ายขึ้น และหลายคณะต้องใช้คะแนนสอบค่อนข้างสูง น้อง ๆ ทุกคนควรจะรีบเตรียมตัวตั้งแต่วันนี้ ดังนั้น พี่ PANYA ขอแนะนำคอร์ส “TGAT วิชาวัดความถนัดทั่วไป (Thai General Aptitude Test) จาก PANYA SOCIETY” ซึ่งเป็นคอร์ส เตรียมตัวสอบ TGAT ฉบับสมบูรณ์แบบ ที่ Update ล่าสุด มีเนื้อหาที่จำเป็นสำหรับสอบ TGAT ครบถ้วน พร้อมกับเก็งข้อสอบแนวรูปแบบใหม่ ฝึกทำข้อสอบเพียบ ทบทวนเต็มที่ เก็งข้อสอบแม่นยำ พร้อมทำโจทย์แนวใหม่ ไม่ตกเทรนด์ พร้อมกับโค้ชผู้ช่วยส่วนตัวที่ถาม-ตอบได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ไร้กังวล ติวกับ PANYA SOCIETY ข้อสอบ TCAS68 จะเปลี่ยนไปแค่ไหน พี่ ๆ จะตามติดพัฒนาคอร์สไปพร้อมกับ Test Blueprint ใหม่ล่าสุด ไม่พลาดแน่นอน!!!
VDO ตัวอย่างการสอน
🔥ติวเตอร์คนเก่ง🔥
- ทำงานตำแหน่ง Software Engineer ที่ Google กว่า 10 ปี
- ได้รับทุนเล่าเรียนหลวงไปศึกษาระดับปริญญาตรีด้าน Electrical and Computer Engineering และ computer science ที่ Carnegie Mellon University ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
- จบปริญญาเอกด้าน Artificial Intelligence (AI) พร้อมรางวัลนักเรียนดีเด่นจาก UCLA
- ผลงานวิจัยด้าน Artificial Intelligence (AI) ของอ.นอตได้รับรางวัลงานวิจัยดีเยี่ยมจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติในปี 2557
- ปัจจุบันทำงานในบริษัท Start-up ด้านเทคโนโลยีหลายแห่ง
- อดีตเหรียญทองฟิสิกส์โอลิมปิก
- ได้รับทุนธนาคารแห่งประเทศไทย ไปศึกษาต่อระดับปริญญาตรีและโท คณะ Electrical and Computer Engineering (วิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์) ที่ Carnegie Mellon University ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยจบทั้งสองปริญญาในเวลา 4 ปี
- เคยทำงานที่บริษัท Oracle สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นบริษัทซอฟต์แวร์ระดับ Top 5 ของโลก
- ผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์เด็กดีดอทคอม
- ปริญญาตรี โท เอก คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ
- บัณฑิตศึกษาปริญญาโทที่มีผลการเรียนดีเด่น (รางวัล ดร.แถบ นีละนิธิ)
- อาจารย์พิเศษ วิชาเคมี ห้องเรียนพิเศษ gifted โรงเรียนมัธยม
- วิทยากรรับเชิญ เตรียมสอบ O-NET วิชาวิทยาศาสตร์ ม.ต้น ม.ปลาย
- วิทยากรรับเชิญเตรียมสอบ PAT2 และ วิชาสามัญ (เคมี)
- นิสิตทุนโปรแกรมเกียรตินิยม ปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 1) วิชาเอกภาษาไทยขั้นสูง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ปริญญาโท ด้านการสอนและการเรียนรู้ MSc Education (Distinction) University of Bristol ประเทศอังกฤษ
- ลำดับที่ 1 สอบแข่งขันรับราชการครูผู้ช่วยวิชาเอกภาษาไทย (ประจวบฯ) ประจำปี พ.ศ.2560
- ผู้เขียนหนังสือเรียนภาษาไทย O-NET ทรูปลูกปัญญา และภาษาไทย วิชาสามัญ veo-online
- วิทยากร โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติ (O-NET) วิชาภาษาไทย โรงเรียนต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ
- วิทยากร โครงการอบรมเชิงปฏิบัติ การพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาด้านการสอนภาษาไทย (การเรียนรู้เชิงรุก Active Learning)
- ปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาวิชามัธยมศึกษา (มนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์) วิชาเอกสังคมศึกษาขั้นสูง (เกียรตินิยมอันดับ 1)
- ที่ 2 สอบครูผู้ช่วย สนามสอบกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2561
- วิทยากรติว O-NET และ 9 วิชาสามัญ โรงเรียนในกรุงเทพมหานคร
- ครูผู้ฝึกซ้อมนักเรียนเข้าแข่งขันความรู้ทางวิชาการ และความเป็นเลิศในรายวิชาสังคมศึกษา ทั้งกฎหมาย รัฐศาสตร์ พุทธศาสนา เศรษฐศาสตร์ และสังคมวิทยา
- อาจารย์ประจำโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- ปริญญาโท ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาวิชา การสอนสังคมศึกษา
- ปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาวิชามัธยมศึกษา(มนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์) วิชาเอกสังคมศึกษาขั้นสูง (เกียรตินิยมอันดับ 2)
- เป็นสุดยอดแฟนพันธุ์แท้ “อาณาจักรโรมัน” และแฟนพันธุ์แท้ “เทพปกรณัมกรีก”
- กำลังศึกษาปริญญาโท คณะศิลปศาสตร์ สาขาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ปริญญาตรี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง)
- พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน สายการบินนานาชาติกว่า 6 ปี
- ติวเตอร์ภาษาอังกฤษประสบการณ์สอนกว่า 10 ปี ที่เชื่อว่าภาษาเป็นทักษะ ใครๆ ก็เก่งได้แค่ฝึกฝนให้ถูกทาง
- แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปประจำโรงพยาบาลเอกชน
- ปัจจุบันทำงานเกี่ยวกับ HealthTech ในบริษัทเอกชนด้าน IT
- ผู้ก่อตั้งและพัฒนาแอพแจ้งเตือนมลภาวะทางอากาศทาง Line
- อดีตตัวแทนประเทศไทย แข่งขันคณิตศาสตร์โลก International Mathematics Competition 2011 (IMC)
- ปริญญาตรี แพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- นักเรียนทุนรัฐบาลไปศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
- ปริญญาตรีสาขาชีวเคมีจาก University of Pennsylvania
- ปริญญาโท-เอกสาขาชีวเคมีจาก California Institute of Technology
- ปัจจุบันทำหน้าที่เป็นนักวิจัยด้านไวรัสวิทยาและวัคซีน
- ได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์จากสภาวิจัยแห่งชาติ
- ได้รับรางวัลผลงานวิจัยจากสภาวิจัยแห่งชาติ
- อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ คณะวิทยาศาสตร์
- ตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิก 3 ปี (1996, 1997, 1998)
- อันดับ 1 ทุนเล่าเรียนหลวงสายวิทยาศาสตร์ปี 2541
- ปริญญาตรีสาขาฟิสิกส์ California Institute of Technology
- ปริญญาโท-เอกสาขาอุตุนิยมวิทยาและสมุทรศาสตร์ University of California, Los Angeles