อ่านหนังสือไม่เข้าหัว หาผู้ช่วยเตรียมสอบ TCAS

PANYA SOCIETY

อ่านหนังสือไม่เข้าหัว หาผู้ช่วยเตรียมสอบ TCAS

อ่านหนังสือไม่เข้าหัว หาผู้ช่วยเตรียมสอบ TCAS

ผู้ช่วยเตรียมสอบ TCAS

สวัสดีครับน้อง ๆ ทุกคน วันนี้พี่ Panya Society กลับมาอีกครั้งพร้อมบทความที่เกี่ยวกับ TCAS นะครับ โดยวันนี้จะมาแนะนำผู้ช่วยเตรียมสอบ TCAS กันนะครับ พี่ Panya Society ขอบอกเลยว่า ที่กำลังเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย ใครที่อ่านหนังสือเองไม่เข้าใจ ควรจะหาผู้ช่วยให้เราอ่านหนังสือได้เข้าใจมากขึ้น เพื่อให้พร้อมสอบได้ทัน ถ้าพร้อมแล้ว เริ่ม!!!

1. เพื่อนที่เรียนเก่ง

น้อง ๆ คนไหนที่ยังอ่านหนังสือเองไม่ค่อยเข้าใจ ถ้าน้อง ๆ มีเพื่อนที่เรียนเก่งมาก ๆ และเพื่อนคนนั้นพร้อมที่จะสอนเรา ลองไปขออ่านหนังสือพร้อมกับเพื่อนคนนั้นดู ถ้าเรามีข้อสงสัยจะได้ถามเพื่อนได้ตลอดเวลา การติวหนังสือกับเพื่อนมีข้อดีดังนี้

  • ได้เห็นวิธีการอ่านหนังสือของเพื่อนที่เรียนเก่ง ๆ
  • เพื่อนก็กำลังเตรียมสอบเหมือนกัน จึงมักจะมีคำแนะนำหรือเทคนิคที่ดีในการเตรียมสอบ
  • เพื่อนมักจะมีเวลาว่างเท่า ๆ กับเรา และมีโอกาสที่จะว่างตรงกันกับเรามาก
  • การอ่านหนังสือกับเพื่อน จะมีความเป็นกันเอง ไม่กดดัน


2. รุ่นพี่ที่รู้จัก

ถ้าน้อง ๆ มีเป้าหมายแล้วว่าอยากจะเข้าคณะอะไร และมีรุ่นพี่ที่รู้จักกำลังเรียนอยู่ในคณะที่น้องอยากเข้า ลองขอให้รุ่นพี่คนนั้นมาช่วยติว เพื่อที่จะเตรียมสอบเข้าคณะนั้นตามกันไป ข้อดีของการติวหนังสือกับรุ่นพี่มีดังนี้

  • มั่นใจได้ว่ารุ่นพี่ จะมีเทคนิคเตรียมสอบที่ดี เพราะเขาสอบติดในคณะที่เราอยากเข้าแล้ว
  • รุ่นพี่จะมีประสบการณ์ ทั้งในการเตรียมสอบและการทำข้อสอบจริง ซึ่งเราสามารถเรียนรู้จากประสบการณ์ของรุ่นพี่ได้
  • รุ่นพี่จะรู้แนวข้อสอบ และสามารถสอนโดยเน้นจุดที่สำคัญได้ค่อนข้างแม่นยำ 


3. ครูที่โรงเรียน

เมื่อน้อง ๆ มีข้อสงสัยเกี่ยวกับเนื้อหาหรือโจทย์ต่าง ๆ สามารถเดินเข้าไปถามคุณครูของวิชานั้น ๆ ได้เลย ถึงแม้น้อง ๆ หลายคนอาจจะมองข้ามคุณครูไป แต่พี่ Panya Society เชื่อว่ายังมีครูอีกหลายคนที่พร้อมจะตอบคำถามของนักเรียนที่เขามาหาเสมอ ข้อดีของการให้ครูช่วยติวมีดังนี้

  • คุณครูมีเทคนิคการสอนที่ดี และอธิบายให้เราเข้าใจได้ง่าย
  • เนื่องจากครูอาจไม่ได้มีเวลามาก เราจะต้องรวบรวมคำถาม ไปถามในครั้งเดียว ทำให้เราได้สรุปความไม่เข้าใจของตัวเอง
  • ครูมีประสบการณ์ในการออกข้อสอบ จึงรู้ว่าจุดไหนเป็นจุดสำคัญที่นักเรียนควรรู้

4. หาที่เรียนพิเศษที่ดี

ในบางครั้งหากเพื่อนที่เรียนเก่ง ๆ อาจไม่สะดวกที่จะติวพร้อมกับเรา หรือน้อง ๆ ไม่ได้สนิทกับเพื่อนที่เรียนเก่ง และไม่มีรุ่นพี่ที่รู้จักอยู่คณะที่อยากเข้า และไม่สะดวกที่จะไปถามคุณครูที่โรงเรียนบ่อย ๆ ก็ยังมีผู้ช่วยอยู่อีกที่หนึ่ง ที่พร้อมจะติวให้เราตลอดเวลา นั่นก็คือ การเรียนพิเศษออนไลน์ ในสถาบันที่ดี พี่ Panya Society พร้อมติวให้น้อง ๆ ได้ทันทีเลย ข้อดีของการเรียนพิเศษออนไลน์มีดังนี้

  • เรียนได้ตลอด 24 ชั่วโมง ตามเวลาที่น้อง ๆ สะดวก
  • เรียนได้ทุกที่ ไม่ต้องเดินทางไปเรียนที่สถาบัน หรือจะดูบนรถระหว่างกำลังเดินทางไปทำธุระอื่น ๆ ก็ได้เช่นกัน
  • ถ้ายังไม่เข้าใจ สามารถทบทวนบทเรียนซ้ำได้ ไม่จำกัดจำนวนครั้ง
  • สามารถถามคำถามได้ตลอดเวลา ผ่านทางแชท พี่ ๆ พร้อมตอบคำถามตลอดเวลา
  • คอร์สมีการอัพเดทให้เป็นปัจจุบันตลอดเวลา สามารถเรียนเนื้อหาที่อัพเดทได้ทันที ไม่ต้องสมัครซ้ำ
  • ประหยัดทั้ง เวลา และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ค่าเดินทาง เป็นต้น เพราะอยู่บ้านเราไม่เสียตัง

พูดคุยหลังอ่าน

เป็นยังไงกันบ้างครับทุกคน หวังว่าพี่ ๆ Panya Society จะช่วยให้น้อง ๆ เตรียมสอบกันได้ดียิ่งขึ้น แต่พี่ ๆ ต้องของบอกไว้ก่อนว่า ผู้ช่วยที่นำมาแนะนำนี้ เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น ยังมีผู้ช่วยอื่น ๆ อีกมากมายที่จะช่วยน้อง ๆ ที่ยังอ่านหนังสือเองไม่เข้าใจ น้อง ๆ สามารถหาผู้ช่วยอื่นได้ตามความถนัดของน้อง ๆ แต่ละคนครับ

หลังจากน้อง ๆ ทุกคนได้รู้จักผู้ช่วยเตรียมสอบ TCAS แล้ว พี่ PANYA ขอแนะนำคอร์ส “TCAS ทั้ง 6 วิชาจาก PANYA SOCIETY” ซึ่งเป็นคอร์ส เตรียมตัวสอบ TCAS ฉบับสมบูรณ์แบบ ที่ Update ล่าสุด ได้ทั้งทบทวนเนื้อหา ม.4-5-6 ไปพร้อมกับเก็งข้อสอบแนวรูปแบบใหม่ ฝึกทำข้อสอบเพียบ ทบทวนเต็มที่ เก็งข้อสอบแม่นยำ พร้อมทำโจทย์แนวใหม่ ไม่ตกเทรนด์ พร้อมกับโค้ชผู้ช่วยส่วนตัวที่ถาม-ตอบได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ไร้กังวล ติวกับ PANYA SOCIETY ข้อสอบ TCAS จะเปลี่ยนไปแค่ไหน พี่ ๆ จะตามติดพัฒนาคอร์สไปพร้อมกับ Test Blueprint ใหม่ล่าสุด ไม่พลาดแน่นอน!!!

VDO ตัวอย่างการสอน

TCAS

28 Videos

🔥ติวเตอร์คนเก่ง🔥

7 เทคนิคตะลุยโจทย์

กลับหน้าบทความหลัก

เรียนสนุก ทำโจทย์คล่อง สอบให้ติด

: คอร์สแนะนำ :

TAG :

SHARE:

7 เทคนิคตะลุยโจทย์ เตรียมสอบ TCAS

PANYA SOCIETY

7 เทคนิคตะลุยโจทย์ เตรียมสอบ TCAS

7 เทคนิคตะลุยฝึกเทคนิคทำข้อสอบ TCAS

สวัสดีครับน้อง ๆ ทุกคน วันนี้พี่ Panya Society กลับมาอีกครั้งพร้อมบทความที่เกี่ยวกับ TCAS นะครับ หลังจากที่น้อง ๆ เก็บเนื้อหาครบแล้ว ก็ถึงเวลาที่จะตะลุยโจทย์ เพื่อทดสอบความรู้และการทำโจทย์ และยังได้เทคนิคทำข้อสอบด้วย โดยวันนี้จะมาแนะนำ 7 เทคนิคตะลุยโจทย์เตรียมสอบ TCAS กันนะครับ พี่ Panya Society ขอบอกเลยว่า น้องที่กำลังเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัยทุกคน ควรต้องฝึกเทคนิคทำข้อสอบ TCAS เพื่อให้พร้อมสอบได้ทัน ถ้าพร้อมแล้ว เริ่ม!!!

1. ทำข้อสอบเก่าย้อนหลัง

ในการฝึกตะลุยโจทย์ฝึกเทคนิคทำข้อสอบมากที่สุด โจทย์ที่เหมาะแก่การนำมาตะลุยโจทย์มากที่สุดก็คือ ข้อสอบเก่าย้อนหลังของแต่ละวิชานั่นเอง ดังนั้นในช่วง 3 – 4 เดือนก่อนสอบ น้อง ๆ  จึงควรหาข้อสอบเก่าย้อนหลังประมาณ 3 – 5 พ.ศ. มาฝึกทำ ซึ่งการตะลุยโจทย์ฝึกเทคนิคทำข้อสอบเก่าย้อนหลัง มีข้อดีดังนี้

  • ได้รู้ขอบเขตเนื้อหาของข้อสอบ
  • ได้รู้ว่าข้อสอบเน้นออกหัวข้อไหน
  • ทำให้เริ่มจับแนวข้อสอบได้
  • ได้เห็นโจทย์ที่พลิกแพลงหลากหลาย
  • ถ้าเจอโจทย์แนวเดียวกันในข้อสอบจริง จะทำได้แน่นอน


2. ทำบรรยากาศให้เหมือนห้องสอบจริง และจับเวลาตามจริง

ในห้องสอบจริง มีการจำกัดเวลาในการทำข้อสอบไว้ชัดเจน ดังนั้นในการตะลุยโจทย์ฝึกเทคนิคทำข้อสอบ TCAS น้อง ๆ ควรจะต้องทำให้เหมือนกับกำลังนั่งสอบจริงให้ได้มากที่สุด โดยอาจจำลองสถานการณ์ตั้งแต่เริ่มเข้าห้องสอบ ดังนี้

  • ดื่มน้ำและเข้าห้องน้ำให้เรียบร้อยก่อนเริ่มตะลุยโจทย์
  • นั่งตะลุยโจทย์บนโต๊ะและเก้าอี้ขนาดใกล้เคียงกับโต๊ะนักเรียน ไม่นอนทำ
  • พกอุปกรณ์ทำข้อสอบเหมือนเข้าห้องสอบจริง พกบัตรประชาชน ไม่พกกระเป๋าดินสอ ไม่ใส่นาฬิกา ไม่พกโทรศัพท์
  • จับเวลาทำข้อสอบตามเวลาจริงของการทำข้อสอบ TCAS และไม่หยุดจับเวลาแม้ว่าจะลุกไปเข้าห้องน้ำ หรือมีสิ่งรบกวน
  • ไม่ควรให้มีใครรบกวนระหว่างที่กำลังตะลุยโจทย์ฝึกเทคนิคทำข้อสอบ ควรแจ้งผู้ปกครองให้เข้าใจ
  • ในระหว่างการสอบจริง น้อง ๆ จะถูกผู้คุมสอบรบกวนให้เซ็นชื่อเข้าสอบหลังจากทำข้อสอบไปแล้วประมาณ 15 นาที ในการตะลุยโจทย์ฝึกเทคนิคทำข้อสอบ ก็ควรเผื่อเวลาสำหรับการถูกรบกวนให้เซ็นชื่อไว้ด้วย 


3. เลือกทำข้อง่ายก่อน

ในการทำข้อสอบจริงที่มีเวลาจำกัด จะต้องวางแผนการทำข้อสอบให้ดี เพื่อให้ทำข่้อสอบทันเวลาให้ได้มากที่สุด โดยส่วนมากวิชาที่จะทำไม่ทัน จะเป็นวิชาคำนวณ ซึ่งมีหลักการคร่าว ๆ ทริคทำข้อสอบเลือกข้อง่ายก่อนมีดังนี้

  • ไล่อ่านโจทย์ข้อที่โจทย์สั้น ๆ ก่อน หากอ่านจบข้อนั้นแล้ว คิดว่าทำได้ก็เริ่มทำทันที ข้อที่ไม่ได้ให้ข้ามไปก่อน แล้วจึงไปไล่อ่านและทำข้อที่โจทย์ยาว ๆ
  • ถ้าเป็นวิชาที่มีทั้งทฤษฎีและคำนวณ (ฟิสิกส์ เคมี) ให้เลือกทำข้อทฤษฎีก่อน
  • ถ้าเป็นวิชาที่ต้องคำนวณทั้งหมด (คณิตศาสตร์) ให้เริ่มจากข้อที่ถามตรง ๆ ไม่ต้องวิเคราะห์โจทย์มาก

4. ซ้อม การฝน ข้อสอบจริง

การฝนคำตอบลงในกระดาษคำตอบจริง จะต้องใช้เวลามากกว่าการกาตัวเลือกลงไปในกระดาษคำถาม ดังนั้น นอกจากการทำบรรยายกาศให้เหมือนห้องสอบจริงแล้ว ในการตะลุยโจทย์ฝึกเทคนิคทำข้อสอบ น้อง ๆ จึงควรจะต้องฝึกการฝนให้คล่อง และรวดเร็วที่สุด เพื่อจะได้มีเวลาในการทำข้อสอบมากขึ้น และสิ่งที่ควรต้องระวังมากที่สุดก็คือการฝนผิดข้อ และฝนผิดต่อ ๆ กันไปเรื่อย ๆ ซึ่งหากรู้ตัวภายหลัง ต้องเสียเวลาลบและฝนใหม่นานมาก แต่หากไม่รู้ตัวเลยก็จะทำคะแนนที่ควรจะได้หายไปทั้งหมด โดยสามารถฝึกการฝนข้อสอบได้ดังนี้

  • ใช้กระดาษคำตอบ ให้เหมือนจริงมากที่สุด ซึ่งสามารถโหลดกระดาษคำตอบได้จาก
    กระดาษคำตอบ TGAT / TPAT 2 – 5
    กระดาษคำตอบ A – Level 
  • ฝนจากขอบวงกลมด้านนอกเข้ามาข้างใน โดยฝึกให้คล่องและเร็วที่สุด
  • ก่อนฝนทุกครั้งให้ดูเลขข้อที่จะฝน ให้ตรงกับเลขข้อของโจทย์ที่เราหาคำตอบมาได้
  • อย่าลืมฝนชุดข้อสอบ

5. ทำด้วยตัวเอง ไม่ดูเฉลย

ในการสอบจริงน้อง ๆ ไม่สามารถเปิดดูเนื้อหา ดูเฉลย หรือถามคนอื่นได้ ดังนั้น ในการตะลุยโจทย์ฝึกเทคนิคทำข้อสอบ จะต้องไม่โกงตัวเอง การทำด้วยตัวเองโดยไม่ดูเฉลยมีข้อดีดังนี้

  • ได้ฝึกคิด ฝึกวิเคราะห์โจทย์ ทำให้กระบวนการคิดของน้อง ๆ พัฒนาได้ดีขึ้น และอาจได้ทริคทำข้อสอบเพิ่มจากการทำโจทย์เยอะ ๆ อีกด้วย
  • ได้ฝึการคำนวณ ทำให้คิดเลขได้ไวขึ้น ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการลดเวลาทำข้อสอบได้มาก 
  • ได้รู้จุดที่ผิดพลาดของตัวเอง ที่อาจโดนโจทย์หลอกทำให้ไม่ได้คะแนน ในการตะลุยฝึกเทคนิคทำข้อสอชุดต่อไปจะได้ไม่พลาดอีก
  • ได้รู้ว่าจุดไหนที่น้อง ๆ ยังทำไม่ได้ จะได้นำไปพัฒนาขึ้น ในการตะลุยโจทย์ฝึกเทคนิคทำข้อสอบชุดต่อไป
  • ได้รู้คะแนนสอบคร่าว ๆ ว่าตอนนี้ ทำได้ประมาณกี่คะแนน เผื่อใช้ประเมิณตัวเอง

6. อ่านทวนจุดที่ยังทำไม่ได้

หลังจากได้ลองทำข้อสอบด้วยตัวเองดูแล้ว ให้ทำการดูเฉลยแบบละเอียดในข้อที่ทำไม่ได้ และหากยังดูเฉลยไม่เข้าใจ แสดงว่า น้อง ๆ ยังไม่แม่นเนื้อหาส่วนนั้น จึงควรกลับไปทบทวนเนื้อหาส่วนนั้นให้เข้าใจ และนอกการทำได้หรือไม่ได้แล้ว ยังมีเรื่องของเวลาที่มีจำกัดในการทำโจทย์แต่ละข้อด้วย บางข้ออาจจะทำได้แต่ใช้เวลานานมากเกินไป ก็ควรต้องพิจารณาด้วยว่าควรปรับปรุงอย่างไร ดังนั้นในขณะที่ตะลุยโจทย์ฝึกเทคนิคทำข้อสอบ จะมีทริคทำข้อสอบดังนี้

  • วงข้อที่ทำไม่ได้ไว้ เพื่อจะได้กลับมาดูเฉลยอย่างละเอียด และกลับไปทบทวนเนื้อหาส่วนนั้นต่อไป
  • ดูเวลาที่ใช้ทำในแต่ละข้อ หากข้อไหนทำนานไปให้ เขียนกำกับไว้ว่า ใช้เวลาเกิน เพื่อที่จะกลับมาพิจารณาว่าเป็นเพราะสาเหตุใด

7. จดผลสอบเพื่อดูพัฒนาการ

ในการตะลุยโจทย์ฝึกเทคนิคทำข้อสอบแต่ละชุด ควรจดคะแนนไว้ เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับการตะลุยโจทย์ครั้งต่อไป ว่าคะแนนของเราดีขึ้น หรือน้อยลงอย่างไร เพื่อจะได้มั่นใจว่าในการทำข้อสอบจริง จะได้คะแนนตามที่เราซ้อมมา ซึ่งพิจารณาได้ดังนี้

  • หากคะแนนในแต่ละชุดยังไม่เพิ่มขึ้น อาจต้องกลับไปทบทวนเนื้อหาให้แม่นขึ้น
  • หากคะแนนข้อสอบชุดหลัง ๆ ได้คะแนนมากพอแล้ว ก็สามารถไปตะลุยโจทย์ฝึกเทคนิคทำข้อสอบในวิชาอื่น ๆ ต่อไปได้

พูดคุยหลังอ่าน

เป็นยังไงกันบ้างครับทุกคน หวังว่าพี่ ๆ Panya Society จะช่วยให้น้อง ๆ เตรียมสอบกันได้ดียิ่งขึ้น แต่พี่ ๆ ต้องของบอกไว้ก่อนว่า เทคนิคที่นำมาแนะนำนี้ เป็นเพียงแนวทางในการตะลุยโจทย์แบบหนึ่งเท่านั้น  น้อง ๆ สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความถนัดของน้อง ๆ แต่ละคนครับ

หลังจากน้อง ๆ ทุกคนได้รู้เทคนิคการตะลุยโจทย์ TCAS แล้ว จะเห็นว่า จะต้องมีข้อสอบย้อนหลัง และเฉลยแบบละเอียดทุกข้อ ดังนั้น พี่ PANYA ขอแนะนำคอร์ส “UpScore TCAS ทั้ง 3 วิชาจาก PANYA SOCIETY” ซึ่งเป็นคอร์ส เตรียมตัวสอบ TCAS ฉบับสมบูรณ์แบบ ที่ Update ล่าสุด ได้ทั้งทบทวนเนื้อหา ม.4-5-6 ไปพร้อมกับเก็งข้อสอบแนวรูปแบบใหม่ ฝึกทำข้อสอบเพียบ ทบทวนเต็มที่ เก็งข้อสอบแม่นยำ พร้อมทำโจทย์แนวใหม่ ไม่ตกเทรนด์ พร้อมกับโค้ชผู้ช่วยส่วนตัวที่ถาม-ตอบได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ไร้กังวล ติวกับ PANYA SOCIETY ข้อสอบ TCAS จะเปลี่ยนไปแค่ไหน พี่ ๆ จะตามติดพัฒนาคอร์สไปพร้อมกับ Test Blueprint ใหม่ล่าสุด ไม่พลาดแน่นอน!!!

💬 ปรึกษาแผนการเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย ฟรี! คลิกเลย!

VDO ตัวอย่างการสอน

🔥ติวเตอร์คนเก่ง🔥

แผนการอ่านเคมี

หาผู้ช่วยเตรียมสอบ

เรียนสนุก ทำโจทย์คล่อง สอบให้ติด

: คอร์สแนะนำ :

TAG :

SHARE:

TCAS TPAT3 EXAM BLUEPRINT ข้อสอบ TPAT3 ความถนัดด้านวิศวกรรมศาสตร์ หน้าตาจะเป็นยังไง มาลองดูกัน!

PANYA SOCIETY

มาดูกัน! TCAS TPAT3 Exam Blueprint

TCAS EXAM BLUEPRINT

น้อง ๆ ทุกคนคงเห็นแล้วว่ารูปแบบการสอบ TCAS จะมีกำหนดการ และการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด และก็ได้มีความเคลื่อนไหวจากทางที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) อีกครั้ง ผ่านทางเว็บไซต์ Mytcas.com ซึ่งเป็นการ Update เกี่ยวกับ Exam Blueprint ของข้อสอบ TGAT TPAT และ A-Level ซึ่งพี่ Panya Society จะมาสรุป วิเคราะห์ และเปรียบเทียบกับปีก่อน ๆ ให้น้อง ๆ ฟังกันครับ จะเป็นยังไงลองมาดูกันเลย…

โดยวันนี้พี่ Panya Society ขอนำเสนอวิชา TPAT3 ความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ ครับ งั้นเรามาดูกันอย่างละเอียดดีกว่าว่าน้อง ๆ ทุกคน จะต้องเจอกับเนื้อหาอะไรบ้าง แล้วมีโครงสร้างข้อสอบเป็นอย่างไร

TPAT3 ความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์

สำหรับข้อสอบ TPAT3 ปีนี้ น้อง ๆ ทุกคนจะพบเจอเนื้อหาของวิชาความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ ได้ในข้อสอบ TPAT3 รหัส 30 ซึ่ง ณ ปัจจุบัน ทาง ทปอ. ได้ปล่อย Exam Blueprint มาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

คราวนี้เราลองมาดูกันดีกว่าว่า Exam Blueprint ของ TPAT3 ความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ นั้นน้อง ๆ จะต้องเจอกับเนื้อหาอะไรบ้าง

TPAT3 ความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ จำนวนข้อทั้งหมด 70 ข้อ* คะแนนเต็ม 100 คะแนน ระยะเวลาสอบ 180 นาที (*ปรนัย 5 ตัวเลือก 70 ข้อ 100 คะแนน)

  • การทดสอบความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์     
    45 ข้อ 60 คะแนน 

         – ด้านตัวเลข (จำนวน 15 ข้อ รวม 20 คะแนน)
         – ด้านมิติสัมพันธ์ (จำนวน 15 ข้อ รวม 20 คะแนน)
         – ด้านเชิงกลและด้านฟิสิกส์ (จำนวน 15 ข้อ รวม 20 คะแนน)
  • การทดสอบความคิดและความสนใจทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์
    25 ข้อ 40 คะแนน

         – ความคิดเชิงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ (จำนวน 15 ข้อ รวม 20 คะแนน)
         – ความสนใจข่าวสารความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ (จำนวน 10 ข้อรวม 20 คะแนน)

บทสรุป

เป็นยังไงกันบ้างครับสำหรับ Exam Blueprint ของข้อสอบ TPAT3 ความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ ที่กำลังจะมาถึง น้อง ๆ ที่ได้อ่านบทความนี้ไปพี่ Panya Society หวังว่าน้อง ๆ คงจะได้แนวทางในการเตรียมตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของข้อสอบที่จะเกิดขึ้นในปีนี้กันแล้ว ซึ่งถ้าหากหลังจากนี้ทาง ทปอ. มีการ Update Exam Blueprint วิชาอื่น ๆ พี่ Panya Society ก็จะรีบนำมา Update และวิเคราะห์ให้น้อง ๆ เพิ่มเติมอย่างแน่นอน ขอให้น้อง ๆ ติดตามเพจ Panya Society กันไว้ได้เลย 🙂

     พี่ Panya Society จึงขอแนะนำคอร์ส “TPAT3 ความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ (17 ชม.) เพื่อให้น้อง ๆ ทุกคนที่สนใจในการปูพื้นฐานสำหรับติวสอบ TPAT3 โดย พี่แชร์ จะมาช่วยน้อง ๆ ทุกคนทบทวนเนื้อหา รวมถึงฝึกทำโจทย์ต่าง ๆ เพื่อให้น้อง ๆ ทุกคนพร้อมสำหรับการสอบ TPAT3 ที่จะมาถึง

ส่วนน้อง ๆ คนไหนที่ต้องการเตรียมตัวสอบ TCAS วิชาอื่น ๆ พี่ Panya Society ก็ยังมีคอร์ส “TCAS ทั้ง 6 วิชาจาก PANYA SOCIETY” ซึ่งเป็นคอร์ส เตรียมตัวสอบ TCAS ฉบับสมบูรณ์แบบที่ Update ล่าสุด ได้ทั้งทบทวนเนื้อหา ม.4-5-6 ไปพร้อมกับเก็งข้อสอบแนวรูปแบบใหม่ ฝึกทำข้อสอบเพียบ ทบทวนเต็มที่ เก็งข้อสอบแม่นยำ พร้อมทำโจทย์แนวใหม่ ไม่ตกเทรนด์ พร้อมกับโค้ชผู้ช่วยส่วนตัวที่
ถาม-ตอบได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ไร้กังวล ติวกับ PANYA SOCIETY ข้อสอบ TCAS จะเปลี่ยนไปแค่ไหน พี่ ๆ จะตามติดพัฒนาคอร์สไปพร้อมกับ Exam Blueprint ใหม่ล่าสุด ไม่พลาดแน่นอน!!!

VDO ตัวอย่างการสอน

ฟิสิกส์ TPAT3

19 Videos

🔥ติวเตอร์คนเก่ง🔥

เรียนสนุก ทำโจทย์คล่อง สอบให้ติด โดย PANYA Society

: คอร์สแนะนำ :

SHARE:

TCAS CHEM EXAM BLUEPRINT ข้อสอบ A-Level เคมี หน้าตาจะเป็นยังไง มาลองดูกัน!

PANYA SOCIETY

มาดูกัน! TCAS CHEM A-Level Exam Blueprint

TCAS EXAM BLUEPRINT

น้อง ๆ ทุกคนคงเห็นแล้วว่ารูปแบบการสอบ TCAS จะมีกำหนดการ และการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด และก็ได้มีความเคลื่อนไหวจากทางที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) อีกครั้ง ผ่านทางเว็บไซต์ Mytcas.com ซึ่งเป็นการ Update เกี่ยวกับ Exam Blueprint ของข้อสอบ TGAT TPAT และ A-Level ซึ่งพี่ Panya Society จะมาสรุปวิเคราะห์ และเปรียบเทียบกับปีก่อน ๆ ให้น้อง ๆ ฟังกันครับ จะเป็นยังไงลองมาดูกันเลย…

โดยวันนี้พี่ Panya Society ขอนำเสนอวิชาเคมีครับ งั้นเรามาดูกันอย่างละเอียดดีกว่าว่าน้อง ๆ ทุกคน จะต้องเจอกับเนื้อหาอะไรบ้าง แล้วมีโครงสร้างข้อสอบเป็นอย่างไร

A - Level วิชาเคมี

สำหรับข้อสอบเคมีปีนี้ น้อง ๆ ทุกคนจะพบเจอเนื้อหาของวิชาเคมีได้ในข้อสอบ A-Level รหัส 64 ตัวย่อ Chem วิชาเคมี ซึ่ง ณ ปัจจุบัน ทาง ทปอ. ได้ปล่อย Exam Blueprint มาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

คราวนี้เราลองมาดูกันดีกว่าว่า Exam Blueprint ของ A-Level วิชาเคมี นั้นน้อง ๆ จะต้องเจอกับเนื้อหาอะไรบ้าง

A-Level วิชาเคมี จำนวนข้อทั้งหมด 35 ข้อ* คะแนนเต็ม 100 คะแนน ระยะเวลาสอบ 90 นาที (*ปรนัย 5 ตัวเลือก 30 ข้อ 75 คะแนน / อัตนัย(ระบายคำตอบที่เป็นค่า/ตัวเลข) 5 ข้อ 25 คะแนน)

  • สมบัติของธาตุและสารประกอบ (15 – 17 ข้อ)
    • อะตอมและสมบัติของธาตุ
    • พันธะเคมี
    • แก๊ส
    • เคมีอินทรีย์
    • พอลิเมอร์
  • สมการเคมีและการเปลี่ยนแปลงทางเคมี (15 – 17 ข้อ)
    • ปริมาณสัมพันธ์
    • อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
    • สมดุลเคมี
    • กรด–เบส
    • เคมีไฟฟ้า
  • ทักษะในปฏิบัติการเคมีและการคำนวณปริมาณของสาร (2 – 4 ข้อ)
    • ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี
    • โมล
    • สารละลาย

คราวนี้เราลองจัดกลุ่มเนื้อหาแต่ละระดับชั้น และเปรียบเทียบกับข้อสอบ เคมี A-Level กันดูครับ

ชื่อบทระดับชั้นA-Level CHEM ปี 2566A-Level CHEM ปี 2567
อะตอมและสมบัติของธาตุม.4 เทอม 116 ข้อ15 – 17 ข้อ
พันธะเคมี
แก๊สม.5 เทอม 1
เคมีอินทรีย์ม.6 เทอม 1
พอลิเมอร์
ปริมาณสัมพันธ์ม.4 เทอม 216 ข้อ15 – 17 ข้อ
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีม.5 เทอม 1
สมดุลเคมี
กรด–เบสม.5 เทอม 2
เคมีไฟฟ้า
ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมีม.4 เทอม 13 ข้อ2 – 4 ข้อ
โมลม.4 เทอม 2
สารละลาย

จากตารางข้างบนน้อง ๆ คงเห็นแล้วว่าขอบเขตเนื้อหาและจำนวนข้อสอบเป็นอย่างไร คราวนี้พี่ Panya Society เลยจะขอลองยกตัวอย่างข้อสอบ เคมี A-Level ปี 66 ที่พี่นัท แห่ง Panya Society ได้เฉลยไว้มาให้น้อง ๆ ได้ทดลองดูและทดลองทำ เพื่อเป็นแนวทางกันดูครับ

ตัวอย่างข้อสอบ เคมี A-Level ปี 66

เฉลยข้อสอบ A-Level เคมี ปี 66

1 Videos
Play Video

บทสรุป

เป็นยังไงกันบ้างครับสำหรับ Exam Blueprint ของข้อสอบ TCAS A-Level CHEM ที่กำลังจะมาถึง น้อง ๆ ที่ได้อ่านบทความนี้ไปพี่ Panya Society หวังว่าน้อง ๆ คงจะได้แนวทางในการเตรียมตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของข้อสอบที่จะเกิดขึ้นในปีนี้กันแล้ว ซึ่งถ้าหากหลังจากนี้ทาง ทปอ. มีการ Update Exam Blueprint วิชาอื่น ๆ พี่ Panya Society ก็จะรีบนำมา Update และวิเคราะห์ให้น้อง ๆ เพิ่มเติมอย่างแน่นอน ขอให้น้อง ๆ ติดตามเพจ Panya Society กันไว้ได้เลย 🙂

และจาก Exam Blueprint ของวิชาเคมี น้อง ๆ คงเห็นแล้วว่าเนื้อหามากกว่าครึ่งเป็นเนื้อหาของช่วงระดับชั้น ม.4 ถึง ม.5 ทำให้น้อง ๆ ม.6 ที่กำลังจะเตรียมสอบ TCAS อาจจะมีการหลงลืมเนื้อหาไปบ้างแล้ว รวมไปถึงใครที่ต้องการปูพื้นฐานสำหรับวิชาเคมีในระดับชั้นมัธยมปลายทั้ง 6 เทอม
พี่ Panya Society จึงขอแนะนำคอร์ส เคมี A – Level  (82 ชม.)” เพื่อให้น้อง ๆ ทุกคนที่สนใจในการปูพื้นฐานสำหรับติวสอบ A-Level โดย พี่นัท จะมาช่วยน้อง ๆ ทุกคนทบทวนเนื้อหา รวมถึงฝึกทำโจทย์ต่าง ๆ เพื่อให้น้อง ๆ ทุกคนพร้อมสำหรับการสอบ A-Level ที่จะมาถึง

ส่วนน้อง ๆ คนไหนที่ต้องการเตรียมตัวสอบ TCAS วิชาอื่น ๆ พี่ Panya Society ก็ยังมีคอร์ส TCAS ทั้ง 6 วิชาจาก PANYA SOCIETY ซึ่งเป็นคอร์ส เตรียมตัวสอบ TCAS ฉบับสมบูรณ์แบบที่ Update ล่าสุด ได้ทั้งทบทวนเนื้อหา ม.4-5-6 ไปพร้อมกับเก็งข้อสอบแนวรูปแบบใหม่ ฝึกทำข้อสอบเพียบ ทบทวนเต็มที่ เก็งข้อสอบแม่นยำ พร้อมทำโจทย์แนวใหม่ ไม่ตกเทรนด์ พร้อมกับโค้ชผู้ช่วยส่วนตัวที่ถาม-ตอบได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ไร้กังวล ติวกับ PANYA SOCIETY ข้อสอบ TCAS จะเปลี่ยนไปแค่ไหน พี่ ๆ จะตามติดพัฒนาคอร์สไปพร้อมกับ Exam Blueprint ใหม่ล่าสุด ไม่พลาดแน่นอน!!!

VDO ตัวอย่างการสอน

🔥ติวเตอร์คนเก่ง🔥

เรียนสนุก ทำโจทย์คล่อง สอบให้ติด โดย PANYA Society

: คอร์สแนะนำ :

SHARE:

TCAS MATH EXAM BLUEPRINT ข้อสอบ A-Level คณิตศาสตร์ หน้าตาจะเป็นยังไง มาลองดูกัน!

PANYA SOCIETY

มาดูกัน! TCAS Math A-Level Exam Blueprint

TCAS EXAM BLUEPRINT

น้อง ๆ ทุกคนคงเห็นแล้วว่ารูปแบบการสอบ TCAS จะมีกำหนดการ และการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด และก็ได้มีความเคลื่อนไหวจากทางที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) อีกครั้ง ผ่านทางเว็บไซต์ Mytcas.com ซึ่งเป็นการ Update เกี่ยวกับ Exam Blueprint ของข้อสอบ TGAT TPAT และ A-Level ซึ่งพี่ Panya Society จะมาสรุป วิเคราะห์ และเปรียบเทียบกับปีก่อน ๆ ให้น้องๆฟังกันครับ จะเป็นยังไงลองมาดูกันเลย…

โดยวันนี้พี่ Panya Society ขอนำเสนอวิชาคณิตศาสตร์ครับ งั้นเรามาดูกันอย่างละเอียดดีกว่าว่าน้อง ๆ #Dek67 ทุกคน จะต้องเจอกับเนื้อหาอะไรบ้าง แล้วมีโครงสร้างข้อสอบเป็นอย่างไร

A-Level วิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ 1

สำหรับข้อสอบคณิตศาสตร์ปีนี้ น้อง ๆ ทุกคนจะพบเจอเนื้อหาของวิชาคณิตศาสตร์ได้ในข้อสอบ A-Level รหัส 61 ตัวย่อ Math1 วิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 ซึ่ง ณ ปัจจุบัน TCAS ทาง ทปอ. ได้ปล่อย Exam Blueprint มาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

คราวนี้เราลองมาดูกันดีกว่าว่า Exam Blueprint ของ A-Level วิชาคณิตศาสตร์ 1 นั้นน้อง ๆ จะต้องเจอกับเนื้อหาอะไรบ้าง

A-Level วิชาคณิตศาสตร์ 1 จำนวนข้อทั้งหมด 30 ข้อ* คะแนนเต็ม 100 คะแนน ระยะเวลาสอบ 90 นาที (*ปรนัย 5 ตัวเลือก 25 ข้อ 75 คะแนน / อัตนัย(ระบายคำตอบที่เป็นค่า/ตัวเลข) 5 ข้อ 25 คะแนน)

  • สาระจำนวนและพีชคณิต (15 – 17 ข้อ)
    • เซต
    • ตรรกศาสตร์
    • จำนวนจริงและพหุนาม
    • ฟังก์ชัน
    • ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและฟังก์ชันลอการิทึม
    • ฟังก์ชันตรีโกณมิติ
    • จํานวนเชิงซ้อน
    • เมทริกซ์
    • ลําดับและอนุกรม
  • สาระการวัดและเรขาคณิต (3 – 5 ข้อ)
    • เรขาคณิตวิเคราะห์
    • เวกเตอร์ในสามมิติ
  • สาระสถิติและความน่าจะเป็น (6 – 8 ข้อ)
    • สถิติ
    • การแจกแจงความน่าจะเป็นเบื้องต้น
    • หลักการนับเบื้องต้น
    • ความน่าจะเป็น
  • สาระแคลคูลัส (2 – 4 ข้อ)
    • แคลคูลัสเบื้องต้น

คราวนี้เราลองจัดกลุ่มเนื้อหาแต่ละระดับชั้น และเปรียบเทียบกับข้อสอบคณิตศาสตร์ วิชาสามัญปี 2565 และข้อสอบ A – Level กันดูครับ

ชื่อบทระดับชั้นสามัญ ปี 2565A – Level MATH1 ปี 2566A – Level MATH1 ปี 2567
เซตม.4 เทอม 116 ข้อ16 ข้อ15 – 17 ข้อ
ตรรกศาสตร์
จำนวนจริง
ความสัมพันธ์และฟังก์ชันม.4 เทอม 2
ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและฟังก์ชันลอการิทึม
ฟังก์ชันตรีโกณมิติม.5 เทอม 1
เมทริกซ์
จำนวนเชิงซ้อนม.5 เทอม 2
ลำดับและอนุกรมม.6 เทอม 1
เรขาคณิตวิเคราะห์ และภาคตัดกรวยม.4 เทอม 24 ข้อ4 ข้อ3 – 5 ข้อ
เวกเตอร์ม.5 เทอม 1
หลักการนับเบื้องต้นม.5 เทอม 27 ข้อ7 ข้อ6 – 8 ข้อ
ความน่าจะเป็น
ความหมายของสถิติศาสตร์และข้อมูล (สถิติ)ม.6 เทอม 2
การวิเคราะห์และนำเสนอขอมูลเชิงคุณภาพ (สถิติ)
การวิเคราะห์และนำเสนอขอมูลเชิงปริมาณ (สถิติ)
ตัวแปรสุ่มและการแจกแจงความน่าจะเป็น
แคลคูลัสเบื้องต้นม.6 เทอม 13 ข้อ3 ข้อ2 – 4 ข้อ

จากตารางข้างบนน้องๆคงเห็นแล้วว่าขอบเขตเนื้อหาและจำนวนข้อสอบเป็นอย่างไร คราวนี้พี่ Panya Society เลยจะขอลองยกตัวอย่างข้อสอบ คณิตศาสตร์ A – Level ปี 66 ที่พี่นอตแห่ง Panya Society ได้เฉลยไว้มาให้น้อง ๆ ได้ทดลองดูและทดลองทำ เพื่อเป็นแนวทางกันดูครับ

ตัวอย่างข้อสอบ คณิตศาสตร์ A – Level ปี 66

บทสรุป

เป็นยังไงกันบ้างครับสำหรับ Exam Blueprint ของข้อสอบ TCAS A-Level Math ที่กำลังจะมาถึง น้อง ๆ ที่ได้อ่านบทความนี้ไปพี่ Panya Society หวังว่าน้องๆ คงจะได้แนวทางในการเตรียมตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของข้อสอบที่จะเกิดขึ้นในปีนี้กันแล้ว ซึ่งถ้าหากหลังจากนี้ทาง ทปอ. มีการ Update Exam Blueprint วิชาอื่น ๆ พี่ Panya Society ก็จะรีบนำมา Update และวิเคราะห์ให้น้อง ๆ เพิ่มเติมอย่างแน่นอน ขอให้น้อง ๆ ติดตามเพจ Panya Society กันไว้ได้เลย 🙂

และจาก Exam Blueprint ของวิชาคณิตศาสตร์ น้อง ๆ คงเห็นแล้วว่าเนื้อหากว่าครึ่งเป็นเนื้อหาของช่วงระดับชั้น ม.4 ถึง ม.5 ทำให้น้องๆ ม.6 ที่กำลังจะเตรียมสอบ TCAS อาจจะมีการหลงลืมเนื้อหาไปบ้างแล้ว รวมไปถึงใครที่ต้องการปูพื้นฐานสำหรับวิชาคณิตศาสตร์ในระดับชั้นมัธยมปลายทั้ง 6 เทอม พี่ Panya Society จึงขอแนะนำคอร์ส Pack คณิตศาสตร์ A – Level (พื้นฐาน+เพิ่มเติม 293 ชม.) เพื่อให้น้องๆทุกคนที่สนใจในการปูพื้นฐานสำหรับติวสอบ A-Level โดยพี่ปิง พี่แชร์ และ พี่นอต จะมาช่วยน้อง ๆ ทุกคนทบทวนเนื้อหา รวมถึงฝึกทำโจทย์ต่าง ๆ เพื่อให้น้อง ๆ ทุกคนพร้อมสำหรับการสอบ A-Level ที่จะมาถึง

ส่วนน้อง ๆ คนไหนที่ต้องการเตรียมตัวสอบ TCAS วิชาอื่นๆ พี่ Panya Society ก็ยังมีคอร์ส TCAS ทั้ง 6 วิชาจาก PANYA SOCIETY” ซึ่งเป็นคอร์ส เตรียมตัวสอบ TCAS ฉบับสมบูรณ์แบบ ที่ Update ล่าสุด ได้ทั้งทบทวนเนื้อหา ม.4-5-6 ไปพร้อมกับเก็งข้อสอบแนวรูปแบบใหม่ ฝึกทำข้อสอบเพียบ ทบทวนเต็มที่ เก็งข้อสอบแม่นยำ พร้อมทำโจทย์แนวใหม่ ไม่ตกเทรนด์ พร้อมกับโค้ชผู้ช่วยส่วนตัวที่ถาม-ตอบได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ไร้กังวล ติวกับ PANYA SOCIETY ข้อสอบ TCAS จะเปลี่ยนไปแค่ไหน พี่ ๆ จะตามติดพัฒนาคอร์สไปพร้อมกับ Exam Blueprint ใหม่ล่าสุด ไม่พลาดแน่นอน!!!

VDO ตัวอย่างการสอน

🔥ติวเตอร์คนเก่ง🔥

เรียนสนุก ทำโจทย์คล่อง สอบให้ติด โดย PANYA Society

: คอร์สแนะนำ :

SHARE:

TCAS PHYSICS EXAM BLUEPRINT ข้อสอบ A-Level ฟิสิกส์ หน้าตาจะเป็นยังไง มาลองดูกัน!

PANYA SOCIETY

มาดูกัน! TCAS PHYSICS A-Level Exam Blueprint

TCAS EXAM BLUEPRINT

น้อง ๆ ทุกคนคงเห็นแล้วว่ารูปแบบการสอบ TCAS จะมีกำหนดการ และการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด และก็ได้มีความเคลื่อนไหวจากทางที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) อีกครั้ง ผ่านทางเว็บไซต์ Mytcas.com ซึ่งเป็นการ Update เกี่ยวกับ Exam Blueprint ของข้อสอบ TGAT TPAT และ A-Level ซึ่งพี่ Panya Society จะมาสรุป วิเคราะห์ และเปรียบเทียบกับปีก่อน ๆ ให้น้อง ๆ ฟังกันครับ จะเป็นยังไงลองมาดูกันเลย…

โดยวันนี้พี่ Panya Society ขอนำเสนอวิชาฟิสิกส์ครับ งั้นเรามาดูกันอย่างละเอียดดีกว่าว่าน้อง ๆ ทุกคน จะต้องเจอกับเนื้อหาอะไรบ้าง แล้วมีโครงสร้างข้อสอบเป็นอย่างไร

A - Level วิชาฟิสิกส์

สำหรับข้อสอบฟิสิกส์ปีนี้ น้อง ๆ ทุกคนจะพบเจอเนื้อหาของวิชาฟิสิกส์ได้ในข้อสอบ A-Level รหัส 64 ตัวย่อ Phy วิชาฟิสิกส์ ซึ่ง ณ ปัจจุบัน ทาง ทปอ. ได้ปล่อย Exam Blueprint มาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

คราวนี้เราลองมาดูกันดีกว่าว่า Exam Blueprint ของ A-Level วิชาฟิสิกส์ นั้นน้อง ๆ จะต้องเจอกับเนื้อหาอะไรบ้าง

A-Level วิชาฟิสิกส์ จำนวนข้อทั้งหมด 30 ข้อ* คะแนนเต็ม 100 คะแนน ระยะเวลาสอบ 90 นาที (*ปรนัย 5 ตัวเลือก 25 ข้อ 75 คะแนน / อัตนัย(ระบายคำตอบที่เป็นค่า/ตัวเลข) 5 ข้อ 25 คะแนน)

  • สาระกลศาสตร์ (8 – 10 ข้อ)
    • ธรรมชาติและพัฒนาการทางฟิสิกส์
    • การเคลื่อนที่แนวตรง
    • แรงและกฎการเคลื่อนที่
    • สมดุลกลของวัตถุ
    • งานและกฎการอนุรักษ์พลังงานกล
    • โมเมนตัมและการชน
    • การเคลื่อนที่แนวโค้ง
    • การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย
  • สาระคลื่นกล และแสง (5 – 7 ข้อ)
    • คลื่น
    • เสียง
    • แสง
  • สาระไฟฟ้า แม่เหล็ก และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (6 – 8 ข้อ)
    • ไฟฟ้าสถิต
    • ไฟฟ้ากระแส
    • แม่เหล็กและไฟฟ้า
    • คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
  • สาระอุณหพลศาสตร์ และสมบัติเชิงกลของสาร (3 – 5 ข้อ)
    • ความร้อนและแก๊ส
    • ของแข็งและของไหล
  • สาระฟิสิกส์แผนใหม่ (3 – 5 ข้อ)
    • ฟิสิกส์อะตอม
    • ฟิสิกส์นิวเคลียร์และฟิสิกส์อนุภาค

คราวนี้เราลองจัดกลุ่มเนื้อหาแต่ละระดับชั้น และเปรียบเทียบกับข้อสอบ ฟิสิกส์ A-Level กันดูครับ

ชื่อบท ระดับชั้นA-Level PHY ปี 2566A-Level PHY ปี 2567
ธรรมชาติและพัฒนาการทางฟิสิกส์ม.4 เทอม 19 ข้อ8 – 10 ข้อ
การเคลื่อนที่แนวตรง
แรงและกฎการเคลื่อนที่
สมดุลกลม.4 เทอม 2
งานและพลังงาน
โมเมนตัมและการชน
การเคลื่อนที่แนวโค้ง
การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่ายม.5 เทอม 1
คลื่นม.5 เทอม 16 ข้อ5 – 7 ข้อ
แสงเชิงคลื่น
แสงเชิงรังสี
เสียงม.5 เทอม 2
ไฟฟ้าสถิตม.5 เทอม 26 ข้อ6 – 8 ข้อ
ไฟฟ้ากระแส
แม่เหล็กและไฟฟ้าม.6 เทอม 1
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าม.6 เทอม 2
ความร้อนและแก๊สม.6 เทอม 14 ข้อ3 – 5 ข้อ
ของแข็งและของไหล
ฟิสิกส์อะตอมม.6 เทอม 25 ข้อ3 – 5 ข้อ
ฟิสิกส์นิวเคลียร์และฟิสิกส์อนุภาค

จากตารางข้างบนน้อง ๆ คงเห็นแล้วว่าขอบเขตเนื้อหาและจำนวนข้อสอบเป็นอย่างไร คราวนี้พี่ Panya Society เลยจะขอลองยกตัวอย่างข้อสอบ ฟิสิกส์ A – Level ที่พี่แชร์ แห่ง Panya Society ได้เฉลยไว้มาให้น้อง ๆ ได้ทดลองดูและทดลองทำ เพื่อเป็นแนวทางกันดูครับ

ตัวอย่างข้อสอบ ฟิสิกส์ A – Level ปี 66

บทสรุป

เป็นยังไงกันบ้างครับสำหรับ Exam Blueprint ของข้อสอบ TCAS A-Level Physics ที่กำลังจะมาถึง น้อง ๆ ที่ได้อ่านบทความนี้ไปพี่ Panya Society หวังว่าน้อง ๆ คงจะได้แนวทางในการเตรียมตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของข้อสอบที่จะเกิดขึ้นในปีนี้กันแล้ว ซึ่งถ้าหากหลังจากนี้ทาง ทปอ. มีการ Update Exam Blueprint วิชาอื่น ๆ พี่ Panya Society ก็จะรีบนำมา Update และวิเคราะห์ให้น้อง ๆ เพิ่มเติมอย่างแน่นอน ขอให้น้อง ๆ ติดตามเพจ Panya Society กันไว้ได้เลย 🙂

และจาก Exam Blueprint ของวิชาฟิสิกส์ น้อง ๆ คงเห็นแล้วว่าเนื้อหากว่าครึ่งเป็นเนื้อหาของช่วงระดับชั้น ม.4 ถึง ม.5 ทำให้น้อง ๆ ม.6 ที่กำลังจะเตรียมสอบ TCAS อาจจะมีการหลงลืมเนื้อหาไปบ้างแล้ว รวมไปถึงใครที่ต้องการปูพื้นฐานสำหรับวิชาฟิสิกส์ในระดับชั้นมัธยมปลายทั้ง 6 เทอม
     พี่ Panya Society จึงขอแนะนำคอร์ส “ฟิสิกส์ A – Level  (190 ชม.)” เพื่อให้น้อง ๆ ทุกคนที่สนใจในการปูพื้นฐานสำหรับติวสอบ A-Level โดย พี่แชร์ จะมาช่วยน้อง ๆ ทุกคนทบทวนเนื้อหา รวมถึงฝึกทำโจทย์ต่าง ๆ เพื่อให้น้อง ๆ ทุกคนพร้อมสำหรับการสอบ A-Level ที่จะมาถึง

ส่วนน้อง ๆ คนไหนที่ต้องการเตรียมตัวสอบ TCAS วิชาอื่น ๆ พี่ Panya Society ก็ยังมีคอร์ส “TCAS ทั้ง 6 วิชาจาก PANYA SOCIETY” ซึ่งเป็นคอร์ส เตรียมตัวสอบ TCAS ฉบับสมบูรณ์แบบที่ Update ล่าสุด ได้ทั้งทบทวนเนื้อหา ม.4-5-6 ไปพร้อมกับเก็งข้อสอบแนวรูปแบบใหม่ ฝึกทำข้อสอบเพียบ ทบทวนเต็มที่ เก็งข้อสอบแม่นยำ พร้อมทำโจทย์แนวใหม่ ไม่ตกเทรนด์ พร้อมกับโค้ชผู้ช่วยส่วนตัวที่
ถาม-ตอบได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ไร้กังวล ติวกับ PANYA SOCIETY ข้อสอบ TCAS จะเปลี่ยนไปแค่ไหน พี่ ๆ จะตามติดพัฒนาคอร์สไปพร้อมกับ Exam Blueprint ใหม่ล่าสุด ไม่พลาดแน่นอน!!!

VDO ตัวอย่างการสอน

ฟิสิกส์ A-Level

30 Videos

🔥ติวเตอร์คนเก่ง🔥

เรียนสนุก ทำโจทย์คล่อง สอบให้ติด โดย PANYA Society

: คอร์สแนะนำ :

SHARE:

TCAS ENGLISH EXAM BLUEPRINT ข้อสอบ A-Level ภาษาอังกฤษ หน้าตาจะเป็นยังไง มาลองดูกัน!

PANYA SOCIETY

มาดูกัน! TCAS ENGLISH A-Level Exam Blueprint

TCAS EXAM BLUEPRINT

น้อง ๆ ทุกคนคงเห็นแล้วว่ารูปแบบการสอบ TCAS จะมีกำหนดการ และการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด และก็ได้มีความเคลื่อนไหวจากทางที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) อีกครั้ง ผ่านทางเว็บไซต์ Mytcas.com ซึ่งเป็นการ Update เกี่ยวกับ Exam Blueprint ของข้อสอบ TGAT TPAT และ A-Level ซึ่งพี่ Panya Society จะมาสรุป วิเคราะห์ และเปรียบเทียบกับปีก่อน ๆ ให้น้อง ๆ ฟังกันครับ จะเป็นยังไงลองมาดูกันเลย…

โดยวันนี้พี่ Panya Society ขอนำเสนอวิชาภาษาอังกฤษ ครับ งั้นเรามาดูกันอย่างละเอียดดีกว่าว่าน้อง ๆ ทุกคน จะต้องเจอกับเนื้อหาอะไรบ้าง แล้วมีโครงสร้างข้อสอบเป็นอย่างไร

A - Level วิชาภาษาอังกฤษ

สำหรับข้อสอบภาษาอังกฤษปีนี้ น้อง ๆ ทุกคนจะพบเจอเนื้อหาของวิชาภาษาอังกฤษได้ในข้อสอบ A-Level รหัส 82 ตัวย่อ Eng วิชาภาษาอังกฤษ ซึ่ง ณ ปัจจุบัน ทาง ทปอ. ได้ปล่อย Exam Blueprint มาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

คราวนี้เราลองมาดูกันดีกว่าว่า Exam Blueprint ของ A-Level วิชาภาษาอังกฤษ นั้นน้อง ๆ จะต้องเจอกับเนื้อหาอะไรบ้าง

A-Level วิชาภาษาอังกฤษ จำนวนข้อทั้งหมด 80 ข้อ* คะแนนเต็ม 100 คะแนน ระยะเวลาสอบ 90 นาที (*ปรนัย 5 ตัวเลือก 80 ข้อ 100 คะแนน)

  • ทักษะการฟังและการพูด (Listening and Speaking Skills) (25 คะแนน)      20 ข้อ
    1) เติมบทสนทนาแบบสั้น (Short conversation) จำนวน 3 บทสนทนา
         – จำนวนข้อคำถาม (4 ข้อ/บทสนทนา รวม 12 ข้อ)
         – ระดับข้อสอบ (ง่าย 3 ข้อ / กลาง 6 ข้อ / ยาก 3 ข้อ)
    2) เติมบทสนทนาแบบยาว (Long conversation) จำนวน 1 บทสนทนา
         – จำนวนข้อคำถาม (8 ข้อ/บทสนทนา รวม 8 ข้อ)
         – ระดับข้อสอบ (ง่าย 1 ข้อ / กลาง 6 ข้อ / ยาก 1 ข้อ)
  • ทักษะการอ่าน (Reading Skill) (50 คะแนน)      40 ข้อ
    1) โฆษณา (Advertisement) จำนวน 2 บทความ
         – จำนวนข้อคำถาม 3 ข้อ/บทความ รวม 6 ข้อ
         – ระดับข้อสอบ (ง่าย 2 ข้อ / กลาง 2 ข้อ / ยาก 2 ข้อ)
    2) บทวิจารณ์สินค้าหรือบริการ (Product or service review) จำนวน 1 บทความ
         – จำนวนข้อคำถาม 6 ข้อ/บทความ รวม 6 ข้อ
         – ระดับข้อสอบ (ง่าย 1 ข้อ / กลาง 4 ข้อ / ยาก 1 ข้อ)
    3) รายงานข่าว (News report) จำนวน 1 บทความ
         – จำนวนข้อคำถาม 6 ข้อ/บทความ รวม 6 ข้อ
         – ระดับข้อสอบ (ง่าย 1 ข้อ / กลาง 4 ข้อ / ยาก 1 ข้อ)
    4) ภาพประกอบบทความ (Visual) เช่น กราฟ ตาราง แผนผัง หรือ แผนภูมิ จำนวน 2 เรื่อง
         – จำนวนข้อคำถาม 3 ข้อ/เรื่อง รวม 6 ข้อ
         – ระดับข้อสอบ (ง่าย 2 ข้อ / กลาง 2 ข้อ / ยาก 2 ข้อ)
    5) บทความทั่วไป ที่มีจำนวนคำประมา ณ 500–600 คำ หรือ 1 หน้ากระดาษ A4 จำนวน 2 บทความ
         – จำนวนข้อคำถาม 8 ข้อ/เรื่อง รวม 16 ข้อ
         – ระดับข้อสอบ (ง่าย 3 ข้อ / กลาง 10 ข้อ / ยาก 3 ข้อ)
  • ทักษะการเขียน (Writing Skill) (25 คะแนน)      20 ข้อ
    1) เติมบทความให้สมบูรณ์ (Text completion) จำนวน 3 บทความ
         – จำนวนข้อคำถาม 5 ข้อ/บทความ รวม 15 ข้อ
         – ระดับข้อสอบ (ง่าย 2 ข้อ / กลาง 11 ข้อ / ยาก 2 ข้อ)
    2) เรียงประโยคให้เป็นย่อหน้าที่สมบูรณ์ (Paragraph organization) จำนวน 5 ย่อหน้า
         – จำนวนข้อคำถาม 5 ย่อหน้า รวม 5 ข้อ
         – ระดับข้อสอบ (ง่าย 1 ข้อ / กลาง 3 ข้อ / ยาก 1 ข้อ)

บทสรุป

เป็นยังไงกันบ้างครับสำหรับ Exam Blueprint ของข้อสอบ TCAS A-Level ENGLISH ที่กำลังจะมาถึง น้อง ๆ ที่ได้อ่านบทความนี้ไปพี่ Panya Society หวังว่าน้อง ๆ คงจะได้แนวทางในการเตรียมตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของข้อสอบที่จะเกิดขึ้นในปีนี้กันแล้ว ซึ่งถ้าหากหลังจากนี้ทาง ทปอ. มีการ Update Exam Blueprint วิชาอื่น ๆ พี่ Panya Society ก็จะรีบนำมา Update และวิเคราะห์ให้น้อง ๆ เพิ่มเติมอย่างแน่นอน ขอให้น้อง ๆ ติดตามเพจ Panya Society กันไว้ได้เลย 🙂

และจาก Exam Blueprint ของวิชาภาษาอังกฤษ น้อง ๆ คงเห็นแล้วว่าเนื้อหากว่าครึ่งเป็นเนื้อหาของช่วงระดับชั้น ม.4 ถึง ม.5 ทำให้น้อง ๆ ม.6 ที่กำลังจะเตรียมสอบ TCAS อาจจะมีการหลงลืมเนื้อหาไปบ้างแล้ว รวมไปถึงใครที่ต้องการปูพื้นฐานสำหรับวิชาภาษาอังกฤษในระดับชั้นมัธยมปลายทั้ง 6 เทอม
พี่ Panya Society จึงขอแนะนำคอร์ส “PACK TCAS ENGLISH (73 ชม.)” เพื่อให้น้อง ๆ ทุกคนที่สนใจในการปูพื้นฐานสำหรับติวสอบ A-Level โดย พี่ตวง จะมาช่วยน้อง ๆ ทุกคนทบทวนเนื้อหา รวมถึงฝึกทำโจทย์ต่าง ๆ เพื่อให้น้อง ๆ ทุกคนพร้อมสำหรับการสอบ A-Level ที่จะมาถึง

ส่วนน้อง ๆ คนไหนที่ต้องการเตรียมตัวสอบ TCAS วิชาอื่น ๆ พี่ Panya Society ก็ยังมีคอร์ส TCAS ทั้ง 6 วิชาจาก PANYA SOCIETY” ซึ่งเป็นคอร์ส เตรียมตัวสอบ TCAS ฉบับสมบูรณ์แบบที่ Update ล่าสุด ได้ทั้งทบทวนเนื้อหา ม.4-5-6 ไปพร้อมกับเก็งข้อสอบแนวรูปแบบใหม่ ฝึกทำข้อสอบเพียบ ทบทวนเต็มที่ เก็งข้อสอบแม่นยำ พร้อมทำโจทย์แนวใหม่ ไม่ตกเทรนด์ พร้อมกับโค้ชผู้ช่วยส่วนตัวที่ถาม-ตอบได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ไร้กังวล ติวกับ PANYA SOCIETY ข้อสอบ TCAS จะเปลี่ยนไปแค่ไหน พี่ ๆ จะตามติดพัฒนาคอร์สไปพร้อมกับ Exam Blueprint ใหม่ล่าสุด ไม่พลาดแน่นอน!!!

VDO ตัวอย่างการสอน

ทำความรู้จักพี่ตวง

ตวงรัตน์ แสงโชติ

  • ติวเตอร์ภาษาอังกฤษประสบการณ์สอนกว่า 10 ปี
  • กำลังศึกษาปริญญาโท คณะศิลปศาสตร์ สาขาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ปริญญาตรี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง)
  • พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน สายการบินนานาชาติกว่า 6 ปี

เรียนสนุก ทำโจทย์คล่อง สอบให้ติด โดย PANYA Society

: คอร์สแนะนำ :

SHARE:

อยากเรียนวิศวะ สอบอะไรบ้าง TCAS เตรียมตัวสอบวิศวะอย่างไรดี

PANYA SOCIETY

อยากเรียนวิศวะ สอบอะไรบ้าง TCAS เตรียมตัวสอบวิศวะอย่างไรดี

เส้นทางสู่คณะวิศวะกรรมศาสตร์

สวัสดีครับน้อง ๆ ทุกคน วันนี้พี่ Panya Society กลับมาอีกครั้งพร้อมบทความที่เกี่ยวกับ TCASนะครับ หลังจากที่เราค้นหาตัวตนเจอแล้วว่าอยากเข้าคณะอะไร สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจจะเรียนวิศวะฯ วันนี้พี่ Panya Society จะมาแนะนำวิธีเตรียมตัวสอบวิศวะฯ เพื่อช่วยน้อง ๆ ได้รู้ว่าจะเข้าเรียนวิศวะต้องสอบอะไรบ้าง ทำให้สอบติดวิศวะฯ ได้ง่ายขึ้น ถ้าพร้อมแล้ว เริ่ม!!!

อยากเข้าวิศวะต้องสอบอะไรบ้าง

วิชาที่ต้องสอบ

สำหรับน้อง ๆ ที่ต้องการเรียนวิศวะฯ วิชาหลัก ๆ ที่ต้องใช้สมัครเข้าเรียนวิศวะฯ แทบทุกสาขา ทุกมหาวิทยาลัย มีดังนี้

1. TPAT3
   ● เป็นการสอบที่สำคัญที่สุด สำหรับน้องที่จะเข้าเรียนวิศวะฯ เพราะใช้ยื่นสมัครวิศวะฯ ทุกสาขา และมีเกณฑ์คิดคะแนนสูง

2. TGAT
   ● เป็นการสอบที่สำคัญเช่นกัน นอกจากจะใช้ยื่นสมัครวิศวะฯ แทบทุกสาขา ยังใช้ยื่นสมัครคณะอื่น ๆ ได้อีกด้วย และมีเกณฑ์คิดคะแนนสูงด้วยเช่นกัน

3. A – Level ฟิสิกส์
วิชาฟิสิกส์ ถือเป็นวิชาหลักในการเรียนวิศวะฯ แทบทุกสาขา สำหรับคะแนน A – Level ฟิสิกส์ ก็ต้องใช้ยื่นสมัครวิศวะฯ แทบทุกสาขาเช่นกัน และก็มีเกณฑ์คิดคะแนนสูงด้วย

4. A – Level คณิตศาสตร์ 1
   ● การเรียนวิศวะฯ จำเป็นที่จะต้องมีทักษะการคำนวณที่ดีมาก ทำให้คะแนน A – Level คณิตศาสตร์ 1 ถูกนำมาคิดเป็นเกณฑ์ในการสมัครเรียนวิศวะฯ แทบทุกสาขาเช่นกัน

วิชาที่อาจต้องใช้

สำหรับน้อง ๆ ที่ต้องการเรียนวิศวะฯ ในสาขาที่มีความเฉพาะทางสูง หรือยังตัดสินใจเลือกสาขาที่สนใจไม่ได้ ก็จะมีข้อสอบบางวิชาที่อาจต้องใช้ในการยืนสมัครเข้าเรียนวิศวะฯ ดังนี้

1. A – Level เคมี
   ● สำหรับการเรียนวิศวะฯ บางสาขา จำเป็นที่จะต้องใช้ความรู้ในวิชาเคมีค่อนข้างมาก คะแนน A – Level เคมี จึงถูกนำมาใช้ยื่นสมัครเรียนวิศวะฯ บางสาขา และยังอาจมีเกณฑ์ค่อนข้างสูงอีกด้วย

2. A – Level ภาษาอังกฤษ
   ● สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจจะเข้าเรียนวิศวะฯ ในหลักสูตรนานาชาติ มักจะต้องใช้คะแนน A – Level อังกฤษ ในการยื่นสมัครเรียนด้วยเช่นกัน

วางแผนเตรียมตัวให้สอบติด

แผนการอ่าน TPAT3/TGAT

1. TPAT3
   ●
สอบช่วงเดือนธันวาคม
   ● ควรเริ่มอ่านตั้งแต่เดือน กรกฎาคม เพื่อให้พร้อมสอบมากที่สุด

2. TGAT1 ภาษาอังกฤษ
   ● สอบช่วงเดือนธันวาคม
   ●
ควรเริ่มอ่านตั้งแต่เดือน กรกฎาคม เช่นกัน และเป็นการอ่าน A – Level ภาษาอังกฤษไปด้วย

แผนการอ่าน A – Level

3. A – Level ฟิสิกส์
   ● สอบช่วงเดือนมีนาคม
   ●
ควรเริ่มอ่านช่วงปิดเทอมก่อนขึ้น ม.6 ตั้งแต่ปิดเทอม Summer เพื่อให้พร้อมสอบมากที่สุด
   ● แนะนำให้อ่านบทที่ออกสอบ TPAT3 ก่อน เพื่อจะได้ช่วยให้ทำข้อสอบ TPAT3 ได้ง่ายขึ้น ได้แก่
        – การเคลื่อนที่แนวตรง
        – แรงและกฎการเคลื่อนที่
        – สมดุลกล
        – งานและพลังงาน
        – โมเมนตัมและการชน
        – การเคลื่อนที่แนวโค้ง
        – ไฟฟ้ากระแส
        – แม่เหล็กและไฟฟ้า
        – ความร้อนและแก๊ส
        – ของแข็งและของไหล
   ●
และเนื่องจากฟิสิกส์เป็นวิชาที่มีการคำนวณ จึงควรจบเนื้อหาภายในเดือน ธันวาคมแล้วหลังจากนั้นควรต้องฝึกทำโจทย์ให้ได้มากที่สุด

4. A – Level คณิตศาสตร์ 1
   ● สอบช่วงเดือนมีนาคม
   ●
ควรเริ่มอ่านตั้งแต่ช่วงปิดเทอมก่อนขึ้น ม.6 เช่นกัน เพื่อให้พร้อมสอบมากที่สุด
   ● อ่านบทที่ออกสอบ TPAT3 ก่อน เพื่อจะได้ช่วยให้ทำข้อสอบ TPAT3 ได้ง่ายขึ้น ได้แก่
        – จำนวนจริง
        – ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน
        – ฟังก์ชันตรีโกณมิติ
        – ลำดับและอนุกรม
   ● และคณิตศาสตร์ก็เป็นวิชาที่เน้นการคำนวณ จึงควรจบเนื้อหาภายในเดือน ธันวาคม และควรต้องฝึกทำโจทย์ให้ได้มากที่สุดเช่นกัน

5. A – Level เคมี
   ● สอบช่วงเดือนมีนาคม
   ●
ควรเริ่มอ่านตั้งแต่ช่วงปิดเทอมก่อนขึ้น ม.6 เพื่อให้พร้อมสอบมากที่สุด
   ● วิชาเคมีก็เป็นวิชาที่มีการคำนวณ จึงควรจบเนื้อหาภายในเดือน ธันวาคม และควรต้องฝึกทำโจทย์อีกเช่นกัน

6. A – Level ภาษาอังกฤษ
   ● สอบช่วงเดือนมีนาคม 
   ●
สามารถอ่านเตรียมสอบไปพร้อม ๆ กับ TGAT1 ได้เลย
   ● และหลังสอบ TGAT1 แล้ว ก็ยังสามารถกลับมาทบทวนอีกครั้ง เพื่อให้พร้อมสอบ A – Level มากขึ้นอีก

คอร์สแนะนำสอบติดวิศวะ

หลังจากน้อง ๆ ได้รู้แล้วว่าจะเรียนวิศวะฯ ต้องสอบอะไรบ้าง สำหรับ TCAS นี้ หวังว่าจะช่วยให้น้อง ๆ วางแผนอ่านหนังสือได้ง่ายขึ้น และบอกเลยว่าคณะวิศวกรรมศา่สตร์ ต้องใช้คะแนนสอบค่อนข้างสูง น้อง ๆ ทุกคนควรจะรีบเตรียมตัวตั้งแต่วันนี้ ดังนั้น พี่ PANYA ขอแนะนำคอร์สที่จะช่วยให้น้อง ๆ สอบติดวิศวะฯ ตามแผนที่วางไว้ ดังนี้

1. คอร์ส TPAT3 ความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์    
    ติวเข้มเนื้อหาเตรียมสอบ TPAT3 ติวสอบวิศวะ ที่โรงเรียนไม่เคยสอน กระชับ ตรงประเด็น 

2. คอร์ส PACK TCAS ENGLISH (TGAT Eng + A-Level Eng)
    ติวเข้มภาษาอังกฤษครบที่สุด เพิ่มคะแนน TCAS ภาษาอังกฤษ ทั้ง TGAT และ A-Level

3. คอร์สฟิสิกส์ A-Level TCAS
   ● ติวเข้มพิชิต ฟิสิกส์ A-Level TCAS ที่คุ้มค่าที่สุด อัพเดทล่าสุด กระชับ ตรงประเด็น

4. คอร์สฟิสิกส์ TCAS ติดอาวุธลับ UpScore
    ตะลุยโจทย์ข้อสอบฟิสิกส์ A-Level สรุปสูตรที่ใช้สอบ พร้อมเทคนิคเพิ่มคะแนนให้ได้มากที่สุด

5. คอร์ส Pack คณิตศาสตร์ A-Level (เลขหลัก (พื้นฐาน) + เลขเสริม (เพิ่มเติม))
   
ติวเข้มเนื้อหาคณิตศาสตร์ ม.ปลาย เสกโจทย์ยากให้ง่าย เพิ่มคะแนนสอบ A-Level คณิตศาสตร์ 

6. คอร์สคณิตศาสตร์ TCAS ติดอาวุธลับ UpScore
   ตะลุยโจทย์ข้อสอบคณิตศาสตร์ A-Level สอนเนื้อๆ เน้นๆ พร้อมเทคนิคเพิ่มคะแนนในเวลาจำกัด

7. คอร์สเคมี A-Level TCAS
   
ติวเข้มเคมี A-Level เนื้อหาเน้น ๆ เจาะลึกพร้อมเคล็ดลับการทำโจทย์ที่หาจากที่ไหนไม่ได้

8. คอร์สเคมี TCAS ติดอาวุธลับ UpScore
   
ตะลุยโจทย์คมี A-Level เน้นจุดออกสอบบ่อย จุดผิดบ่อย พร้อมเทคนิคเพิ่มคะแนนในห้องสอบ

คอร์สทั้งหมดที่พี่ PANYA นำมาแนะนำ เป็นคอร์ส เตรียมตัวสอบ TCAS ฉบับสมบูรณ์แบบ ที่ Update ล่าสุด ได้ทั้งทบทวนเนื้อหา ม.4-5-6 ไปพร้อมกับเก็งข้อสอบแนวรูปแบบใหม่ ฝึกทำข้อสอบเพียบ ทบทวนเต็มที่ เก็งข้อสอบแม่นยำ พร้อมทำโจทย์แนวใหม่ ไม่ตกเทรนด์ พร้อมกับโค้ชผู้ช่วยส่วนตัวที่ถาม-ตอบได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ไร้กังวล ติวกับ PANYA SOCIETY ข้อสอบ TCAS จะเปลี่ยนไปแค่ไหน พี่ ๆ จะตามติดพัฒนาคอร์สไปพร้อมกับ Test Blueprint ใหม่ล่าสุด ไม่พลาดแน่นอน!!!

🔥ติวเตอร์คนเก่ง🔥

วิศวะ มีกี่สาขาอะไรบ้าง?

แผนการอ่านคณิต

เรียนสนุก ทำโจทย์คล่อง สอบให้ติด

: คอร์สแนะนำ :

SHARE:

วิศวะ มีกี่สาขาอะไรบ้าง TCAS เลือกเรียนวิศวะอะไรดี

PANYA SOCIETY

วิศวะ มีกี่สาขาอะไรบ้าง TCAS เลือกเรียนวิศวะอะไรดี

วิศวะ มีกี่สาขาอะไรบ้าง

เรียนวิศวกรรมอะไรดี

สวัสดีครับน้อง ๆ ทุกคน วันนี้พี่ Panya Society กลับมาอีกครั้งพร้อมบทความที่เกี่ยวกับ TCAS นะครับ หลังจากที่เราค้นหาตัวตนเจอแล้วว่าอยากเข้าคณะอะไร สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจจะเข้าคณะวิศวกรรมศาสตร์ แต่ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะเข้าเรียนวิศวะอะไรดี วันนี้พี่ Panya Society จะมาแนะนำ 10 สาขาที่น่าสนใจของวิศวกรรม เพื่อช่วยน้อง ๆ ตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าจะเข้าเรียนวิศวะสาขาไหนดี ขอบอกเลยว่า น้องที่กำลังเตรียมสอบเข้าวิศวะทุกคน จำเป็นต้องเลือกสาขาให้ดี เพราะมีผลต่อการเรียนต่อไป และยังมีผลในการเตรียมอ่านหนังสืออีกด้วย เพราะแต่ละสาขาจะมีการเตรียมตัวอ่านหนังสือต่างกัน ถ้าพร้อมแล้ว เริ่ม!!!

วิศวกรรมคอมพิวเตอร์

เป็นสาขาที่เกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และระบบเครือข่ายต่าง ๆ รวมไปถึงระบบข้อมูลอีกด้วย

ลักษณะงาน :

  • ออกแบบระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมดในสถานประกอบการ
  • บำรุงรักษาระบบคอมพิวเตอร์ โปรแกรมระบบทั้งหมดภายในสถานประกอบการ
  • เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ให้ใช้งานได้ตามเป้าหมาย
  • การออกแบบและพัฒนาระบบเครือข่าย

วิชาหลักที่ต้องใช้ :

วิศวกรรมไฟฟ้า

เป็นสาขาที่เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า อุปกร์ณ์ทางไฟฟ้า อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ และวงจรไฟฟ้าต่าง ๆ มาใช้ในการออกแบบและการวิเคราะห์ระบบไฟฟ้า

ลักษณะงาน :

  • ระบบออกแบบระบบไฟฟ้าทั้งหมดในสถานประกอบการ
  • ติดตั้ง และปรับปรุงระบบวงจรไฟฟ้าภายในอาคาร
  • ตรวจสอบคุณภาพ ความปลอดภัย และซ่อมบำรุงระบบไฟฟ้า
  • ออกแบบชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า
  • ออกแบบหรือทดสอบระบบควบคุมในเครื่องใช้ไฟฟ้า

วิชาหลักที่ต้องใช้ :

วิศวกรรมอุตสาหการ

เป็นสาขาที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการ การออกแบบอุตสาหกรรมและกระบวนการผลิตต่าง ๆ รวมไปถึงการควบคุมเครื่องจักรกลในกระบวนการผลิต

ลักษณะงาน :

  • ออกแบบระบบไฟฟ้าทั้งหมดในสถานประกอบการ
  • ออกแบบและการวางผังอาคารโรงงาน วางผังติดตั้งเครื่องจักร ออกแบบอุปกรณ์ขนย้ายวัตถุ
  • ควบคุมระบบคลังสินค้า
  • สำรวจที่ตั้งโรงงาน และแหล่งวัตถุดิบ

วิชาหลักที่ต้องใช้ :

วิศวกรรมโลจิสติกส์

เป็นสาขาที่เกี่ยวกับการออกแบบและควบคุมการขนส่ง การจัดเก็บ เคลื่อนย้ายสินค้า เพื่อลดต้นทุนการผลิต และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

ลักษณะงาน :

  • ออกแบบระบบขนส่ง
  • ติดตั้ง และปรับปรุงระบบวงจรไฟฟ้าภายในอาคาร
  • ตรวจสอบคุณภาพ ความปลอดภัย และซ่อมบำรุงระบบไฟฟ้า
  • ออกแบบชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า
  • ออกแบบหรือทดสอบระบบควบคุมในเครื่องใช้ไฟฟ้า

วิชาหลักที่ต้องใช้ :

วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

เป็นสาขาที่เกี่ยวกับการปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ให้มีสุขภาพที่ดี เพื่อช่วยอนุรักษ์พลังงาน และควบคุมการผลิตของเสีย

ลักษณะงาน :

  • ออกแบบระบบการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม
  • ควบคุมระบบจัดการมลพิษในโรงงาน
  • ตรวจประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากโรงงานต่าง ๆ
  • คิดค้นผลิตภัณฑ์รักษ์โลก
  • เป็นที่ปรึกษาด้านการจัดการมลพิษและการดูแลสิ่งแวดล้อม

วิชาหลักที่ต้องใช้ :

วิศวกรรมวัสดุ

เป็นสาขาที่เกี่ยวกับสมบัติของวัสดุ กรรมวิธีการผลิต และการเลือกใช้วัสดุต่าง ๆ ในกรรมวิธีการผลิตอย่างเหมาะสม

ลักษณะงาน :

  • ออกแบบ และเลือกใช้วัสดุให้เหมาะสมกับงาน
  • สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ มาใช้ในกระบวนการผลิตสินค้า
  • ตรวจสอบคุณภาพของชิ้นส่วนในอุปกรณ์ต่าง ๆ
  • วิเคราะห์วัสดุในชิ้นส่วนอิเลคโทรนิกส์

วิชาหลักที่ต้องใช้ :

วิศวกรรมเครื่องกล

เป็นสาขาที่เกี่ยวกับการออกแบบและการวิเคราะห์เครื่องจักรกลต่าง ๆ และการควบคุมการผลิตเครื่องจักร

ลักษณะงาน :

  • ออกแบบอุปกรณ์เครื่องกลต่าง ๆ 
  • ติดตั้งและบำรุงรักษาเครื่องจักรกล
  • แก้ปัญหาการทำงานผิดปกติของเครื่องจักรกล
  • วิเคราะห์ประสิทธิภาพของอุปกรณ์เครื่องกล

วิชาหลักที่ต้องใช้ :

วิศวกรรมชีวการแพทย์

เป็นสาขาที่เกี่ยวกับการออกแบบ สร้าง หรือพัฒนาซอฟต์แวร์ อุปกรณ์ หรือเครื่องมือทางการแพทย์ ค้นคว้าเทคโนโลยีใหม่ ๆ นำมาใช้กับการแพทย์

ลักษณะงาน :

  • ออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์ เครื่องมือ และกระบวนการทางการแพทย์
  • ติดตั้ง บำรุงรักษา ซ่อมแซมอุปกรณ์ชีวการแพทย์
  • ประเมินความปลอดภัยและประสิทธิภาพของอุปกรณ์ทางการแพทย์

วิชาหลักที่ต้องใช้ :

วิศวกรรมโยธา

เป็นสาขาที่เกี่ยวกับการออกแบบ การก่อสร้าง และการบำรุงรักษาสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ รวมไปถึงการวิเคราะห์ทางธรณี

ลักษณะงาน :

  • วางแผน จัดระบบงาน และควบคุมงานสร้าง
  • พิจารณาโครงการ สำรวจหาสถานที่เหมาะสมสำหรับการก่อสร้าง
  • สำรวจผิวดินและใต้ดินว่าจะมีผลต่อการก่อสร้างอย่างไร
  • เตรียมแบบแปลนการก่อสร้าง ประมาณการวัสดุและงบประมาณการก่อสร้าง

วิชาหลักที่ต้องใช้ :

วิศวกรรมเคมี

เป็นสาขาที่เกี่ยวกับการออกแบบอุปกรณ์ และการควบคุมกระบวนการทำงานทางเคมี กระบวนการผลิตเคมีในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ 

ลักษณะงาน :

  • วิเคราะห์ วางแผน ออกแบบกระบวนการผลิตทางเคมี
  • ควบคุมความปลอดภัยในกระบวนการผลิตทางเคมี
  • ประเมินประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตทางเคมี

วิชาหลักที่ต้องใช้ :

พูดคุยหลังอ่าน

เป็นยังไงกันบ้างครับทุกคน หวังว่าพี่ ๆ Panya Society จะช่วยให้น้อง ๆ ได้ทำความรู้จักวิศวกรรมหลาย ๆ สาขา เพื่อช่วยให้น้อง ๆ ตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าจะเรียนวิศวะอะไรดี แต่พี่ ๆ ต้องขอบอกไว้ก่อนว่าน้อง ๆ จะต้องพิจารณาเลือกเรียนวิศวะจากปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วยครับ 

หลังจากน้อง ๆ เลือกได้แล้วว่าอยากเรียนวิศวะสาขาไหนแล้ว หวังว่าจะช่วยให้น้อง ๆ วางแผนอ่านหนังสือได้ง่ายขึ้น และบอกเลยว่าคณะวิศวกรรมศา่สตร์ ต้องใช้คะแนนสอบค่อนข้างสูง น้อง ๆ ทุกคนควรจะรีบเตรียมตัวตั้งแต่วันนี้ ดังนั้น พี่ PANYA ขอแนะนำคอร์ส “ติวสอบวิศวะ ฟิสิกส์ A-Level + TPAT3 โดยวิศวกรตัวจริง จาก PANYA SOCIETY” ซึ่งเป็นคอร์ส เตรียมตัวสอบ TCAS ฉบับสมบูรณ์แบบ ที่ Update ล่าสุด ได้ทั้งทบทวนเนื้อหา ม.4-5-6 ไปพร้อมกับเก็งข้อสอบแนวรูปแบบใหม่ ฝึกทำข้อสอบเพียบ ทบทวนเต็มที่ เก็งข้อสอบแม่นยำ พร้อมทำโจทย์แนวใหม่ ไม่ตกเทรนด์ พร้อมกับโค้ชผู้ช่วยส่วนตัวที่ถาม-ตอบได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ไร้กังวล ติวกับ PANYA SOCIETY ข้อสอบ TCAS จะเปลี่ยนไปแค่ไหน พี่ ๆ จะตามติดพัฒนาคอร์สไปพร้อมกับ Test Blueprint ใหม่ล่าสุด ไม่พลาดแน่นอน!!!

VDO ตัวอย่างการสอน

ฟิสิกส์ TPAT3

19 Videos

ฟิสิกส์ A-Level

30 Videos

🔥ติวเตอร์คนเก่ง🔥

ถนัดวิชาไหน?

อยากเรียนวิศวะ สอบอะไรบ้าง?

เรียนสนุก ทำโจทย์คล่อง สอบให้ติด

: คอร์สแนะนำ :

SHARE: