TCAS66 MATH EXAM BLUEPRINT ข้อสอบ A-Level คณิตศาสตร์ หน้าตาจะเป็นยังไง มาลองดูกัน!

PANYA SOCIETY

มาดูกัน! TCAS66 Math A-Level Exam Blueprint

TCAS66 EXAM BLUEPRINT

จากบทความที่ผ่านมาเรื่อง Update ล่าสุดจาก ทปอ. เกี่ยวกับ TCAS66 น้อง ๆ ทุกคนคงเห็นแล้วว่ารูปแบบการสอบ TCAS66 จะมีกำหนดการ และการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด จนมาถึงวันที่ 28 เมษายน 2565 ก็ได้มีความเคลื่อนไหวจากทางที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) อีกครั้ง ผ่านทางเว็บไซต์ Mytcas.com ซึ่งเป็นการ Update เกี่ยวกับ Exam Blueprint ของข้อสอบ TGAT TPAT และ A-Level ซึ่งพี่ Panya Society จะมาสรุป วิเคราะห์ และเปรียบเทียบกับปีก่อน ๆ ให้น้องๆฟังกันครับ จะเป็นยังไงลองมาดูกันเลย…

โดยวันนี้พี่ Panya Society ขอนำเสนอวิชาคณิตศาสตร์ครับ งั้นเรามาดูกันอย่างละเอียดดีกว่าว่าน้อง ๆ #Dek66 ทุกคน จะต้องเจอกับเนื้อหาอะไรบ้าง แล้วมีโครงสร้างข้อสอบเป็นอย่างไร

Math 1 & Math 2

สำหรับข้อสอบคณิตศาสตร์ปีนี้ น้องๆทุกคนจะพบเจอเนื้อหาของวิชาคณิตศาสตร์ได้ในข้อสอบ 2 ข้อสอบ ได้แก่ A-Level รหัส 61 ตัวย่อ Math1 วิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 และ รหัส 62 ตัวย่อ Math2 วิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ 2 ซึ่ง ณ ปัจจุบัน (28 เมษายน 2565) ทาง ทปอ. ได้ปล่อย Exam Blueprint มาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

คราวนี้เราลองมาดูกันดีกว่าว่า Exam Blueprint ของ A-Level วิชาคณิตศาสตร์นั้นน้อง ๆ จะต้องเจอกับเนื้อหาอะไรบ้าง

A-Level วิชาคณิตศาสตร์ จำนวนข้อทั้งหมด 30 ข้อ* คะแนนเต็ม 100 คะแนน ระยะเวลาสอบ 90 นาที (*ปรนัย 5 ตัวเลือก 25 ข้อ 75 คะแนน / อัตนัย(ระบายคำตอบที่เป็นค่า/ตัวเลข) 5 ข้อ 25 คะแนน)

  • สาระจำนวนและพีชคณิต (15 – 17 ข้อ)
    • เซต
    • ตรรกศาสตร์
    • จำนวนจริงและพหุนาม
    • ฟังก์ชัน
    • ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและฟังก์ชันลอการิทึม
    • ฟังก์ชันตรีโกณมิติ
    • จํานวนเชิงซ้อน
    • เมทริกซ์
    • ลําดับและอนุกรม
  • สาระการวัดและเรขาคณิต (3 – 5 ข้อ)
    • เรขาคณิตวิเคราะห์
    • เวกเตอร์ในสามมิติ
  • สาระสถิติและความน่าจะเป็น (6 – 8 ข้อ)
    • สถิติ
    • การแจกแจงความน่าจะเป็นเบื้องต้น
    • หลักการนับเบื้องต้น
    • ความน่าจะเป็น
  • สาระแคลคูลัส (2 – 4 ข้อ)
    • แคลคูลัสเบื้องต้น

คราวนี้เราลองจัดกลุ่มเนื้อหาแต่ละระดับชั้น และเปรียบเทียบกับข้อสอบ PAT1 ปี 2565 และ คณิตศาสตร์ วิชาสามัญปี 2565 กันดูครับ

ชื่อบทระดับชั้นPAT1 ปี 2565สามัญ ปี 2565A – Level MATH1 ปี 2566
เซตม.4 เทอม 125 ข้อ16 ข้อ15 – 17 ข้อ
ตรรกศาสตร์
จำนวนจริง
ความสัมพันธ์และฟังก์ชันม.4 เทอม 2
ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและฟังก์ชันลอการิทึม
ฟังก์ชันตรีโกณมิติม.5 เทอม 1
เมทริกซ์
จำนวนเชิงซ้อนม.5 เทอม 2
ลำดับและอนุกรมม.6 เทอม 1
เรขาคณิตวิเคราะห์ และภาคตัดกรวยม.4 เทอม 26 ข้อ4 ข้อ3 – 5 ข้อ
เวกเตอร์ม.5 เทอม 1
หลักการนับเบื้องต้นม.5 เทอม 210 ข้อ7 ข้อ6 – 8 ข้อ
ความน่าจะเป็น
ความหมายของสถิติศาสตร์และข้อมูล (สถิติ)ม.6 เทอม 2
การวิเคราะห์และนำเสนอขอมูลเชิงคุณภาพ (สถิติ)
การวิเคราะห์และนำเสนอขอมูลเชิงปริมาณ (สถิติ)
ตัวแปรสุ่มและการแจกแจงความน่าจะเป็น
แคลคูลัสเบื้องต้นม.6 เทอม 14 ข้อ3 ข้อ2 – 4 ข้อ

จากตารางข้างบนน้องๆคงเห็นแล้วว่าขอบเขตเนื้อหาและจำนวนข้อสอบเป็นอย่างไร คราวนี้พี่ Panya Society เลยจะขอลองยกตัวอย่างข้อสอบ คณิตศาสตร์ PAT1 ปี 65 ที่พี่นอตแห่ง Panya Society ได้เฉลยไว้มาให้น้อง ๆ ได้ทดลองดูและทดลองทำ เพื่อเป็นแนวทางกันดูครับ

ตัวอย่างข้อสอบ คณิตศาสตร์ PAT1 ปี 65

บทสรุป

เป็นยังไงกันบ้างครับสำหรับ Exam Blueprint ของข้อสอบ TCAS66 A-Level Math ที่กำลังจะมาถึง น้อง ๆ #Dek66 ที่ได้อ่านบทความนี้ไปพี่ Panya Society หวังว่าน้องๆ คงจะได้แนวทางในการเตรียมตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของข้อสอบที่จะเกิดขึ้นในปีนี้กันแล้ว ซึ่งถ้าหากหลังจากนี้ทาง ทปอ. มีการ Update Exam Blueprint วิชาอื่น ๆ พี่ Panya Society ก็จะรีบนำมา Update และวิเคราะห์ให้น้อง ๆ เพิ่มเติมอย่างแน่นอน ขอให้น้อง ๆ ติดตามเพจ Panya Society กันไว้ได้เลย 🙂

และจาก Exam Blueprint ของวิชาคณิตศาสตร์ น้อง ๆ คงเห็นแล้วว่าเนื้อหากว่าครึ่งเป็นเนื้อหาของช่วงระดับชั้น ม.4 ถึง ม.5 ทำให้น้องๆ ม.6 #Dek66 ที่กำลังจะเตรียมสอบ TCAS66 อาจจะมีการหลงลืมเนื้อหาไปบ้างแล้ว รวมไปถึงใครที่ต้องการปูพื้นฐานสำหรับวิชาคณิตศาสตร์ในระดับชั้นมัธยมปลายทั้ง 6 เทอม พี่ Panya Society จึงขอแนะนำคอร์ส Pack คณิตศาสตร์ A – Level (พื้นฐาน+เพิ่มเติม 293 ชม.) เพื่อให้น้องๆทุกคนที่สนใจในการปูพื้นฐานสำหรับติวสอบ A-Level โดยพี่ปิง พี่แชร์ และ พี่นอต จะมาช่วยน้อง ๆ ทุกคนทบทวนเนื้อหา รวมถึงฝึกทำโจทย์ต่าง ๆ เพื่อให้น้อง ๆ ทุกคนพร้อมสำหรับการสอบ A-Level ที่จะมาถึง

ส่วนน้อง ๆ คนไหนที่ต้องการเตรียมตัวสอบ TCAS66 วิชาอื่นๆ พี่ Panya Society ก็ยังมีคอร์ส TCAS66 ทั้ง 6 วิชาจาก PANYA SOCIETY” ซึ่งเป็นคอร์ส เตรียมตัวสอบ TCAS66 ฉบับสมบูรณ์แบบ ที่ Update ล่าสุด ได้ทั้งทบทวนเนื้อหา ม.4-5-6 ไปพร้อมกับเก็งข้อสอบแนวรูปแบบใหม่ ฝึกทำข้อสอบเพียบ ทบทวนเต็มที่ เก็งข้อสอบแม่นยำ พร้อมทำโจทย์แนวใหม่ ไม่ตกเทรนด์ พร้อมกับโค้ชผู้ช่วยส่วนตัวที่ถาม-ตอบได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ไร้กังวล ติวกับ PANYA SOCIETY ข้อสอบ TCAS66 จะเปลี่ยนไปแค่ไหน พี่ ๆ จะตามติดพัฒนาคอร์สไปพร้อมกับ Exam Blueprint ใหม่ล่าสุด ไม่พลาดแน่นอน!!!

VDO ตัวอย่างการสอน

TCAS สายวิทย์

18 Videos

🔥ติวเตอร์คนเก่ง🔥

เรียนสนุก ทำโจทย์คล่อง สอบให้ติด โดย PANYA Society

: คอร์สแนะนำ :

SHARE:

TCAS66 EXAM BLUEPRINT ข้อสอบปี 66 หน้าตาจะเป็นยังไง มาลองดูกัน

PANYA SOCIETY

Update Blueprint ข้อสอบ TCAS66 มาดูกัน!

Update Blueprint ข้อสอบ TCAS66

TCAS66 EXAM BLUEPRINT

จากบทความที่ผ่านมาเรื่อง “Update ล่าสุดจาก ทปอ. เรื่อง TCAS66” น้อง ๆ ทุกคนคงเห็นแล้วว่ารูปแบบการสอบ TCAS66 จะมีกำหนดการ และการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด จนมาถึงวันที่ 28 เมษายน 2565 ก็ได้มีความเคลื่อนไหวจากทางที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) อีกครั้ง ผ่านทางเว็บไซต์ Mytcas.com ซึ่งเป็นการ Update เกี่ยวกับ Exam Blueprint ของข้อสอบ TGAT TPAT และ A-Level ซึ่งวันนี้พี่ Panya Society จะมาสรุป วิเคราะห์ และเปรียบเทียบกับปีก่อน ๆ ให้น้อง ๆ ฟังกันครับ จะเป็นยังไงลองมาดูกันเลย…

เรามาดูกันอย่างละเอียดดีกว่าว่าน้อง ๆ #Dek66 ทุกคน จะต้องเจอกับวิชาอะไรบ้าง แล้วแต่ละวิชามีโครงสร้างเป็นอย่างไร

A-Level คืออะไร?

A-Level (Applied Knowledge Level)

  • ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงมาจากวิชาสามัญเดิม เป็นการวัดความรู้เชิงประยุกต์ เน้นการนําความรู้เชิงวิชาการที่เรียนในหลักสูตรไปประยุกต์ใช้งานได้
  • ไม่สอบเนื้อหาความรู้เชิงวิชาการที่เกินหลักสูตร
  • มีทั้งหมด 15 วิชา แต่เลือกสอบได้สูงสุดไม่เกิน 10 วิชา
  • วิชา Math1 และ Math2 สามารถสมัครสอบได้ทั้ง 2 วิชา เนื่องจากสอบคนละเวลา
  • ยุบวิชาภาษาอาหรับ เนื่องจากมีคนสอบน้อย และคณะที่เปิดรับมีน้อย โดยจะมีการสอบโดยใช้ข้อสอบของแต่ละมหาวิทยาลัยเอง
  • ให้เวลาสอบวิชาละ 1 ชั่วโมง 30 นาที คะแนนเต็มวิชาละ 100 คะแนน
  • รูปแบบการสอบยังเป็น PBT (สอบบนกระดาษ) อยู่เช่นเดิม โดยมีค่าสมัครสอบวิชาละ 100 บาท เปิดรับสมัครช่วงวันที่ 1-10 ก.พ. 66 สอบวันที่ 18-20 มี.ค. 66 ประกาศผลวันที่ 17 เม.ย. 66

A-Level ≠ วิชาสามัญ น้อง ๆ หลายคนอาจจะมองว่า ข้อสอบ A-Level จะเหมือนกันกับข้อสอบวิชาสามัญของปีที่ผ่าน ๆ มาหรือเปล่า ซึ่งพี่ Panay Society ได้วิเคราะห์และมองเห็นถึงข้อแตกต่างออกมาได้ดังนี้

  1. ข้อสอบ A-Level ย่อมาจาก Applied Knowledge Level ซึ่งก็หมายความว่าข้อสอบจะมีความ “ประยุกต์” มากขึ้นกว่าเดิม ไม่ใช่อาศัยการท่องจำแบบที่ผ่านมา ทำให้น้อง ๆ ต้องมีความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาอย่างแท้จริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้
  2. เมื่อมีการประยุกต์ ก็ทำให้โจทย์น่าจะมีความยาวมากขึ้นกว่าเดิม มีการแต่งเรื่องราวให้เข้ากับชีวิตประจำวันมากขึ้น มีการยกตัวอย่างการทดลองต่าง ๆ มาประกอบ ทำให้แต่ละข้ออาจจะต้องใช้เวลามากขึ้น
  3. แต่น้อง ๆ ไม่ต้องกังวลไปเนื่องจาก ทปอ. ได้ยืนยันแล้วว่า ขอบเขตเนื้อหาของข้อสอบจะอยู่ในบทเรียนอย่างแน่นอน

ตารางกำหนดการสอบ A-Level

ฟิสิกส์

สำหรับข้อสอบฟิสิกส์ปีนี้ น้อง ๆ ทุกคนจะพบเจอเนื้อหาของวิชาฟิสิกส์ได้ในข้อสอบ 2 ข้อสอบ ได้แก่ TPAT3 และ A-Level รหัส 64 ตัวย่อ Phy วิชาฟิสิกส์ ซึ่ง ณ ปัจจุบัน (28 เมษายน 2565) ทาง ทปอ. ได้ปล่อย Exam Blueprint มาแค่ของ A-Level วิชาฟิสิกส์ เท่านั้น ซึ่งถ้าหากมีการ Update ในส่วนของ TPAT3 เพิ่มเติมพี่ Panya Society จะรีบนำมาแจ้งให้น้อง ๆ ทราบโดยเร็วครับ

คราวนี้เราลองมาดูกันดีกว่าว่า Exam Blueprint ของ A-Level วิชาฟิสิกส์นั้นน้อง ๆ จะต้องเจอกับเนื้อหาอะไรบ้าง

A-Level วิชาฟิสิกส์ จำนวนข้อทั้งหมด 30 ข้อ* คะแนนเต็ม 100 คะแนนระยะเวลาสอบ 90 นาที (*ปรนัย 5 ตัวเลือก 25 ข้อ 75 คะแนน / อัตนัย(ระบายคำตอบที่เป็นค่า/ตัวเลข) 5 ข้อ 25 คะแนน)

  • กลศาสตร์ (8-10 ข้อ)
    • ธรรมชาติและพัฒนาการทางฟิสิกส์
    • การเคลื่อนที่แนวตรง
    • แรงและกฎการเคลื่อนที่
    • สมดุลกลของวัตถุ
    • งานและกฎการอนุรักษ์พลังงานกล
    • โมเมนตัมและการชน
    • การเคลื่อนที่แนวโค้ง
    • การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกส์อย่างง่าย
  • คลื่นกล และแสง (5-7 ข้อ)
    • คลื่น
    • เสียง
    • แสง
  • ไฟฟ้า แม่เหล็กและคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (6-8 ข้อ)
    • ไฟฟ้าสถิต
    • ไฟฟ้ากระแส
    • แม่เหล็กและไฟฟ้า
    • คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
  • อุณหพลศาสตร์และสมบัติเชิงกลของสาร (3-5 ข้อ)
    • ความร้อนและแก๊ส
    • ของแข็งและของไหล
  • ฟิสิกส์แผนใหม่ (3-5 ข้อ)
    • ฟิสิกส์อะตอม
    • ฟิสิกส์นิวเคลียร์และฟิสิกส์อนุภาค

คราวนี้เราลองจัดกลุ่มเนื้อหาแต่ละระดับชั้น และเปรียบเทียบกับข้อสอบ ฟิสิกส์ วิชาสามัญปี 2565 กันดูครับ

ระดับชั้นชื่อบทปี 2565ปี 2566
ม.4 เทอม 1ธรรมชาติและพัฒนาการทางฟิสิกส์9 ข้อ8 – 10 ข้อ
การเคลื่อนที่แนวตรง
แรงและกฎการเคลื่อนที่
ม.4 เทอม 2สมดุลกล
งานและพลังงาน
โมเมนตัมและการชน
การเคลื่อนที่แนวโค้ง
ม.5 เทอม 1การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย
คลื่น7 ข้อ5 – 7 ข้อ
แสงเชิงคลื่น
แสงเชิงรังสี
ม.5 เทอม 2เสียง
ไฟฟ้าสถิต7 ข้อ6 – 8 ข้อ
ไฟฟ้ากระแส
ม.6 เทอม 1แม่เหล็กและไฟฟ้า
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
ความร้อนและแก๊ส4 ข้อ3 – 5 ข้อ
ของแข็งและของไหล
ม.6 เทอม 2ฟิสิกส์อะตอม3 ข้อ3 – 5 ข้อ
ฟิสิกส์นิวเคลียร์และฟิสิกส์อนุภาค

จากตารางข้างบนน้อง ๆ คงเห็นแล้วว่าขอบเขตเนื้อหาและจำนวนข้อมีความคล้ายกับวิชาสามัญปี 65 เป็นอย่างมาก เรียกได้ว่าแทบจะเหมือนกันเลย พี่ Panya Society เลยลองยกตัวอย่างข้อสอบ ฟิสิกส์ วิชาสามัญ ปี 65 มาให้น้อง ๆได้ทดลองทำ เพื่อเป็นแนวทางกันดูครับ

ตัวอย่างข้อสอบ ฟิสิกส์ วิชาสามัญ ปี 65

1. กระบอกสูบอันหนึ่งเคลื่อนที่ได้อิสระ ภายในบรรจุแก๊สอุดมคติจำนวน 2 โมล ตอนเริ่มต้นมีอุณหภูมิ 67 องศาเซลเซียส และมีความดัน 10 กิโลพาสคัล ถ้าลดอุณหภูมิลงอย่างช้า ๆ จนมีอุณหภูมิเป็น 48 องศาเซลเซียส โดยความดันไม่เปลี่ยนแปลง ปริมาตรของกระบอกสูบจะเพิ่มขึ้นหรือลดลง และงานที่เกิดขึ้นเมื่อลูกสูบเคลื่อนที่เป็นเท่าใด (ให้ R คือ ค่าคงที่ของแก๊ส)

  1. ปริมาตรลดลง และงานเท่ากับ 38R 10-3
  2. ปริมาตรลดลง และงานเท่ากับ 38R
  3. ปริมาตรเพิ่มขึ้น และงานเท่ากับ 38R
  4. ปริมาตรลดลง และงานเท่ากับ 38R 105
  5. ปริมาตรเพิ่มขึ้น และงานเท่ากับ 38R 105

เฉลย

2. ออกแรงกระทำต่อวัตถุ ในเวลา 10 วินาที โดยกราฟของแรงกับการกระจัดแสดงดังรูป

ถ้าทิศของแรงและการกระจัดของวัตถุขนานกันตลอดการเคลื่อนที่
จงหากำลังเฉลี่ย ในช่วงเวลา 10 วินาทีนี้ ในหน่วยวัตต์
(ตอบเป็นทศนิยม 2 ตำแหน่ง)

เฉลย

3. ขดลวดมีพื้นที่ 0.5 ตารางเมตร วางตั้งฉากกับสนามแม่เหล็กค่าหนึ่ง ทำให้เกิดฟลักซ์แม่เหล็ก 0.4 เวเบอร์ จงหาขนาดของสนามแม่เหล็ก และถ้าเปลี่ยนเป็นวางขดลวดขนานกับสนามแม่เหล็กแทน ฟลักซ์แม่เหล็กจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงเท่าใด

  1. 0.2 เทสลา และฟลักซ์แม่เหล็กลดลง 0.2 เวเบอร์
  2. 0.8 เทสลา และฟลักซ์แม่เหล็กเพิ่มขึ้น 0.4 เวเบอร์
  3. 0.8 เทสลา และฟลักซ์แม่เหล็กลดลง 0.4 เวเบอร์
  4. 1.25 เทสลา และฟลักซ์แม่เหล็กเพิ่มขึ้น 0.2 เวเบอร์
  5. 1.25 เทสลา และฟลักซ์แม่เหล็กลดลง 0.4 เวเบอร์

เฉลย

4. แก๊สอุดมคติจำนวนหนึ่ง บรรจุอยู่ในภาชนะปิดปริมาตร 0.5 ลูกบาศก์เมตร โดยกราฟระหว่างความดันและอุณหภูมิของแก๊ส เป็นดังรูป

แก๊สนี้มีจำนวนกี่โมล (ตอบเป็น ทศนิยม 2 ตำแหน่ง)

เฉลย

5. เสียงจุดพลุมีความถี่ 1000 Hz ถ้าทดลองจุดที่ระยะ 15 m จะวัดระดับความเข้มเสียงได้ 140 dB ถ้าจะจุดพลุนี้ให้ปลอดภัยต่อชาวบ้าน ต้องจุดพลุห่างจากหมูบ้านกี่เมตร โดยขีดเริ่มของความเจ็บปวดของหู เป็นดังกราฟ

  1. 47 เมตร
  2. 80 เมตร
  3. 100 เมตร
  4. 120 เมตร
  5. 150 เมตร

เฉลย

    นอกจากนี้ PANYA SOCIETY ยังได้รับเลือกจากกองบรรณาธิการ mybest ให้เป็น 1 ใน 10 สถาบัน “เรียนฟิสิกส์” ที่ไหนดี? ปี 2022 สามารถคลิกเพื่ออ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ ที่นี่

เคมี

สำหรับข้อสอบ A-Level เคมีปีนี้ มีรหัสคือ 65 ตัวย่อ Chem วิชาเคมี และ Exam Blueprint ของ A-Level วิชาเคมีนั้นน้อง ๆ จะต้องเจอกับเนื้อหาอะไรบ้างมาลองดูกันครับ

A-Level วิชาเคมี จำนวนข้อทั้งหมด 35 ข้อ* คะแนนเต็ม 100 คะแนนระยะเวลาสอบ 90 นาที (*ปรนัย 5 ตัวเลือก 30 ข้อ 75 คะแนน / อัตนัย(ระบายคำตอบที่เป็นค่า/ตัวเลข) 5 ข้อ 25 คะแนน)

  • สมบัติของธาตุและสารประกอบ (15 -17 ข้อ)
    • อะตอมและสมบัติของธาตุ
    • พันธะเคมี
    • แก๊ส
    • เคมีอินทรีย์
    • พอลิเมอร์
  • สมการเคมีและการเปลี่ยนแปลงทางเคมี (15 – 17 ข้อ)
    • ปริมาณสัมพันธ์
    • อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
    • สมดุลเคมี
    • กรด–เบส
    • เคมีไฟฟ้า
  • ทักษะในปฏิบัติการเคมีและการคำนวณปริมาณของสาร (2 – 4 ข้อ)
    • ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี
    • โมล
    • สารละลาย

คราวนี้เราลองจัดกลุ่มเนื้อหาแต่ละระดับชั้น และเปรียบเทียบกับข้อสอบ เคมี วิชาสามัญปี 2565 กันดูครับ

ระดับชั้นชื่อบทปี 2565ปี 2566
ม.4 เทอม 1ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี

4 – 6 ข้อ

2 – 4 ข้อ

อะตอมและสมบัติของตารางธาตุ
พันธะเคมี
ม.4 เทอม 2โมลและสูตรเคมี
สารละลาย
ปริมาณสารสัมพันธ์

20 – 22 ข้อ

15 – 17 ข้อ

ม.5 เทอม 1แก๊สและสมบัติของแก๊ส
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
สมดุลเคมี
ม.5 เทอม 2กรด – เบส
เคมีไฟฟ้า
ม.6 เทอม 1เคมีอินทรีย์

18 – 20 ข้อ

15 – 17 ข้อ

พอลิเมอร์
ม.6 เทอม 2

จากตารางข้างต้นน้อง ๆ คงจะเห็นแล้วว่าจำนวนข้อสอบลดลงจากปีที่แล้ว จาก 45 ข้อ ลดเหลือ 35 ข้อในปีนี้ ทำให้สัดส่วนเนื้อหาในช่วงต้นของวิชาเคมี (ม.4 เทอม 1-2) ถูกปรับลดลง และมีการกระจายข้อสอบไปยังเนื้อหาส่วนที่ยากเพิ่มมากขึ้น (สมการเคมี, สมบัติของธาตุและสารประกอบ) ยิ่งเป็นการยืนยันว่าข้อสอบ A-Level เคมีปีนี้โจทย์น่าจะมีความซับซ้อน และต้องใช้เวลาในการทำต่อข้อเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นน้อง ๆ ทุกคนควรจะต้องเตรียมพร้อมรับมือให้ดีนะครับ…

บทสรุป

เป็นยังไงกันบ้างครับสำหรับ Exam Blueprint ของข้อสอบ TCAS66 ที่กำลังจะมาถึง น้อง ๆ #Dek66 ที่ได้อ่านบทความนี้ไปพี่ Panya Society หวังว่าน้อง ๆ คงจะได้แนวทางในการเตรียมตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของข้อสอบที่จะเกิดขึ้นในปีนี้กันแล้ว ซึ่งถ้าหากหลังจากนี้ทาง ทปอ. มีการ Update Exam Blueprint วิชาอื่น ๆ พี่ Panya Society ก็จะรีบนำมา Update และวิเคราะห์ให้น้อง ๆ เพิ่มเติมอย่างแน่นอน ขอให้น้อง ๆ ติดตามเพจ Panya Society กันไว้ได้เลย 🙂

และสำหรับน้อง ๆ คนไหนที่ต้องการเตรียมตัวสอบ TCAS66 พี่ PANYA SOCIETY ขอแนะนำคอร์ส “TCAS66 ทั้ง 6 วิชาจาก PANYA SOCIETY” ซึ่งเป็นคอร์ส เตรียมตัวสอบ TCAS66 ฉบับสมบูรณ์แบบ ที่ Update ล่าสุด ได้ทั้งทบทวนเนื้อหา ม.4-5-6 ไปพร้อมกับเก็งข้อสอบแนวรูปแบบใหม่ ฝึกทำข้อสอบเพียบ ทบทวนเต็มที่ เก็งข้อสอบแม่นยำ พร้อมทำโจทย์แนวใหม่ ไม่ตกเทรนด์ พร้อมกับโค้ชผู้ช่วยส่วนตัวที่ถาม-ตอบได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ไร้กังวล ติวกับ PANYA SOCIETY ข้อสอบ TCAS66 จะเปลี่ยนไปแค่ไหน พี่ ๆ จะตามติดพัฒนาคอร์สไปพร้อมกับ Exam Blueprint ใหม่ล่าสุด ไม่พลาดแน่นอน!!!

VDO ตัวอย่างการสอน

TCAS สายวิทย์

18 Videos

🔥ติวเตอร์คนเก่ง🔥

เรียนสนุก ทำโจทย์คล่อง สอบให้ติด โดย PANYA Society

: คอร์สแนะนำ :

SHARE:

มาแล้ว!! Update ล่าสุดจาก ทปอ. TCAS66 TGAT TPAT A-Level มีอะไรเพิ่มเติมบ้างลองมาดูกัน…

PANYA SOCIETY

มาแล้ว!! Update ล่าสุดจาก ทปอ. TCAS66
TGAT TPAT A-Level มีอะไรเพิ่มเติมบ้างลองมาดูกัน...

Update ล่าสุดจาก ทปอ. TCAS66

สรุปการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของ TCAS66

จากบทความที่ผ่านมาเรื่อง “การเตรียมสอบ TCAS66” น้อง ๆ ทุกคนคงเห็นแล้วว่ารูปแบบการสอบ TCAS66 จะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด จนมาถึงวันที่ 17 เมษายน 2565 ก็ได้มีความเคลื่อนไหวจากทางที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ผ่านทางเพจ Mytcas.com ซึ่งจะมีอะไรอัพเดทเพิ่มเติมขึ้นมานั้น วันนี้พี่ Panya Society จะมาสรุปให้น้อง ๆ ฟังกันครับ

สรุปครบจบเรื่อง “การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ TCAS66”

  • GAT เปลี่ยนชื่อเป็น TGAT
  • PAT เปลี่ยนชื่อเป็น TPAT
  • ข้อสอบมีให้ทำแค่ภาษาไทย
  • กสพท. ย้ายมาใช้ชื่อ TPAT1
  • TPAT จะเป็นการทดสอบความรู้ความถนัดทางวิชาชีพ
  • TGAT และ TPAT มีให้เลือกสอบทั้ง CBT (สอบบนคอมพิวเตอร์) และ PBT (สอบบนกระดาษ) ยกเว้น TPAT1 จะมีแค่ PBT (สอบบนกระดาษ)
  • TPAT4 สถาปัตย์จะไม่มี Part วาดรูป
  • ภาษาอังกฤษของ TGAT จะคล้ายกับ TOEIC ส่วน ภาษาอังกฤษของ A-Level จะมีลักษณะเน้น Academic English
  • วิชาสามัญ เปลี่ยนเป็น A-Level ซึ่งเป็นการทดสอบความรู้ในบทเรียน
  • A-Level จะยังคงสอบแบบ PBT (สอบบนกระดาษ)
  • PAT7 ภาษาต่างประเทศอื่น ๆ จะย้ายไปอยู่ในการสอบ A-Level
  • ยุบวิชาภาษาอาหรับ
  • TGAT TPAT สอบ 10-12 และ 17 ธ.ค. 65
  • A-Level สอบ 18-20 มี.ค. 66

คราวนี้เรามาดูกันอย่างละเอียดดีกว่าว่าน้อง ๆ #Dek66 ทุกคน จะต้องสอบอะไรบ้าง แต่ละการสอบมีหัวข้อย่อยและรายละเอียดอะไรบ้างกันครับ

TGAT

TGAT (Thailand General Aptitude Test)

  • คือ GAT เดิมเปลี่ยนชื่อเป็น TGAT เป็นการสอบวัดความถนัดทั่วไป
  • Part ภาษาอังกฤษจะมีลักษณะคล้าย TOEIC หรือก็คือเน้นการใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน
  • ข้อสอบแบ่งเป็น 3 ส่วน มีจำนวนข้อสอบ 200 ข้อ ให้เวลาสอบทั้งหมด 3 ชั่วโมง *น้อง ๆ ต้องจัดสรรเวลาให้ดี
  • คะแนนส่วนละ 100 คะแนน จากนั้นนำทั้ง 3 ส่วนมาหาค่าเฉลี่ยให้เป็นคะแนนเต็ม 100 คะแนน
  • สามารถเลือกสอบด้วยกระดาษ (PBT) โดยมีโรงเรียนต่าง ๆ เป็นสนามสอบ หรือ ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ (CBT) โดยมีมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เป็นสนามสอบ ได้ตามความสมัครใจ
  • ค่าสมัครสอบทั้ง 2 แบบเท่ากันคือ 140 บาท แต่ CBT จะประกาศคะแนนสอบ 3 วันหลังการสอบวิชาสุดท้ายเสร็จ
  • สมัครสอบได้ตั้งแต่วันที่ 1-10 พ.ย. 65 สอบวันที่ 10 ธ.ค. 65 เวลา 09.00 – 12.00 ประกาศผลวันที่ 15 ธ.ค. 65 สำหรับผู้ที่สอบด้วยระบบ CBT และ 7 ม.ค. 66 สำหรับผู้ที่สอบด้วยระบบ PBT

ด้านล่างคือตาราง Exam Blueprint ของ TGAT ที่ทางทปอ.ได้ประกาศออกมาก่อนวิชาอื่น ๆ

TPAT

TPAT (Thailand Professional Aptitude Test)

  • คือ PAT เดิมเปลี่ยนชื่อเป็น TPAT เป็นการสอบวัดความถนัดวิชาชีพ เน้นการวัดความสามารถเชิงทักษะในสายอาชีพ
  • มีทั้งหมด 5 วิชาได้แก่
    • TPAT1 วิชาเฉพาะ กสพท.
    • TPAT2 ความถนัดศิลปกรรมศาสตร์
    • TPAT3 ความถนัดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์
    • TPAT4 ความถนัดสถาปัตยกรรมศาสตร์ (ตัดส่วนของการวาดรูปออกไป)
    • TPAT5 ความถนัดครุศาสตร์ และศึกษาศาสตร์
  • ให้เวลาสอบวิชาละ 3 ชั่วโมง ยกเว้น TPAT1 กสพท. ให้เวลา 3 ชั่วโมง 15 นาที และทุกวิชาคะแนนเต็ม 100 คะแนน
  • TPAT2 มี 3 ส่วน ประกาศคะแนนแยกส่วนกัน สามารถเลือกทำได้ และนําไปใช้แยกส่วนได้ ขึ้นอยู่กับคณะ/มหาวิทยาลัยที่จะนำคะแนนไปยื่น
  • สามารถเลือกสอบด้วยกระดาษ (PBT) โดยมีโรงเรียนต่าง ๆ เป็นสนามสอบ หรือ ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ (CBT) โดยมีมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เป็นสนามสอบ ได้ตามความสมัครใจ ยกเว้น TPAT1 (กสพท.) จะยังคงเป็น PBT อยู่เช่นเดิม
  • ค่าสมัครสอบทั้ง 2 แบบเท่ากันคือ 140 บาท แต่ CBT จะประกาศคะแนนสอบ 3 วันหลังการสอบวิชาสุดท้ายเสร็จ
  • สมัครสอบได้ตั้งแต่วันที่ 1-10 พ.ย. 65 สอบวันที่ 10-12 ธ.ค. 65 ประกาศผลวันที่ 15 ธ.ค. 65 สำหรับผู้ที่สอบด้วยระบบ CBT และ 7 ม.ค. 66 สำหรับผู้ที่สอบด้วยระบบ PBT ยกเว้น TPAT1 กสพท. สอบวันที่ 17 ธ.ค. 65 และประกาศผลช่วงเดือน ม.ค. 66 (ยังไม่กำหนดวัน)

ตารางกำหนดการสอบ TGAT TPAT

A-Level

A-Level (Applied Knowledge Level)

  • ก็คือวิชาสามัญเดิม เป็นการวัดความรู้เชิงประยุกต์ เน้นการนําความรู้เชิงวิชาการที่เรียนในหลักสูตรไปประยุกต์ใช้งานได้
  • ไม่สอบเนื้อหาความรู้เชิงวิชาการที่เกินหลักสูตร
  • มีทั้งหมด 15 วิชา แต่เลือกสอบได้สูงสุดไม่เกิน 10 วิชา
  • A-Level Eng จะเป็นการเน้นการใช้ภาษาอังกฤษในระดับ Academic English หรือก็คือการใช้ภาษาอังกฤษในระดับเชิงวิชาการ
  • วิชา Math1 และ Math2 สามารถสมัครสอบได้ทั้ง 2 วิชา เนื่องจากสอบคนละเวลา
  • ยุบวิชาภาษาอาหรับ เนื่องจากมีคนสอบน้อย และคณะที่เปิดรับมีน้อย โดยจะมีการสอบโดยใช้ข้อสอบของแต่ละมหาวิทยาลัยเอง
  • ให้เวลาสอบวิชาละ 1 ชั่วโมง 30 นาที คะแนนเต็มวิชาละ 100 คะแนน
  • รูปแบบการสอบยังเป็น PBT อยู่เช่นเดิม โดยมีค่าสมัครสอบวิชาละ 100 บาท เปิดรับสมัครช่วงวันที่ 1-10 ก.พ. 66 สอบวันที่ 18-20 มี.ค. 66 ประกาศผลวันที่ 17 เม.ย. 66

ตารางกำหนดการสอบ A-Level

CBT กับ PBT แตกต่างกันยังไง?

ปีนี้เป็นปีแรกที่ทาง ทปอ. ได้มีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาเป็นหนึ่งในตัวเลือกให้กับผู้เข้าสอบทุกคน ทำให้ปีนี้มีการสอบ 2 รูปแบบ ได้แก่ Computer-Based Test (CBT) และ Paper-Based Test (PBT) ซึ่งแต่ละรูปแบบมีข้อแตกต่างกันดังนี้

  • สนามสอบที่เป็นรูปแบบ CBT จะถูกจัดตั้งอยู่ตามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เช่น สนามสอบที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต ส่วนสนามสอบรูปแบบ PBT จะถูกจัดตั้งอยู่ตามโรงเรียนต่าง ๆ นั้นทำให้ที่นั่งสอบรูปแบบ CBT มีจำนวนจำกัด ใครอยากลองสอบแบบ CBT อาจจะต้องแย่งกันนิดนึงน้า 😀
  • ขั้นตอนการสมัครสอบ TGAT-TPAT น้อง ๆ สามารถเลือกสนามสอบได้สูงสุด 5 อันดับ และแต่ละวิชาไม่จำเป็นต้องสอบในสนามสอบเดียวกัน เช่น สมัครสอบ TGAT ที่สนามสอบ A สามารถสมัครสอบ TPAT3 ที่สนามสอบ B ได้ (ถ้าน้อง ๆ ขยันเดินทางนะ 😀 )
  • ปกติค่าสอบของรูปแบบ CBT จะอยู่ที่ 200 บาท แต่ในปีนี้ทาง ทปอ. ลดให้เหลือ 140 บาท เท่ากับค่าสอบรูปแบบ PBT เพื่อเป็นการดึงดูดให้ผู้เข้าสอบได้ทดลองระบบ CBT
  • ข้อสอบทั้ง CBT และ PBT เหมือนกันทุกอย่าง ไม่มีความแตกต่างกันแต่อย่างใด แตกต่างแค่รูปแบบการสอบเท่านั้น โดยสอบวันและเวลาเดียวกันทั่วประเทศ
  • การสอบรูปแบบ CBT มีกระดาษทดให้ และสามารถขีดไฮไลท์/ขีดเส้นใต้บนคอมพิวเตอร์ได้
  • ข้อได้เปรียบของผู้เข้าสอบแบบ CBT คือ รู้ผลคะแนนสอบหลังจากสอบวิชาสุดท้ายเสร็จ 3 วัน (PBT จะรู้ผลหลังจากสอบเสร็จประมาณ 1 เดือน)
  • หากเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น ไฟดับ จะมีการทดเวลาทำข้อสอบให้สำหรับผู้ที่เข้าสอบรูปแบบ CBT แน่นอน
  • หากเกิดเหตุอินเตอร์เน็ตล่ม ก็สามารถทำข้อสอบต่อได้ เพราะข้อสอบจะถูกดาวน์โหลดลงมาไว้บนคอมพิวเตอร์เรียบร้อย ส่วนคำตอบก็จะถูกบันทึกไว้ในคอมพิวเตอร์เช่นกัน เมื่ออินเตอร์เน็ตกลับมาใช้งานได้ปกติ คำตอบก็จะถูกอัปโลหดไปยังเซิฟเวอร์เช่นเดิม
  • ช่วงก่อนการสอบทางทปอ.จะมี VDO แนะนำวิธีการใช้งานให้ชม รวมไปถึงมีการเชิญผู้ที่สมัครสอบแบบ CBT เข้าร่วมการทดสอบเสมือนจริง ณ สนามสอบ (ไม่ได้บังคับขึ้นอยู่กับความสมัครใจของผู้เข้าสอบ)

เป็นยังไงกันบ้างครับสำหรับกำหนดการ และรูปแบบการสอบ TCAS66 ที่จะกำลังจะเกิดขึ้น น้อง ๆ #Dek66 หลาย ๆ คนที่กำลังกังวล หลังจากได้อ่านบทความนี้ไปพี่ Panya Society หวังว่าน้อง ๆ จะคลายความกังวลลงไปบ้างนะครับ ส่วนแนวข้อสอบต่าง ๆ รวมไปถึงตัวอย่างข้อสอบปีล่าสุด พี่ Panya Society ขอให้น้องติดตามเพจ Panya Society กันไว้ได้เลย รับรองว่าจะมีออกมาให้น้อง ๆ ได้ทดลองทำกันก่อนใครแน่นอน

และสำหรับน้อง ๆ คนไหนที่ต้องการเตรียมตัวสอบ TCAS66 พี่ PANYA SOCIETY ขอแนะนำคอร์ส “TCAS66 ทั้ง 6 วิชาจาก PANYA SOCIETY” ซึ่งเป็นคอร์ส เตรียมตัวสอบ TCAS66 ฉบับสมบูรณ์แบบ ที่ Update ล่าสุด ได้ทั้งทบทวนเนื้อหา ม.4-5-6 ไปพร้อมกับเก็งข้อสอบแนวรูปแบบใหม่ ฝึกทำข้อสอบเพียบ ทบทวนเต็มที่ เก็งข้อสอบแม่นยำ พร้อมทำโจทย์แนวใหม่ ไม่ตกเทรนด์ พร้อมกับโค้ชผู้ช่วยส่วนตัวที่ถาม-ตอบได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ไร้กังวล ติวกับ PANYA SOCIETY ข้อสอบ TCAS66 จะเปลี่ยนไปแค่ไหน พี่ ๆ จะตามติดพัฒนาคอร์สไปพร้อมกับ Test Blueprint ใหม่ล่าสุด ไม่พลาดแน่นอน!!!

     นอกจากนี้ PANYA SOCIETY ยังได้รับเลือกจากกองบรรณาธิการ mybest ให้เป็น 1 ใน 10 สถาบัน “เรียนฟิสิกส์” ที่ไหนดี? ปี 2022 สามารถคลิกเพื่ออ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ ที่นี่

VDO ตัวอย่างการสอน

TCAS สายวิทย์

18 Videos

🔥ติวเตอร์คนเก่ง🔥

เรียนสนุก ทำโจทย์คล่อง สอบให้ติด โดย PANYA Society

: คอร์สแนะนำ :

SHARE:

เตรียมสอบ TCAS66 มีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง? TGAT/TPAT คืออะไร?

PANYA SOCIETY

ไร้กังวล แม้ข้อสอบเปลี่ยนไป!
เตรียมสอบ TCAS66 แบบไฟลุก ฉบับทำความเข้าใจเร่งรัด กับ การเปลี่ยนแปลงของข้อสอบ

TGAT TPAT คืออะไร?

ใกล้แล้วนะครับสำหรับน้องๆ Dek66 ที่กำลังเตรียมตัวสอบ TCAS66 กัน และตอนนี้ก็คงมีน้องๆจำนวนไม่น้อยที่กำลังมีข้อสงสัยกันว่า TCAS66 ต้องสอบอะไรบ้าง? มีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปจาก TCAS65 บ้าง? วันนี้พี่ Panya Society จะมาตอบทุกข้อสงสัยให้กับน้องๆทุกคนกันครับ

สรุปการเปลี่ยนแปลง TCAS66

  • ลดความซ้ำซ้อนของรายวิชาสอบ
  • เน้นการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้งาน
  • GAT/PAT ไม่มีการสอบแล้ว แต่ปรับเปลี่ยนข้อสอบเป็น TGAT/TPAT (จาก GAT เปลี่ยนเป็น TGAT และ PAT เปลี่ยนเป็น TPAT)
  • สามารถเลือกสอบด้วยกระดาษหรือสอบผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ในที่สนามสอบจัดให้
  • ข้อสอบยังเป็นภาษาไทย (ก่อนหน้านี้คาดว่ามีให้เลือกทำ 2 ภาษา)
  • TGAT และ TPAT มีสอบรอบเดียวคือเดือน ธันวาคม 2565 (อัพเดทเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2565 จาก ทปอ.)
  • กสพท.66 จะเข้าไปอยู่ใน TPAT ด้วย
  • ช่วงหลังสงกรานต์ 2565 จะมีตัวอย่างข้อสอบมาให้ลองทำ

คราวนี้เรามาดูกันอย่างละเอียดดีกว่าว่าน้องๆ Dek66 ทุกคน จะต้องสอบอะไรบ้าง แต่ละการสอบมีหัวข้อย่อยอะไรบ้างกันครับ

TCAS66 จะต้องสอบอะไรบ้าง?

TGAT (Thai General Aptitude Test) เป็นการเปลี่ยนมาจาก GAT เดิม ซึ่ง TGAT เป็นการสอบวัดความรู้ทั่วไป ไม่มีส่วนของ GAT เชื่อมโยงแบบที่ผ่านมาแล้ว โดยมีคะแนนเต็ม 300 คะแนน โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่

  1. ENGLISH COMMUNICATION (ทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ)
  2. CRITICAL AND LOGICAL THINKING (การใช้เหตุผลและการคิดอย่างมีตรรกะ)
  3. FUTURE WORKFORCE COMPETENCIES (สมรรถนะในการทำงานในอนาคต)
    1. Value Creation & Innovation (การสร้างคุณค่าและนวัตกรรม)
    2. Complex Problem Solving (การแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน)
    3. Emotional Governance (การบริหารจัดการอารมณ์)
    4. Civic Engagement (การมีส่วนร่วมและรับผิดชอบต่อสังคม)

TPAT (Thai Professional Aptitude Test) หรือ PAT เดิม เป็นการสอบวัดความถนัดทางวิชาชีพ คะแนนเต็ม 100 คะแนน โดยปรับลดวิชาสอบเหลือเพียง 5 กลุ่ม ได้แก่

  1. ความถนัดทางแพทยศาสตร์ (กสพท.)
  2. ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ (คาดว่าแนวข้อสอบจะมาจาก PAT3)
  3. ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ (คาดว่าแนวข้อสอบจะมาจาก PAT4 ตัดส่วนของการสอบวาดรูปออก)
  4. ความถนัดทางครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ (คาดว่าแนวข้อสอบจะมาจาก PAT5)
  5. ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์ (คาดว่าแนวข้อสอบจะมาจาก PAT6)

ข้อสอบ A-Level (Applied Knowledge) ปรับมาจาก 9 วิชาสามัญเดิม มีการเน้นการนำความรู้ไปใช้งาน (Applied Knowledge) คะแนนเต็ม 100 คะแนน แบ่งเป็น 9 วิชาหลักๆ ได้แก่

  • คณิตศาสตร์ประยุกต์ (คาดว่าแนวข้อสอบจะมาจาก PAT1) แบ่งเป็น 2 วิชา ดังนี้
    • คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1
    • คณิตศาสตร์ประยุกต์ 2
    • หมายเหตุ – จะเลือกสอบเฉพาะคณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 หรือสอบทั้งคณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 และ คณิตศาสตร์ประยุกต์ 2 เลยก็ได้ ขึ้นอยู่กับคณะหรือสาขาวิชาที่จะนำคะแนนไปยื่น
  • วิทยาศาสตร์ประยุกต์
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • ภาษาไทย
  • สังคม
  • ภาษาอังกฤษ
  • ภาษาต่างประเทศอื่นๆ (PAT 7 เดิม) ได้แก่ (ยกเลิกวิชาภาษาอาหรับ)
    • ฝรั่งเศส
    • เยอรมัน
    • ญี่ปุ่น
    • จีน
    • บาลี
    • เกาหลี

คำถามอื่นๆ?

  • รูปแบบการสอบ?
    • สอบผ่านคอมพิวเตอร์ (Computer Based) ณ ที่สนามสอบ กำหนดการสอบ
  • สอบได้กี่ครั้ง?
    • TGAT : สอบได้ 1 ครั้ง คือ เดือนธันวาคม ปี 2565
    • TPAT : สอบได้ 1 ครั้ง คือ เดือนธันวาคม ปี 2565
    • วิชาสามัญ : สอบได้ 1 ครั้ง คือ เดือนมีนาคม ปี 2566
  • ขอบเขตเนื้อหา?
    • มาจากหลักสูตรชั้นม.4 – ม.6 (ไม่เกินหลักสูตร)
    • เน้นการคิด วิเคราะห์ และการประยุกต์นำไปใช้งาน
  • ใช้สำหรับยื่นรอบไหน?
    • TGAT และ TPAT สามารถใช้ผลคะแนนในการยื่นรอบ Portfolio, Quota และ Admission
    • วิชาสามัญ สามารถใช้ผลคะแนนในการยื่นรอบ Quota และ Admission
  • คะแนนเก็บได้กี่ปี?
    • ผลคะแนน TGAT, TPAT และ วิชาสามัญมีอายุแค่ 1 ปีเท่านั้น นั่นหมายความว่า ถ้าจะซิ่ว น้องๆจะต้องสอบใหม่ทุกปี

เป็นยังไงกันบ้างครับ Dek66 ทุกคน หวังว่าพี่ๆ Panya Society จะตอบคำถามที่น้องๆหลายคนสงสัยกันได้พอสมควรแล้วนะครับ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างใหญ่พอสมควรเลยใช่ไหมครับ แต่พี่ๆต้องของบอกไว้ก่อนว่าข้อมูลข้างต้นที่นำมาเผยแพร่เป็นข้อมูลที่อัพเดทล่าสุดจากทางทปอ. เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2565 ทำให้ข้อมูลอาจจะมีการปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ในอนาคต โดยทางทปอ.จะมีการแจ้งให้ทราบเป็นระยะๆ ดังนั้นน้องๆควรต้องติดตามข่าวสารกันอย่างใกล้ชิด หรือจะติดตามจากทาง Panya Society ไว้ก็ได้ ถ้ามีข้อมูลอะไรอัพเดท พี่ๆจะรีบนำมาแจ้งให้น้องๆทุกทราบโดยเร็ว

จากการเปลี่ยนแปลงข้างต้น ทำให้น้องๆทุกคนควรจะรีบเตรียมตัวตั้งแต่วันนี้ ดังนั้น พี่ PANYA ขอแนะนำคอร์ส “TCAS66 ทั้ง 6 วิชาจาก PANYA SOCIETY” ซึ่งเป็นคอร์ส เตรียมตัวสอบ TCAS66 ฉบับสมบูรณ์แบบ ที่ Update ล่าสุด ได้ทั้งทบทวนเนื้อหา ม.4-5-6 ไปพร้อมกับเก็งข้อสอบแนวรูปแบบใหม่ ฝึกทำข้อสอบเพียบ ทบทวนเต็มที่ เก็งข้อสอบแม่นยำ พร้อมทำโจทย์แนวใหม่ ไม่ตกเทรนด์ พร้อมกับโค้ชผู้ช่วยส่วนตัวที่ถาม-ตอบได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ไร้กังวล ติวกับ PANYA SOCIETY ข้อสอบ TCAS66 จะเปลี่ยนไปแค่ไหน พี่ๆจะตามติดพัฒนาคอร์สไปพร้อมกับ Test Blueprint ใหม่ล่าสุด ไม่พลาดแน่นอน!!!

VDO ตัวอย่างการสอน

🔥ติวเตอร์คนเก่ง🔥

SHARE: