PANYA SOCIETY

วิศวะ มีกี่สาขาอะไรบ้าง TCAS เลือกเรียนวิศวะอะไรดี

วิศวะ มีกี่สาขาอะไรบ้าง

เรียนวิศวกรรมอะไรดี

สวัสดีครับน้อง ๆ ทุกคน วันนี้พี่ Panya Society กลับมาอีกครั้งพร้อมบทความที่เกี่ยวกับ TCAS นะครับ หลังจากที่เราค้นหาตัวตนเจอแล้วว่าอยากเข้าคณะอะไร สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจจะเข้าคณะวิศวกรรมศาสตร์ แต่ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะเข้าเรียนวิศวะอะไรดี วันนี้พี่ Panya Society จะมาแนะนำ 10 สาขาที่น่าสนใจของวิศวกรรม เพื่อช่วยน้อง ๆ ตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าจะเข้าเรียนวิศวะสาขาไหนดี ขอบอกเลยว่า น้องที่กำลังเตรียมสอบเข้าวิศวะทุกคน จำเป็นต้องเลือกสาขาให้ดี เพราะมีผลต่อการเรียนต่อไป และยังมีผลในการเตรียมอ่านหนังสืออีกด้วย เพราะแต่ละสาขาจะมีการเตรียมตัวอ่านหนังสือต่างกัน ถ้าพร้อมแล้ว เริ่ม!!!

วิศวกรรมคอมพิวเตอร์

เป็นสาขาที่เกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และระบบเครือข่ายต่าง ๆ รวมไปถึงระบบข้อมูลอีกด้วย

ลักษณะงาน :

  • ออกแบบระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมดในสถานประกอบการ
  • บำรุงรักษาระบบคอมพิวเตอร์ โปรแกรมระบบทั้งหมดภายในสถานประกอบการ
  • เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ให้ใช้งานได้ตามเป้าหมาย
  • การออกแบบและพัฒนาระบบเครือข่าย

วิชาหลักที่ต้องใช้ :

วิศวกรรมไฟฟ้า

เป็นสาขาที่เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า อุปกร์ณ์ทางไฟฟ้า อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ และวงจรไฟฟ้าต่าง ๆ มาใช้ในการออกแบบและการวิเคราะห์ระบบไฟฟ้า

ลักษณะงาน :

  • ระบบออกแบบระบบไฟฟ้าทั้งหมดในสถานประกอบการ
  • ติดตั้ง และปรับปรุงระบบวงจรไฟฟ้าภายในอาคาร
  • ตรวจสอบคุณภาพ ความปลอดภัย และซ่อมบำรุงระบบไฟฟ้า
  • ออกแบบชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า
  • ออกแบบหรือทดสอบระบบควบคุมในเครื่องใช้ไฟฟ้า

วิชาหลักที่ต้องใช้ :

วิศวกรรมอุตสาหการ

เป็นสาขาที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการ การออกแบบอุตสาหกรรมและกระบวนการผลิตต่าง ๆ รวมไปถึงการควบคุมเครื่องจักรกลในกระบวนการผลิต

ลักษณะงาน :

  • ออกแบบระบบไฟฟ้าทั้งหมดในสถานประกอบการ
  • ออกแบบและการวางผังอาคารโรงงาน วางผังติดตั้งเครื่องจักร ออกแบบอุปกรณ์ขนย้ายวัตถุ
  • ควบคุมระบบคลังสินค้า
  • สำรวจที่ตั้งโรงงาน และแหล่งวัตถุดิบ

วิชาหลักที่ต้องใช้ :

วิศวกรรมโลจิสติกส์

เป็นสาขาที่เกี่ยวกับการออกแบบและควบคุมการขนส่ง การจัดเก็บ เคลื่อนย้ายสินค้า เพื่อลดต้นทุนการผลิต และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

ลักษณะงาน :

  • ออกแบบระบบขนส่ง
  • ติดตั้ง และปรับปรุงระบบวงจรไฟฟ้าภายในอาคาร
  • ตรวจสอบคุณภาพ ความปลอดภัย และซ่อมบำรุงระบบไฟฟ้า
  • ออกแบบชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า
  • ออกแบบหรือทดสอบระบบควบคุมในเครื่องใช้ไฟฟ้า

วิชาหลักที่ต้องใช้ :

วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

เป็นสาขาที่เกี่ยวกับการปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ให้มีสุขภาพที่ดี เพื่อช่วยอนุรักษ์พลังงาน และควบคุมการผลิตของเสีย

ลักษณะงาน :

  • ออกแบบระบบการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม
  • ควบคุมระบบจัดการมลพิษในโรงงาน
  • ตรวจประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากโรงงานต่าง ๆ
  • คิดค้นผลิตภัณฑ์รักษ์โลก
  • เป็นที่ปรึกษาด้านการจัดการมลพิษและการดูแลสิ่งแวดล้อม

วิชาหลักที่ต้องใช้ :

วิศวกรรมวัสดุ

เป็นสาขาที่เกี่ยวกับสมบัติของวัสดุ กรรมวิธีการผลิต และการเลือกใช้วัสดุต่าง ๆ ในกรรมวิธีการผลิตอย่างเหมาะสม

ลักษณะงาน :

  • ออกแบบ และเลือกใช้วัสดุให้เหมาะสมกับงาน
  • สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ มาใช้ในกระบวนการผลิตสินค้า
  • ตรวจสอบคุณภาพของชิ้นส่วนในอุปกรณ์ต่าง ๆ
  • วิเคราะห์วัสดุในชิ้นส่วนอิเลคโทรนิกส์

วิชาหลักที่ต้องใช้ :

วิศวกรรมเครื่องกล

เป็นสาขาที่เกี่ยวกับการออกแบบและการวิเคราะห์เครื่องจักรกลต่าง ๆ และการควบคุมการผลิตเครื่องจักร

ลักษณะงาน :

  • ออกแบบอุปกรณ์เครื่องกลต่าง ๆ 
  • ติดตั้งและบำรุงรักษาเครื่องจักรกล
  • แก้ปัญหาการทำงานผิดปกติของเครื่องจักรกล
  • วิเคราะห์ประสิทธิภาพของอุปกรณ์เครื่องกล

วิชาหลักที่ต้องใช้ :

วิศวกรรมชีวการแพทย์

เป็นสาขาที่เกี่ยวกับการออกแบบ สร้าง หรือพัฒนาซอฟต์แวร์ อุปกรณ์ หรือเครื่องมือทางการแพทย์ ค้นคว้าเทคโนโลยีใหม่ ๆ นำมาใช้กับการแพทย์

ลักษณะงาน :

  • ออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์ เครื่องมือ และกระบวนการทางการแพทย์
  • ติดตั้ง บำรุงรักษา ซ่อมแซมอุปกรณ์ชีวการแพทย์
  • ประเมินความปลอดภัยและประสิทธิภาพของอุปกรณ์ทางการแพทย์

วิชาหลักที่ต้องใช้ :

วิศวกรรมโยธา

เป็นสาขาที่เกี่ยวกับการออกแบบ การก่อสร้าง และการบำรุงรักษาสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ รวมไปถึงการวิเคราะห์ทางธรณี

ลักษณะงาน :

  • วางแผน จัดระบบงาน และควบคุมงานสร้าง
  • พิจารณาโครงการ สำรวจหาสถานที่เหมาะสมสำหรับการก่อสร้าง
  • สำรวจผิวดินและใต้ดินว่าจะมีผลต่อการก่อสร้างอย่างไร
  • เตรียมแบบแปลนการก่อสร้าง ประมาณการวัสดุและงบประมาณการก่อสร้าง

วิชาหลักที่ต้องใช้ :

วิศวกรรมเคมี

เป็นสาขาที่เกี่ยวกับการออกแบบอุปกรณ์ และการควบคุมกระบวนการทำงานทางเคมี กระบวนการผลิตเคมีในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ 

ลักษณะงาน :

  • วิเคราะห์ วางแผน ออกแบบกระบวนการผลิตทางเคมี
  • ควบคุมความปลอดภัยในกระบวนการผลิตทางเคมี
  • ประเมินประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตทางเคมี

วิชาหลักที่ต้องใช้ :

พูดคุยหลังอ่าน

เป็นยังไงกันบ้างครับทุกคน หวังว่าพี่ ๆ Panya Society จะช่วยให้น้อง ๆ ได้ทำความรู้จักวิศวกรรมหลาย ๆ สาขา เพื่อช่วยให้น้อง ๆ ตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าจะเรียนวิศวะอะไรดี แต่พี่ ๆ ต้องขอบอกไว้ก่อนว่าน้อง ๆ จะต้องพิจารณาเลือกเรียนวิศวะจากปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วยครับ 

หลังจากน้อง ๆ เลือกได้แล้วว่าอยากเรียนวิศวะสาขาไหนแล้ว หวังว่าจะช่วยให้น้อง ๆ วางแผนอ่านหนังสือได้ง่ายขึ้น และบอกเลยว่าคณะวิศวกรรมศา่สตร์ ต้องใช้คะแนนสอบค่อนข้างสูง น้อง ๆ ทุกคนควรจะรีบเตรียมตัวตั้งแต่วันนี้ ดังนั้น พี่ PANYA ขอแนะนำคอร์ส “ติวสอบวิศวะ ฟิสิกส์ A-Level + TPAT3 โดยวิศวกรตัวจริง จาก PANYA SOCIETY” ซึ่งเป็นคอร์ส เตรียมตัวสอบ TCAS ฉบับสมบูรณ์แบบ ที่ Update ล่าสุด ได้ทั้งทบทวนเนื้อหา ม.4-5-6 ไปพร้อมกับเก็งข้อสอบแนวรูปแบบใหม่ ฝึกทำข้อสอบเพียบ ทบทวนเต็มที่ เก็งข้อสอบแม่นยำ พร้อมทำโจทย์แนวใหม่ ไม่ตกเทรนด์ พร้อมกับโค้ชผู้ช่วยส่วนตัวที่ถาม-ตอบได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ไร้กังวล ติวกับ PANYA SOCIETY ข้อสอบ TCAS จะเปลี่ยนไปแค่ไหน พี่ ๆ จะตามติดพัฒนาคอร์สไปพร้อมกับ Test Blueprint ใหม่ล่าสุด ไม่พลาดแน่นอน!!!

VDO ตัวอย่างการสอน

ฟิสิกส์ TPAT3

19 Videos

ฟิสิกส์ A-Level

30 Videos

🔥ติวเตอร์คนเก่ง🔥

ถนัดวิชาไหน?

อยากเรียนวิศวะ สอบอะไรบ้าง?

เรียนสนุก ทำโจทย์คล่อง สอบให้ติด

: คอร์สแนะนำ :

SHARE: