PANYA SOCIETY

วางแผนอ่านหนังสือ TCAS68 วิชาเคมีเน้นบทไหนดี #DEK68

วิชาเคมี เน้นบทไหนดี?

วางแผนอ่านหนังสือวิชาเคมี

สวัสดีครับน้อง ๆ #Dek68 ทุกคน วันนี้พี่ Panya Society กลับมาอีกครั้งพร้อมบทความที่เกี่ยวกับ TCAS68 นะครับ หลังจากที่เราคนหาตัวตนเจอแล้วว่าอยากเข้าคณะอะไร เราก็จะมาวางแผนอ่านหนังสือ TCAS68 กันต่อเลย วันนี้พี่ Panya Society จะมาแนะนำแผนการอ่านหนังสือวิชาเคมี เพื่อช่วยน้อง ๆ #Dek68 อ่านหนังสือได้ดีขึ้น ขอบอกเลยว่า #Dek68 ที่กำลังเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัยทุกคน จำเป็นวางแผนอ่านหนังสือให้ดี เพื่อให้ไม่รู้สึกว่าอ่านหนักเกินไป และพร้อมสอบมากยิ่งขึ้น ถ้าพร้อมแล้ว เริ่ม!!!

สถิติออกสอบ A - Level เคมี

ในการวางแผนอ่านหนังสือนั้น เราควรจะต้องรู้ว่าควรจะเน้นไปที่บทไหน วันนี้พี่ Panya Society จึงจะพาน้อง ๆ #Dek68 มาดูสถิติออกสอบ A – Level เคมี ว่าบทไหนออกเยอะหรือออกน้อยบ้าง เพื่อเป็นแนวทางในการเตรียมสอบ TCAS68 ดังนี้ 

บทที่ออก 4 – 5 ข้อ ควรเน้นมาก ๆ คือ

  • กรด – เบส
  • เคมีไฟฟ้า
  • เคมีอินทรีย์

บทที่ออก 2 – 3 ข้อ ควรเน้นปานกลาง คือ

  • อะตอมและตารางธาตุ
  • พันธะเคมี
  • สมการเคมี
  • แก๊ส
  • อัตราการเกิดปฏิกิริยา
  • สมดุลเคมี
  • พอลิเมอร์

บทที่ออก 1 ข้อ ควรเน้นไม่มาก คือ

  • ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ
  • สารละลาย
  • ปริมาณสารสัมพันธ์

มาถึงตรงนี้ น้อง ๆ #Dek68 คงจะเห็นแล้วว่า บทไหนควรเน้นหรือไม่ควรเน้น แต่พี่ Panya Society ขอเตือนไว้ก่อนเลยว่า ถึงบางบทจะออกน้อย แต่ก็เป็นพื้นฐานในการนำไปใช้ต่อในบทอื่น ๆ ดังนั้น ถ้าเป็นไปได้ก็ควรเก็บเนื้อหาให้ได้ครบทุกบทนะครับ

คำนวณเวลาที่ต้องใช้อ่านทั้งหมด

ก่อนที่เราเริ่มอ่าน เรามาดูกันก่อนว่า วิชาเคมี มีเนื้อหาอะไรบ้าง และแต่ละบทจะต้องใช้เวลาอ่านมากหรือน้อยอย่างไร เพื่อจะได้วางแผนการอ่านได้ง่ายขึ้น

บทที่ 1 : ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ

จะเรียนเกี่ยวกับทักษะเบื้องต้นในห้องปฏิบัติการเคมี การอ่านป้ายและสัญลักษณ์ การใช้เครื่องมือวัดต่าง ๆ และการแปลงหน่วย

พื้นฐานบทอื่นที่ต้องมี :  ไม่ต้องมีพื้นฐานบทอื่น

เวลาที่ควรใช้อ่าน : ประมาณ 2 ชั่วโมง

บทที่ 2 : อะตอมและตารางธาตุ

จะเรียนเกี่ยวกับลักษณะของอะตอม สัญลักษณ์นิวเคลียร์ การจัดเรียงอิเล็กตรอน และการอ่านตารางธาตุ ซึ่งเป็นพื้นฐานในการเรียนบทอื่น ๆ อีกหลายบท

พื้นฐานบทอื่นที่ต้องมี :  ไม่ต้องมีพื้นฐานบทอื่น

เวลาที่ควรใช้อ่าน : ประมาณ 10 ชั่วโมง

บทที่ 3 : พันธะเคมี

จะเรียนเกี่ยวกับการเกิดพันธะเคมีต่าง ๆ การเขียนสูตร และชื่อของสารประกอบ คำนวณพลังงานพันธะ และสมบัติของสารประกอบต่าง ๆ 

พื้นฐานบทอื่นที่ต้องมี : อะตอมและตารางธาตุ

เวลาที่ควรใช้อ่าน : ประมาณ 10 ชั่วโมง

บทที่ 4 : ปริมาณสารสัมพันธ์

จะเรียนเกี่ยวกับการคำนวณมวลอะตอม มวลโมเลกุล หาความสัมพันธ์ของโมล จำนวนโมเลกุล และปริมาตรของแก๊ส หาอัตราส่วนของธาตุในสารประกอบ คำนวณสูตรโมเลกุลของสาร เป็นอีกหนึ่งบทที่เป็นพื้นฐานสำคัญในบทอื่น ๆ

พื้นฐานบทอื่นที่ต้องมี : อะตอมและตารางธาตุ

เวลาที่ควรใช้อ่าน : ประมาณ 3 ชั่วโมง

บทที่ 5 : สารละลาย

จะเรียนเกี่ยวกับความเข้มข้นของสารละลายในหน่วยต่าง ๆ การเตรียมสารละลาย และสมบัติของสารละลาย

พื้นฐานบทอื่นที่ต้องมี : ปริมาณสารสัมพันธ์

เวลาที่ควรใช้อ่าน : ประมาณ 4 ชั่วโมง

บทที่ 6 : สมการเคมี

จะเรียนเกี่ยวกับการเขียนและดุลสมการเคมี คำนวณมวล ความเข้มข้น และปริมาตรของแก๊สในปฏิกิริยาเคมี และคำนวณผลได้ร้อยละของผลิตภัณฑ์ในปฏิกิริยาเคมี 

พื้นฐานบทอื่นที่ต้องมี : ปริมาณสารสัมพันธ์

เวลาที่ควรใช้อ่าน : ประมาณ 5 ชั่วโมง

บทที่ 7 : แก๊ส

จะเรียนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของปริมาตร ความดันและอุณหภูมิของแก๊ส คำนวณความดันย่อยของแก๊สผสม และคำนวณอัตราการแพร่ของแก๊ส 

พื้นฐานบทอื่นที่ต้องมี : ปริมาณสารสัมพันธ์

เวลาที่ควรใช้อ่าน : ประมาณ 4 ชั่วโมง

บทที่ 8 : อัตราการเกิดปฏิกิริยา

จะเรียนเกี่ยวกับการคำนวณอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี และปัจจัยที่ผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี 

พื้นฐานบทอื่นที่ต้องมี : สมการเคมี

เวลาที่ควรใช้อ่าน : ประมาณ 6 ชั่วโมง

บทที่ 9 : สมดุลเคมี

จะเรียนเกี่ยวกับปฏิกิริยาที่ผันกลับได้และภาวะสมดุล คำนวณค่าคงที่สมดุล ความเข้มข้นของสารที่ภาวะสมดุล และการรบกวนสมดุล 

พื้นฐานบทอื่นที่ต้องมี : สมการเคมี

เวลาที่ควรใช้อ่าน : ประมาณ 5 ชั่วโมง

บทที่ 10 : กรด – เบส

จะเรียนเกี่ยวกับนิยามของกรด – เบส คู่กรด – เบส คำนวณค่า pH ความเป็นกรด – เบสของสารละลายเกลือ การไทเทรต และบัฟเฟอร์

พื้นฐานบทอื่นที่ต้องมี : สมการเคมี

เวลาที่ควรใช้อ่าน : ประมาณ 6 ชั่วโมง

บทที่ 11 : เคมีไฟฟ้า

จะเรียนเกี่ยวกับปฏิกิริยารีดอกซ์และเลขออกซิเดชัน องค์ประกอบของเซลล์ไฟฟ้าเคมี คำนวณศักย์ไฟฟ้ามาตรฐานของเซลล์ การชุบโลหะและแยกสารเคมีด้วยไฟฟ้า

พื้นฐานบทอื่นที่ต้องมี : สมการเคมี

เวลาที่ควรใช้อ่าน : ประมาณ 4 ชั่วโมง

บทที่ 12 : เคมีอินทรีย์

จะเรียนเกี่ยวกับการเขียนสูตรโครงสร้างของสารประกอบอินทรีย์ การเรียกชื่อสารประกอบอินทรีย์ และสมบัติของสารประกอบอินทรีย์ประเภทต่าง ๆ 

พื้นฐานบทอื่นที่ต้องมี : อะตอมและตารางธาตุ

เวลาที่ควรใช้อ่าน : ประมาณ 6 ชั่วโมง

บทที่ 13 : พอลิเมอร์

จะเรียนเกี่ยวกับประเภทและโครงสร้างของพอลิเมอร์ชนิดต่าง ๆ การนำพอลิเมอร์ไปใช้ประโยชน์ และการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของพอลิเมอร์

พื้นฐานบทอื่นที่ต้องมี : อะตอมและตารางธาตุ

เวลาที่ควรใช้อ่าน : ประมาณ 2 ชั่วโมง

มาถึงจุดนี้น้อง ๆ #Dek68 ก็จะได้รู้แล้วว่า วิชาเคมี ทั้ง 13 บทนี้ เรียนเกี่ยวกับอะไรโดยคร่าว ๆ และจุดที่พี่ Panya Society อยากให้น้องสนใจมากที่สุด ก็คือ เวลาที่ควรใช้อ่าน ซึ่งทั้ง 13 บทนี้ ใช้เวลาอ่านรวมทั้งหมดประมาณ 67 ชั่วโม

วางแผนการเก็บคะแนน

จากผลคะแนน TCAS ของปีที่ผ่านมา จะเห็นว่าบางคณะต้องได้คะแนน TCAS สูงมาก ๆ จึงจะสอบติด และวิชาเคมีก็ถือเป็นวิชาสำคัญที่หลาย ๆ คณะเลือกใช้เป็นเกณฑ์ในการคิดคะแนน และ A – Level เคมี ก็มีสัดส่วนคะแนนค่อนข้างสูงในหลาย ๆ คณะ ดังนั้น น้อง ๆ  ควรตั้งเป้าหมายให้ได้ 70 คะแนนขึ้นไป เพื่อให้มั่นใจว่า จะสามารถเข้าคณะที่ต้องการได้อย่างแน่นอน

พี่ Panya Society ขอแบ่งวิชาเคมี ออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

1. สมบัติของธาตุและสารประกอบ

เป็นเนื้อหาที่เหมาะกับน้อง ๆ ที่ถนัดในการทำความเข้าใจสมบัติและองค์ประกอบของธาตุและสารประกอบต่าง ๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญ และครอบคลุมเนื้อหาเยอะ จึงควรเก็บคะแนนในส่วนนี้ให้ได้ ได้แก่

1) อะตอมและตารางธาตุ : ออกสอบ 3 ข้อ คิดเป็น 7.5 คะแนน

2) พันธะเคมี : ออกสอบ 3 ข้อ คิดเป็น 7.5 คะแนน

3) แก๊ส : ออกสอบ 3 ข้อ คิดเป็น 7.5 คะแนน

4) เคมีอินทรีย์ : ออกสอบ 5 ข้อ คิดเป็น 12.5 คะแนน

5) พอลิเมอร์ : ออกสอบ 2 ข้อ คิดเป็น 5 คะแนน

รวม ออกสอบ 16 ข้อ คิดเป็น 40 คะแนน ใช้เวลาอ่านประมาณ 32 ชั่วโมง

2. สมการเคมีและการเปลี่ยนแปลงทางเคมี

เป็นเนื้อหาที่เหมาะกับน้อง ๆ ที่ถนัดในการคำนวณปริมาณต่าง ๆ จากสมการ ซึ่งก็ครอบคลุมเนื้อหาเยอะ และควรเก็บคะแนนในส่วนนี้ให้ได้เช่นกัน ได้แก่

1) สมการเคมี : ออกสอบ 3 ข้อ คิดเป็น 7.5 คะแนน

2) อัตราการเกิดปฏิกิริยา : ออกสอบ 2 ข้อ คิดเป็น 5 คะแนน

3) สมดุลเคมี : ออกสอบ 3 ข้อ คิดเป็น 7.5 คะแนน

4) กรด – เบส : ออกสอบ 4 ข้อ คิดเป็น 10 คะแนน

5) เคมีไฟฟ้า : ออกสอบ 4 ข้อ คิดเป็น 10 คะแนน

รวม ออกสอบ 16 ข้อ คิดเป็น 40 คะแนน ใช้เวลาอ่านประมาณ 26 ชั่วโมง

3. ทักษะในปฏิบัติการเคมีและการคำนวณปริมาณของสาร

เป็นเนื้อหาที่เหมาะกับน้อง ๆ ที่ถนัดในการทดลองและคำนวณปริมาณสารในการทดลอง ได้แก่

1) ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ : ออกสอบ 1 ข้อ คิดเป็น 2.5 คะแนน

2) ปริมาณสารสัมพันธ์ : ออกสอบ 1 ข้อ คิดเป็น 2.5 คะแนน

3) สารละลาย : ออกสอบ 1 ข้อ คิดเป็น 2.5 คะแนน

รวม ออกสอบ 3 ข้อ คิดเป็น 7.5 คะแนน ใช้เวลาอ่านประมาณ 9 ชั่วโมง

เนื่องจาก 3 กลุ่มวิชานี้ มีความสำคัญพอ ๆ กัน

น้อง ๆ ควรเลือกอ่านบทต่อไปนี้

  • ปริมาณสารสัมพันธ์
  • สมการเคมี
  • กรด – เบส
  • เคมีไฟฟ้า
  • เคมีอินทรีย์
  • เลือกอ่านบทอื่น ๆ ตามความถนัดของน้อง ๆ เพื่อให้ได้คะแนนเพิ่มอีกประมาณ 30 คะแนน

เพียงเท่านี้ก็จะได้คะแนนประมาณ 70 คะแนน ได้ไม่ยากมาก 

และหากยังมีเวลาเหลือก็ควรอ่านให้ครบทุกบท เพื่อให้ได้คะแนนเพิ่มขึ้นไปอีกครับ

วางแผนแบ่งเวลาอ่านเคมี

สำหรับน้อง ๆ #Dek68 พี่ Panya Society อยากให้น้อง ๆ เผื่อเวลาไว้ฝึกทำข้อสอบจริง อย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนสอบ ดังนั้น น้อง ๆ จะมีเวลาเก็บเนื้อหาทั้งหมดถึงสิ้นเดือน กุมภาพันธ์ 67 เท่านั้น

เราได้รู้แล้วว่า ควรต้องใช้เวลาอ่านเนื้อหาเคมีทั้งหมดประมาณ 67 ชั่วโมง สำหรับวิชาเคมีเป็นวิชาที่จะต้องทำความเข้าใจในเนื้อหาอย่างลึกซึ้ง เพื่อให้สามารถทำโจทย์ที่มีการประยุกต์ได้ และการฝึกทำโจทย์ก็จะช่วยให้เข้าใจเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้นนั่นเองครับ

การแบ่งเวลาอ่านหนังสือในแต่ละวัน จึงขึ้นอยู่กับว่า น้องเหลือเวลาอ่านอีกกี่วัน

เริ่มอ่านเดือน มิถุนายน (ช่วงเปิดเทอม 1)

เหลือเวลาอ่าน : 9 เดือน

เนื้อหาที่ควรอ่าน : ทุกบท

ควรอ่านวันละ : 30 นาที จะอ่านจบภายในไม่เกิน 5 เดือน (เหลือเวลาไปอ่านวิชาอื่น 4 เดือน)

เริ่มอ่านเดือน ตุลาคม (ช่วงปิดเทอมเล็ก)

เหลือเวลาอ่าน : 5 เดือน

เนื้อหาที่ควรอ่าน : ทุกบท

ควรอ่านวันละ : 30 นาที

เริ่มอ่านเดือน ธันวาคม

เหลือเวลาอ่าน : 3 เดือน

เนื้อหาที่ควรอ่าน : ทุกบท

ควรอ่านวันละ : 1 ชั่วโมง

เริ่มอ่านเดือน มกราคม 

เหลือเวลาอ่าน : 2 เดือน

เนื้อหาที่ควรอ่าน : ทุกบท

ควรอ่านวันละ : 2 ชั่วโมง

เริ่มอ่านเดือน กุมภาพันธ์ 

เหลือเวลาอ่าน : 1 เดือน

เนื้อหาที่ควรอ่าน : อ่าน 5 บทสำคัญ และบทที่ถนัดอีกบางส่วน ให้ได้คะแนนตามเป้า

ควรอ่านวันละ : 2 ชั่วโมง

วิชาเคมี เป็นวิชาที่มีเนื้อหาไม่เยอะมาก จึงอาจใช้เวลาอ่านน้อยกว่าวิชาอื่น ๆ แต่พี่ Panya Society ยังคงแนะนำว่าควรเริ่มอ่านให้เร็วที่สุด เพื่อให้ได้ทยอยอ่านวันละนิด ไม่หักโหมมาก และลดความกดดันในการอ่าน และทำให้เหลือเวลาไปอ่านวิชาอื่นอีกด้วย

พูดคุยหลังอ่าน

เป็นยังไงกันบ้างครับ #Dek68 ทุกคน หวังว่าพี่ ๆ Panya Society จะช่วยให้น้อง ๆ ได้วางแผนในการอ่านหนังสือวิชาเคมี เพื่อให้น้อง ๆ ได้คะแนนตามที่หวังกันนะครับ แต่พี่ ๆ ต้องขอบอกไว้ก่อนว่าแผนการอ่านหนังสือนี้ สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความถนัดของน้อง ๆ เอง และสำหรับน้อง ๆ คนที่ต้องเตรียมตัวสอบหลายวิชา อย่าลืมวางแผนเผื่อเวลาไว้สำหรับวิชาอื่นกันด้วยนะครับ

หลังจากน้อง ๆ ทุกคนได้วางแผนการอ่านเคมี สำหรับ TCAS68 นี้หวังว่าจะช่วยให้น้อง ๆ อ่านหนังสือได้ง่ายขึ้น และจะเห็นว่าหลายคณะ ต้องใช้คะแนนสอบค่อนข้างสูง น้อง ๆ ทุกคนควรจะรีบเตรียมตัวตั้งแต่วันนี้ ดังนั้น พี่ PANYA ขอแนะนำคอร์ส “เคมี A – Level TCAS68 จาก PANYA SOCIETY” ซึ่งเป็นคอร์ส เตรียมตัวสอบ TCAS68 ฉบับสมบูรณ์แบบ ที่ Update ล่าสุด ได้ทั้งทบทวนเนื้อหา ม.4-5-6 ไปพร้อมกับเก็งข้อสอบแนวรูปแบบใหม่ ฝึกทำข้อสอบเพียบ ทบทวนเต็มที่ เก็งข้อสอบแม่นยำ พร้อมทำโจทย์แนวใหม่ ไม่ตกเทรนด์ พร้อมกับโค้ชผู้ช่วยส่วนตัวที่ถาม-ตอบได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ไร้กังวล ติวกับ PANYA SOCIETY ข้อสอบ TCAS68 จะเปลี่ยนไปแค่ไหน พี่ ๆ จะตามติดพัฒนาคอร์สไปพร้อมกับ Test Blueprint ใหม่ล่าสุด ไม่พลาดแน่นอน!!!

VDO ตัวอย่างการสอน

🔥ติวเตอร์คนเก่ง🔥

แผนการอ่านฟิสิกส์

7 เทคนิคตะลุยโจทย์ TCAS

เรียนสนุก ทำโจทย์คล่อง สอบให้ติด

: คอร์สแนะนำ :

SHARE: