PANYA SOCIETY
7 เทคนิคตะลุยโจทย์ เตรียมสอบ TCAS
7 เทคนิคตะลุยฝึกเทคนิคทำข้อสอบ TCAS
สวัสดีครับน้อง ๆ ทุกคน วันนี้พี่ Panya Society กลับมาอีกครั้งพร้อมบทความที่เกี่ยวกับ TCAS นะครับ หลังจากที่น้อง ๆ เก็บเนื้อหาครบแล้ว ก็ถึงเวลาที่จะตะลุยโจทย์ เพื่อทดสอบความรู้และการทำโจทย์ และยังได้เทคนิคทำข้อสอบด้วย โดยวันนี้จะมาแนะนำ 7 เทคนิคตะลุยโจทย์เตรียมสอบ TCAS กันนะครับ พี่ Panya Society ขอบอกเลยว่า น้องที่กำลังเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัยทุกคน ควรต้องฝึกเทคนิคทำข้อสอบ TCAS เพื่อให้พร้อมสอบได้ทัน ถ้าพร้อมแล้ว เริ่ม!!!
1. ทำข้อสอบเก่าย้อนหลัง
ในการฝึกตะลุยโจทย์ฝึกเทคนิคทำข้อสอบมากที่สุด โจทย์ที่เหมาะแก่การนำมาตะลุยโจทย์มากที่สุดก็คือ ข้อสอบเก่าย้อนหลังของแต่ละวิชานั่นเอง ดังนั้นในช่วง 3 – 4 เดือนก่อนสอบ น้อง ๆ จึงควรหาข้อสอบเก่าย้อนหลังประมาณ 3 – 5 พ.ศ. มาฝึกทำ ซึ่งการตะลุยโจทย์ฝึกเทคนิคทำข้อสอบเก่าย้อนหลัง มีข้อดีดังนี้
- ได้รู้ขอบเขตเนื้อหาของข้อสอบ
- ได้รู้ว่าข้อสอบเน้นออกหัวข้อไหน
- ทำให้เริ่มจับแนวข้อสอบได้
- ได้เห็นโจทย์ที่พลิกแพลงหลากหลาย
- ถ้าเจอโจทย์แนวเดียวกันในข้อสอบจริง จะทำได้แน่นอน
2. ทำบรรยากาศให้เหมือนห้องสอบจริง และจับเวลาตามจริง
ในห้องสอบจริง มีการจำกัดเวลาในการทำข้อสอบไว้ชัดเจน ดังนั้นในการตะลุยโจทย์ฝึกเทคนิคทำข้อสอบ TCAS น้อง ๆ ควรจะต้องทำให้เหมือนกับกำลังนั่งสอบจริงให้ได้มากที่สุด โดยอาจจำลองสถานการณ์ตั้งแต่เริ่มเข้าห้องสอบ ดังนี้
- ดื่มน้ำและเข้าห้องน้ำให้เรียบร้อยก่อนเริ่มตะลุยโจทย์
- นั่งตะลุยโจทย์บนโต๊ะและเก้าอี้ขนาดใกล้เคียงกับโต๊ะนักเรียน ไม่นอนทำ
- พกอุปกรณ์ทำข้อสอบเหมือนเข้าห้องสอบจริง พกบัตรประชาชน ไม่พกกระเป๋าดินสอ ไม่ใส่นาฬิกา ไม่พกโทรศัพท์
- จับเวลาทำข้อสอบตามเวลาจริงของการทำข้อสอบ TCAS และไม่หยุดจับเวลาแม้ว่าจะลุกไปเข้าห้องน้ำ หรือมีสิ่งรบกวน
- ไม่ควรให้มีใครรบกวนระหว่างที่กำลังตะลุยโจทย์ฝึกเทคนิคทำข้อสอบ ควรแจ้งผู้ปกครองให้เข้าใจ
- ในระหว่างการสอบจริง น้อง ๆ จะถูกผู้คุมสอบรบกวนให้เซ็นชื่อเข้าสอบหลังจากทำข้อสอบไปแล้วประมาณ 15 นาที ในการตะลุยโจทย์ฝึกเทคนิคทำข้อสอบ ก็ควรเผื่อเวลาสำหรับการถูกรบกวนให้เซ็นชื่อไว้ด้วย
3. เลือกทำข้อง่ายก่อน
ในการทำข้อสอบจริงที่มีเวลาจำกัด จะต้องวางแผนการทำข้อสอบให้ดี เพื่อให้ทำข่้อสอบทันเวลาให้ได้มากที่สุด โดยส่วนมากวิชาที่จะทำไม่ทัน จะเป็นวิชาคำนวณ ซึ่งมีหลักการคร่าว ๆ ทริคทำข้อสอบเลือกข้อง่ายก่อนมีดังนี้
- ไล่อ่านโจทย์ข้อที่โจทย์สั้น ๆ ก่อน หากอ่านจบข้อนั้นแล้ว คิดว่าทำได้ก็เริ่มทำทันที ข้อที่ไม่ได้ให้ข้ามไปก่อน แล้วจึงไปไล่อ่านและทำข้อที่โจทย์ยาว ๆ
- ถ้าเป็นวิชาที่มีทั้งทฤษฎีและคำนวณ (ฟิสิกส์ เคมี) ให้เลือกทำข้อทฤษฎีก่อน
- ถ้าเป็นวิชาที่ต้องคำนวณทั้งหมด (คณิตศาสตร์) ให้เริ่มจากข้อที่ถามตรง ๆ ไม่ต้องวิเคราะห์โจทย์มาก
4. ซ้อม การฝน ข้อสอบจริง
การฝนคำตอบลงในกระดาษคำตอบจริง จะต้องใช้เวลามากกว่าการกาตัวเลือกลงไปในกระดาษคำถาม ดังนั้น นอกจากการทำบรรยายกาศให้เหมือนห้องสอบจริงแล้ว ในการตะลุยโจทย์ฝึกเทคนิคทำข้อสอบ น้อง ๆ จึงควรจะต้องฝึกการฝนให้คล่อง และรวดเร็วที่สุด เพื่อจะได้มีเวลาในการทำข้อสอบมากขึ้น และสิ่งที่ควรต้องระวังมากที่สุดก็คือการฝนผิดข้อ และฝนผิดต่อ ๆ กันไปเรื่อย ๆ ซึ่งหากรู้ตัวภายหลัง ต้องเสียเวลาลบและฝนใหม่นานมาก แต่หากไม่รู้ตัวเลยก็จะทำคะแนนที่ควรจะได้หายไปทั้งหมด โดยสามารถฝึกการฝนข้อสอบได้ดังนี้
- ใช้กระดาษคำตอบ ให้เหมือนจริงมากที่สุด ซึ่งสามารถโหลดกระดาษคำตอบได้จาก
– กระดาษคำตอบ TGAT / TPAT 2 – 5
– กระดาษคำตอบ A – Level - ฝนจากขอบวงกลมด้านนอกเข้ามาข้างใน โดยฝึกให้คล่องและเร็วที่สุด
- ก่อนฝนทุกครั้งให้ดูเลขข้อที่จะฝน ให้ตรงกับเลขข้อของโจทย์ที่เราหาคำตอบมาได้
- อย่าลืมฝนชุดข้อสอบ
5. ทำด้วยตัวเอง ไม่ดูเฉลย
ในการสอบจริงน้อง ๆ ไม่สามารถเปิดดูเนื้อหา ดูเฉลย หรือถามคนอื่นได้ ดังนั้น ในการตะลุยโจทย์ฝึกเทคนิคทำข้อสอบ จะต้องไม่โกงตัวเอง การทำด้วยตัวเองโดยไม่ดูเฉลยมีข้อดีดังนี้
- ได้ฝึกคิด ฝึกวิเคราะห์โจทย์ ทำให้กระบวนการคิดของน้อง ๆ พัฒนาได้ดีขึ้น และอาจได้ทริคทำข้อสอบเพิ่มจากการทำโจทย์เยอะ ๆ อีกด้วย
- ได้ฝึการคำนวณ ทำให้คิดเลขได้ไวขึ้น ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการลดเวลาทำข้อสอบได้มาก
- ได้รู้จุดที่ผิดพลาดของตัวเอง ที่อาจโดนโจทย์หลอกทำให้ไม่ได้คะแนน ในการตะลุยฝึกเทคนิคทำข้อสอชุดต่อไปจะได้ไม่พลาดอีก
- ได้รู้ว่าจุดไหนที่น้อง ๆ ยังทำไม่ได้ จะได้นำไปพัฒนาขึ้น ในการตะลุยโจทย์ฝึกเทคนิคทำข้อสอบชุดต่อไป
- ได้รู้คะแนนสอบคร่าว ๆ ว่าตอนนี้ ทำได้ประมาณกี่คะแนน เผื่อใช้ประเมิณตัวเอง
6. อ่านทวนจุดที่ยังทำไม่ได้
หลังจากได้ลองทำข้อสอบด้วยตัวเองดูแล้ว ให้ทำการดูเฉลยแบบละเอียดในข้อที่ทำไม่ได้ และหากยังดูเฉลยไม่เข้าใจ แสดงว่า น้อง ๆ ยังไม่แม่นเนื้อหาส่วนนั้น จึงควรกลับไปทบทวนเนื้อหาส่วนนั้นให้เข้าใจ และนอกการทำได้หรือไม่ได้แล้ว ยังมีเรื่องของเวลาที่มีจำกัดในการทำโจทย์แต่ละข้อด้วย บางข้ออาจจะทำได้แต่ใช้เวลานานมากเกินไป ก็ควรต้องพิจารณาด้วยว่าควรปรับปรุงอย่างไร ดังนั้นในขณะที่ตะลุยโจทย์ฝึกเทคนิคทำข้อสอบ จะมีทริคทำข้อสอบดังนี้
- วงข้อที่ทำไม่ได้ไว้ เพื่อจะได้กลับมาดูเฉลยอย่างละเอียด และกลับไปทบทวนเนื้อหาส่วนนั้นต่อไป
- ดูเวลาที่ใช้ทำในแต่ละข้อ หากข้อไหนทำนานไปให้ เขียนกำกับไว้ว่า ใช้เวลาเกิน เพื่อที่จะกลับมาพิจารณาว่าเป็นเพราะสาเหตุใด
7. จดผลสอบเพื่อดูพัฒนาการ
ในการตะลุยโจทย์ฝึกเทคนิคทำข้อสอบแต่ละชุด ควรจดคะแนนไว้ เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับการตะลุยโจทย์ครั้งต่อไป ว่าคะแนนของเราดีขึ้น หรือน้อยลงอย่างไร เพื่อจะได้มั่นใจว่าในการทำข้อสอบจริง จะได้คะแนนตามที่เราซ้อมมา ซึ่งพิจารณาได้ดังนี้
- หากคะแนนในแต่ละชุดยังไม่เพิ่มขึ้น อาจต้องกลับไปทบทวนเนื้อหาให้แม่นขึ้น
- หากคะแนนข้อสอบชุดหลัง ๆ ได้คะแนนมากพอแล้ว ก็สามารถไปตะลุยโจทย์ฝึกเทคนิคทำข้อสอบในวิชาอื่น ๆ ต่อไปได้
พูดคุยหลังอ่าน
เป็นยังไงกันบ้างครับทุกคน หวังว่าพี่ ๆ Panya Society จะช่วยให้น้อง ๆ เตรียมสอบกันได้ดียิ่งขึ้น แต่พี่ ๆ ต้องของบอกไว้ก่อนว่า เทคนิคที่นำมาแนะนำนี้ เป็นเพียงแนวทางในการตะลุยโจทย์แบบหนึ่งเท่านั้น น้อง ๆ สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความถนัดของน้อง ๆ แต่ละคนครับ
หลังจากน้อง ๆ ทุกคนได้รู้เทคนิคการตะลุยโจทย์ TCAS แล้ว จะเห็นว่า จะต้องมีข้อสอบย้อนหลัง และเฉลยแบบละเอียดทุกข้อ ดังนั้น พี่ PANYA ขอแนะนำคอร์ส “UpScore TCAS ทั้ง 3 วิชาจาก PANYA SOCIETY” ซึ่งเป็นคอร์ส เตรียมตัวสอบ TCAS ฉบับสมบูรณ์แบบ ที่ Update ล่าสุด ได้ทั้งทบทวนเนื้อหา ม.4-5-6 ไปพร้อมกับเก็งข้อสอบแนวรูปแบบใหม่ ฝึกทำข้อสอบเพียบ ทบทวนเต็มที่ เก็งข้อสอบแม่นยำ พร้อมทำโจทย์แนวใหม่ ไม่ตกเทรนด์ พร้อมกับโค้ชผู้ช่วยส่วนตัวที่ถาม-ตอบได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ไร้กังวล ติวกับ PANYA SOCIETY ข้อสอบ TCAS จะเปลี่ยนไปแค่ไหน พี่ ๆ จะตามติดพัฒนาคอร์สไปพร้อมกับ Test Blueprint ใหม่ล่าสุด ไม่พลาดแน่นอน!!!
💬 ปรึกษาแผนการเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย ฟรี! คลิกเลย!
VDO ตัวอย่างการสอน
TCAS UpScore
🔥ติวเตอร์คนเก่ง🔥
- ทำงานตำแหน่ง Software Engineer ที่ Google กว่า 10 ปี
- ได้รับทุนเล่าเรียนหลวงไปศึกษาระดับปริญญาตรีด้าน Electrical and Computer Engineering และ computer science ที่ Carnegie Mellon University ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
- จบปริญญาเอกด้าน Artificial Intelligence (AI) พร้อมรางวัลนักเรียนดีเด่นจาก UCLA
- ผลงานวิจัยด้าน Artificial Intelligence (AI) ของอ.นอตได้รับรางวัลงานวิจัยดีเยี่ยมจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติในปี 2557
- ปัจจุบันทำงานในบริษัท Start-up ด้านเทคโนโลยีหลายแห่ง
- อดีตเหรียญทองฟิสิกส์โอลิมปิก
- ได้รับทุนธนาคารแห่งประเทศไทย ไปศึกษาต่อระดับปริญญาตรีและโท คณะ Electrical and Computer Engineering (วิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์) ที่ Carnegie Mellon University ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยจบทั้งสองปริญญาในเวลา 4 ปี
- เคยทำงานที่บริษัท Oracle สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นบริษัทซอฟต์แวร์ระดับ Top 5 ของโลก
- ผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์เด็กดีดอทคอม
- ปริญญาตรี โท เอก คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ
- บัณฑิตศึกษาปริญญาโทที่มีผลการเรียนดีเด่น (รางวัล ดร.แถบ นีละนิธิ)
- อาจารย์พิเศษ วิชาเคมี ห้องเรียนพิเศษ gifted โรงเรียนมัธยม
- วิทยากรรับเชิญ เตรียมสอบ O-NET วิชาวิทยาศาสตร์ ม.ต้น ม.ปลาย
- วิทยากรรับเชิญเตรียมสอบ PAT2 และ วิชาสามัญ (เคมี)
- นิสิตทุนโปรแกรมเกียรตินิยม ปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 1) วิชาเอกภาษาไทยขั้นสูง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ปริญญาโท ด้านการสอนและการเรียนรู้ MSc Education (Distinction) University of Bristol ประเทศอังกฤษ
- ลำดับที่ 1 สอบแข่งขันรับราชการครูผู้ช่วยวิชาเอกภาษาไทย (ประจวบฯ) ประจำปี พ.ศ.2560
- ผู้เขียนหนังสือเรียนภาษาไทย O-NET ทรูปลูกปัญญา และภาษาไทย วิชาสามัญ veo-online
- วิทยากร โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติ (O-NET) วิชาภาษาไทย โรงเรียนต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ
- วิทยากร โครงการอบรมเชิงปฏิบัติ การพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาด้านการสอนภาษาไทย (การเรียนรู้เชิงรุก Active Learning)
- ปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาวิชามัธยมศึกษา (มนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์) วิชาเอกสังคมศึกษาขั้นสูง (เกียรตินิยมอันดับ 1)
- ที่ 2 สอบครูผู้ช่วย สนามสอบกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2561
- วิทยากรติว O-NET และ 9 วิชาสามัญ โรงเรียนในกรุงเทพมหานคร
- ครูผู้ฝึกซ้อมนักเรียนเข้าแข่งขันความรู้ทางวิชาการ และความเป็นเลิศในรายวิชาสังคมศึกษา ทั้งกฎหมาย รัฐศาสตร์ พุทธศาสนา เศรษฐศาสตร์ และสังคมวิทยา
- อาจารย์ประจำโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- ปริญญาโท ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาวิชา การสอนสังคมศึกษา
- ปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาวิชามัธยมศึกษา(มนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์) วิชาเอกสังคมศึกษาขั้นสูง (เกียรตินิยมอันดับ 2)
- เป็นสุดยอดแฟนพันธุ์แท้ “อาณาจักรโรมัน” และแฟนพันธุ์แท้ “เทพปกรณัมกรีก”
- กำลังศึกษาปริญญาโท คณะศิลปศาสตร์ สาขาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ปริญญาตรี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง)
- พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน สายการบินนานาชาติกว่า 6 ปี
- ติวเตอร์ภาษาอังกฤษประสบการณ์สอนกว่า 10 ปี ที่เชื่อว่าภาษาเป็นทักษะ ใครๆ ก็เก่งได้แค่ฝึกฝนให้ถูกทาง
- แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปประจำโรงพยาบาลเอกชน
- ปัจจุบันทำงานเกี่ยวกับ HealthTech ในบริษัทเอกชนด้าน IT
- ผู้ก่อตั้งและพัฒนาแอพแจ้งเตือนมลภาวะทางอากาศทาง Line
- อดีตตัวแทนประเทศไทย แข่งขันคณิตศาสตร์โลก International Mathematics Competition 2011 (IMC)
- ปริญญาตรี แพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- นักเรียนทุนรัฐบาลไปศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
- ปริญญาตรีสาขาชีวเคมีจาก University of Pennsylvania
- ปริญญาโท-เอกสาขาชีวเคมีจาก California Institute of Technology
- ปัจจุบันทำหน้าที่เป็นนักวิจัยด้านไวรัสวิทยาและวัคซีน
- ได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์จากสภาวิจัยแห่งชาติ
- ได้รับรางวัลผลงานวิจัยจากสภาวิจัยแห่งชาติ
- อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ คณะวิทยาศาสตร์
- ตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิก 3 ปี (1996, 1997, 1998)
- อันดับ 1 ทุนเล่าเรียนหลวงสายวิทยาศาสตร์ปี 2541
- ปริญญาตรีสาขาฟิสิกส์ California Institute of Technology
- ปริญญาโท-เอกสาขาอุตุนิยมวิทยาและสมุทรศาสตร์ University of California, Los Angeles