PANYA SOCIETY
เรียนวิศวะที่ไหนดี? รวม Top 10 มหาวิทยาลัยที่โดดเด่นในสายวิศวกรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยที่โดดเด่นในสายวิศวกรรมศาสตร์
สวัสดีครับน้อง ๆ ทุกคน วันนี้พี่ Panya Society กลับมาอีกครั้งพร้อมบทความที่เกี่ยวกับ วิศวะฯ นะครับ ถึงแม้ว่าการจะเป็นวิศวกรที่เก่งได้นั้น ส่วนมากจะขึ้นอยู่กับความตั้งใจในการเรียนของน้อง ๆ เอง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าจบจากมหาวิทยาลัยใด แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการได้เรียนในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงทางด้านวิศวะฯ นั้น ทำให้เรามีโอกาสที่ดีขึ้นในหลาย ๆ เรื่อง เช่น โอกาสในการสมัครงาน หรือการได้รู้จักผู้คนในสายงานวิศวะฯ ผ่านทางมหาวิทยาลัย เป็นต้น วันนี้พี่ Panya Society จะพาน้อง ๆ มาดูว่ามหาวิทยาลัยไหนโดดเด่นในสายวิศวะฯ บ้าง เพื่อช่วยให้น้อง ๆ เลือกมหาวิทยาลัยที่ใช่ สาขาที่ชอบ ได้ตรงใจมากที่สุด เพื่อโอกาสที่มากขึ้น ถ้าพร้อมแล้ว เริ่ม!!!
มหาวิทยาลัยยอดฮิตในสายวิศวกรรมศาสตร์
จำนวนคนสมัครวิศวะฯ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (ปีล่าสุด)
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มีความโดดเด่นในสายวิศวะฯ ดังนี้
- โดดเด่นในวิศวะฯ ทุกสาขา
- เด่นทั้งด้านทฤษฎีและปฏิบัติ
- ได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง โดยร่วมมีอกับบริษัทด้านวิศะฯ ทั้งในและต่างประเทศ
- เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน
สาขาวิศวะฯ | จำนวนที่เปิดรับ | จำนวนคนสมัคร | อัตราการแข่งขัน |
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ | 20 | 1,801 | 1/90 |
วิศวกรรมไฟฟ้า | 20 | 1,205 | 1/60 |
วิศวกรรมโยธา | 15 | 1,165 | 1/78 |
วิศวกรรมอุตสาหการ | 20 | 773 | 1/39 |
วิศวกรรมเครื่องกล | 5 | 693 | 1/139 |
วิศวกรรมเคมี | 10 | 519 | 1/52 |
วิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์และออโตเมชัน (หลักสูตรนานาชาติ) | 15 | 465 | 1/31 |
วิศวกรรมชีวการแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ) | 5 | 165 | 1/33 |
วิศวกรรมการเงิน (หลักสูตรนานาชาติ) | 5 | 68 | 1/14 |
วิศวกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ (หลักสูตรนานาชาติ) | 5 | 54 | 1/11 |
สาขาอื่น ๆ | 75 | 2,290 | 1/31 |
รวม | 195 | 9,198 | 1/47 |
จากตารางมีจุดสังเกตดังนี้
– มีคนสมัครคณะวิศวะฯ รวมถึง 9,198 คน
– เป็นมหาวิทยาลัยที่มีอัตรการแข่งขันของคณะวิศวะฯ สูงสูงที่สุดอันดับหนึ่ง ซึ่งสูงถึง 1/47
– สาขายอดฮิตที่มีคนสมัครมากที่สุด เกิน 1,000 คน ได้แก่ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมไฟฟ้า และวิศวกรรมโยธา
– สาขาที่มีการแข่งขันสูงที่สุด คือ วิศวกรรมเครื่องกล มีอัตราการแข่งขันสูงถึง 1/139
จำนวนคนสมัครวิศวะฯ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (ปีล่าสุด)
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มีความโดดเด่นในสายวิศวะฯ ดังนี้
- โดดเด่นในวิศวะฯ หลายสาขา โดยเฉพาะ วิศวกรรมเครื่องกลและวิศวกรรมโยธา
- เน้นให้ลงมือปฏิบัติควบคู่ไปกับทฤษฎี
- งานวิจัยของมหาวิทยาลัยตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรม
สาขาวิศวะฯ | จำนวนที่เปิดรับ | จำนวนคนสมัคร | อัตราการแข่งขัน |
วิศวกรรมโลจิสติกส์ | 15 | 2,025 | 1/135 |
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ | 5 | 1,116 | 1/223 |
วิศวกรรมไฟฟ้า | 30 | 943 | 1/31 |
วิศวกรรมวัสดุ | 30 | 433 | 1/14 |
วิศวกรรมเคมี | 20 | 391 | 1/20 |
วิศวกรรมเครื่องกล | 25 | 380 | 1/15 |
วิศวกรรมโยธา | 40 | 376 | 1/9 |
วิศวกรรมอุตสาหการ | 10 | 299 | 1/29 |
วิศวกรรมไฟฟ้าอุตสาหกรรมและพลังงาน | 10 | 234 | 1/23 |
วิศวกรรมการบินและอวกาศ | 25 | 210 | 1/8 |
สาขาอื่น ๆ | 430 | 2,266 | 1/5 |
รวม | 640 | 8,673 | 1/14 |
จากตารางคณะวิศกรรมศาสตร์ของ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มีจุดสังเกตดังนี้
– มีคนสมัครคณะวิศวะฯ รวมถึง 8,673 คน
– สาขายอดฮิตที่มีคนสมัครมากที่สุด คือ วิศวกรรมโลจิสติกส์ มีคนสมัครมากกว่า 2,000 คน
– สาขาที่มีการแข่งขันสูงที่สุด คือ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มีอัตราการแข่งขันสูงถึง 1/223
จำนวนคนสมัครวิศวะฯ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (ปีล่าสุด)
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มีความโดดเด่นในสายวิศวะฯ ดังนี้
- โดดเด่นในวิศวะฯ หลายสาขา โดยเฉพาะ วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม วิศวกรรมเคมี และวิศวกรรมเทคโนโลยีการผลิต
- มีชื่อเสียงด้านผลงานวิจัยและนวัตกรรม
- มีทุนวิจัยมากมาย
- มีโอกาสร่วมงานกับบริษัทใหญ่ในประเทศ
สาขาวิศวะฯ | จำนวนที่เปิดรับ | จำนวนคนสมัคร | อัตราการแข่งขัน |
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ | 10 | 433 | 1/43 |
วิศวกรรมไฟฟ้า | 29 | 384 | 1/13 |
วิศวกรรมเครื่องกล | 10 | 271 | 1/27 |
วิศวกรรมโยธา | 5 | 231 | 1/46 |
วิศวกรรมเคมี | 30 | 201 | 1/7 |
วิศวกรรมอุตสาหการ | 13 | 132 | 1/10 |
วิศวกรรมวัสดุ | 30 | 74 | 1/2 |
วิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ | 4 | 56 | 1/14 |
วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม | 2 | 53 | 1/26 |
วิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารและอิเล็กทรอนิกส์ | 4 | 46 | 1/12 |
สาขาอื่น ๆ | 288 | 447 | 1/2 |
รวม | 425 | 2,328 | 1/5 |
จากตารางคณะวิศกรรมศาสตร์ของ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มีจุดสังเกตดังนี้
– สาขายอดฮิตที่มีคนสมัครมากที่สุด คือ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มีคนสมัครมากกว่า 400 คน
– สาขาที่มีการแข่งขันสูงที่สุด คือ วิศวกรรมโยธา มีอัตราการแข่งขัน 1/46
จำนวนคนสมัครวิศวะฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ปีล่าสุด)
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความโดดเด่นในสายวิศวะฯ ดังนี้
- โดดเด่นในวิศวะฯ หลายสาขา
- เน้นพัฒนาทักษะวิชาชีพและความคิดสร้างสรรค์
- มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในต่างประเทศ
สาขาวิศวะฯ | จำนวนที่เปิดรับ | จำนวนคนสมัคร | อัตราการแข่งขัน |
วิศวกรรมทั่วไป | 380 | 1,119 | 1/3 |
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล | 140 | 591 | 1/4 |
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ | 65 | 579 | 1/9 |
วิศวกรรมสำรวจ | 40 | 238 | 1/6 |
วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม | 25 | 170 | 1/7 |
วิศวกรรมนิวเคลียร์และรังสี | 25 | 167 | 1/7 |
วิศวกรรมโยธา | 10 | 118 | 1/12 |
วิศวกรรมวัสดุ | 35 | 101 | 1/3 |
วิศวกรรมอุตสาหการ | 5 | 92 | 1/18 |
วิศวกรรมทรัพยากรธรณี | 25 | 33 | 1/1.3 |
รวม | 750 | 3,208 | 1/4 |
จากตารางคณะวิศกรรมศาสตร์ของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีจุดสังเกตดังนี้
– สาขายอดฮิตที่มีคนสมัครมากที่สุด คือ วิศวกรรมทั่วไป มีคนสมัครมากกว่า 1,000 คน และเป็นสาขาที่เปิดรับมากที่สุดด้วย
– สาขาที่มีการแข่งขันสูงที่สุด คือ วิศวกรรมอุตสาหการ มีอัตราการแข่งขัน 1/18
– คณะวิศวะฯ ของจุฬาฯ มีการเปิดรับเป็นจำนวนมาก ทำให้อัตราการแข่งขันโดยรวมไม่ได้สูงมาก
จำนวนคนสมัครวิศวะฯ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ปีล่าสุด)
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีความโดดเด่นในสายวิศวะฯ ดังนี้
- โดดเด่นในวิศวะฯ หลายสาขา
- ให้ความสำคัญกับการจัดการทรัพยากรเพื่อการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ
- เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน
สาขาวิศวะฯ | จำนวนที่เปิดรับ | จำนวนคนสมัคร | อัตราการแข่งขัน |
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ | 40 | 2,189 | 1/55 |
วิศวกรรมไฟฟ้า | 20 | 1,756 | 1/88 |
วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม | 45 | 1,068 | 1/24 |
วิศวกรรมโยธา | 35 | 1,025 | 1/29 |
วิศวกรรมเครื่องกล | 21 | 874 | 1/42 |
วิศวกรรมเคมี | 15 | 594 | 1/40 |
วิศวกรรมอุตสาหการ | 30 | 583 | 1/19 |
วิศวกรรมการบินและอวกาศ | 25 | 560 | 1/22 |
วิศวกรรมวัสดุ | 10 | 428 | 1/43 |
วิศวกรรมสำรวจและสารสนเทศภูมิศาสตร์ | 45 | 302 | 1/7 |
สาขาอื่น ๆ | 454 | 5,736 | 1/13 |
รวม | 740 | 15,115 | 1/20 |
จากตารางคณะวิศกรรมศาสตร์ของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีจุดสังเกตดังนี้
– เป็นมหาวิทยาลัยที่มีคนสมัครเข้าคณะวิศวะฯ มากที่สุดอันดับหนึ่ง ซึ่งสูงถึง 15,115 คน
– เป็นมหาวิทยาลัยที่มีอัตรการแข่งขันของคณะวิศวะฯ สูงถึง 1/20
– สาขายอดฮิตที่มีคนสมัครมากที่สุด คือ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มีคนสมัครมากกว่า 2,000 คน
– สาขาที่มีการแข่งขันสูงที่สุด คือ วิศวกรรมไฟฟ้า มีอัตราการแข่งขันสูงถึง 1/88
จำนวนคนสมัครวิศวะฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ปีล่าสุด)
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความโดดเด่นในสายวิศวะฯ ดังนี้
- โดดเด่นในวิศวะฯ หลายสาขา โดยเฉพาะ วิศวกรรมโยธา
- เน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน
- ปลูกฝังให้รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
- ฝึกการคิดวิเคราะห์และการทำงานเป็นทีม
สาขาวิศวะฯ | จำนวนที่เปิดรับ | จำนวนคนสมัคร | อัตราการแข่งขัน |
วิศวกรรมไฟฟ้า | 60 | 1,228 | 1/20 |
วิศวกรรมอุตสาหการ | 50 | 1,175 | 1/24 |
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ | 30 | 1,009 | 1/34 |
วิศวกรรมโยธา | 40 | 990 | 1/25 |
วิศวกรรมเครื่องกล | 35 | 898 | 1/26 |
วิศวกรรมเคมี | 60 | 622 | 1/10 |
วิศวกรรมโยธาและการบริหารการก่อสร้าง | 20 | 464 | 1/23 |
วิศวกรรมไฟฟ้าและการจัดการอุตสาหกรรม | 30 | 453 | 1/15 |
วิศวกรรมซอฟต์แวร์ | 30 | 444 | 1/15 |
รวม | 355 | 7,283 | 1/21 |
จากตารางคณะวิศกรรมศาสตร์ของ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีจุดสังเกตดังนี้
– เป็นมหาวิทยาลัยที่โดดเด่นในสายวิศวะฯ มีคนสมัครรวมถึง 7,283 คน
– เป็นมหาวิทยาลัยที่มีอัตรการแข่งขันของคณะวิศวะฯ สูงถึง 1/21
– สาขายอดฮิตที่มีคนสมัครมากที่สุด เกิน 1,000 คน คือ วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมอุตสาหการ และวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
– สาขาที่มีการแข่งขันสูงที่สุด คือ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มีอัตราการแข่งขันสูงถึง 1/34
จำนวนคนสมัครวิศวะฯ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ปีล่าสุด)
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีความโดดเด่นในสายวิศวะฯ ดังนี้
- โดดเด่นในวิศวะฯ หลายสาขา โดยเฉพาะ วิศวกรรมโยธา และวิศวกรรมเหมืองแร่
- เด่นในการวิจัยทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- มีโอกาสฝึกงานกับโครงการวิจัยพัฒนาท้องถิ่น
สาขาวิศวะฯ | จำนวนที่เปิดรับ | จำนวนคนสมัคร | อัตราการแข่งขัน |
วิศวกรรมโยธา | 17 | 1,194 | 1/48 |
วิศวกรรมเครื่องกล | 45 | 1,165 | 1/26 |
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ | 10 | 955 | 1/96 |
วิศวกรรมไฟฟ้า | 20 | 931 | 1/47 |
วิศวกรรมอุตสาหการ | 30 | 918 | 1/31 |
วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม | 5 | 416 | 1/83 |
วิศวกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ | 10 | 259 | 1/26 |
วิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม | 5 | 223 | 1/45 |
วิศวกรรมบูรณาการ | 5 | 183 | 1/37 |
วิศวกรรมอุตสาหการและการจัดการโลจิสติกส์ | 20 | 120 | 1/6 |
สาขาอื่น ๆ | 150 | 2,066 | 1/14 |
รวม | 325 | 8,430 | 1/26 |
จากตารางคณะวิศกรรมศาสตร์ของ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีจุดสังเกตดังนี้
– เป็นอีกหนึ่งมหาวิทยาลัยที่โดดเด่นในสายวิศวะฯ มีคนสมัครรวมถึง 8,430 คน
– เป็นมหาวิทยาลัยที่มีอัตรการแข่งขันของคณะวิศวะฯ สูงถึง 1/26
– สาขายอดฮิตที่มีคนสมัครมากที่สุด เกิน 1,000 คน คือ วิศวกรรมโยธา และวิศวกรรมเครื่องกล
– สาขาที่มีการแข่งขันสูงที่สุด คือ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มีอัตราการแข่งขันสูงถึง 1/96
จำนวนคนสมัครวิศวะฯ มหาวิทยาลัยมหิดล (ปีล่าสุด)
มหาวิทยาลัยมหิดล มีความโดดเด่นในสายวิศวะฯ ดังนี้
- โดดเด่นในวิศวะฯ หลายสาขา โดยเฉพาะ วิศวกรรมชีวการแพทย์
- มีผลงานวิจัยที่ใช้รักษาและพัฒนาสุขภาพได้จริง
- มีโอกาสเรียนรู้และพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ใหม่ ๆ
สาขาวิศวะฯ | จำนวนที่เปิดรับ | จำนวนคนสมัคร | อัตราการแข่งขัน |
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ | 35 | 595 | 1/17 |
วิศวกรรมไฟฟ้า | 25 | 412 | 1/16 |
วิศวกรรมโยธา | 45 | 376 | 1/8 |
วิศวกรรมเครื่องกล | 10 | 345 | 1/35 |
วิศวกรรมอุตสาหการ | 10 | 278 | 1/28 |
วิศวกรรมชีวการแพทย์ | 5 | 155 | 1/31 |
วิศวกรรมเคมี | 5 | 144 | 1/29 |
สาขาอื่น ๆ | 30 | 80 | 1/3 |
รวม | 165 | 2,385 | 1/14 |
จากตารางคณะวิศกรรมศาสตร์ของ มหาวิทยาลัยมหิดล มีจุดสังเกตดังนี้
– สาขายอดฮิตที่มีคนสมัครมากที่สุด คือ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มีคนสมัครเกือบ 600 คน
– สาขาที่มีการแข่งขันสูงที่สุด คือ วิศวกรรมเครื่องกล มีอัตราการแข่งขัน 1/35
จำนวนคนสมัครวิศวะฯ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ปีล่าสุด)
มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีความโดดเด่นในสายวิศวะฯ ดังนี้
- โดดเด่นในวิศวะฯ หลายสาขา โดยเฉพาะ วิศวกรรมเครื่องกล และวิศวกรรมโยธา
- เน้นงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ชุมชน
- มีโอกาสได้เรียนต่อในระดับนานาชาติ
สาขาวิศวะฯ | จำนวนที่เปิดรับ | จำนวนคนสมัคร | อัตราการแข่งขัน |
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ | 30 | 412 | 1/14 |
วิศวกรรมเครื่องกล | 27 | 252 | 1/9 |
วิศวกรรมไฟฟ้า | 21 | 227 | 1/11 |
วิศวกรรมอุตสาหการ | 28 | 212 | 1/8 |
วิศวกรรมโยธา | 27 | 182 | 1/7 |
วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม | 17 | 94 | 1/6 |
วิศวกรรมระบบอิเล็กทรอนิกส์ | 15 | 86 | 1/6 |
วิศวกรรมระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และปัญญาประดิษฐ์ | 26 | 55 | 1/2 |
วิศวกรรมเคมี | 26 | 41 | 1/2 |
วิศวกรรมโลจิสติกส์ (หลักสูตรนานาชาติ) | 31 | 31 | 1/2 |
สาขาอื่น ๆ | 68 | 151 | 1/2 |
รวม | 316 | 1,776 | 1/6 |
จากตารางคณะวิศกรรมศาสตร์ของ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีจุดสังเกตดังนี้
– สาขายอดฮิตที่มีคนสมัครมากที่สุด คือ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มีคนสมัคร 412 คน เป็นสาขาที่มีอัตราการแข่งขันสูงที่สุดถึง 1/14
จำนวนคนสมัครวิศวะฯ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ปีล่าสุด)
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีความโดดเด่นในสายวิศวะฯ ดังนี้
- โดดเด่นในวิศวะฯ หลายสาขา โดยเฉพาะ วิศวกรรมอุตสาหการ
- เน้นพัฒนาทักษะรอบด้าน
- ส่งเสริมให้คิดนอกกรอบและวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล
- มีการจัดให้มีการฝึกงานกับบริษัทที่ตรงกับสายงาน
สาขาวิศวะฯ | จำนวนที่เปิดรับ | จำนวนคนสมัคร | อัตราการแข่งขัน |
วิศวกรรมเครื่องกล | 26 | 289 | 1/11 |
วิศวกรรมไฟฟ้า | 13 | 211 | 1/16 |
วิศวกรรมเคมี | 12 | 189 | 1/16 |
วิศวกรรมอุตสาหการ | 18 | 161 | 1/9 |
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ | 15 | 144 | 1/10 |
วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม | 26 | 130 | 1/5 |
วิศวกรรมโลจิสติกส์ (หลักสูตร 2 ภาษา) | 43 | 78 | 1/2 |
สาขาอื่น ๆ | 146 | 377 | 1/3 |
รวม | 299 | 1,579 | 1/5 |
จากตารางคณะวิศกรรมศาสตร์ของ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีจุดสังเกตดังนี้
– สาขาที่มีคนสมัครมากที่สุด คือ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มีคนสมัคร 289 คน
– สาขาที่มีการแข่งขันสูงที่สุด คือ วิศวกรรมไฟฟ้า และวิศวกรรมเคมี มีอัตราการแข่งขัน 1/16
คอร์สแนะนำสอบติดวิศวะ
ฟิสิกส์ TPAT3
หลังจากน้อง ๆ ได้รู้แล้วว่าคณะวิศวะฯ ยอดฮิต มีมหาวิทยาลันไหนบ้าง สำหรับ TCAS นี้ หวังว่าจะช่วยให้น้อง ๆ วางแผนอ่านหนังสือได้ง่ายขึ้น และบอกเลยว่าคณะวิศวกรรมศา่สตร์ ต้องใช้คะแนนสอบค่อนข้างสูง น้อง ๆ ทุกคนควรจะรีบเตรียมตัวตั้งแต่วันนี้ ดังนั้น พี่ PANYA ขอแนะนำคอร์สที่จะช่วยให้น้อง ๆ สอบติดวิศวะฯ ตามแผนที่วางไว้ ดังนี้
1. คอร์ส TPAT3 ความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์
● ติวเข้มเนื้อหาเตรียมสอบ TPAT3 ติวสอบวิศวะ ที่โรงเรียนไม่เคยสอน กระชับ ตรงประเด็น
2. คอร์ส TGAT วิชาวัดความถนัดทั่วไป
● ติวสอบ TGAT ครบจบทั้ง 3 พาร์ต ในคอร์สเดียว ติวกับกูรูขั้นเทพ ครบทั้งเนื้อหา แนวโจทย์ และเทคนิคเพิ่มคะแนนทั้ง 3 พาร์ต
3. คอร์สฟิสิกส์ A-Level TCAS
● ติวเข้มพิชิต ฟิสิกส์ A-Level TCAS ที่คุ้มค่าที่สุด อัพเดทล่าสุด กระชับ ตรงประเด็น
4. คอร์สฟิสิกส์ TCAS ติดอาวุธลับ UpScore
● ตะลุยโจทย์ข้อสอบฟิสิกส์ A-Level สรุปสูตรที่ใช้สอบ พร้อมเทคนิคเพิ่มคะแนนให้ได้มากที่สุด
5. คอร์ส คณิตศาสตร์ A-Level (เลขหลัก (พื้นฐาน) + เลขเสริม (เพิ่มเติม))
● ติวเข้มเนื้อหาคณิตศาสตร์ ม.ปลาย เสกโจทย์ยากให้ง่าย เพิ่มคะแนนสอบ A-Level คณิตศาสตร์
6. คอร์สคณิตศาสตร์ TCAS ติดอาวุธลับ UpScore
● ตะลุยโจทย์ข้อสอบคณิตศาสตร์ A-Level สอนเนื้อๆ เน้นๆ พร้อมเทคนิคเพิ่มคะแนนในเวลาจำกัด
7. คอร์สเคมี A-Level TCAS
●ติวเข้มเคมี A-Level เนื้อหาเน้น ๆ เจาะลึกพร้อมเคล็ดลับการทำโจทย์ที่หาจากที่ไหนไม่ได้
8. คอร์สเคมี TCAS ติดอาวุธลับ UpScore
● ตะลุยโจทย์เคมี A-Level เน้นจุดออกสอบบ่อย จุดผิดบ่อย พร้อมเทคนิคเพิ่มคะแนนในห้องสอบ
9. คอร์สภาษาอังกฤษ A-Level
● คอร์สเรียนภาษาอังกฤษ A-Level ที่ครบถ้วน ครอบคลุม ตรงตามโครงสร้างข้อสอบ ภาษาอังกฤษ A-Level ที่สุด
10. คอร์สคณิตศาสตร์ 2 A-Level
● คอร์ส คณิตศาสตร์ 2 A-Level ติว สอบ เลขหลัก (พื้นฐาน) ครบทุกบทในคอร์สเดียว
คอร์สทั้งหมดที่พี่ PANYA นำมาแนะนำ เป็นคอร์ส เตรียมตัวสอบ TCAS ฉบับสมบูรณ์แบบ ที่ Update ล่าสุด ได้ทั้งทบทวนเนื้อหา ม.4-5-6 ไปพร้อมกับเก็งข้อสอบแนวรูปแบบใหม่ ฝึกทำข้อสอบเพียบ ทบทวนเต็มที่ เก็งข้อสอบแม่นยำ พร้อมทำโจทย์แนวใหม่ ไม่ตกเทรนด์ พร้อมกับโค้ชผู้ช่วยส่วนตัวที่ถาม-ตอบได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ไร้กังวล ติวกับ PANYA SOCIETY ข้อสอบ TCAS จะเปลี่ยนไปแค่ไหน พี่ ๆ จะตามติดพัฒนาคอร์สไปพร้อมกับ Test Blueprint ใหม่ล่าสุด ไม่พลาดแน่นอน!!!
🔥ติวเตอร์คนเก่ง🔥
- ทำงานตำแหน่ง Software Engineer ที่ Google กว่า 10 ปี
- ได้รับทุนเล่าเรียนหลวงไปศึกษาระดับปริญญาตรีด้าน Electrical and Computer Engineering และ computer science ที่ Carnegie Mellon University ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
- จบปริญญาเอกด้าน Artificial Intelligence (AI) พร้อมรางวัลนักเรียนดีเด่นจาก UCLA
- ผลงานวิจัยด้าน Artificial Intelligence (AI) ของอ.นอตได้รับรางวัลงานวิจัยดีเยี่ยมจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติในปี 2557
- ปัจจุบันทำงานในบริษัท Start-up ด้านเทคโนโลยีหลายแห่ง
- อดีตเหรียญทองฟิสิกส์โอลิมปิก
- ได้รับทุนธนาคารแห่งประเทศไทย ไปศึกษาต่อระดับปริญญาตรีและโท คณะ Electrical and Computer Engineering (วิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์) ที่ Carnegie Mellon University ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยจบทั้งสองปริญญาในเวลา 4 ปี
- เคยทำงานที่บริษัท Oracle สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นบริษัทซอฟต์แวร์ระดับ Top 5 ของโลก
- ผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์เด็กดีดอทคอม
- ปริญญาตรี โท เอก คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ
- บัณฑิตศึกษาปริญญาโทที่มีผลการเรียนดีเด่น (รางวัล ดร.แถบ นีละนิธิ)
- อาจารย์พิเศษ วิชาเคมี ห้องเรียนพิเศษ gifted โรงเรียนมัธยม
- วิทยากรรับเชิญ เตรียมสอบ O-NET วิชาวิทยาศาสตร์ ม.ต้น ม.ปลาย
- วิทยากรรับเชิญเตรียมสอบ PAT2 และ วิชาสามัญ (เคมี)
- นิสิตทุนโปรแกรมเกียรตินิยม ปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 1) วิชาเอกภาษาไทยขั้นสูง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ปริญญาโท ด้านการสอนและการเรียนรู้ MSc Education (Distinction) University of Bristol ประเทศอังกฤษ
- ลำดับที่ 1 สอบแข่งขันรับราชการครูผู้ช่วยวิชาเอกภาษาไทย (ประจวบฯ) ประจำปี พ.ศ.2560
- ผู้เขียนหนังสือเรียนภาษาไทย O-NET ทรูปลูกปัญญา และภาษาไทย วิชาสามัญ veo-online
- วิทยากร โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติ (O-NET) วิชาภาษาไทย โรงเรียนต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ
- วิทยากร โครงการอบรมเชิงปฏิบัติ การพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาด้านการสอนภาษาไทย (การเรียนรู้เชิงรุก Active Learning)
- ปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาวิชามัธยมศึกษา (มนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์) วิชาเอกสังคมศึกษาขั้นสูง (เกียรตินิยมอันดับ 1)
- ที่ 2 สอบครูผู้ช่วย สนามสอบกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2561
- วิทยากรติว O-NET และ 9 วิชาสามัญ โรงเรียนในกรุงเทพมหานคร
- ครูผู้ฝึกซ้อมนักเรียนเข้าแข่งขันความรู้ทางวิชาการ และความเป็นเลิศในรายวิชาสังคมศึกษา ทั้งกฎหมาย รัฐศาสตร์ พุทธศาสนา เศรษฐศาสตร์ และสังคมวิทยา
ตวงรัตน์ แสงโชติ (พี่ตวง)
- กำลังศึกษาปริญญาโท คณะศิลปศาสตร์ สาขาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ปริญญาตรี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง)
- พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน สายการบินนานาชาติกว่า 6 ปี
- ติวเตอร์ภาษาอังกฤษประสบการณ์สอนกว่า 10 ปี ที่เชื่อว่าภาษาเป็นทักษะ ใครๆ ก็เก่งได้แค่ฝึกฝนให้ถูกทาง
นพ.จิรภัทร บุนนาค (พี่หมอไอซ์)
- แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปประจำโรงพยาบาลเอกชน
- ปัจจุบันทำงานเกี่ยวกับ HealthTech ในบริษัทเอกชนด้าน IT
- ผู้ก่อตั้งและพัฒนาแอพแจ้งเตือนมลภาวะทางอากาศทาง Line
- อดีตตัวแทนประเทศไทย แข่งขันคณิตศาสตร์โลก International Mathematics Competition 2011 (IMC)
- ปริญญาตรี แพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- นักเรียนทุนรัฐบาลไปศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
- ปริญญาตรีสาขาชีวเคมีจาก University of Pennsylvania
- ปริญญาโท-เอกสาขาชีวเคมีจาก California Institute of Technology
- ปัจจุบันทำหน้าที่เป็นนักวิจัยด้านไวรัสวิทยาและวัคซีน
- ได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์จากสภาวิจัยแห่งชาติ
- ได้รับรางวัลผลงานวิจัยจากสภาวิจัยแห่งชาติ
- อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ คณะวิทยาศาสตร์
- ตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิก 3 ปี (1996, 1997, 1998)
- อันดับ 1 ทุนเล่าเรียนหลวงสายวิทยาศาสตร์ปี 2541
- ปริญญาตรีสาขาฟิสิกส์ California Institute of Technology
- ปริญญาโท-เอกสาขาอุตุนิยมวิทยาและสมุทรศาสตร์ University of California, Los Angeles
- อาจารย์ประจำโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- ปริญญาโท ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาวิชา การสอนสังคมศึกษา
- ปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาวิชามัธยมศึกษา(มนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์) วิชาเอกสังคมศึกษาขั้นสูง (เกียรตินิยมอันดับ 2)
- เป็นสุดยอดแฟนพันธุ์แท้ “อาณาจักรโรมัน” และแฟนพันธุ์แท้ “เทพปกรณัมกรีก”
