PANYA SOCIETY
สรุปเคมี A-Level แบบเข้าใจง่าย พร้อมแนะจุดที่ต้องรู้ก่อนสอบ
สรุปเคมี A-Level
สวัสดีครับน้อง ๆ ทุกคน วันนี้พี่ Panya Society กลับมาอีกครั้งพร้อมบทความที่เกี่ยวกับ TCAS นะครับ วันนี้พี่จะพามาดู สรุปเคมี A-Level เพื่อช่วยน้อง ๆ ไม่พลาดเนื้อหาสำคัญ สำหรับน้อง ๆ ที่กำลังงเตรียมสอบ พี่แนะนำให้ดู สรุปเคมี A-Level เพื่อจะได้เป็นการทบทวนเนื้อหา และเก็บตกจุดที่ต้องรู้ก่อนสอบ และอ่านหนังสือได้ถูกทางมากขึ้น และพร้อมสอบมากยิ่งขึ้น ถ้าพร้อมแล้ว เริ่ม!!!
เคมี A-Level ออกสอบทั้งหมด 13 บท แต่ละบทมีเนื้อหามากมายที่ต้องรู้
สรุปเนื้อหาเคมี A-Level ที่สำคัญ ของบทที่ออกเยอะ ได้แก่
- กรด-เบส ออกปีละ 3 – 4 ข้อ เนื้อหาที่ใช้บ่อย :
- การแตกตัวของกรดและเบส :
[H+] = √(Ka × C)
[OH–] = √(Kb × C) - pH และ pOH ของสารละลาย :
pH = -log[H+]
pOH = -log[OH–] - การไทเทรตกรด-เบส : aCกรดVกรด = bCเบสVเบส
- สารละลายบัฟเฟอร์ :
pH = -log[Ka] + log([เกลือ] / [กรด])
pOH = -log[Kb] + log([เกลือ] / [เบส])
- การแตกตัวของกรดและเบส :
- ไฟฟ้าเคมี ออกปีละ 4 ข้อ เนื้อหาที่ใช้บ่อย :
การดุลสมการรีดอกซ์แบบครึ่งปฏิกิริยา :
1. แยกปฏิกิริยาออกซิเดชัน และรีดักชัน ออกมาเป็น 2 สมการ
2. ดุลอะตอมอื่น ๆ นอกเหนือจาก H และ O
3. ดุลประจุโดยการเติม H+ (ดุลในกรด) หรือเติม OH– (ดุลในเบส)
4. ดุล O และ H โดยการเติม H2O
5. ทำอิเล็กตรอนในออกซิเดชันและรีดักชันให้เท่ากัน
6. รวมปฏิกิริยาทั้งสอง- ศักย์ไฟฟ้าของเซลล์ : E0 = E0r(cathode) – E0r(anode) ; ต้องอยู่ในรูป reduction เท่านั้น
- เคมีอินทรีย์ ออกปีละ 4 – 5 ข้อ เนื้อหาที่ใช้บ่อย :
- เอสเทอร์ :
1. เป็นของเหลวใส ไม่มีสี มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว โดยส่วนใหญ่พบในผลไม้และดอกไม้
2. มีสูตรทั่วไป คือ RCOOR’ เรียกหมู่ฟังก์ชัน -COO- นี้ว่าหมู่แอลคอกชีคาร์บอนิล (alkoxy carbonyl)
3. เอสเทอร์เป็นสารที่มีขั้ว สามารถเกิดพันธะไฮโดรเจนได้ แต่ไม่แข็งแรงเท่ากับแอลกอฮอล์และกรดคาร์บอกซิลิก ดังนั้นจุดเดือดของเอสเทอร์จึงต่ำกว่าแอลกอฮอล์และกรดคาร์บอกซิลิกที่มีมวลโมเลกุลใกล้เคียงกัน
4. ปฏิกิริยาของเอสเทอร์ มีปฏิกิริยาไฮโดรไลซิสด้วยกรด, ปฏิกิริยาสปอนนิฟิเคชัน
- เอสเทอร์ :
สรุปสูตรเคมี A-Level
เนื้อหาเคมี ม.ปลาย นั้นมีมากมาย วันนี้พี่จะมาคัดสูตรสรุปเคมี A-Level ที่ออกสอบบ่อย มาดูกันว่าแต่ละบทมีสูตรไหนที่สำคัญบ้าง ไปดูกันเลย
บทที่ 1 : ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี
เนื้อหาที่ใช้บ่อย :
- การนับเลขนัยสำคัญ :
1. ตัวเลขที่ไม่มีเลขศูนย์ทั้งหมดนับเป็นเลขนัยสำคัญ
2. เลขศูนย์ที่อยู่ระหว่างตัวเลขอื่น นับเป็นเลขนัยสำคัญ
3. เลขศูนย์ที่อยู่หน้าตัวเลขอื่น ไม่นับเป็นเลขนัยสำคัญ เช่น
4. เลขศูนย์ที่อยู่หลังตัวเลขอื่นที่อยู่หลังทศนิยม นับเป็นเลขนัยสำคัญ
5. เลขศูนย์ที่อยู่หลังเลขอื่นที่ไม่มีทศนิยม อาจนับหรือไม่นับเป็นเลขนัยสำคัญก็ได้
6. ตัวเลขที่แม่นตรง เป็นตัวเลขที่ทราบค่าแน่นอนมีเลขนัยสำคัญเป็นอนันต์
บทที่ 2 : โครงสร้างอะตอมและตารางธาตุ
เนื้อหาที่ใช้บ่อย :
- สัญลักษณ์นิวเคลียร์ :
เลขอะตอม = จำนวนโปรตอน
จำนวนอิเล็กตรอน = จำนวนโปรตอน (ถ้าเป็นไอออนลบให้บวกเพิ่ม ถ้าเป็นไอออนบวกให้ลบออก)
จำนวนนิวตรอน = เลขขมวล – เลขอะตอม - การจัดเรียงอิเล็กตรอน : บรรจุเฉียงขึ้นตามหลักของอาฟบาว 1s 2s 2p 3s 3p 4s 3d 4p 5s 4d 5p 6s …
- พลังงานไอออไนเซชัน :
ยิ่งหมู่เยอะ IE ยิ่งเยอะ เมื่อเทียบในคาบเดียวกัน (ยกเว้นหมู่ 2 IE > หมู่ 3 และหมู่ 5A IE > หมู่ 6A)
ยิ่งคาบเยอะ IE ยิ่งน้อย เมื่อเทียบในหมู่เดียวกัน
บทที่ 3 : พันธะเคมี
เนื้อหาที่ใช้บ่อย :
- พันธะไอออนิก :
1. มีสถานะเป็นของแข็ง
2. มีจุดเดือด จุดหลอมเหลวสูงมาก
3. ปกติสารประกอบไอออนิกไม่นำไฟฟ้า แต่จะนำได้ดีเมื่อหลอมเหลวหรือละลายน้ำ - การละลายน้ำของสารประกอบไอออนิก :
ขั้นที่ 1 พลังงานที่ดูดเข้าไป เพื่อแยกอนุภาคของของแข็งออกจากกัน เรียกว่า พลังงานโครงร่างผลึก หรือพลังงานแลตทิซ
ขั้นที่ 2 พลังงานที่คายออกมาเนื่องจาก อนุภาคของตัวถูกละลาย ยึดเหนี่ยวกับอนุภาคของตัวทำละลาย เรียกว่า พลังงานไฮเดรชัน - พันธะโคเวเลนต์ :
1. มีสถานะเป็นของแข็ง ของเหลว และแก๊ส
2. ส่วนใหญ่มีจุดเดือด จุดหลอมเหลวต่ำ ยกเว้น เพชร
3. มีทั้งละลายน้ำ และไม่ละลายน้ำ
4. ส่วนใหญ่ไม่นำไฟฟ้า ยกเว้น แกร์ไฟต์
บทที่ 4 : โมลและสูตรเคมี
เนื้อหาที่ใช้บ่อย :
- ความสัมพันธ์ระหว่างโมล : mol = g / MW = N / (6.02 × 1023)= V (L) / 22.4
การคำนวณหาสูตรเอมพิริคัล :
1. คำนวณหามวลของธาตุแต่ละชนิดในสารประกอบ
2. คำนวณหาอัตราส่วนจำนวนโมลอะตอมของธาตุ โดยเอามวลอะตอมไปหารมวลของธาตุนั้น
3. ทำให้อัตราส่วนโดยจำนวนโมลอะตอมเป็นเลขลงตัวอย่างต่ำ
บทที่ 5 : สารละลาย
เนื้อหาที่ใช้บ่อย :
- ความเข้มข้นของสารละลาย :mol = CV (mL) / 1000
- การเตรียมสารละลายจากสารละลายที่แตกต่างกัน : C1V1 = C2V2
- สมบัติคอลลิเกทีฟ : Kb = Tb‘ – Tb
บทที่ 6 : ปริมาณสัมพันธ์
เนื้อหาที่ใช้บ่อย :
- จากสมการเคมี aA + bB → cC + dD จะได้ mol A / mol B = a / b และเป็นเช่นนี้สำหรับทุกคู่
- สมการเคมีกับสารกำหนดปริมาณ :
1. คำนวณหาสารตั้งตันที่ถูกใช้หมดก่อน (สารกำหนดปริมาณ)
2. นำสารกำหนดปริมาณ คำนวณหาสิ่งที่ต้องการ - ร้อยละผลได้ = (ผลที่ได้จากการทดลอง / ผลที่ได้จากทฤษฎี) × 100
บทที่ 7 : สมบัติของแก๊ส
เนื้อหาที่ใช้บ่อย :
- กฎรวมแก๊ส : P1V1 / T1 = P2V2 / T2
- กฎของแก๊สสมบูรณ์ : PV = nRT
- การแพร่ของแก๊ส : r1 / r2 = √(m2 / m1) = √(d2 / d1)
บทที่ 8 : อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
เนื้อหาที่ใช้บ่อย :
- จากสมการเคมี aA + bB → cC + dD จะได้ rate = [A]x[B]y
- ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี :
1. ธรรมชาติของสารตั้งต้น
2. ความเข้มข้นของสารตั้งต้น
3. พื้นที่ผิวสำหรับปฏิกิริยาเนื้อผสม
4. อุณหภูมิ
5. ความดัน (สำหรับปฏิกิริยาที่มีแก๊สเท่านั้น)
6. ตัวเร่งปฏิกิริยา และตัวหน่วงปฏิกิริยา
บทที่ 9 : สมดุลเคมี
เนื้อหาที่ใช้บ่อย :
- จากสมการเคมี aA + bB → cC + dD จะได้ K = [C]c[D]d / [A]a[B]b
- การรบกวนภาวะสมดุล :
1. เพิ่มความเข้มขั้นของสารตั้งต้น สมดุลจะเลื่อนไปทางขวา
2. ลดความเข้มข้นของสารตั้งต้น สมดลจะเลื่อนไปทางซ้าย
3. เพิ่มความเข้มข้นของผลิตภัณฑ์ สมดุลจะเลื่อนไปทางซ้าย
บทที่ 10 : กรด-เบส
เนื้อหาที่ใช้บ่อย :
- การแตกตัวของกรดและเบส :
[H+] = √(Ka × C)
[OH–] = √(Kb × C) - pH และ pOH ของสารละลาย :
pH = -log[H+]
pOH = -log[OH–] - การไทเทรตกรด-เบส : aCกรดVกรด = bCเบสVเบส
- สารละลายบัฟเฟอร์ :
pH = -log[Ka] + log([เกลือ] / [กรด])
pOH = -log[Kb] + log([เกลือ] / [เบส])
บทที่ 11 : ไฟฟ้าเคมี
เนื้อหาที่ใช้บ่อย :
การดุลสมการรีดอกซ์แบบครึ่งปฏิกิริยา :
1. แยกปฏิกิริยาออกซิเดชัน และรีดักชัน ออกมาเป็น 2 สมการ
2. ดุลอะตอมอื่น ๆ นอกเหนือจาก H และ O
3. ดุลประจุโดยการเติม H+ (ดุลในกรด) หรือเติม OH– (ดุลในเบส)
4. ดุล O และ H โดยการเติม H2O
5. ทำอิเล็กตรอนในออกซิเดชันและรีดักชันให้เท่ากัน
6. รวมปฏิกิริยาทั้งสอง- ศักย์ไฟฟ้าของเซลล์ : E0 = E0r(cathode) – E0r(anode) ; ต้องอยู่ในรูป reduction เท่านั้น
บทที่ 12 : เคมีอินทรีย์
เนื้อหาที่ใช้บ่อย :
- เอสเทอร์ :
1. เป็นของเหลวใส ไม่มีสี มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว โดยส่วนใหญ่พบในผลไม้และดอกไม้
2. มีสูตรทั่วไป คือ RCOOR’ เรียกหมู่ฟังก์ชัน -COO- นี้ว่าหมู่แอลคอกชีคาร์บอนิล (alkoxy carbonyl)
3. เอสเทอร์เป็นสารที่มีขั้ว สามารถเกิดพันธะไฮโดรเจนได้ แต่ไม่แข็งแรงเท่ากับแอลกอฮอล์และกรดคาร์บอกซิลิก ดังนั้นจุดเดือดของเอสเทอร์จึงต่ำกว่าแอลกอฮอล์และกรดคาร์บอกซิลิกที่มีมวลโมเลกุลใกล้เคียงกัน
4. ปฏิกิริยาของเอสเทอร์ มีปฏิกิริยาไฮโดรไลซิสด้วยกรด, ปฏิกิริยาสปอนนิฟิเคชัน - เอมีน :
1. เอมีนเป็นสารประกอบอินทรีย์ที่เป็นอนุพันธ์ของแอมโมเนีย โดยมีอย่างน้อยหนึ่งพันธะจะต้องต่อกับอะตอมของคาร์บอน มีสูตรทั่วไป คือ R-NH2 เรียกหมู่ฟังก์ชันนี้ว่า หมู่อะมิโน (amino group)
2. แบ่งตามจำนวนหมู่แอลคิล (alkyl) หรือเอริล (aryl) ที่ต่ออยู่กับอะตอมของไนโตรเจน ได้ 3 ประเภทคือ 10 amine, 20 amine, 30 amine
3. เป็นโมเลกุลมีขั้วปานกลาง ละลายน้ำได้ และจะมีความสามารถในการละลายน้ำลดลงเมื่อจำนวนคาร์บอนเพิ่มขึ้น สามารถสร้างพันธะไฮโดรเจนได้ ยกเว้นเอมีนตติยภูมิไม่มีพันธะไฮโดรเจนในโมเลกุล
4. สารประกอบเอมีนมีความเป็นเบสเมื่อเทียบกับน้ำ - เอไมด์ :
1. เอไมด์เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่มีสูตรทั่วไป คือ R-CONH2 เรียกหมู่ฟังก์ชันนี้ว่า หมู่เอไมด์ (amide group)
2. แบ่งตามจำนวนหมู่แอลคิล (alkyl) หรือเอริล (aryl) ที่ต่อยู่กับหมู่เอไมด์ได้ 3 ประเภทคือ 10 amide, 20 amide, 30 amide
3. เอไมด์ส่วนมากเป็นสารไม่มีสี ไม่มีกลิ่น
4. เอไมด์ที่มีคาร์บอนอะตอมน้อยๆ จะละลายน้ำได้ดี และจะมีความสามารถในการละลายน้ำลดลงเมื่อจำนวนคาร์บอนเพิ่มขึ้น
5. มีปฏิกิริยาไฮโดรไลซิส
บทที่ 13 : พอลิเมอร์
เนื้อหาที่ใช้บ่อย :
- พอลิเมอร์แบบควบแน่น :
เกิดจากมอนอเมอร์ที่มีหมู่ฟังก์ชันมากกว่า 1 หมู่ ทำปฏิกิริยากันเกิดเป็นพอลิเมอร์ และได้สารโมเลกุลขนาดเล็ก - พอลิเมอร์แบบเติม :
เป็นพอลิเมอร์ที่เกิดจากปฏิกิริยารวมตัวของมอนอเมอร์ที่มีพันธะคู่
มาถึงจุดนี้น้อง ๆ ก็จะได้เห็น สรุปเคมี A-Level แล้วว่าบทไหนใช้สูตรไหนบ่อย หวังว่าจะช่วยให้น้อง ๆ ทบทวนเนื้อหาได้ดีขึ้นนะครับ
พูดคุยหลังอ่าน
เป็นยังไงกันบ้างครับน้อง ๆ ทุกคน หวังว่าพี่ ๆ Panya Society จะช่วยสรุปเคมี A-Level เพื่อให้น้อง ๆ ได้ทบทวนเนื้อหา และเก็บตกจุดที่อาจลืมไปได้นะครับ แต่พี่ ๆ ต้องขอบอกไว้ก่อนว่าเนื้อหาทั้งหมดนี้ เป็นเพียงแค่สูตรที่ออกบ่อย ๆ เท่านั้น ถ้าน้อง ๆ คนไหนยังพอมีเวลาก็อยากให้ทบทวนให้ครบทุกสูตรเลยนะครับ และสำหรับน้อง ๆ คนที่ต้องเตรียมตัวสอบหลายวิชา อย่าลืมวางแผนเผื่อเวลาไว้สำหรับวิชาอื่นกันด้วยนะครับ
หลังจากน้อง ๆ ทุกคนได้เห็น สรุปเคมี A-Level กันแล้ว สำหรับ TCAS นี้หวังว่าจะช่วยให้น้อง ๆ อ่านหนังสือได้ง่ายขึ้น และจะเห็นว่าหลายคณะ ต้องใช้คะแนนสอบค่อนข้างสูง น้อง ๆ ทุกคนควรจะรีบเตรียมตัวตั้งแต่วันนี้ ดังนั้น พี่ PANYA ขอแนะนำคอร์ส “เคมี A – Level TCAS จาก PANYA SOCIETY” ซึ่งเป็นคอร์ส เตรียมตัวสอบ TCAS ฉบับสมบูรณ์แบบ ที่ Update ล่าสุด ได้ทั้งทบทวนเนื้อหา ม.4-5-6 ไปพร้อมกับเก็งข้อสอบแนวรูปแบบใหม่ ฝึกทำข้อสอบเพียบ ทบทวนเต็มที่ เก็งข้อสอบแม่นยำ พร้อมทำโจทย์แนวใหม่ ไม่ตกเทรนด์ พร้อมกับโค้ชผู้ช่วยส่วนตัวที่ถาม-ตอบได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ไร้กังวล ติวกับ PANYA SOCIETY ข้อสอบ TCAS จะเปลี่ยนไปแค่ไหน พี่ ๆ จะตามติดพัฒนาคอร์สไปพร้อมกับ Test Blueprint ใหม่ล่าสุด ไม่พลาดแน่นอน!!!
VDO ตัวอย่างการสอน
เคมี A-Level
🔥ติวเตอร์คนเก่ง🔥
ดร.ธรรมนิติ์ พิพัฒน์ศรีสวัสดิ์ (พี่นอต)
- อดีต Senior Software Engineer ที่ Google กว่า 10 ปี
- ได้รับทุนเล่าเรียนหลวงไปศึกษาระดับปริญญาตรีด้าน Electrical and Computer Engineering และ computer science ที่ Carnegie Mellon University ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
- จบปริญญาเอกด้าน Artificial Intelligence (AI) พร้อมรางวัลนักเรียนดีเด่นจาก UCLA
- ผลงานวิจัยด้าน Artificial Intelligence (AI) ของอ.นอตได้รับรางวัลงานวิจัยดีเยี่ยมจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติในปี 2557
- ปัจจุบันทำงานในบริษัท Start-up ด้านเทคโนโลยีหลายแห่ง
- อดีตเหรียญทองฟิสิกส์โอลิมปิก
- ได้รับทุนธนาคารแห่งประเทศไทย ไปศึกษาต่อระดับปริญญาตรีและโท คณะ Electrical and Computer Engineering (วิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์) ที่ Carnegie Mellon University ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยจบทั้งสองปริญญาในเวลา 4 ปี
- เคยทำงานที่บริษัท Oracle สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นบริษัทซอฟต์แวร์ระดับ Top 5 ของโลก
- ผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์เด็กดีดอทคอม
- ปริญญาตรี โท เอก คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ
- บัณฑิตศึกษาปริญญาโทที่มีผลการเรียนดีเด่น (รางวัล ดร.แถบ นีละนิธิ)
- อาจารย์พิเศษ วิชาเคมี ห้องเรียนพิเศษ gifted โรงเรียนมัธยม
- วิทยากรรับเชิญ เตรียมสอบ O-NET วิชาวิทยาศาสตร์ ม.ต้น ม.ปลาย
- วิทยากรรับเชิญเตรียมสอบ PAT2 และ วิชาสามัญ (เคมี)
- นิสิตทุนโปรแกรมเกียรตินิยม ปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 1) วิชาเอกภาษาไทยขั้นสูง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ปริญญาโท ด้านการสอนและการเรียนรู้ MSc Education (Distinction) University of Bristol ประเทศอังกฤษ
- ลำดับที่ 1 สอบแข่งขันรับราชการครูผู้ช่วยวิชาเอกภาษาไทย (ประจวบฯ) ประจำปี พ.ศ.2560
- ผู้เขียนหนังสือเรียนภาษาไทย O-NET ทรูปลูกปัญญา และภาษาไทย วิชาสามัญ veo-online
- วิทยากร โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติ (O-NET) วิชาภาษาไทย โรงเรียนต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ
- วิทยากร โครงการอบรมเชิงปฏิบัติ การพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาด้านการสอนภาษาไทย (การเรียนรู้เชิงรุก Active Learning)
- ปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาวิชามัธยมศึกษา (มนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์) วิชาเอกสังคมศึกษาขั้นสูง (เกียรตินิยมอันดับ 1)
- ที่ 2 สอบครูผู้ช่วย สนามสอบกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2561
- วิทยากรติว O-NET และ 9 วิชาสามัญ โรงเรียนในกรุงเทพมหานคร
- ครูผู้ฝึกซ้อมนักเรียนเข้าแข่งขันความรู้ทางวิชาการ และความเป็นเลิศในรายวิชาสังคมศึกษา ทั้งกฎหมาย รัฐศาสตร์ พุทธศาสนา เศรษฐศาสตร์ และสังคมวิทยา
ตวงรัตน์ แสงโชติ (พี่ตวง)
- กำลังศึกษาปริญญาโท คณะศิลปศาสตร์ สาขาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ปริญญาตรี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง)
- พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน สายการบินนานาชาติกว่า 6 ปี
- ติวเตอร์ภาษาอังกฤษประสบการณ์สอนกว่า 10 ปี ที่เชื่อว่าภาษาเป็นทักษะ ใครๆ ก็เก่งได้แค่ฝึกฝนให้ถูกทาง
นพ.จิรภัทร บุนนาค (พี่หมอไอซ์)
- แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปประจำโรงพยาบาลเอกชน
- ปัจจุบันทำงานเกี่ยวกับ HealthTech ในบริษัทเอกชนด้าน IT
- ผู้ก่อตั้งและพัฒนาแอพแจ้งเตือนมลภาวะทางอากาศทาง Line
- อดีตตัวแทนประเทศไทย แข่งขันคณิตศาสตร์โลก International Mathematics Competition 2011 (IMC)
- ปริญญาตรี แพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- นักเรียนทุนรัฐบาลไปศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
- ปริญญาตรีสาขาชีวเคมีจาก University of Pennsylvania
- ปริญญาโท-เอกสาขาชีวเคมีจาก California Institute of Technology
- ปัจจุบันทำหน้าที่เป็นนักวิจัยด้านไวรัสวิทยาและวัคซีน
- ได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์จากสภาวิจัยแห่งชาติ
- ได้รับรางวัลผลงานวิจัยจากสภาวิจัยแห่งชาติ
- อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ คณะวิทยาศาสตร์
- ตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิก 3 ปี (1996, 1997, 1998)
- อันดับ 1 ทุนเล่าเรียนหลวงสายวิทยาศาสตร์ปี 2541
- ปริญญาตรีสาขาฟิสิกส์ California Institute of Technology
- ปริญญาโท-เอกสาขาอุตุนิยมวิทยาและสมุทรศาสตร์ University of California, Los Angeles
- อาจารย์ประจำโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- ปริญญาโท ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาวิชา การสอนสังคมศึกษา
- ปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาวิชามัธยมศึกษา(มนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์) วิชาเอกสังคมศึกษาขั้นสูง (เกียรตินิยมอันดับ 2)
- เป็นสุดยอดแฟนพันธุ์แท้ “อาณาจักรโรมัน” และแฟนพันธุ์แท้ “เทพปกรณัมกรีก”
