PANYA SOCIETY
ฟิสิกส์ A-Level ออกอะไรบ้าง? อัปเดตล่าสุด 2568 พร้อมเทคนิคอ่านให้ตรงจุด
ฟิสิกส์ A-Level ออกอะไรบ้าง
สวัสดีครับน้อง ๆ ทุกคน วันนี้พี่ Panya Society กลับมาอีกครั้งพร้อมบทความที่เกี่ยวกับ TCAS นะครับ วันนี้พี่ Panya Society จะพามาดูว่าฟิสิกส์ A-Level ออกอะไรบ้าง เพื่อช่วยน้อง ๆ อ่านหนังสือได้ดีขึ้น ขอบอกเลยว่าน้อง ๆ ที่กำลังเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัยทุกคน จำเป็นรู้ว่า ฟิสิกส์ A-Level ออกอะไรบ้าง สถิติออกสอบเป็นอย่างไร และควรเน้นบทไหนดี เพื่อให้อ่านหนังสือได้ถูกทางมากขึ้น และพร้อมสอบมากยิ่งขึ้น ถ้าพร้อมแล้ว เริ่ม!!!
ฟิสิกส์ A-Level ออกสอบทั้งหมด 20 บท รวมทั้งหมด 30 ข้อ แบ่งเป็น
– ปรนัย 5 ตัวเลือก จำนวน 25 ข้อ
– เติมคำตอบ จำนวน 5 ข้อ
จากสถิติที่ผ่านมา หัวข้อที่ออกเยอะ ได้แก่
- ไฟฟ้าและแม่เหล็ก ออกปีละ 2 – 3 ข้อ
หัวข้อที่ออกบ่อย : สนามแม่เหล็ก, แรงแม่เหล็ก - ความร้อนและแก๊ส ออกปีละ 2 – 3 ข้อ
หัวข้อที่ออกบ่อย : ทฤษฎีจลน์ของแก๊ส, การเปลี่ยนอุณหภูมิ และการเปลี่ยนสถานะ - ฟิสิกส์อะตอม ออกปีละ 2 – 4 ข้อ
หัวข้อที่ออกบ่อย : ปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก, แบบจำลองอะตอมของโบร์, ความยาวคลื่นเดอบรอยล์
สถิติออกสอบ A - Level ฟิสิกส์
เรามาดูกันว่า ฟิสิกส์ A-Level ออกอะไรบ้าง โดยจะออกสอบทั้งหมด 20 บท รวมทั้งหมด 30 ข้อ วันนี้พี่ Panya Society จึงจะพาน้อง ๆ มาดูสถิติออกสอบ A – Level ฟิสิกส์ ว่าออกอะไรบ้าง บทไหนออกเยอะหรือออกน้อยบ้าง เพื่อเป็นแนวทางในการเตรียมสอบ TCAS ดังนี้
บท | A-Level 66 | A-Level 67 | A-Level 68 |
ธรรมชาติและพัฒนาการทางฟิสิกส์ | 1 | – | – |
การเคลื่อนที่แนวตรง | 1 | 1 | 1 |
แรงและกฎการเคลื่อนที่ | 2 | 2 | 1 |
สมดุลกล | 1 | 1 | 1 |
งานและพลังงาน | 1 | 1 | 1 |
โมเมนตัมและการชน | 1 | 1 | 1 |
การเคลื่อนที่แนวโค้ง | 1 | 1 | 3 |
การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย | 1 | 4 | 1 |
คลื่น | 2 | 1 | 1 |
แสงเชิงคลื่น | 1 | 1 | 2 |
แสงเชิงรังสี | 2 | 2 | 1 |
เสียง | 1 | 1 | 1 |
ไฟฟ้าสถิต | 2 | 2 | 2 |
ไฟฟ้ากระแส | 2 | 1 | 2 |
ไฟฟ้าและแม่เหล็ก | 2 | 3 | 2 |
ความร้อนและแก๊ส | 2 | 3 | 2 |
ของแข็งและของไหล | 2 | 1 | 3 |
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า | 1 | – | – |
ฟิสิกส์อะตอม | 2 | 3 | 4 |
ฟิสิกส์นิวเคลียร์และฟิสิกส์อนุภาค | 2 | 1 | 1 |
มาถึงตรงนี้ น้อง ๆ คงจะเห็นแล้วว่า ฟิสิกส์ A-Level ออกอะไรบ้าง แต่พี่ Panya Society ขอเตือนไว้ก่อนเลยว่า ถึงบางบทจะออกน้อย แต่ก็เป็นพื้นฐานในการนำไปใช้ต่อในบทอื่น ๆ ดังนั้น ถ้าเป็นไปได้ก็ควรเก็บเนื้อหาให้ได้ครบทุกบทนะครับ
ฟิสิกส์ A-Level เน้นบทไหนดี
หลังจากที่เรารู้แล้วว่า ฟิสิกส์ A-Level ออกอะไรบ้าง และมีสถิติออกสอบอย่างไร ต่อไปเราจะมาเจาะลึกไปทีละบทกันว่า บทไหนออกเรื่องอะไรบ่อย ควรเน้นหัวข้อไหนดี ไปดูกันเลย
บทที่ 1 : ธรรมชาติและพัฒนาการทางฟิสิกส์
หัวข้อที่ออกบ่อย และควรเน้นได้แก่
- เลขนัยสำคัญ
- การหาค่าเฉลี่ย และค่าคลาดเคลื่อน
บทที่ 2 : การเคลื่อนที่แนวตรง
หัวข้อที่ออกบ่อย และควรเน้นได้แก่
- กราฟของการเคลื่อนที่
- การเคลื่อนที่แนวตรงที่มีความเร่งคงตัว
บทที่ 3 : แรงและกฎการเคลื่อนที่
หัวข้อที่ออกบ่อย และควรเน้นได้แก่
- กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน
- แรงเสียดทาน
- แรงตึงเชือก
- แรงดึงดูดระหว่างมวล
บทที่ 4 : สมดุลกล
หัวข้อที่ออกบ่อย และควรเน้นได้แก่
- สมดุลต่อการเลื่อนที่
- สมดุลต่อการหมุน
บทที่ 5 : งานและพลังงาน
หัวข้อที่ออกบ่อย และควรเน้นได้แก่
- งานและกราฟของงาน
- กฎการอนุรักษ์พลังงานกล
บทที่ 6 : โมเมนตัมและการชน
หัวข้อที่ออกบ่อย และควรเน้นได้แก่
- การดล และกราฟของแรงต่อเวลา
- กฎการอนุรักษ์โมเมนตัม
บทที่ 7 : การเคลื่อนที่แนวโค้ง
หัวข้อที่ออกบ่อย และควรเน้นได้แก่
- การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์
- การเคลื่อนที่แบบวงกลม
บทที่ 8 : การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย
หัวข้อที่ออกบ่อย และควรเน้นได้แก่
- การเคลื่อนที่ของมวลติดสปริง
- การเคลื่อนที่ของเพนดูลัม
บทที่ 9 : คลื่น
หัวข้อที่ออกบ่อย และควรเน้นได้แก่
- สมบัติของคลื่น
- สมการของคลื่น
บทที่ 10 : แสงเชิงคลื่น
หัวข้อที่ออกบ่อย และควรเน้นได้แก่
- การแทรกสอดของแสงผ่านสลิต และเกรตติง
บทที่ 11 : แสงเชิงรังสี
หัวข้อที่ออกบ่อย และควรเน้นได้แก่
- กระจกโค้ง และเลนส์
- การผสมสีของแสง
บทที่ 12 : เสียง
หัวข้อที่ออกบ่อย และควรเน้นได้แก่
- การสั่นพ้องของเสียง
- ระดับความเข้มเสียง
บทที่ 13 : ไฟฟ้าสถิต
หัวข้อที่ออกบ่อย และควรเน้นได้แก่
- แรงทางไฟฟ้า
- สนามไฟฟ้า
บทที่ 14 : ไฟฟ้ากระแส
หัวข้อที่ออกบ่อย และควรเน้นได้แก่
- กฎของโอห์ม
- วงจรตัวต้านทาน
บทที่ 15 : แม่เหล็กและไฟฟ้า
หัวข้อที่ออกบ่อย และควรเน้นได้แก่
- สนามแม่เหล็ก
- แรงแม่เหล็ก
บทที่ 16 : ความร้อนและแก๊ส
หัวข้อที่ออกบ่อย และควรเน้นได้แก่
- ทฤษฎีจลน์ของแก๊ส
- การเปลี่ยนอุณหภูมิ และการเปลี่ยนสถานะ
บทที่ 17 : ของแข็งและของไหล
หัวข้อที่ออกบ่อย และควรเน้นได้แก่
- ความดันของของไหล
- แรงลอยตัว
- สมการของแบร์นูลลี
บทที่ 18 : คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
หัวข้อที่ออกบ่อย และควรเน้นได้แก่
- สมบัติของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
- โพลาไรเซชัน
บทที่ 19 : ฟิสิกส์อะตอม
หัวข้อที่ออกบ่อย และควรเน้นได้แก่
- ปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก
- แบบจำลองอะตอมของโบร์
- ความยาวคลื่นเดอบรอยล์
บทที่ 20 : ฟิสิกส์นิวเคลียร์และฟิสิกส์อนุภาค
หัวข้อที่ออกบ่อย และควรเน้นได้แก่
- ปฏิกิริยานิวเคลียร์
- การสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสี
มาถึงจุดนี้น้อง ๆ ก็จะได้รู้แล้วว่า ฟิสิกส์ A-Level ออกอะไรบ้าง และบทไหนควรเน้นหัวข้ออะไรบ้าง หวังว่าจะช่วยให้น้อง ๆ วางแผนอ่านหนังสือได้ดีขึ้นนะครับ
พูดคุยหลังอ่าน
เป็นยังไงกันบ้างครับน้อง ๆ ทุกคน หวังว่าพี่ ๆ Panya Society จะช่วยให้น้อง ๆ ได้รู้ว่า ฟิสิกส์ A-Level ออกอะไรบ้าง เพื่อให้น้อง ๆ วางแผนอ่านหนังสือได้ดีขึ้นนะครับ แต่พี่ ๆ ต้องขอบอกไว้ก่อนว่าข้อมูลทั้งหมดนี้ เป็นเพียงแค่สถิติเท่านั้น ข้อสอบสามารถปรับเปลี่ยนไปได้เรื่อย ๆ ครับ และสำหรับน้อง ๆ คนที่ต้องเตรียมตัวสอบหลายวิชา อย่าลืมวางแผนเผื่อเวลาไว้สำหรับวิชาอื่นกันด้วยนะครับ
หลังจากน้อง ๆ ทุกคนได้รู้แล้วว่า ฟิสิกส์ A-Level ออกอะไรบ้าง สำหรับ TCAS นี้หวังว่าจะช่วยให้น้อง ๆ อ่านหนังสือได้ง่ายขึ้น และจะเห็นว่าหลายคณะ ต้องใช้คะแนนสอบค่อนข้างสูง น้อง ๆ ทุกคนควรจะรีบเตรียมตัวตั้งแต่วันนี้ ดังนั้น พี่ PANYA ขอแนะนำคอร์ส “ฟิสิกส์ A – Level TCAS จาก PANYA SOCIETY” ซึ่งเป็นคอร์ส เตรียมตัวสอบ TCAS ฉบับสมบูรณ์แบบ ที่ Update ล่าสุด ได้ทั้งทบทวนเนื้อหา ม.4-5-6 ไปพร้อมกับเก็งข้อสอบแนวรูปแบบใหม่ ฝึกทำข้อสอบเพียบ ทบทวนเต็มที่ เก็งข้อสอบแม่นยำ พร้อมทำโจทย์แนวใหม่ ไม่ตกเทรนด์ พร้อมกับโค้ชผู้ช่วยส่วนตัวที่ถาม-ตอบได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ไร้กังวล ติวกับ PANYA SOCIETY ข้อสอบ TCAS จะเปลี่ยนไปแค่ไหน พี่ ๆ จะตามติดพัฒนาคอร์สไปพร้อมกับ Test Blueprint ใหม่ล่าสุด ไม่พลาดแน่นอน!!!
VDO ตัวอย่างการสอน
ฟิสิกส์ A-Level
🔥ติวเตอร์คนเก่ง🔥
ดร.ธรรมนิติ์ พิพัฒน์ศรีสวัสดิ์ (พี่นอต)
- อดีต Senior Software Engineer ที่ Google กว่า 10 ปี
- ได้รับทุนเล่าเรียนหลวงไปศึกษาระดับปริญญาตรีด้าน Electrical and Computer Engineering และ computer science ที่ Carnegie Mellon University ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
- จบปริญญาเอกด้าน Artificial Intelligence (AI) พร้อมรางวัลนักเรียนดีเด่นจาก UCLA
- ผลงานวิจัยด้าน Artificial Intelligence (AI) ของอ.นอตได้รับรางวัลงานวิจัยดีเยี่ยมจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติในปี 2557
- ปัจจุบันทำงานในบริษัท Start-up ด้านเทคโนโลยีหลายแห่ง
- อดีตเหรียญทองฟิสิกส์โอลิมปิก
- ได้รับทุนธนาคารแห่งประเทศไทย ไปศึกษาต่อระดับปริญญาตรีและโท คณะ Electrical and Computer Engineering (วิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์) ที่ Carnegie Mellon University ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยจบทั้งสองปริญญาในเวลา 4 ปี
- เคยทำงานที่บริษัท Oracle สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นบริษัทซอฟต์แวร์ระดับ Top 5 ของโลก
- ผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์เด็กดีดอทคอม
- ปริญญาตรี โท เอก คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ
- บัณฑิตศึกษาปริญญาโทที่มีผลการเรียนดีเด่น (รางวัล ดร.แถบ นีละนิธิ)
- อาจารย์พิเศษ วิชาเคมี ห้องเรียนพิเศษ gifted โรงเรียนมัธยม
- วิทยากรรับเชิญ เตรียมสอบ O-NET วิชาวิทยาศาสตร์ ม.ต้น ม.ปลาย
- วิทยากรรับเชิญเตรียมสอบ PAT2 และ วิชาสามัญ (เคมี)
- นิสิตทุนโปรแกรมเกียรตินิยม ปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 1) วิชาเอกภาษาไทยขั้นสูง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ปริญญาโท ด้านการสอนและการเรียนรู้ MSc Education (Distinction) University of Bristol ประเทศอังกฤษ
- ลำดับที่ 1 สอบแข่งขันรับราชการครูผู้ช่วยวิชาเอกภาษาไทย (ประจวบฯ) ประจำปี พ.ศ.2560
- ผู้เขียนหนังสือเรียนภาษาไทย O-NET ทรูปลูกปัญญา และภาษาไทย วิชาสามัญ veo-online
- วิทยากร โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติ (O-NET) วิชาภาษาไทย โรงเรียนต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ
- วิทยากร โครงการอบรมเชิงปฏิบัติ การพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาด้านการสอนภาษาไทย (การเรียนรู้เชิงรุก Active Learning)
- ปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาวิชามัธยมศึกษา (มนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์) วิชาเอกสังคมศึกษาขั้นสูง (เกียรตินิยมอันดับ 1)
- ที่ 2 สอบครูผู้ช่วย สนามสอบกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2561
- วิทยากรติว O-NET และ 9 วิชาสามัญ โรงเรียนในกรุงเทพมหานคร
- ครูผู้ฝึกซ้อมนักเรียนเข้าแข่งขันความรู้ทางวิชาการ และความเป็นเลิศในรายวิชาสังคมศึกษา ทั้งกฎหมาย รัฐศาสตร์ พุทธศาสนา เศรษฐศาสตร์ และสังคมวิทยา
ตวงรัตน์ แสงโชติ (พี่ตวง)
- กำลังศึกษาปริญญาโท คณะศิลปศาสตร์ สาขาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ปริญญาตรี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง)
- พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน สายการบินนานาชาติกว่า 6 ปี
- ติวเตอร์ภาษาอังกฤษประสบการณ์สอนกว่า 10 ปี ที่เชื่อว่าภาษาเป็นทักษะ ใครๆ ก็เก่งได้แค่ฝึกฝนให้ถูกทาง
นพ.จิรภัทร บุนนาค (พี่หมอไอซ์)
- แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปประจำโรงพยาบาลเอกชน
- ปัจจุบันทำงานเกี่ยวกับ HealthTech ในบริษัทเอกชนด้าน IT
- ผู้ก่อตั้งและพัฒนาแอพแจ้งเตือนมลภาวะทางอากาศทาง Line
- อดีตตัวแทนประเทศไทย แข่งขันคณิตศาสตร์โลก International Mathematics Competition 2011 (IMC)
- ปริญญาตรี แพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- นักเรียนทุนรัฐบาลไปศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
- ปริญญาตรีสาขาชีวเคมีจาก University of Pennsylvania
- ปริญญาโท-เอกสาขาชีวเคมีจาก California Institute of Technology
- ปัจจุบันทำหน้าที่เป็นนักวิจัยด้านไวรัสวิทยาและวัคซีน
- ได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์จากสภาวิจัยแห่งชาติ
- ได้รับรางวัลผลงานวิจัยจากสภาวิจัยแห่งชาติ
- อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ คณะวิทยาศาสตร์
- ตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิก 3 ปี (1996, 1997, 1998)
- อันดับ 1 ทุนเล่าเรียนหลวงสายวิทยาศาสตร์ปี 2541
- ปริญญาตรีสาขาฟิสิกส์ California Institute of Technology
- ปริญญาโท-เอกสาขาอุตุนิยมวิทยาและสมุทรศาสตร์ University of California, Los Angeles
- อาจารย์ประจำโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- ปริญญาโท ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาวิชา การสอนสังคมศึกษา
- ปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาวิชามัธยมศึกษา(มนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์) วิชาเอกสังคมศึกษาขั้นสูง (เกียรตินิยมอันดับ 2)
- เป็นสุดยอดแฟนพันธุ์แท้ “อาณาจักรโรมัน” และแฟนพันธุ์แท้ “เทพปกรณัมกรีก”
