PANYA SOCIETY

สรุปฟิสิกส์ A-Level แบบเข้าใจง่าย พร้อมแนะจุดที่ต้องรู้ก่อนสอบ

สรุปฟิสิกส์ A-Level

สวัสดีครับน้อง ๆ ทุกคน วันนี้พี่ Panya Society กลับมาอีกครั้งพร้อมบทความที่เกี่ยวกับ TCAS นะครับ วันนี้พี่จะพามาดู สรุปฟิสิกส์ A-Level เพื่อช่วยน้อง ๆ ไม่พลาดเนื้อหาสำคัญ สำหรับน้อง ๆ ที่กำลังงเตรียมสอบ พี่แนะนำให้ดู สรุปฟิสิกส์ A-Level เพื่อจะได้เป็นการทบทวนเนื้อหา และเก็บตกจุดที่ต้องรู้ก่อนสอบ และอ่านหนังสือได้ถูกทางมากขึ้น และพร้อมสอบมากยิ่งขึ้น ถ้าพร้อมแล้ว เริ่ม!!!

ฟิสิกส์ A-Level ออกสอบทั้งหมด 20 บท แต่ละบทมีเนื้อหามากมายที่ต้องรู้

สรุปสูตรฟิสิกส์ A-Level ที่สำคัญ ของบทที่ออกเยอะ ได้แก่

  • ไฟฟ้าและแม่เหล็ก ออกปีละ 2 – 3 ข้อ สูตรที่ใช้บ่อย :

    B = Φ / A

    F = qv × B

  • ความร้อนและแก๊ส ออกปีละ 2 – 3 ข้อ สูตรที่ใช้บ่อย :

    PV = nRT

    Q = mcΔT   (เมื่อเปลี่ยนอุณหภูมิ)

    Q = mL   (เมื่อเปลี่ยนสถานะ)

  • ฟิสิกส์อะตอม ออกปีละ 2 – 4 ข้อ สูตรที่ใช้บ่อย :

    E = W + Ek   ในปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก

    Rn = A1 n2  ในแบบจำลองอะตอมของโบร์

    En =  -13.6 eV / n2  ในแบบจำลองอะตอมของโบร์

    λ = h / P  ในความยาวคลื่นเดอบรอยล์

สรุปสูตรฟิสิกส์ A-Level

สูตรฟิสิกส์ ม.ปลาย นั้นมีมากมาย วันนี้พี่จะมาคัดสูตรสรุปฟิสิกส์ A-Level ที่ออกสอบบ่อย มาดูกันว่าแต่ละบทมีสูตรไหนที่สำคัญบ้าง ไปดูกันเลย

บทที่ 1 : ธรรมชาติและพัฒนาการทางฟิสิกส์

สูตรที่ใช้บ่อย :

  • ค่าคลาดเคลื่อนของค่าเฉลี่ย = (xmax – xmin) / 2

บทที่ 2 : การเคลื่อนที่แนวตรง

สูตรที่ใช้บ่อย :

  • v = s / t
  • การเคลื่อนที่แนวตรงที่มีความเร่งคงตัว :
    v = u + at
    s = (u + v)t / 2
    s = ut + (1/2) at2
    s = ut + (1/2) at2
    v2 = u2 + 2as

บทที่ 3 : แรงและกฎการเคลื่อนที่

สูตรที่ใช้บ่อย :

  • กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน ข้อที่ 2 : ΣF = ma
  • แรงเสียดทาน : f = μN
  • แรงดึงดูดระหว่างมวล : F = GMm / R2

บทที่ 4 : สมดุลกล

สูตรที่ใช้บ่อย :

  • สมดุลต่อการเลื่อนที่ : ΣF = 0
  • สมดุลต่อการหมุน : Στ = 0

บทที่ 5 : งานและพลังงาน

สูตรที่ใช้บ่อย :

  • W = F · s
  • Ep = mgh
  • Ek = (1/2)mv2
  • กฎการอนุรักษ์พลังงานกล : E1 = E2

บทที่ 6 : โมเมนตัมและการชน

สูตรที่ใช้บ่อย :

  • I = P2 – P1 = (ΣF)t
  • กฎการอนุรักษ์โมเมนตัม : P1 = P2

บทที่ 7 : การเคลื่อนที่แนวโค้ง

สูตรที่ใช้บ่อย :

  • การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ที่จุดตกอยู่ระดับเดิม :
    sx max = u2sin(2θ) / g 
    sy max = u2sin2(θ) / 2g
    t = 2u sinθ / g  
  • การเคลื่อนที่แบบวงกลม : Fc = mv2 / R

บทที่ 8 : การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย

สูตรที่ใช้บ่อย :

  • ω = 2πf , T = 1 / f
  • การเคลื่อนที่ของมวลติดสปริง : ω = √(k / m)
  • การเคลื่อนที่ของเพนดูลัม : ω = √(g / L)

บทที่ 9 : คลื่น

สูตรที่ใช้บ่อย :

  • v = fλ
  • การสะท้อน : มุมตกกระทบ = มุมสะท้อน
  • การหักเห : sin(θ1) / sin(θ2) =  v1 / v2 = λ1 / λ2 = n2 / n1
  • สมการของคลื่น : y = A sin(ωt)

บทที่ 10 : แสงเชิงคลื่น

สูตรที่ใช้บ่อย :

  • การเลี้ยวเบนผ่านสลิตเดี่ยว (แถบมืด) : d sinθ = dx/D = nλ 
  • การแทรกสอดของแสงผ่านสลิตคู่ และเกรตติง (แถบสว่าง) : d sinθ = dx/D = nλ
  • การแทรกสอดของแสงผ่านสลิตคู่ (แถบมืด) : d sinθ = dx/D = (n – 1/2)λ

บทที่ 11 : แสงเชิงรังสี

สูตรที่ใช้บ่อย :

  • 1 / f = 1 / s + 1 / s’

บทที่ 12 : เสียง

สูตรที่ใช้บ่อย :

  • ระดับความเข้มเสียง : β = 10 log(I / I0)

บทที่ 13 : ไฟฟ้าสถิต

สูตรที่ใช้บ่อย :

  • F = kQ1Q2 / R2
  • E = kQ / R2
  • V =  kQ / R
  • ศักย์ไฟฟ้าระหว่างแผ่นขนาน : V = Ed

บทที่ 14 : ไฟฟ้ากระแส

สูตรที่ใช้บ่อย :

  • V = ωR
  • ความต้านทานของลวดตัวนำ : R = ρL/A
  • วงจรตัวต้านทาน :
    Rรวม = R1 + R2 + R3 + …    (ต่อแบบอนุกรม)
    1 / Rรวม = 1 / R1 + 1 / R2 + 1 / R3 + …    (ต่อแบบขนาน) 

บทที่ 15 : แม่เหล็กและไฟฟ้า

สูตรที่ใช้บ่อย :

  • B = Φ / A
  • F = qv × B

บทที่ 16 : ความร้อนและแก๊ส

สูตรที่ใช้บ่อย :

  • PV = nRT
  • Q = mcΔT   (เมื่อเปลี่ยนอุณหภูมิ)
  • Q = mL   (เมื่อเปลี่ยนสถานะ)

บทที่ 17 : ของแข็งและของไหล

สูตรที่ใช้บ่อย :

  • ความดันของของไหล : P = ρgH
  • แรงลอยตัว : FB = ρเหลวgVจม
  • สมการของแบร์นูลลี : P1 + ρgH1 + (1/2)ρv12 = P2 + ρgH2 + (1/2)ρv22 

บทที่ 18 : คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

สูตรที่ใช้บ่อย :

  • โพลาไรเซชัน (มุมบรูว์เตอร์) : tanθ  = n2 / n1

บทที่ 19 : ฟิสิกส์อะตอม

สูตรที่ใช้บ่อย :

  • ปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก : E = W + Ek
  • แบบจำลองอะตอมของโบร์ :
    Rn = A1 n2
    En =  -13.6 eV / n2
  • ความยาวคลื่นเดอบรอยล์ : λ = h / P

บทที่ 20 : ฟิสิกส์นิวเคลียร์และฟิสิกส์อนุภาค

สูตรที่ใช้บ่อย :

  • พลังงานยึดเหนี่ยว : BE = 931 MeV × Δm
  • การสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสี :
    T = ln(2) / λ
    N = N0 / 2(t / T)
    m = m0 / 2(t / T)
    A = A0 / 2(t / T)

มาถึงจุดนี้น้อง ๆ ก็จะได้เห็น สรุปฟิสิกส์ A-Level และว่าบทไหนใช้สูตรไหนบ่อย หวังว่าจะช่วยให้น้อง ๆ ทบทวนเนื้อหาได้ดีขึ้นนะครับ

พูดคุยหลังอ่าน

เป็นยังไงกันบ้างครับน้อง ๆ ทุกคน หวังว่าพี่ ๆ Panya Society จะช่วยสรุปฟิสิกส์ A-Level เพื่อให้น้อง ๆ ได้ทบทวนเนื้อหา และเก็บตกจุดที่อาจลืมไปได้นะครับ แต่พี่ ๆ ต้องขอบอกไว้ก่อนว่าเนื้อหาทั้งหมดนี้ เป็นเพียงแค่สูตรที่ออกบ่อย ๆ เท่านั้น ถ้าน้อง ๆ คนไหนยังพอมีเวลาก็อยากให้ทบทวนให้ครบทุกสูตรเลยนะครับ และสำหรับน้อง ๆ คนที่ต้องเตรียมตัวสอบหลายวิชา อย่าลืมวางแผนเผื่อเวลาไว้สำหรับวิชาอื่นกันด้วยนะครับ

หลังจากน้อง ๆ ทุกคนได้เห็นสรุปฟิสิกส์ A-Level กันแล้ว สำหรับ TCAS นี้หวังว่าจะช่วยให้น้อง ๆ อ่านหนังสือได้ง่ายขึ้น และจะเห็นว่าหลายคณะ ต้องใช้คะแนนสอบค่อนข้างสูง น้อง ๆ ทุกคนควรจะรีบเตรียมตัวตั้งแต่วันนี้ ดังนั้น พี่ PANYA ขอแนะนำคอร์ส “ฟิสิกส์ A – Level TCAS จาก PANYA SOCIETY ซึ่งเป็นคอร์ส เตรียมตัวสอบ TCAS ฉบับสมบูรณ์แบบ ที่ Update ล่าสุด ได้ทั้งทบทวนเนื้อหา ม.4-5-6 ไปพร้อมกับเก็งข้อสอบแนวรูปแบบใหม่ ฝึกทำข้อสอบเพียบ ทบทวนเต็มที่ เก็งข้อสอบแม่นยำ พร้อมทำโจทย์แนวใหม่ ไม่ตกเทรนด์ พร้อมกับโค้ชผู้ช่วยส่วนตัวที่ถาม-ตอบได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ไร้กังวล ติวกับ PANYA SOCIETY ข้อสอบ TCAS จะเปลี่ยนไปแค่ไหน พี่ ๆ จะตามติดพัฒนาคอร์สไปพร้อมกับ Test Blueprint ใหม่ล่าสุด ไม่พลาดแน่นอน!!!

VDO ตัวอย่างการสอน

ฟิสิกส์ A-Level

14 Videos

🔥ติวเตอร์คนเก่ง🔥

หน้าบทความหลัก

เรียนสนุก ทำโจทย์คล่อง สอบให้ติด

: คอร์สแนะนำ :

SHARE: