คณิตศาสตร์ ม.4 – ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล และลอการิทึม

PANYA SOCIETY

ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล และลอการิทึม

สรุปเนื้อหาที่สำคัญ

     เดินทางมาสู่บทที่ 2 ของคณิตศาสตร์ ม. 4 เทอม 2 “ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม” ก็นับว่าเป็นบทสำคัญอย่างยิ่งอีกเช่นกัน เพราะในสถิติข้อสอบ TCAS สัดส่วนการออกข้อสอบบทนี้ ในปีที่ผ่านๆมา ในข้อสอบ A – Level พบความถี่ในการออกข้อสอบสูงสุด โดยเฉลี่ยถึงประมาณ 3-4 ข้อในทุกปี

       นับว่าบทเรียนคณิตศาสตร์ ม.4 เทอม 2 เรื่อง “ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม” มีความสำคัญอย่างยิ่งที่น้องๆจะต้องทำความเข้าใจเนื้อหาโดยละเอียด และอัดพื้นฐานของบทนี้ให้แน่น เพื่อพร้อมรับมือกับการทำข้อสอบที่มีความหลากหลาย และควรฝึกทำโจทย์ที่ประยุกต์หลายบทเข้าไว้ด้วยกัน ที่มีเนื้อหาร่วมกับบทนี้

      อย่างที่กล่าวข้างต้น ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม ออกข้อสอบหลายข้อจริงๆ ดังนั้น น้องๆก็ควรใช้เป็นข้อที่ทำคะแนนอย่างยิ่ง เพื่อให้การอ่านหนังสือเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัยคุ้มค่าที่สุด อ่าน 1 บทก็ควรเก็บคะแนนได้ทุกประเภทข้อสอบ นำไปใช้ประยุกต์ได้กับข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย TCAS ในข้อสอบ A – Level ห้ามทิ้ง!

ชันฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม มีหน่วยย่อย ดังนี้

  • เลขยกกำลัง
    • การเปรียบเทียบเลขยกกำลัง
    • สมการรากที่สอง
    • รูปแบบรูทไม่รู้จบ
  • ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล
    • กราฟของฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล และการแปลงกราฟ
    • สมการเอกซ์โพเนนเชียล
    • อสมการเอกซ์โพเนนเชียล
  • ฟังก์ชันลอการิทึม
    • กราฟของฟังก์ชันลอการิทึม และการแปลงกราฟ
    • สมบัติของฟังก์ชันลอการิทึม
    • การเปรียบเทียบค่าลอการิทึม
    • แมนทิสซา และคาแรกเทอริสติก
    • สมการลอการิทึม
    • อสมการลอการิทึม

เลขยกกำลัง

สมบัติของเลขยกกำลัง ให้ a,b,m และ n เป็นค่าคงที่ใดๆ

 

ตัวอย่างโจทย์ จงใช้สมบัติของเลขยกกำลังทำให้อยู่ในรูปแบบง่าย ((73)-2)0.5 เฉลย

การเปรียบเทียบเลขยกกำลัง

  • ถ้า เลขฐาน > 1 แล้ว เลขชี้กำลังมากค่าจะยิ่งมาก
  • ถ้า 0 < เลขฐาน < 1 แล้ว เลขชี้กำลังมากค่าจะยิ่งน้อย

การเปรียบเทียบเลขยกกำลัง มีวิธีการได้แก่

ทำฐานให้เท่ากัน โดยพยายามจัดรูปให้เลขฐานเท่ากัน โดยหาเลขฐานร่วม แล้วแปลงเลขฐานเดิมของเลขที่จะเปรียบเทียบกันให้อยู่ในรูปยกกำลังของเลขฐานร่วม ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม เช่น

44 เปรียบเทียบกับ 83
(22)4 =28 เปรียบเทียบกับ (23)3=29
จะได้ว่า 28 < 29 เพราะฉะนั้น 44 <83

ทำเลขชี้กำลังให้เท่ากัน ถ้าเลขฐานเท่ากัน เลขฐานมากค่าจะยิ่งมาก เลขฐานน้อยค่าจะยิ่งน้อย ดังนั้น ถ้าจัดรูปให้เลขชี้กำลังเท่ากันได้ ก็จะสามารถเปรียบเทียบเลขฐานได้เลย เช่น

166 เปรียบเทียบกับ 274
(42)6 = 412 เปรียบเทียบกับ (33)4 = 312
จะได้ว่า 412 > 312 เพราะฉะนั้น 166 > 274

กรณีเลขฐานติดลบ ให้พิจารณาว่า ถ้ายกกำลังแล้วยังติดลบอยู่หรือไม่ โดยแปลงเลขฐานเป็น -1 คูณกับ จำนวนที่เป็นบวก แล้วกระจายเลขยกกำลังเข้าไป แล้วพิจารณาว่าหลังกระจายเลขยกกำลังเข้าไปแล้ว -1 ยังคงอยู่หรือไม่
โดยพิจารณาดังนี้

  • ถ้า -1 ยกกำลังด้วยเลขคู่ จะได้ 1
  • ถ้า -1 ยกกำลังด้วยเลขคี่ จะได้ -1
  • ถ้า -1 ยกกำลังด้วยเศษส่วนโดยที่ตัวส่วนเป็นเลขคี่ แล้ว
    • ถ้าเศษเป็นเลขคู่ จะได้ 1
    • ถ้าเศษเป็นเลขคี่ จะได้ -1
  • ถ้า -1 ยกกำลังด้วยเศษส่วนโดยที่ตัวส่วนเป็นเลขคู่ จะหาค่าไม่ได้
    จากนั้นจึงทำการเปรียบเทียบ โดยถ้ายังติดลบทั้งคู่ ตัวที่ติดลบเยอะกว่า จะมีค่าน้อยกว่า เช่น

(-9)5 เปรียบเทียบกับ (-9)4
(-1 × 9)5 เปรียบเทียบกับ (-1 × 9)4
(-1)5 × 95 เปรียบเทียบกับ (-1)4 × 94
-1 × 95 เปรียบเทียบกับ 1 × 94
จะได้ว่า -95 < 94 เพราะฉะนั้น (-9)5 < (-9)4

ฟังก์ชันเอกโพเนนเชียล

ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลเป็นฟังก์ชันที่ค่าของฟังก์ชันเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้เร็วกว่าฟังก์ชันพหุนาม โดยเขียนอยู่ในรูปทั่วไปคร่าว ๆ ได้ว่า

y=ax
โดยที่ a > 0 และ a ≠ 1

ฟังก์ชันเอกโพเนนเชียล สามารถใช้อธิบายสิ่งต่าง ๆ ได้มากมาย เช่น

  • การแพร่พันธุ์ของสิ่งมีชีวิต
  • การคิดดอกเบี้ยทบต้น
  • การเติบโตของเครือข่ายโซเชียล (Social Network)
  • การสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสี
  • การเย็นตัวของวัตถุร้อน

สมบัติของฟังก์ชันเอกซ์โพแนนเชียล

  • เมื่อ a > 1 ฟังก์ชัน y = ax จะเป็นฟังก์ชันเพิ่ม
  • เมื่อ 0 < a < 1 ฟังก์ชัน y = ax จะเป็นฟังก์ชันลด
  • โดเมนของฟังก์ชัน คือ R
  • เรนจ์ของฟังก์ชัน คือ R+

กราฟของฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล หากวาดกราฟของฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล y = ax จะได้ดังนี้

เมื่อ a > 1

เมื่อ 0 < a < 1

ข้อสังเกต

  • กราฟของฟังก์ชันผ่านจุด (0, 1) เสมอ
  • กราฟของฟังก์ชันอยู่เหนือแกน x เสมอ
  • กราฟของฟังก์ชัน y = ax และ y = (1/a)x = a-x จะสมมาตรกัน โดยมีแกน y เป็นแกนสมมาตร

การแปลงกราฟเอกซ์โพเนนเชียล กราฟของสมการจะเหมือนกับกราฟเอกซ์โพเนนเชียล y = ax ไปทางขวา h หน่วย และเลื่อนขึ้นไป k หน่วย ดังนั้น เพื่อที่จะวาดกราฟเอกซ์โพเนนเชียลให้ได้ง่ายขึ้น อาจจัดรูปสมการให้อยู่ในรูป y-k = ax-h ก่อนดังรูป

เมื่อ a > 1


ตัวอย่างโจทย์ จงวาดกราฟคร่าว ๆ ของสมการต่อไปนี้ y = 32x เฉลย

สมการเอกซ์โพเนนเชียล คือ สมการที่มี x อยู่ในเลขชี้กำลัง
การแก้สมการเอกซ์โพเนนเชียล

  • แก้โดยการทำฐานให้เท่ากัน
    • จัดรูปให้ทั้งสองข้างของสมการมีเลขฐานเท่ากัน
    • จะได้ว่า เลขชี้กำลังของทั้งสองข้าง จะเท่ากัน
  • แก้โดยการแทนค่าด้วยตัวแปรอื่น
    • หากไม่สามารถจัดรูปให้เลขฐานเท่ากันได้ อาจกำหนดให้พจน์ที่มี x อยู่ในเลขชี้กำลัง เป็นตัวแปรอื่น แล้วจึงค่อยแก้สมการ

ตัวอย่างโจทย์ จงแก้สมการเอกซ์โพเนนเชียลต่อไปนี้

ฟังก์ชันลอการิทึม

ฟังก์ชันลอการิทึม เป็นอินเวอร์สของฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล
ดังนั้น ถ้าฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลมีสมการเป็น

y = ax ,  a > 0 ,  a ≠ 1

แล้วฟังก์ชันลอการิทึมจะมีสมการเป็น

x = ay , a > 0 , a ≠ 1

ซึ่งหากจะเขียนให้อยู่ในรูป y ในเทอมของ x จะเขียนได้เป็น

 y = logax

ซึ่งหมายถึง x = ay ดังนั้น ฟังก์ชันลอการิทึม คือ

f = {(x, y) | y = loga x, a > 0, a ≠ 1}

ตัวอย่างเช่น
หาค่าของ log2(32)

ให้ y = log2(32)
จะได้ 2y = 32
2y = 25
จะได้ว่า y = 5
ดังนั้น log2(32) = 5

กราฟของฟังก์ชันลอการิทึม เนื่องจากเป็นอินเวอร์สกัน กราฟของฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล และกราฟของฟังก์ชันลอการิทึม จึงสมมาตรกันโดยมีเส้นตรง y = x เป็นแกนสมมาตร ดังนี้

กราฟของฟังก์ชันลอการิทึม เมื่อ a > 1

กราฟของฟังก์ชันลอการิทึม เมื่อ 0 < a < 1

สมบัติของลอการิทึม ให้ a, M, N เป็นจำนวนบวก ซึ่ง a > 0 และ a ≠ 1 และ m, n เป็นจำนวนจริงใดๆ


แมนทิสซา และคาแรกเทอริสติก ให้ N เป็นจำนวนจริงบวกใด ๆ และ n เป็นจำนวนเต็ม จะเขียน N ได้ในรูป

N = A×10n โดยที่ 1 ≤ A < 10 จะได้ว่า

  • logN = log (A×10n) โดยที่ log1 ≤ logA < log10
  • logN = logA + log10n
  • logN = logA + nlog10 โดยที่ 0 ≤ logA < 1
  • logN = logA + n

เรียก log A ว่า แมสทิสซา ของ log N ซึ่งค่าของ log A จะสามารถหาได้จากการเปิดตารางลอการิทึม
เรียก n ว่า คาแรกเทอริสติก ของ log N

สมการลอการิทึม คือ สมการที่มี x อยู่ในลอการิทึม โดยอาจอยู่ตรงเลขฐาน หรืออยู่หลัง log ก็ได้

การแก้สมการลอการิทึม

  • แก้โดยใช้นิยามของฟังก์ชันลอการิทึม
    • ถ้า logax = M
    • จะได้ว่า x = aM
  • แก้โดยการทำฐานให้เท่ากัน
    • ถ้า logaM = logaN
    • จะได้ว่า M = N
  • แก้โดยการแทนค่าด้วยตัวแปรอื่น
    • หากจัดรูปสมการไม่ได้อาจแทนค่าตัวที่ติด log ด้วยตัวแปรอื่น แล้วจึงแก้สมการ

ตัวอย่างโจทย์ จงแก้สมการลอการิทึมต่อไปนี้

คุยกันท้ายบท

       จะเห็นได้ว่า “ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม” ในคณิตศาสตร์ ม.4 เทอม 2 จะมีความเชื่อมโยงกับบทที่ผ่านมาคือ “ความสัมพันธ์ และฟังก์ชัน” ซึ่งถ้าน้องคนไหน ไม่มีความรู้ความเข้าใจที่แท้จริงจากบทที่แล้ว ก็จะยิ่งสร้างปมปัญหาต่อมาถึงบทนี้ ดังนั้น ควรกลับไปทบทวนเพื่อให้ “ความสัมพันธ์ และฟังก์ชัน” จะได้นำความรู้ความเข้าใจจากบทที่แล้ว มาต่อยอดได้ในเนื้อหาของบทที่ 2

       ที่สำคัญคือ อย่าลืมฝึกทำโจทย์บ่อยๆ และใช้เวลาว่างบนหน้าเว็บไซต์ของ Panya Society ลองฝึกทำโจทย์ที่พี่ให้ไว้ หรือเข้าไปชมตัวอย่างวิดีโอการสอนต่างๆ พร้อมคิดคำนวณตามไปด้วย เพื่อให้ได้ประโยชน์จากการทบทวนความรู้ครับ แล้วพบกันในบทต่อไป เข้มข้นยิ่งขึ้นกับ “เรขาคณิตวิเคราะห์ และภาคตัดกรวย” กราฟเพียบ กราฟแน่น สนุกแน่นอนครับผม 🙂

       พี่หวังว่า น้องๆจะสนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์ ม.4 เทอม 2 ไปตลอดทั้งเทอม ขอให้น้องๆประสบความสำเร็จในการเรียน ได้เกรดดังหวัง คะแนนปังทุกคนเลยครับ แวะไปชมเนื้อหาบทสุดท้ายของคณิตศาสตร์ ม.4 เทอม 2 กันด้วยนะ…อย่าเทพี่นอตกลางทางนะครับ

ความสัมพันธ์ และฟังก์ชัน

เรขาคณิตวิเคราะห์ และภาคตัดกรวย

ทำความรู้จัก พี่นอต (ดร.ธรรมนิติ์ พิพัฒน์ศรีสวัสดิ์)

SHARE:

Moveto_Panya

**หมดเขตโปรโมชั่นแล้ว**

"เรียนที่ไหนไม่รู้เรื่อง ย้ายมาเรียน PANYA สิ"

ปัญหาเหล่านี้จะหมดไป

แวะมาแลกคอร์สเก่า รับคอร์สที่อยากเรียนกับ Panya Society
เพียงแจ้งคอร์สที่อยากเรียน ทักแชทรับส่วนลดได้เลยทันที 300 บาท

วันนี้ – 30 มิถุนายน 2565

 

**เมื่อสมัครเรียนแล้ว ทุกคอร์สใน Pack จะปรากฏที่เมนูคอร์สของฉันโดยอัตโนมัติ**

ทำความรู้จัก PANYA SOCIETY

     Panya Society เกิดขึ้นจากการรวมตัวของคนรุ่นใหม่ที่เข้าใจเทคโนโลยีและมี passion เกี่ยวกับการศึกษา

ปรัชญาการสอนของเราคือ :

“สอนให้เข้าใจเพื่อนำไปใช้ได้”

     เราเชื่อว่าความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนจะให้การเรียนน่าสนใจและสนุก และจะทำให้ความรู้ติดตัวนักเรียนไปไม่ใช่แค่จบที่ห้องสอบ แต่นั่นก็ไม่ได้แปลว่าเราจะละเลยความสำคัญของการสอบ การสอนที่ดีต้องทำให้นักเรียนทำข้อสอบได้และช่วยให้นักเรียนบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ไม่ว่าจะเป็นการสอบเข้าคณะที่ต้องการหรือพัฒนาผลการเรียนในโรงเรียน

💡คอร์สเรียน

มาติวกันเลยกับ อาจารย์ระดับเทพ

คอร์สเทอม 1

คอร์สเทอม 2

คอร์สเตรียมสอบเข้ามหา'ลัย

💡Video ตัวอย่าง

40 Videos
Play Video

💡สิ่งที่จะได้รับ

💡ติวเตอร์คนเก่ง

SHARE:

คณิตศาสตร์ ม.5 – ความน่าจะเป็น

PANYA SOCIETY

ความน่าจะเป็น

สรุปเนื้อหาที่สำคัญ

และแล้วก็เดินทางกันมาถึงสรุปเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ มัธยมปลาย ระดับชั้น ม.5 เทอม 2 โดย พี่นอต แห่ง Panya Society ในเรื่อง “ความน่าจะเป็น” ซึ่งเป็นเนื้อหาบทสุดท้ายของวิชาคณิตศาสตร์ ม.5 เทอม 2 กันแล้วนะครับ โดยในบทนี้จะเป็นเนื้อหาที่ต่อยอดมาจากส่วนท้ายของเนื้อหา “หลักการนับเบื้องต้น” และเป็นการใช้อธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่น การออกรางวัล การทอยลูกเต๋า การสุ่มสิ่งของต่างๆ เป็นต้น

ดังนั้น ถ้าน้องๆคนไหนที่ยังไม่ค่อยเข้าใจเนื้อหาของการเรียงสับเปลี่ยน การจัดหมู่ พี่นอตอยากให้น้องๆได้ลองย้อนกลับไปอ่านบทความ “หลักการนับเบื้องต้น” ที่พี่นอตเคยได้เขียนไว้แล้วนะครับ เพื่อเป็นการเตรียมพื้นฐานในการทำความเข้าใจเนื้อหาของ “ความน่าจะเป็น” ส่วนน้องๆคนไหนที่พร้อมแล้วเรามาลุยกันเลย แล้วก็อย่าลืมลองทำแบบฝึกหัดท้ายบทที่พี่แนบไว้ด้วยนะครับ

เนื้อหาหลักของบทนี้ประกอบด้วย รายละเอียดบทย่อย ดังนี้

  • การทดลองสุ่ม
  • ความน่าจะเป็น

การทดลองสุ่ม

การทดลองสุ่ม คือ การทดลองที่รู้ผลลัพธ์อาจจะเป็นอะไรได้บ้าง แต่ไม่รู้แน่นอนว่าแต่ละครั้งที่ทดลองจะได้ผลลัพธ์เป็นอย่างไร เช่น การทอยลูกเต๋าหนึ่งลูกหนึ่งครั้ง แต้มบนหน้าลูกเต๋าที่อาจจะเป็นได้คือ 1,2,3,4,5,6 แต่บอกไม่ได้แน่นอนว่าแต้มที่จะได้เป็นอะไร

ปริภูมิตัวอย่าง คือ เซตของผลลัพธ์ที่อาจจะเป็นไปได้ทั้งหมดของการทดลองสุ่ม นิยมเขียนแทนด้วย S

เหตุการณ์ คือ เซตของผลลัพธ์ที่เราสนใจจากการทดลองสุ่ม นิยมเขียนแทนด้วย E ดังนั้นจะสังเกตได้ว่า เหตุการณ์จะเป็นสับเซตของปริภูมิตัวอย่างเสมอ

ตัวอย่าง ในการโยนเหรียญ 2 ครั้ง ถ้าผลลัพธ์ที่สนใจ คือ หน้าของแต่ละเหรียญ จงหาปริภูมิตัวอย่าง และเหตุการณ์ที่เหรียญออกหัวอย่างน้อย 1 ครั้ง
วิธีทำ

  • ให้ H แทนเหรียญออกหัว
  • T แทนเหรียญออกก้อย
  • E คือ เหตุการณ์ที่ออกหัวอย่างน้อย 1 ครั้ง

ดังนั้น

  • S = {HH, HT, TH, TT}
  • E = {HH, HT, TH}

ตัวอย่าง ในกล่องใบหนึ่งมีสลากหมายเลข 1 ถึง 9 อยู่หมายเลขละ 1 ใบ สุ่มหยิบสลากขึ้นมา 2 ใบ พร้อมๆกัน จงหาเหตุการณ์ที่ผลรวมของหมายเลขที่หยิบได้เป็น 9
วิธีทำ

  • S = เหตุการณ์ทั้งหมดที่เป็นไปได้ในการหยิบสลาก 2 ใบขึ้นมาพร้อมกัน
  • S = {(1,2), (1,3), (1,4), (1,5), (1,6), (1,7), (1,8), (1,9), (2,3), (2,4), (2,5), (2,6), (2,7), (2,8), (2,9), (3,4), (3,5), (3,6), (3,7), (3,8), (3,9), (4,5), (4,6), (4,7), (4,8), (4,9), (5,6), (5,7), (5,8), (5,9), (6,7), (6,8), (6,9), (7,8), (7,9), (8,9)}
  • E คือ เหตุการณ์ที่ผลลัพธ์รวมกันได้ 9

ดังนั้น

  • E = {(1,8), (2,7), (3,6), (4,5)}

ความน่าจะเป็น

ต่อเนื่องจากการทดลองสุ่มและเหตุการณ์ ให้ S เป็นปริภูมิตัวอย่างที่เป็นเซตจำกัด และสมาชิกทุกตัวของ S มีโอกาสเกิดขึ้นเท่าๆกัน และ E เป็นเหตุการณ์ที่เป็นสับเซตของ S

ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ E เขียนแทนด้วย P(E) โดย

สมบัติของความน่าจะเป็น

  1. 0 ≤ P(A) ≤ 1 หรือ ความน่าจะเป็นจะมีค่าระหว่าง 0 ถึง 1
  2. P(S) = 1
  3. P(∅) = 0
  4. P(A∪B) = P(A) + P(B) – P(A∩B)
  5. P(A’) = 1 – P(A)
  6. P(A-B) = P(A) – P(A∩B)
ตัวอย่าง ในการโยนเหรียญ 2 ครั้ง จงหาความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่เหรียญออกหัวอย่างน้อย 1 ครั้ง วิธีทำ
  • ให้ H แทนเหรียญออกหัว
  • T แทนเหรียญออกก้อย
  • E คือ เหตุการณ์ที่ออกหัวอย่างน้อย 1 ครั้ง
ดังนั้น
  • S = {HH, HT, TH, TT}
  • E = {HH, HT, TH}
  • P(E) = n(E)n(S) = 34
ตัวอย่าง ในกล่องใบหนึ่งมีสลากหมายเลข 1 ถึง 9 อยู่หมายเลขละ 1 ใบ สุ่มหยิบสลากขึ้นมา 2 ใบ พร้อมๆกัน จงหาความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ที่ผลรวมของหมายเลขที่หยิบได้เป็น 9 วิธีทำ
  • S = เหตุการณ์ทั้งหมดที่เป็นไปได้ในการหยิบสลาก 2 ใบขึ้นมาพร้อมกัน
  • S = {(1,2), (1,3), (1,4), (1,5), (1,6), (1,7), (1,8), (1,9), (2,3), (2,4), (2,5), (2,6), (2,7), (2,8), (2,9), (3,4), (3,5), (3,6), (3,7), (3,8), (3,9), (4,5), (4,6), (4,7), (4,8), (4,9), (5,6), (5,7), (5,8), (5,9), (6,7), (6,8), (6,9), (7,8), (7,9), (8,9)}
  • E คือ เหตุการณ์ที่ผลลัพธ์รวมกันได้ 9
ดังนั้น
  • E = {(1,8), (2,7), (3,6), (4,5)}
  • P(E) = n(E)n(S) = 436

คุยกันท้ายบท

แบบฝึกหัด

1. นักเรียนห้องหนึ่งมีจำนวน 30 คน สอบวิชาคณิตศาสตร์ได้เกรด A 5 คน ได้เกรด B 15 คน และได้เกรด C 10 คน ถ้าสุ่มนักเรียน 3 คน จากห้องนี้ แล้วความน่าจะเป็นที่จะได้นักเรียนอย่างน้อย 1 คน ที่ได้เกรด A เท่ากับเท่าใด (สามัญ ปี’56)
เฉลย
2. กิตติและสมาน กับเพื่อนๆรวม 7 คน ไปเที่ยวต่างจังหวัดด้วยกัน ในการค้างแรมที่มีบ้านพัก 3 หลัง หลังแรกพักได้ 3 คน ส่วนหลังที่สองและสามพักได้หลังละ 2 คน ซึ่งแต่ละหลังมีความแตกต่างกัน พวกเขาจึงตกลงที่จะจับสลากว่าใครจะได้พักบ้านหลังใด ความน่าจะเป็นที่กิตติและสมานจะได้พักบ้านหลังเดียวกันในหลังที่หนึ่งหรือหลังที่สามเท่ากับเท่าใด (PAT1 มี.ค. ปี’52)
เฉลย

เป็นยังไงกันบ้างครับกับเนื้อหาและแบบฝึกหัดของ “ความน่าจะเป็น” ไม่ยากเกินไปใช่ไหมครับ น้องๆจะเห็นได้ว่าเนื้อหาของบทนี้ค่อนข้างสั้น แต่มีการนำเรื่องของการเรียงสับเปลี่ยนและการจัดหมู่จากเนื้อหา “หลักการนับเบื้องต้น” มาใช้ในบทนี้ด้วย และเนื้อหาของเรื่อง “ความน่าจะเป็น” นั้นจะเป็นพื้นฐานไปสู่เรื่องของ “สถิติ” ในตอนเรียนชั้น ม.6 อีกด้วย รวมไปถึงน้องๆคนไหนที่กำลังสนใจเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัยในสาขาที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์เช่น สาขาสถิติประยุกต์ สาขาคณิตศาสตร์ประยุกต์ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ต่างก็ใช้ความรู้ และความเข้าใจในพื้นฐานของความน่าจะเป็นกันทั้งหมด ดังนั้นแล้วน้องๆทุกคนควรจะเตรียมตัว และทำความเข้าใจเนื้อหาโดยละเอียด

และจากบทความที่แล้วพี่นอตได้เกรินเอาไว้แล้วว่า จากสถิติที่ผ่านเนื้อหาในส่วนของความน่าจะเป็น และหลักการนับเบื้องต้นมักจะถูกรวมกันนำไปออกข้อสอบ A – Level ประมาณ 3-4 ข้ออยู่เป็นประจำ ดังนั้นถ้าน้องๆได้ลองทำแบบฝึกหัดท้ายบทที่พี่นอตได้แนบไว้ น้องๆน่าจะเก็บคะแนนจากส่วนนี้ได้ไม่ยากอย่างแน่นอน แต่ถ้าน้องๆคนไหนอยากได้เนื้อหาที่ละเอียดมากกว่านี้ รวมไปถึงแบบฝึกหัดที่เข้มข้นกว่านี้ พี่นอตขอแนะนำคอร์สวิชา “คณิตศาสตร์ ม.5 เทอม 2” จาก Panya Society ที่มีการปูพื้นฐานตั้งแต่ง่ายไปจนถึงระดับยาก เน้นความเข้าใจ ไม่เน้นกาารท่องจำ พร้อมทั้งแบบฝึกหัด รวมไปถึงตัวอย่างข้อสอบจากข้อสอบจริงในการสอบเข้าระดับมหาวิทยาลัย A – Level

สุดท้ายนี้พี่นอตหวังว่า น้องๆจะสนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์ ม.5 เทอม 2 ไปตลอดทั้งเทอม และขอให้น้องๆประสบความสำเร็จในการเรียนเทอมนี้ ได้เกรดดังหวัง คะแนนปังกันทุกคนเลยนะครับ แล้วพบกันในบทความชุดถัดไปนะครับ รับรองว่าติดตาม Panya Society กันไว้ไม่ผิดหวังแน่นอน 🙂

หลักการนับเบื้องต้น

บทความคณิตศาสตร์อื่นๆ

SHARE:

คณิตศาสตร์ ม.5 – หลักการนับเบื้องต้น

PANYA SOCIETY

หลักการนับเบื้องต้น

สรุปเนื้อหาที่สำคัญ

กลับมากันอีกครั้งสำหรับสรุปเนื้อหาวิชา คณิตศาสตร์ มัธยมปลาย ระดับชั้น ม.5 เทอม 2 ในเรื่อง “หลักการนับเบื้องต้น” และแน่นอนอย่างที่พี่นอตเคยได้เกรินไปในตอนท้ายของบทที่แล้วว่าบทนี้นั้นจะใช้ความรู้พื้นฐานมาจากเนื้อหาของ “จำนวนเชิงซ้อน”

ดังนั้น ถ้าน้องๆคนไหนที่ยังไม่เข้าใจเนื้อหาของ “จำนวนเชิงซ้อน” พี่นอตอยากให้ลองย้อนกลับไปอ่านบทความก่อนหน้านี้ที่พี่นอตเคยได้เขียนไว้แล้วนะครับ เพื่อเป็นการเตรียมพื้นฐานในการทำความเข้าใจเนื้อหา “หลักการนับเบื้องต้น” ส่วนน้องๆคนไหนเตรียมตัวมาพร้อมแล้วเรามาลุยกันเลย แล้วอย่าลืมลองทำแบบฝึกหัดท้ายบทที่พี่แนบไว้ด้วยนะครับ ขอให้เทอมนี้ คณิตศาสตร์ ม.5 เทอม 2 เกรดปังๆเลยนะ ติดตามเนื้อหาไปด้วยกันครับ 🙂

โดยเนื้อหาหลักของบทนี้จะประกอบด้วยรายละเอียดบทย่อย ดังนี้

  • หลักการบวกและหลักการคูณ
  • การเรียงสับเปลี่ยน
  • การจัดหมู่
  • ทฤษฎีบททวินาม

หลักการบวกและหลักการคูณ

        ในการที่เราจะนับจำนวนสิ่งของ เหตุการณ์ หรือจำนวนวิธีในการทำงานบางอย่าง อาจจะสามารถนับได้โดยตรงจากการค่อยๆ ไล่นับไปจนครบ แต่หากสิ่งที่จะนับมีจำนวนมาก อาจจะทำให้การนับโดยตรงนั้นทำได้ยาก จึงมีหลักการนับสิ่งต่างๆ เบื้องต้น เพื่อช่วยให้การนับสิ่งที่มีจำนวนเยอะๆ ทำได้ง่ายขึ้น โดยแบ่งเป็น

หลักการบวก

ถ้าสามารถแบ่งการทำงานออกเป็นหลายกรณี จำนวนวิธีการทำงานทั้งหมด คือ ผลรวมของจำนวนวิธีการทำงานทุกกรณี แสดงออกมาในรูปแบบ

n1 + n2 + … + nn

ตัวอย่างเช่น มีการบ้านวิชาคณิตศาสตร์ 2 ชิ้น วิชาภาษาอังกฤษ 3 ชิ้น และวิชาภาษาไทย 1 ชิ้น จะมีการบ้านให้เลือกทำกี่วิธี?

วิธีทำ   

  • มีการบ้านวิชาคณิตศาสตร์ 2 ชิ้น
  • มีการบ้านวิชาภาษาอังกฤษ 3 ชิ้น
  • มีการบ้านวิชาภาษาไทย 1 ชิ้น
ดังนั้น จะมีการบ้านให้เลือกทำ 2 + 3 + 1 = 6 วิธี
หลักการคูณ

ถ้าการทำงานแบ่งออกเป็นหลายขั้นตอน จำนวนวิธีการทำงานทั้งหมด คือผลคูณของจำนวนวิธีการทำงานทุกขั้นตอน แสดงออกมาในรูปแบบ

n1 ✕ n2 ✕ … ✕ nn

ตัวอย่างเช่น มีการบ้านวิชาคณิตศาสตร์ 2 ชิ้น วิชาภาษาอังกฤษ 3 ชิ้น และวิชาภาษาไทย 1 ชิ้น ถ้าวันนี้จะเลือกทำการบ้าน 2 ชิ้น โดยเมื่อทำการบ้านชิ้นแรกเสร็จ จะทำชิ้นที่ 2 ต่อ จะมีวิธีทำการบ้านในวันนี้กี่วิธี?

วิธีทำ

  • มีการบ้านทั้งหมด 6 ชิ้น
  • ขั้นตอนที่ 1 เลือกทำการบ้านชิ้นที่ 1 ซึ่งจะเป็นชิ้นใดก็ได้ มี 6 วิธี
  • ขั้นตอนที่ 2 เลือกทำการบ้านชิ้นที่ 2 ต่อ โดยเลือกจากการบ้านชิ้นที่เหลือ มี 5 วิธี

ดังนั้น จะมีวิธีทำการบ้านในวันนี้ 6 ✕ 5 = 30 วิธี

การเรียงสับเปลี่ยน

ต่อเนื่องจากหลักการคูณ หากมีสิ่งของอยู่ n ชิ้นที่แตกต่างกันทั้งหมด แล้วต้องการจะนำสิ่งของ r ชิ้นจากสิ่งของที่มีอยู่ นำมาเรียงลำดับจะได้ว่า

  • ขั้นตอนที่ 1 เลือกของชิ้นที่ 1 มาวาง ซึ่งจะเป็นชิ้นใดก็ได้ มี n ชิ้น
  • ขั้นตอนที่ 2 เลือกของชิ้นที่ 2 มาวาง โดยเป็นชิ้นที่เหลือจากการวางชิ้นที่ 1 มี n-1 ชิ้น

.
.
.

  • ขั้นตอนที่ r เลือกของชิ้นที่ r โดยเป็นชิ้นที่เหลือจากการวางชิ้นที่ r-1 มี n-r+1 ชิ้น

ดังนั้น จำนวนวิธีในการนำสิ่งของมาเรียง = n ✕ (n-1) ✕ (n-2) ✕ … ✕ (n-r+1)
หรือเรียกอีกอย่างว่า แฟกทอเรียล เขียนแทนด้วย n! โดยที่ n เป็นจำนวนเต็มบวก
โดย n! = n ✕ (n-1) ✕ (n-2) ✕ … ✕ 3 ✕ 2 ✕ 1
และ 0! = 1 *ระวังโดนหลอกกันนะครับน้องๆ*
การเรียงสับเปลี่ยนแบ่งออกเป็นอีก 3 อย่างด้วยกัน คือ

การเรียงสับเปลี่ยนสิ่งของที่แตกต่างกันทั้งหมด
มีสิ่งของ n ชิ้น ที่ไม่ซ้ำกัน ต้องการนำมาเรียง r ชิ้น จะมีจำนวนวิธีเรียง คือ

ตัวอย่าง มีเลขโดด 5 ตัว คือ 1, 4, 6, 7, 9 จะนำมาสร้างเป็นเลข 5 หลักได้กี่จำนวน

วิธีทำ วิธีเรียงลำดับตัวเลขทั้ง 5 ตัว โดยนำมาเรียงทั้งหมด คือ P5,5 = 5! = 120 วิธี

การเรียงสับเปลี่ยนสิ่งของที่ไม่แตกต่างกันทั้งหมด
มีสิ่งของ n ชิ้น โดยมีสิ่งของเหมือนกัน k กลุ่ม นำมาเรียงสับเปลี่ยน จะมีจำนวนวิธีเรียง คือ

ตัวอย่าง ต้องการนำตัวอักษรคำว่า “coffee” มาเรียงใหม่โดยไม่สนใจความหมาย จะเรียงได้กี่วิธี

วิธีทำ มีตัวอักษร f ซ้ำ 2 ตัว, e ซ้ำ 2 ตัว, c,o อย่างละ 1 ตัว
ดั้งนั้นจะเรียงได้ 6!2!✕2!✕1!✕1! = 180 วิธี
จะเห็นได้ว่าสามารถพิจารณาเพียงตัวที่ซ้ำได้

การเรียงสับเปลี่ยนสิ่งของที่แตกต่างกันทั้งหมดเชิงวงกลม
มีสิ่งของ n ชิ้น ที่ไม่ซ้ำกัน นำมาเรียงเป็นวงกลม จะมีจำนวนวิธีเรียง คือ

(n-1)!

ตัวอย่าง มีดอกไม้อยู่ 10 ดอก ที่แตกต่างกัน ต้องการนำดอกไม้ทั้ง 10 ดอกนี้มาร้อยเป็นพวงมาลัย จะร้อยพวงมาลัยได้กี่แบบ
วิธีทำ การร้อยพวงมาลัย ถือเป็นเรียงดอกไม้เป็นวงกลม ดังนั้นจะร้อยพวงมาลัยได้ (10-1)! = 9! = 362,880 แบบ

การจัดหมู่

การจัดหมู่ คือ การเลือกกลุ่มของสิ่งของมา โดยไม่คำนึงถึงลำดับในการเรียงของสิ่งของในกลุ่มที่เลือกมา หากกลุ่มใดมีสิ่งของในกลุ่มเหมือนกัน จะนับเป็นการจัดหมู่เพียง 1 วิธี เช่น การจัดกลุ่ม 3 คน เพื่อทำงานกลุ่ม กลุ่ม A มีสมาชิกคือ พลอย แป๊ก และหยา จะเห็นได้ว่า ถ้าเราเรียงสมาชิกใหม่เป็น หยา แป๊ก และพลอย, แป๊ก หยา และพลอย หรือเรียงแบบอื่นๆก็จะนับเพียงว่า พลอย แป๊ก และหยา อยู่กลุ่มเดียวกัน

การจัดหมู่สิ่งของที่แตกต่างกันทั้งหมด
มีสิ่งของ n ชิ้น ที่ไม่ซ้ำกัน ต้องการเลือกมา r ชิ้น จะมีจำนวนวิธีจัดหมู่ คือ

ตัวอย่าง ร้านไอศกรีมร้านหนึ่ง มีไอศกรีมอยู่ 6 รส แพรวต้องการสั่งไอศกรีม 2 รส จากร้านนี้ แพรวจะสั่งได้ทั้งหมดกี่วิธี
วิธีทำ เลือกไอศกรีม 2 จากทั้งหมด 6 รส (62) = 6!(6-2)!2! = 15 วิธี

ทฤษฎีบททวินาม

ในการกระจาย x + yn เมื่อ x และ y เป็นจำนวนจริง และ n เป็นจำนวนเต็มบวก สามารถทำได้โดยนำ x หรือ y ของวงเล็บแรกเลือกคูณกับ x หรือ y ของวงเล็บต่อๆไป จนถึงวงเล็บที่ n จะได้ออกมา 1 พจน์ แล้วทำซ้ำไปเรื่อยๆ จนครบทุกวิธี โดยวิธีในการเลือกแต่ละพจน์ต้องแตกต่างกัน แล้วจึงค่อยนำทุกพจน์มาบวกกัน แสดงอยู่ในรูปแบบดังนี้

(x + y)n = (n 0)xn + (n 1)xn-1y +…+ (n r)xn-ryr +…+ (n n)yn

ตัวอย่าง จงกระจาย (x – y)3
วิธีทำ (x – y)3 = (3 0)x3 + (3 1)x2(-y) + (3 2)x(-y)2 + (3 3)(-y)3 = x3 – 3x2y + 3xy2 – y3

คุยกันท้ายบท

แบบฝึกหัด

1. ในการจัดเด็ก 7 คน ซึ่งมีอายุ 1,2,3,4,5,6,7 ขวบ นั่งเก้าอี้ 7 ตัว ซึ่งติดหมายเลข 1,2,3,4,5,6,7 โดยกำหนดให้เด็กที่จะนั่งเก้าอี้หมายเลข k ต้องมีอายุมากกว่าหรือเท่ากับ k-1 ขวบ จะมีวิธีในการจัดเท่ากับข้อใดต่อไปนี้ (สามัญ ปี’55)

  1. 32
  2. 60
  3. 64
  4. 120
  5. 128

เฉลย

2. มีข้อสอบปรนัย 20 ข้อ คะแนนเต็ม 50 คะแนน โดยกำหนดข้อ 1-10 ข้อละ 4 คะแนน และข้อ 11-20 ข้อละ 1 คะแนน หากนักเรียนตอบข้อใดถูก จะได้คะแนนเต็มของข้อนั้น แต่ถ้าตอบผิดหรือไม่ตอบจะได้ 0 คะแนน จะมีกี่วิธีที่นักเรียนคนหนึ่ง จะทำข้อสอบชุดนี้ได้คะแนนรวม 45 คะแนน (PAT1 ก.ค. ’53)

เฉลย

เป็นยังไงกันบ้างครับกับเนื้อหาและแบบฝึกหัดของ “หลักการนับเบื้องต้น” น้องๆจะเห็นได้ว่ามีการนำเนื้อหาของ “จำนวนเชิงซ้อน” มาใช้ในบทนี้ด้วย ซึ่งถ้าน้องคนไหน ไม่มีความรู้ความเข้าใจที่แท้จริงจากบทที่แล้ว ก็จะยิ่งสร้างปมปัญหาต่อมาถึงบทนี้ และรวมไปถึงบทถัดไปด้วยซึ่งก็คือ “ความน่าจะเป็น” นั้นเอง รับรองเลยว่าใครที่ชอบเสี่ยงดวงหรือเสี่ยงโชคนั้นจะต้องชอบกับเนื้อหาในบทถัดไปอย่างแน่นอน ฮ่าๆ

ซึ่งจากสถิติที่ผ่านเนื้อหาในส่วนของหลักการนับเบื้องต้น และความน่าจะเป็นมักจะถูกรวมกันนำไปออกข้อสอบ A – Level ประมาณ 3-4 ข้ออยู่เป็นประจำ ดังนั้นถ้าน้องๆได้ลองทำแบบฝึกหัดท้ายบทที่พี่นอตได้แนบไว้ น้องๆน่าจะเก็บคะแนนจากส่วนนี้ได้ไม่ยากอย่างแน่นอน แต่ถ้าน้องๆคนไหนอยากได้เนื้อหาที่ละเอียดมากกว่านี้ รวมไปถึงแบบฝึกหัดที่เข้มข้นกว่านี้ พี่นอตขอแนะนำคอร์สวิชา “คณิตศาสตร์ ม.5 เทอม 2” จาก Panya Society ที่มีการปูพื้นฐานตั้งแต่ง่ายไปจนถึงระดับยาก เน้นความเข้าใจ ไม่เน้นกาารท่องจำ พร้อมทั้งแบบฝึกหัด รวมไปถึงตัวอย่างข้อสอบจากข้อสอบจริงในการสอบเข้าระดับมหาวิทยาลัย A – Level 

สุดท้ายนี้พี่นอตหวังว่า น้องๆจะสนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์ ม.5 เทอม 2 ไปตลอดทั้งเทอม และขอให้น้องๆประสบความสำเร็จในการเรียนเทอมนี้ ได้เกรดดังหวัง คะแนนปังกันทุกคนเลยนะครับ แล้วพบกันในบทความสรุปเนื้อหาคณิตศาสตร์ ม.5 เทอม 2 บท “ความน่าจะเป็น” รับรองว่าสนุกแน่นอน

จำนวนเชิงซ้อน

ความน่าจะเป็น

SHARE:

Term2_2565

**หมดเขตโปรโมชั่นแล้ว**

คณิต ฟิสิกส์ เคมี 3 วิชา เพียง 2,565 บาท

" เกรดพุ่งต้อนรับปีใหม่"

👻Promotion👻

คอร์ส ม.4 – ม.5 เทอม 2 ราคาสุดว้าว 3 วิชา คณิต ฟิสิกส์ เคมี ในราคาเพียง 2,565 บาท
ลดสูงสุดจากราคาเต็ม 3,870 บาท (วิชาละ 1,290 บาท)

วันนี้ – 28 กุมภาพันธ์ 2565

Pack เพิ่มเกรด ม.4 เทอม 2

Pack เพิ่มเกรด ม.5 เทอม 2

**เมื่อสมัครเรียนแล้ว ทุกคอร์สใน Pack จะปรากฏที่เมนูคอร์สของฉันโดยอัตโนมัติ**

คอร์ส ม.4 – ม.5 เทอม 2

คณิต | ฟิสิกส์ | เคมี

📚ฟรี! E-Book สมุดสรุปสูตร ทุกวิชา📚

รายละเอียด คอร์สเรียน

👻คอร์สเรียน👻

👻ม.4 เทอม 2👻

Video ตัวอย่าง คณิตศาสตร์

Video ตัวอย่าง ฟิสิกส์

Video ตัวอย่าง เคมี

👻ม.5 เทอม 2👻

Video ตัวอย่าง คณิตศาสตร์

Video ตัวอย่าง ฟิสิกส์

Video ตัวอย่าง เคมี

👻สิ่งที่จะได้รับ👻

👻ติวเตอร์คนเก่ง👻

SHARE:

คณิตศาสตร์ ม.5 – จำนวนเชิงซ้อน

PANYA SOCIETY

จำนวนเชิงซ้อน

สรุปเนื้อหาที่สำคัญ

จำนวนเชิงซ้อน เป็นบทแรกเนื้อหา คณิตศาสตร์ ม.5 เทอม 2 โดยอาศัยพื้นฐานมาจากเนื้อหา ฟังก์ชันตรีโกณมิติ ของคณิตศาสตร์ ม.5 เทอม 1 ทำให้น้องๆควรมีพื้นฐานของ ฟังก์ชันตรีโกณมิติ ในการทำความเข้าใจเนื้อหาของส่วนนี้ และจำนวนเชิงซ้อนนี้มักถูกพบเห็บได้บ่อยๆในข้อสอบ A – Level ทำให้น้องๆควรเป็นอย่างยิ่งในการทำความเข้าใจเนื้อหาของส่วนนี้ เพื่อเก็บคะแนนมาให้ได้

เนื้อหาหลักของบทนี้ประกอบด้วย รายละเอียดบทย่อย ดังนี้

  • หน่วยจินตภาพ
  • สมบัติเชิงพีชคณิตของจำนวนเชิงซ้อน
  • สังยุคและค่าสัมบูรณ์ของจำนวนเชิงซ้อน
  • กราฟของจำนวนเชิงซ้อน
  • รูปเชิงขั้วของจำนวนเชิงซ้อน
  • รากที่ n ของจำนวนเชิงซ้อน

จำนวนเชิงซ้อน

จำนวนเชิงซ้อน

ให้ i=√-1 เรียกว่า หน่วยจินตภาพ จำนวนเชิงซ้อน คือ จำนวนที่เขียนอยู่ในรูป

z = a+bi หรือ (a,b) โดย a,b เป็นจำนวนจริง

เรียก a ว่า ส่วนจริงของ z(Re(z)) เรียก b ว่า ส่วนจินตภาพของ z(Im(z))

หน่วยจินตภาพ
การคำนวณค่าของ in เมื่อ n เป็นจำนวนเต็มบวก ให้นำ n หารด้วย 4
  • ถ้าเหลือเศษ 1 : in = i
  • ถ้าเหลือเศษ 2 : in = -1
  • ถ้าเหลือเศษ 3 : in = -i
  • ถ้าหารลงตัว : in = 1

สมบัติของจำนวนเชิงซ้อน

  • เอกลักษณ์การบวก คือ 0
  • เอกลักษณ์การคูณ คือ 1
  • อินเวอร์สการบวกของ z คือ –z
  • อินเวอร์สการคูณของ z คือ z-1 = 1z

สังยุคและค่าสัมบูรณ์ของจำนวนเชิงซ้อน

ให้ z = a + bi สังยุคของ z เขียนแทนด้วย z

z = a – bi

สมบัติของสังยุคของจำนวนเชิงซ้อน ให้ z = a + bi ค่าสัมบูรณ์ของ z เขียนแทนด้วย |z|

|z| = √a² + b²

สมบัติของค่าสัมบูรณ์ของจำนวนเชิงซ้อน
กราฟและรูปเชิงขั้วของจำนวนเชิงซ้อน

ให้ z = a + bi จะเขียน z บนระนาบเชิงซ้อนได้ดังนี้

รูปชิงขั้วของ z เขียนได้เป็น

z = r(cos cos θ + i sin sin θ)
โดยที่ r = √a² + b² = |z| และ tanθ = ba

สมบัติของรูปเชิงขั้วของจำนวนเชิงซ้อน

รากที่ n ของจำนวนเชิงซ้อน

รากที่ n ของจำนวนเชิงซ้อน จะมี n รากโดยที่ k = 0, 1, 2, …, n-1
zk+1 เป็นรากที่ n ของ z

คุยกันท้ายบท

แบบฝึกหัด

1. ถ้า z เป็นจำนวนเชิงซ้อน ซึ่งสอดคล้องกับสมการ z + |z-1z-1| = -3 + 2i แล้ว |z| มีค่าเท่ากับข้อใดต่อไปนี้ (สามัญ1 ปี’59)

  1. 3
  2. 10
  3. 13
  4. 2√5
  5. 4

เฉลย

2. ถ้ากำหนดให้ P(x) เป็นพหุนามดีกรี 4 ซึ่งมีสัมประสิทธิ์เป็นจำนวนจริง และสัมประสิทธิ์ของ x4 เท่ากับ 1 ถ้า z1 และ z2 เป็นรากที่ 2 ของ 2i และเป็นคำตอบของสมการ P(x) = 0 ด้วย แล้ว P(1) มีค่าเท่ากับข้อใดต่อไปนี้ (สามัญ ปี’56)

  1. 3
  2. 5
  3. 7
  4. 9
  5. 10

เฉลย

น้องๆคงได้รับความรู้เรื่อง “จำนวนเชิงซ้อน”  พร้อมกับใช้ความรู้พื้นฐานมาจากเนื้อหาฟังก์ชันตรีโกณมิติที่ผ่านมาจากคณิตศาสตร์ ม.5 เทอม 1 และจำนวนเชิงซ้อนนี้เองก็จะถูกนำไปใช้ต่อในบทถัดไปในเรื่องของ “หลักการนับเบื้องต้น” ทำให้เห็นได้ว่า น้องๆจำเป็นอย่างยิ่งในการทำความเข้าใจในเนื้อหาอย่างต่อเนื่องเพราะแต่ละส่วนนั้นเป็นส่วนสำคัญในการต่อยอดของการเรียนในบทถัดๆไป

พี่หวังว่า น้องๆจะสนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์ ม.5 เทอม 2 ไปตลอดทั้งเทอม และขอให้น้องๆประสบความสำเร็จในการเรียนเทอมนี้ ได้เกรดดังหวัง คะแนนปังทุกคนเลยครับ แล้วพบกันในบทความสรุปเนื้อหาคณิตศาสตร์ ม.5 เทอม 2 บทถัดไปนะครับ

สรุปเนื้อหาที่สำคัญ

หลักการนับเบื้องต้น

SHARE:

สรุปเนื้อหาคณิตศาสตร์ ม.5 เทอม 2​

PANYA SOCIETY

สรุปเนื้อหาคณิตศาสตร์ ม.5 เทอม 2

สรุปเนื้อหาที่สำคัญ

     กลับมาอีกครั้งสำหรับบทความสรุปเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ ม.ปลาย จาก พี่นอต แห่ง Panya Society นะครับ วันนี้พี่นอตจะขอเสนอเนื้อหาของวิชาคณิตศาสตร์ ม.5 เทอม 2 โดยหลังจากเทอม 1 ที่น้องๆได้เรียนเรื่อง ฟังก์ชันตรีโกณมิติ เมทริกซ์ และเวกเตอร์ในสามมิติกันไปแล้ว หลังจากเจอการคำนวณในเทอมแรกกันไปพี่นอตบอกเลยว่าเทอมที่ 2 นี้น้องๆจะเจอการคำนวนลดลง และไม่ยากอย่างที่คิดครับ มาดูเนื้อหาพอสังเขปของเทอม 2 ดีกว่าว่าน้องๆจะพบกับบทเรียนอะไรกันบ้าง?

โดยเนื้อหาของบทในเทอม 2 นี้ สำหรับวิชาคณิตศาสตร์ น้องๆ จะได้พบกับ 3 บท ได้แก่

  • หน่วยจินตภาพ
  • สมบัติเชิงพีชคณิตของจำนวนเชิงซ้อน
  • สังยุคและค่าสัมบูรณ์ของจำนวนเชิงซ้อน
  • กราฟของจำนวนเชิงซ้อน
  • รูปเชิงขั้วของจำนวนเชิงซ้อน
  • รากที่ n ของจำนวนเชิงซ้อน
  • หลักการบวกและหลักการคูณ
  • การเรียงสับเปลี่ยน
  • การจัดหมู่
  • ทฤษฎีบททวินาม
  • การทดลองสุ่ม
  • ความน่าจะเป็น

     จากภาพรวมของเนื้อหาคณิตศาสตร์ ม.5 เทอม 2 จะเห็นได้ว่ามีการาคำนวนลดลงจากเทอม 1 พอสมควร แต่จะเน้นการเข้าใจในทฤษฎี คุณสมบัติ และการสังเกตมากกว่าเน้นการคำนวนเหมือนเนื้อหาคณิตศาสตร์ ม.5 เทอม 1 คราวนี้เรามาดูกันดีกว่าว่าเนื้อหาของเลขเทอม 2 นี้ถูกนำไปออกข้อสอบ A – Level รวมไปถึงข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยอื่นๆ มาก-น้อย และบ่อยแค่ไหนกันครับ

ชื่อบทA – Level 66A – Level 67
จำนวนเชิงซ้อน22
หลักการนับเบื้องต้น22
ความน่าจะเป็น11

 

  จากสถิติข้างต้นเนื้อหาของคณิตศาสตร์ ม.5 เทอม 2 อาจจะถูกพบได้ค่อนข้างน้อยในการสอบเข้าระดับมหาวิทยาลัย แต่ด้วยเนื้อหาที่เข้าใจได้ง่าย ไม่ซับซ้อน ไม่ค่อยมีการคำนวน ทำให้เป็นข้อที่น้องๆสามารถเก็บคะแนนได้ฟรีๆ โดยอาศัยความเข้าใจเพียงเท่านั้น ดังนั้นน้องๆควรจำเป็นอย่างยิ่งในการเข้าใจพื้นฐานของเนื้อหาคณิตศาสตร์ ม.5 เทอม 2 เพื่อเก็บคะแนนจากส่วนนี้ไปให้ได้

      ดังนั้นพี่นอตขอแนะนำ คอร์สคณิตศาสตร์ ม.5 เทอม 2 จากทาง Panya Society ที่ภายในบทเรียนคณิตศาสตร์จะประกอบไปด้วยเนื้อหาที่เข้มข้น มีการปูพื้นฐานตั้งแต่ง่ายไปจนถึงระดับยาก เน้นความเข้าใจ ไม่เน้นกาารท่องจำ พร้อมทั้งแบบฝึกหัด รวมไปถึงตัวอย่างข้อสอบจากข้อสอบจริงในการสอบเข้าระดับมหาวิทยาลัย ทำให้คอร์สนี้เหมาะกับน้องๆ ที่อยู่ชั้น ม.5 ที่โรงเรียนใช้หลักสูตรใหม่ (2560) ที่เบื่อกับการเรียนคณิตฯแบบท่องจำ แต่ดันทำโจทย์ไม่ได้ พี่นอตจะมาเสกให้น้องเข้าใจเนื้อหา และสนุกไปกับคณิตศาสตร์ หรือแม้แต่การติวคณิตศาสตร์เพื่อเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัยก็สามารถใช้ความรู้ ความเข้าใจจากการเรียนคอร์สนี้ได้เช่นกัน

      สุดท้ายนี้พี่นอตหวังว่า น้องๆจะสนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์ ม.5 เทอม 2 และขอให้น้องๆประสบความสำเร็จในการเรียนเทอมนี้ครับ แล้วพบกันในบทความถัดไปนะครับ

กลับหน้าบทความหลัก

จำนวนเชิงซ้อน

SHARE:

TCAS + UPSCORE

**หมดเขตโปรโมชั่นแล้ว**

POWER UP ติวเพิ่มพลัง X2

จับคู่สุดคุ้ม A-Level + UpScore เพียง 5,490.- !!!

  เพิ่มคะแนนสอบ A-Level ให้สูงสุดใจ กับ Packจับคู่สุดคุ้มค่า คอร์ส A-Level + คอร์ส UpScore ในราคาเพียง 5,490 บาท ได้ครบทั้งคอร์สติวเข้ม และตะลุยโจทย์ มีให้เลือกทั้งวิชาฟิสิกส์, เคมี, คณิตศาสตร์

เหมาะสำหรับ น้อง ม.6 (Dek67) และ ม.5 (Dek68) ที่กำลังเตรียมสอบ TCAS คอร์สเรียนติวเข้มเนื้อหาตรงตาม Blueprint ของข้อสอบ A-Level พาตะลุยโจทย์หลากหลาย เก็งแนวข้อสอบ แนะนำเทคนิคมากมายแบบไม่มีกั๊ก คอร์สเรียนสอนโดยพี่ๆกูรูตัวจริงของแต่ละสาขา เพื่อให้น้องมั่นใจได้ว่าเพิ่มคะแนนสอบได้จริง

Promotion

ขอแนะนำ Pack จับคู่สุดคุ้มค่า

คอร์ส A-Level + คอร์ส UpScore ในราคาพิเศษ เหมาะสำหรับ Dek67 เตรียมสอบ A-Level เพิ่มคะแนนสอบติดคณะในฝัน

Pack สอบติด คอร์ส คณิตศาสตร์ A-Level + คณิตศาสตร์ ติดอาวุธลับ UpScore

ราคาพิเศษ 5,490.-

Pack สอบติด คอร์ส ฟิสิกส์ A-Level + ฟิสิกส์ ติดอาวุธลับ UpScore

ราคาพิเศษ 5,490.-

Pack สอบติด คอร์ส เคมี A-Level + เคมี ติดอาวุธลับ UpScore

ราคาพิเศษ 5,490.-

***เมื่อสมัครเรียนแล้ว ทุกคอร์สใน Pack จะปรากฏที่เมนูคอร์สของฉันโดยอัตโนมัติ**

📝สิ่งที่จะได้รับ📚

☑️ คอร์สเรียน A-Level ติวเนื้อหาเข้มข้น พร้อมสอนทำโจทย์ จากพื้นฐาน จนทำข้อสอบได้

☑️ คอร์สเรียน ติดอาวุธลับ UpScore พาตะลุยโจทย์ พร้อมเทคนิคเพิ่มคะแนนสอบแบบจัดเต็ม

☑️ สอนอย่างตรงประเด็น เน้นให้เกิดความเข้าใจ นำไปต่อยอดและทำคะแนนสอบได้

☑️ Update ข้อสอบปีล่าสุด พร้อมเฉลยละเอียด ฟรี

☑️ ระบบโค้ชผู้ช่วยส่วนตัว ถามตอบปัญหาวิชาการภายใน 24 ชั่วโมง

☑️ อายุคอร์ส 1 ปี เรียนทวนซ้ำได้ไม่จำกัดชั่วโมง เพื่อความเข้าใจสูงสุดของนักเรียน

☑️ รับหนังสือแบบเรียน ส่งถึงบ้านฟรี!

 

📝 Review 📚

อัดดานัน มรรคาเขต - วิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย จ.สตูล
อัดดานัน มรรคาเขต - วิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย จ.สตูล● TCAS ฟิสิกส์
Read More

“ต้องบอกก่อนว่าที่ผมเลือกที่นี้เพราะว่าราคาที่เป็นกันเองมากครับ ส่วนคอร์สฟิสิกส์ที่ผมได้ลงไปเนื้อหาครบถ้วน การสอนก็สามารถเข้าใจง่าย จากคนที่เริ่มต้นจากพื้นฐานฟิสิกส์ไม่ได้เก่งมากก็สามารถทำให้พัฒนาได้ดีมาก มีโจทย์ให้ทดสอบตัวเองเยอะมาก เพียงพอต่อการนำไปใช้จริงแน่นอนครับ” — สอบติด: คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (DEK66)

กวินธิดา เบ้าคันที - โรงเรียนปิยะมหาราชาลัย จ.นครพนม
กวินธิดา เบ้าคันที - โรงเรียนปิยะมหาราชาลัย จ.นครพนม● TCAS ฟิสิกส์
Read More

“รีวิวคอร์สที่เรียนกับ Panay Society คือคอร์สฟิสิกส์ A-level ค่า พี่เค้าสอนตั้งเเต่พื้นฐานเลย ชอบตรงที่ใครไม่ชอบเรียนฟิสิกส์อย่างเราก็สามารถเริ่มเรียนได้ค่ะ เพราะเริ่มจากพื้นฐานเลย เเล้วก็จะพาทำข้อสอบปีย้อนหลัง ซึ่งพี่เค้าก็สามารถอธิบายได้อย่าง เข้าใจง่าย ชีทเรียนเป็นระเบียบมาก เเยกเป็นเรื่อง ๆ ได้ดีค่ะ” — สอบติด: คณะศิลปศาสตร์ สาขาการระหว่างประเทศ ... หลักสูตรนานาชาติ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนเเก่น (DEK66)

ธนิตา วัยวุฒิ - โรงเรียนเขื่องในพิทยาคาร จ.อุบลราชธานี
ธนิตา วัยวุฒิ - โรงเรียนเขื่องในพิทยาคาร จ.อุบลราชธานี● TCAS ฟิสิกส์
Read More

“ลงคอร์สฟิสิกส์ไปค่ะ ส่วนตัวไม่ชอบฟิสิก์มาก ๆ ไม่ชอบการจำสูตรบวกกับการคำนวณด้วยค่ะ ก็ตัดสินใจหาคอร์สเรียนค่ะ ก็มาเจอคอร์สของสถาบันนี้ ทำให้รู้สึกประทับใจในการสอนค่ะ อาจารย์ที่สอนก็ให้เทคนิคในการจำสูตร สอนเข้าใจดีค่ะ” — สอบติด: สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (DEK66)

นัทธพงศ์ พันเชื้อ - โรงเรียนสุโขทัยวิทยาคม จ.สุโขทัย
นัทธพงศ์ พันเชื้อ - โรงเรียนสุโขทัยวิทยาคม จ.สุโขทัย● TCAS ฟิสิกส์
Read More

“อธิบายละเอียดดีมากครับ โจทย์มีหลายระดับ หลังเรียนจบแต่ละบทจะมีแบบทดสอบให้ทำ เป็นเรื่องที่ดีครับ” — สอบติด: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (DEK66)

วีรภัทร ตาเร็ว - โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย ลำปาง
วีรภัทร ตาเร็ว - โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย ลำปาง● TCAS ฟิสิกส์
Read More

“ราคาถูกมาก ๆ ครับ เนื้อหาครบถ้วนละเอียดและมีโจทย์ให้ฝึกฝนด้วยตนเองเยอะมาก ๆ เลยครับ ทำให้นำไปต่อยอดกับสนามสอบต่าง ๆ ได้ดีมาก ๆ”— เกรด 4.00 (DEK68)

ฐิญดา ศิริมุขอาคม (มีน) - โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ฯ กรุงเทพฯ
ฐิญดา ศิริมุขอาคม (มีน) - โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ฯ กรุงเทพฯ● TCAS ฟิสิกส์
Read More

“เรียนแล้วชอบมาก ๆ เลยค่ะ พี่ติวเตอร์สอนเนื้อหาละเอียดมาก ๆ จริง ๆ ค่ะ ไม่มีกั๊กเลย บอกอะไรเสริมได้บอกหมด ตอนทำโจทย์ก็มีเวลาให้เราได้ลองทำเองก่อน 5 นาทีด้วยค่ะ ตอนเฉลยก็เฉลยละเอียดสอนทุกวิธีการคิดจริง ๆ ค่ะ แถมตอนต้นคอร์สก็มีการปูเนื้อหาเบสิคให้ได้ อีกอย่างที่ชอบมาก ๆ คือแบบทดสอบหลังเรียนจบบทค่ะ เพราะได้วัดความรู้ตัวเองจริง ๆ ... ว่าเรียนจบแล้ว เราทำข้อสอบจริง ๆ ได้คะแนนเท่าไหร่ ชอบมาก ๆ เลยค่ะ แถมพี่ติวเตอร์เวลาสอนก็น้ำเสียงนุ่มนวลสุภาพน่าฟังมาก ๆ เลยค่ะ สิ่งทีไม่ชอบ เอาจริง ๆ ไม่มีเลยค่ะ ถ้าเป็นส่วนของการสอน ขอบคุณพี่ติวเตอร์ทุก ๆ คนเลยนะคะ ที่มาช่วยน้อง ๆ ในการเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัย มันดีมาก ๆ จริง ๆ ค่ะ และพี่ ๆ ทีมงานทุกคนเลยค่ะ ขอบคุณทุกคนที่ทำให้ฝันของพวกหนูเป็นจริงค่ะ ขอบคุณมาก ๆ ค่ะ” — สอบติด: คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ (DEK65)

คณภรณ์ แก้วประเสริฐ (มายน์) - โรงเรียนสงวนหญิง จ.สุพรรณบุรี
คณภรณ์ แก้วประเสริฐ (มายน์) - โรงเรียนสงวนหญิง จ.สุพรรณบุรี● TCAS ฟิสิกส์
Read More

“ที่เลือกเรียนกับปัญญาเพราะราคาค่อนข้างโอเค พี่ติวเตอร์อธิบายละเอียดมาก เริ่มปูพื้นฐานให้เราเลยในคอร์สฟิสิกส์ TCAS พี่ติวเตอร์น่ารัก พี่แชร์สอนดี บางทีมีเล่นมุขด้วย 55555 มีทริคเล็ก ๆ น้อยให้ด้วย คอร์สราคาไม่แรงแต่เรียนแล้วเข้าใจมาก อยากบอกกับคนที่เตรียมตัวอ่านหนังสือให้จัดเวลาอ่านหนังสือ อย่าหักโหม จัดเวลาให้ตัวเอง มีเวลาผ่อนคลายเวลาพักบ้าง ... สู้ ๆ ค่าาา ความพยายามไม่ได้นำมาซึ่งความสำเร็จ แต่ทุกความสำเร็จมาจากความพยายาม อยากฝากบอกถึงติวเตอร์ว่าขอบคุณที่เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้หนูติดมหาลัยขอบคุณค่าาา” — สอบติด: คณะวิทยาศาสตร์ สาขาชีววิทยา มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ (DEK65)

แพรวไพลิน กี้เจริญ (หมิว) - โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ฯ กรุงเทพฯ
แพรวไพลิน กี้เจริญ (หมิว) - โรงเรียนสายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ฯ กรุงเทพฯ● TCAS ฟิสิกส์
Read More

“เพื่อนบอกว่า Panya Society สอนดีและเข้าใจเนื้อหากับโจทย์ที่ชอบออกมากขึ้น เรียนคอร์สฟิสิกส์ A-Level สอนละเอียดมาก โจทย์เยอะ ส่วนที่ไม่ชอบไม่มีค่ะ พี่แชร์ตลก เฮฮาน่ารัก ชอบพูดคำเดิม ๆ ทำให้จำพี่แชร์ได้ คำพูดติดปากของพี่แชร์ ที่พูดว่า 'ตอบเลย' / มีข้อสอบจริงให้ลองทำหลังเรียนจบ / ไม่เข้าใจ ก็สามารถเม้าท์ถามได้ ขอบคุณที่สอนหนูให้เข้าใจมากขึ้น ... ถึงแม้จะไม่ได้เจอตัวต่อตัว แต่หนูรู้สึกได้ว่าถ้าเรียนด้วยจริง ๆ คงจะสนุกไม่เครียดแน่นอน” — สอบติด: คณะเทคนิคการสัตวแพทย์ สาขาพยาบาลสัตว์(ภาคพิเศษ) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (DEK65)

สมฤทัย ประทุมทิพย์ (ลูกไม้) - โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย กรุงเทพฯ
สมฤทัย ประทุมทิพย์ (ลูกไม้) - โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย กรุงเทพฯ● TCAS ฟิสิกส์
Read More

“เลือกเรียนคอร์ส TCAS ฟิสิกส์ 65 กับพี่แชร์ โดยส่วนตัวลูกไม้เองเป็นคนที่ไม่ชอบวิชาฟิสิกส์เลย เพราะรู้สึกว่ายาก พยายามเท่าไหร่ก็ไม่เข้าใจ บางทีเรายังงงโจทย์ข้อนี้ ทฤษฏีบทนี้อยู่แต่ครูนัดสอบหรือไปสอนอีกบทแล้ว แต่พอมาเห็นรีวิวของพี่แชร์ว่าสอนอธิบายละเอียด เห็นภาพ เข้าใจง่าย มีโจททย์หลายสเต็ปก็เลยลองเปิดใจดู ซึ่งคอร์สของปัญญาราคาถูกสามารถ ... เข้าถึงได้ง่ายเลยตัดสินใจลอง สิ่งที่ชอบก็คือสีสันของตัวชีท มันกระตุ้นสายตาและความคิดทำให้รู้สึกอยากหยิบขึ้นมาอ่านมาเรียน มีโจทย์ให้ทำในแต่ละบท จำนวนข้อสอบเยอะ หลากหลาย สอนช้าเหมาะแก่คนพื้นฐานอ่อน-ปานกลางแล้ว ยังมีแบบฝึกหัดให้ลองทำในระบบ พี่ Tutor จากสิ่งที่หนูสัมผัสได้คือความทุ่มเทในการสอน มีความเข้าใจเด็ก พยายามทำให้ทุกคนเข้าใจไม่ว่าสิ่งที่เรียนอยู่จะยากหรือจะง่ายก็ตาม สิ่งที่เป็นจุดเด่นที่ทำให้เราประทับใจ และจดจำปัญญาได้คือ 1. คอร์สราคาถูก คุณภาพคุ้มเกินราคา สามารถเข้าถึงได้ง่าย 2. เนื้อหาที่สอนครบ ละเอียด กะทัดรัด ไม่ยืดเยื้อจนเกินไป 3. การตัดเทปเรียนมีความยาวที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ ไม่ยาวจนเกินไป” — สอบติด: คคณะวิทยาศาสตร์ สาขาพันธุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน (DEK65)

มนัสนันท์ วงษ์ไชยา (อาย) - โรงเรียนพนมสารคาม “พนมอดุลวิทยา” จังหวัดฉะเชิงเทรา
มนัสนันท์ วงษ์ไชยา (อาย) - โรงเรียนพนมสารคาม “พนมอดุลวิทยา” จังหวัดฉะเชิงเทรา ● TCAS ฟิสิกส์
Read More

“ก่อนเรียนคือรู้สึกเริ่มเป็นศัตรูกับฟิสิกส์เพราะไม่ชอบ เรียนไม่ค่อยรู้เรื่อง ทำโจทย์ไม่ค่อยได้ สอบได้คะแนนน้อยมากค่ะ แต่พอหลังเรียนก็เข้าใจมากขึ้น เข้าใจสูตรต่าง ๆ ทำโจทย์ได้มากขึ้นค่ะ ตอนแรกหวัง pat 2 ไว้ประมาณ 50 คะแนนค่ะ แต่ที่ได้จริง ๆ คือ 95 ดีใจมากค่ะ” — สอบติด: คณะสหเวชศาสตร์ สาขาเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร (DEK64)

สิริยากร เทพรัตน์ (ออม) - โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย จังหวัดเลย
สิริยากร เทพรัตน์ (ออม) - โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย จังหวัดเลย● TCAS ฟิสิกส์
Read More

“ส่วนตัวเป็นคนที่ไม่ชอบเรียนฟิสิกส์เลยเพราะสูตรเยอะมาก โจทย์ส่วนใหญ่ในหลาย ๆ บทซับซ้อนมาก แถมยังต้องแปลโจทย์แล้วจินตนาการออกมาเป็นภาพแล้วยังต้องเลือกสูตรมาใช้อีกปวดหัวมากค่ะ แต่พอได้มาเรียนกับ Panya Society รู้สึกว่าเข้าใจที่มาที่ไปสูตรได้มากขึ้นเพราะสอนอธิบายให้เข้าใจที่มาแต่ละสูตร พอเข้าใจแล้วก็ไม่ต้องจำแล้วค่ะ เห็นโจทย์แล้วสามารถ ... มองเห็นภาพแล้วใช้ได้เลย ทำให้เวลาเรียนและฝึกทำโจทย์คล่องขึ้นมากเลยค่ะ” — สอบติด: คณะวิศวกรรมศาสตร์ เคมี มหาวิทยาลัยขอนแก่น (DEK64)

อาทิตยา หงษาคำ (แก้ม) - โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี จังหวัดนนทบุรี
อาทิตยา หงษาคำ (แก้ม) - โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ● TCAS ฟิสิกส์
Read More

“ความรู้สึกตอนแรกที่เรียนไม่ได้คาดหวังมาก แต่ได้เรียนจริง ๆ ก็รู้สึกโอเค พี่แชร์สอนเก่งมาก พี่แชร์สอนดีทั้งเนื้อหาและโจทย์ พอข้อสอบเปลี่ยนรู้สึกทำได้บ้าง เพราะค่อนข้างโอเคกับเนื้อหาที่พี่แชร์สอนมา” — สอบติด: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (DEK64)

ภูวเดช โสตถิวรรณ์ - โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า กรุงเทพฯ
ภูวเดช โสตถิวรรณ์ - โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า กรุงเทพฯ● TCAS ฟิสิกส์+เคมี
Read More

“ผมมีความรู้ดีขึ้นมาก และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับการสอบต่าง ๆ ทั้งในโรงเรียนและ A-Level” — สอบติด: คณะวิทยาศาสตร์ สาขาเคมีอุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (DEK66)

พิมพินันต์ ยิ่งกว่าชาติ -โรงเรียนวินิตศึกษา ในพระราชูปถัมภ์ฯ จ.ลพบุรี
พิมพินันต์ ยิ่งกว่าชาติ -โรงเรียนวินิตศึกษา ในพระราชูปถัมภ์ฯ จ.ลพบุรี● TCAS ฟิสิกส์+เคมี
Read More

“พี่ ๆ สอนเข้าใจและมีหลักการมากเลยค่ะ สอนไม่ยืดเยื้อ แถมได้ความรู้รอบตัวด้วย” — สอบติด: คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขา โยธาอินเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (DEK66)

รมิดา อุตแจ่ม -โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่
รมิดา อุตแจ่ม -โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่● TCAS ฟิสิกส์+เคมี
Read More

“คอร์สที่เรียนมีโจทย์ให้ทำเยอะมาก เหมาะกับคนอยากได้โจทย์เยอะ ๆ โจทย์ไม่ง่ายเกินไปทำให้ไม่หลอกตัวเอง จะกลับมาดูคลิปกี่ครั้งก็ได้จนคอร์สหมดอายุ ไม่จำกัดชั่วโมงดูคอร์ส เฉลยข้อยาก ๆ ค่อนข้างละเอียด หลาย ๆ เรื่องที่เรียนไม่เข้าใจในห้องก็เข้าใจตอนดูในคอร์สค่า” — สอบติด: คณะศึกษาศาสตร์ สาขาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (DEK66)

กานต์พิชชา กรศรี - โรงเรียนมารดานฤมล จ.ฉะเชิงเทรา
กานต์พิชชา กรศรี - โรงเรียนมารดานฤมล จ.ฉะเชิงเทรา● TCAS ฟิสิกส์+เคมี
Read More

“Panya Society เป็นสถาบันสอนพิเศษสถาบันแรกที่หนูได้ลองเรียน หนูรู้สึกคุ้มค่ากับคอร์สเรียนของสถาบันมากค่ะ พี่ ๆ สอนดีมาก มีเทคนิคดี ๆ แนะนำให้ตลอด” — สอบติด: คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาเกษตรอัจฉริยะ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (DEK66)

จุฑารัตน์ หาญณรงค์ (ตาล) - โรงเรียนธาตุพนม จ.นครพนม
จุฑารัตน์ หาญณรงค์ (ตาล) - โรงเรียนธาตุพนม จ.นครพนม● TCAS ฟิสิกส์+เคมี
Read More

“รู้จักกับปัญญามาตั้งแต่ม.5 เพราะได้เรียนฟิสิกส์ กับพี่แชร์ ซึ่งสอนดีมาก เลยตัดสินใจเรียนคอร์ส TCAS ต่อกับ PANYA ตอน ม.6 ค่ะ ครูนัททบทวนเนื้อหาในคอร์สให้อย่างเต็มที่ และมีโจทย์ให้ฝึกทำเยอะมาก มีแบบฝึกหัดเพิ่มเติมอัดแน่น ให้เราได้พัฒนาทักษะการทำโจทย์ได้มากพอในคอร์สเดียวเลยค่ะ ตัวรูปเล่มหนังสือออกแบบมาดีมาก ให้เราได้สามารถโน้ตได้เยอะ ... มีพื้นที่จดได้เต็มที่ สายชอบจดเหมาะกับแบบเรียนลักษณะนี้ มีพื้นที่เต็มที่เลยค่ะ ชอบที่การมีโค้ชผู้ช่วยส่วนตัว ผ่านช่องแชทข้างล่าง VDO ที่สงสัยแล้วเราสามารถถามครูได้ทันที เหมือนกำลังติวสด เรียนกับครูอยู่ในขณะนั้น ให้เราถามได้ตลอดเลยค่ะ บางคำถามที่เราสงสัยเหมือนเพื่อน เราได้อ่านที่พี่เขาตอบไว้ใน Forum ได้เลย ส่วนการบริหารเวลาในคอร์ส ได้มีเวลาให้เราฝึกทำโจทย์เอง บ้างทำทันบ้าง ไม่ทันบ้าง แต่ได้ฝึกตัวเองในระหว่างคอร์สเรียนค่ะ” — สอบติด: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (DEK65)

Krisada Keawtha
Krisada Keawtha● TCAS ฟิสิกส์+เคมี
Read More

“ลูกสาวเรียนแล้วบอกว่าเรียนง่ายเนื้อหาดีเข้าใจง่าย อยากแนะนำสำหรับผู้ปกครองที่สนใจครับ”

Previous
Next
script
Read More

Panya Society ให้มากกว่า

อายุคอร์ส 12 เดือน
เตรียมตัวได้ยาว

ทบทวนซ้ำได้
ไม่จำกัดชั่วโมง

หนังสือเรียน
ส่งถึงบ้านฟรี

บริการตอบคำถาม
ใน 24 ชั่วโมง

ติวเตอร์คนเก่ง

สุปิติ บูรณวัฒนาโชค

● ปัจจุบันทำงานในบริษัท Start-up ด้านเทคโนโลยีหลายแห่ง
● อดีตเหรียญทองฟิสิกส์โอลิมปิก
● ได้รับทุนธนาคารแห่งประเทศไทย ไปศึกษาต่อระดับปริญญาตรีและโท คณะ Electrical and Computer Engineering (วิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์) ที่ Carnegie Mellon University ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยจบทั้งสองปริญญาในเวลา 4 ปี
● เคยทำงานที่บริษัท Oracle สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นบริษัทซอฟต์แวร์ระดับ Top 5 ของโลก
● ผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์เด็กดีดอทคอม

ดร.ณัฏฐพล อิสรเสรีรักษ์

● ปริญญาตรี โท เอก คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ
บัณฑิตศึกษาปริญญาโทที่มีผลการเรียนดีเด่น (รางวัล ดร.แถบ นีละนิธิ)
● อาจารย์พิเศษ วิชาเคมี ห้องเรียนพิเศษ gifted โรงเรียนมัธยม
● วิทยากรรับเชิญ เตรียมสอบ O-NET วิชาวิทยาศาสตร์ ม.ต้น ม.ปลาย
● วิทยากรรับเชิญเตรียมสอบ PAT2 และ วิชาสามัญ (เคมี)

ดร.ธรรมนิติ์ พิพัฒน์ศรีสวัสดิ์

● ทำงานตำแหน่ง Software Engineer ที่ Google กว่า 10 ปี
● ได้รับทุนเล่าเรียนหลวงไปศึกษาระดับปริญญาตรีด้าน Electrical and Computer Engineering และ computer science ที่ Carnegie Mellon University ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
● จบปริญญาเอกด้าน Artificial Intelligence (AI) พร้อมรางวัลนักเรียนดีเด่นจาก UCLA
● ผลงานวิจัยด้าน Artificial Intelligence (AI) ของอ.นอตได้รับรางวัลงานวิจัยดีเยี่ยมจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติในปี 2557

Video ตัวอย่าง

คณิตศาสตร์ ม.4 – ความสัมพันธ์ และฟังก์ชัน

PANYA SOCIETY

ความสัมพันธ์ และฟังก์ชัน

สรุปเนื้อหาที่สำคัญ

      ความสัมพันธ์ และฟังก์ชัน” คือบทแรกของคณิตศาสตร์ ม. 4 เทอม 2 เป็นบทสำคัญที่จำเป็นจะต้องนำไปใช้เป็นพื้นฐานเพื่อประยุกต์สู่เนื้อหาในบทต่อไปที่จะมีความเข้มข้นขึ้น กล่าวคือใช้ในเรื่อง “ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม”

     นับว่าบทเรียนคณิตศาสตร์ ม.4 เทอม 2 เรื่องความสัมพันธ์ และฟังก์ชัน มีความสำคัญอย่างยิ่งที่น้องๆจะต้องทำความเข้าใจเนื้อหาโดยละเอียด และอัดพื้นฐานของบทนี้ให้แน่น เพื่อพร้อมรับมือกับการทำข้อสอบที่มีความหลากหลาย และโจทย์ที่ประยุกต์หลายบทเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อวัดความรู้ความเข้าใจ โดยมีความสัมพันธ์ และฟังก์ชัน เป็นส่วนหนึ่งของชุดความรู้สำคัญที่จำเป็นต้องนำไปประยุกต์ได้ในข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย TCAS ในข้อสอบ A – Level น้องๆอย่าทิ้งบทนี้ หมั่นทบทวนเนื้อหา และไม่ลืมที่จะเก็บเนื้อหาสาระสำคัญต่างๆด้วยนะครับ

ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน มีหน่วยย่อย ดังนี้

  • คู่อันดับและผลคูณคาร์ทีเซียน
  • ความสัมพันธ์
  • กราฟของความสัมพันธ์
  • การประยุกต์ของกราฟ
  • ฟังก์ชัน
  • ฟังก์ชันต่างๆ บางชนิด
  • แบบต่างๆ ของฟังก์ชัน
  • ฟังก์ชันผกผัน
  • การบวก การลบ การคูณ การหาร และการคูณด้วยจำนวนจริงของฟังก์ชัน
  • ฟังก์ชันประกอบ

ความสัมพันธ์

       ความสัมพันธ์ในทางคณิตศาสตร์นั้น มีความคล้ายกับความสัมพันธ์ในชีวิตจริงที่เราคุ้นเคย คือเป็นการแสดงความเกี่ยวข้องกันของสองสิ่ง ซึ่งในทางคณิศาสตร์เรียกว่า คู่อันดับ ซึ่งมีนิยามดังนี้ 

          คู่อันดับ คือ การนำสิ่ง สองสิ่ง มาเขียนคู่กัน โดยคำนึงถึงลำดับด้วย ซึ่งเขียนได้ดังนี้

คู่อันดับ a, b เขียนแทนด้วย (a, b) โดยเรียก a ว่า สมาชิกตัวหน้าของคู่อันดับ และเรียก b ว่า สมาชิกตัวหลังของคู่อันดับ เช่น

  • (โตเกียว, ญี่ปุ่น)
  • (มกราคม, 31)
  • (แบงค์, จอย)
  • (99, 38)
  • (-9, 36.9)

การเท่ากันของคู่อันดับ หมายถึง (x1, y1) = (x2, y2)

ก็ต่อเมื่อ x1 = y1 และ x2 = y2 หรือก็คือ ตัวหน้า = ตัวหน้า, ตัวหลัง = ตัวหลัง

เมื่อรู้จักคู่อันดับแล้ว ความสัมพันธ์ มีนิยามดังต่อไปนี้

       ความสัมพันธ์ คือ เซตที่มีสมาชิกทุกตัวเป็นคู่อันดับ โดยที่คู่อันดับแต่ละคู่ เกิดจากการจับคู่กันของสมาชิกจากเซตสองเซต เช่น

  • {(A, X), (B, Y), (C, Z), (D, W)}
  • {(Galaxy Note 10, Samsung), (iPhone 11, Apple), (Find X, Oppo), …}
  • {(1, 1), (2, 4), (3, 9), …}

ตัวอย่างโจทย์ – จงหาค่า x,y เมื่อ (x + 1, 2y) = (-5, 11) เฉลย

        ผลคูณคาร์ทีเชียน เป็นการกระทำกันระหว่างเซต 2 เซต โดยผลคูณคาร์ทีเชียนระหว่างเซต A และ B เขียนแทนด้วย A×B คือ เซตของคู่อันดับ (a,b) ทั้งหมด โดยที่ a เป็นสมาชิกของเซต A และ b เป็นสมาชิกของเซต B เขียนอยู่ในรูปแบบดังนี้

A×B = {(a,b) | a ∈ A และ b ∈ B}

***ข้อสังเกต “ความสัมพันธ์ระหว่างเซต A,B ทุกอันต้องเป็นสับเซตของ A×B”***

ตัวอย่างโจทย์ – จงหาผลคูณคาร์ทีระหว่างเซตต่อไปนี้ {a, b} และ {a, b, c} เฉลย

สมบัติของผลคูณคาร์ทีเชียน ให้ A, B และ C เป็นเซตใด ๆ และ n(A) คือ จำนวนสมาชิกของเซต A

  • A×{} = {}
  • {}×A = {}
  • A×(B∪C) = (A×B)∪(A×C)
  • A×(B∩C) = (A×B)∩(A×C)
  • A×(B-C) = (A×B) – (A×C)
  • n(A×B) = n(A).n(B)

           ความสัมพันธ์จาก A ไป B ให้ A และ B เป็นเซตใด ๆ แล้ว r เป็นความสัมพันธ์จาก A ไป B ก็ต่อเมื่อ r เป็นสับเซตของ AB เขียนได้ว่า

r = {(a,b) | (a,b) ∈ A×B}

        ความสัมพันธ์แบบมีเงื่อนไข คือ เซตของคู่อันดับ โดยที่สมาชิกตัวหน้าของแต่ละคู่อันดับ สัมพันธ์กับสมาชิกตัวหลัง ในรูปแบบเดียวกันในทุก ๆ คู่อันดับ เช่น

  • A = {โตเกียว, กรุงเทพ, จาการ์ต้า, ปักกิ่ง, โซล}
  • B = {ไทย, จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, อินโดนีเซีย, อินเดีย, รัสเซีย}

ความสัมพันธ์จาก A ไป B แบบ “เมืองหลวง – ประเทศ” คือ {(โตเกียว, ญี่ปุ่น), (กรุงเทพ, ไทย), (จาการ์ต้า, อินโดนีเซีย), (ปักกิ่ง, จีน), (โซล, เกาหลี)}

หรือเขียนแบบบอกเงื่อนไขได้ว่า {(a, b) ∈ A×B | a เป็นเมืองหลวงของ b}

  • A = {1, 3, 5, 7, 9}

ความสัมพันธ์จาก A ไป A แบบ “บวกกันได้ 10” คือ {(1, 9), (3, 7), (5, 5), (7, 3), (9, 1)}

หรือเขียนแบบบอกเงื่อนไขได้ว่า {(a, b) ∈ A×A | a + b = 10}

        กราฟของความสัมพันธ์ หากความสัมพันธ์ เป็นความสัมพันธ์ระหว่างตัวเลขแล้ว เราสามารถเขียนความสัมพันธ์โดยใช้กราฟได้ โดยการนำคู่อันดับต่างๆ ของความสัมพันธ์ไปวาดลงบนกราฟ เช่น

ให้    A = {0, 1, 2, 3, 4, 5}
B = {5, 6, 7, …, 20}
โดย r = {(x, y) ∈ A×B | y = 3x}
แจกแจงสมาชิกได้เป็น r = {(2, 6), (3, 9), (4, 12), (5, 15)}

จะวาดกราฟได้ดังนี้

ในกรณี r เป็นความสัมพันธ์ของจำนวนจริง มักจะวาดกราฟได้เป็นเส้น  เช่น

r = {(x, y) ∈ R | y = 3x}

จะวาดกราฟได้ดังนี้

เคล็ดลับการพิจารณากราฟ พิจารณากราฟของความสัมพันธ์ระหว่าง x และ y ได้ดังนี้

  • กราฟจะผ่านจุด (a, b) เมื่อ แทนค่า a และ b ลงในสมการแล้วทำให้สมการเป็นจริง
  • จุดตัดแกน x คือ จุดที่ y = 0 ถ้าแทนค่าแล้วสมการไม่เป็นจริงแสดงว่า ไม่มีจุดตัดแกน x 
  • จุดตัดแกน y คือ จุดที่ x = 0 ถ้าแทนค่าแล้วสมการไม่เป็นจริงแสดงว่า ไม่มีจุดตัดแกน y
  • กราฟอยู่เหนือแกน x เมื่อ y > 0
  • กราฟอยู่ใต้แกน x เมื่อ y < 0

ตัวอย่างโจทย์ – กราฟต่อไปนี้ผ่านจุด (0, 1) หรือไม่

ตัวอย่างโจทย์ – จงหาจุดตัดแกน x และ y ของกราฟต่อไปนี้

        โดเมนและเรนจ์ของความสัมพันธ์ 

       โดเมนของความสัมพันธ์ r คือ เซตของ สมาชิกตัวหน้าของคู่อันดับทุกคู่ ในความสัมพันธ์ r โดเมนของความสัมพันธ์ r เขียนแทนด้วย Dr

Dr = {x | (x, y) ∈ r}

        เรนจ์ของความสัมพันธ์ r คือ เซตของ สมาชิกตัวหลังของคู่อันดับทุกคู่ ในความสัมพันธ์ r เรนจ์ของความสัมพันธ์ r เขียนแทนด้วย Rr

Rr = {y | (x, y) ∈ r}

เช่น

r = {(1, 3), (2, 8), (3, 10), (3, -5), (4, 19), (8, 3), (100, -5), (-9, 22)}
Dr = {1, 2, 3, 4, 8, 100, -9}          
Rr = {3, 8, 10, -5, 19, -5, 22}

r = {(โตเกียว, ญี่ปุ่น), (กรุงเทพ, ไทย), (เบอร์ลิน, เยอรมันนี), (แคนเบอร์ร่า, ออสเตรเลีย), (โซล, เกาหลี), …}
Dr = เซตของเมืองหลวงทั่วโลก
Rr = เซตของประเทศทุกประเทศ

ฟังก์ชัน

        ฟังก์ชัน คือ ความสัมพันธ์รูปแบบหนึ่งที่สมาชิกในโดเมนแต่ละตัวจับคู่กับ สมาชิกในเรนจ์ของความสัมพันธ์ เพียงตัวเดียวเท่านั้น เช่น

{(1,a), (2,b), (3,c), (4,d)} เป็นฟังก์ชัน
{(1,a), (2,a), (3,a), (4,a)} เป็นฟังก์ชัน
{(1,a), (1,b), (3,c), (4,d)} ไม่เป็นฟังก์ชัน เพราะมี 1 ที่จับคู่กับทั้ง aและb

ข้อสังเกตฟังก์ชันอย่างเร็วๆ

  • ถ้าสมาชิกตัวหน้าของแต่ละคู่อันดับไม่ซ้ำกัน จะเป็นฟังก์ชัน
  • ถ้ามีสมาชิกตัวหน้าคู่อันดับซ้ำกัน อย่างน้อย 1 คู่อันดับ จะไม่เป็นฟังก์ชัน
  • ความสัมพันธ์ที่มี y ยกกำลังเป็นเลขคู่ หรือ y อยู่ในเครื่องหมายค่าสัมบูรณ์ จะไม่เป็นฟังก์ชัน

การนิยามฟังก์ชัน ถ้า f เป็นฟังก์ชัน และ (x, y) ∈ f จะได้ว่า y เป็นค่าของฟังก์ชัน f ที่ x เขียนแทนด้วย f(x) หรือ y = f(x) เรียก f(x) = (ค่าในเทอมของ x) ว่า นิยามของฟังก์ชัน ดังเช่น

ถ้า f เป็นฟังก์ชันของ x แล้ว เราสามารถหาค่า f(k) ได้โดย
สมมุติให้ x = k แล้วหาค่า f(x) เมื่อแทน x = k

นิยามของฟังก์ชัน คือ f(x) = x2 + 1

f(5) คือ สมมุติ x = 5 หาค่า x2 + 1
จะได้ว่า f(5) = 52 + 1 = 26

f(-1) คือ สมมุติ x = -1 หาค่า x2 + 1
จะได้ว่า f(-1) = (-1)2 + 1 = 2

f(a + b) คือ สมมุติ x = a + b หาค่า x2 + 1
จะได้ว่า f(a+b) = (a+b)2 + 1 = a2 + 2ab + b2 + 1

รูปแบบต่างๆของฟังก์ชัน มีดังต่อไปนี้

ฟังก์ชันจาก A ไป B

f เป็นฟังก์ชันจาก A ไป B เขียนแทนด้วย f:A→B

 หมายความว่า ทุกสมาชิกใน A ต้องมีคู่กับสมาชิกใน B

ฟังก์ชันจาก A ไปทั่วถึง B

f เป็นฟังก์ชันจาก A ไปทั่วถึง B เขียนแทนด้วย f:A onto→ B

หมายความว่า ทุกสมาชิกใน A และ B ต้องมีคู่

ฟังก์ชันหนึ่งต่อหนึ่งจาก A ไป B

f เป็นฟังก์ชันหนึ่งต่อหนึ่งจาก A ไป B เขียนแทนด้วย f:A  1-1→  B

หมายความว่า ทุกสมาชิกใน A ต้องมีคู่กับสมาชิกใน B และคู่ไม่ซ้ำ

ฟังก์ชันหนึ่งต่อหนึ่งจาก A ไปทั่วถึง B

ถ้า f เป็นฟังก์ชันหนึ่งต่อหนึ่งจาก A ไป B และ f เป็นฟังก์ชันจาก A ไปทั่วถึง B แล้ว f เป็นฟังก์ชันหนึ่งต่อหนึ่งจาก A ไปทั่วถึง B เขียนแทนด้วย f:A  1-1 onto→  B 

ตัวอย่างโจทย์

ให้ A = {1, 2, 3, 4, 5}
B = {4, 5, 6, 7}
ฟังก์ชั้นต่อไปนี้เป็นฟังก์ชันประเภทใด เพราะเหตุใด

 

ฟังก์ชันผกผันหรือฟังก์ชันอินเวอร์ส ให้ f เป็นฟังก์ชันใด ๆ อินเวอร์สของฟังก์ชัน f เขียนแทนด้วย f⁻¹
ถ้า f⁻¹ เป็นฟังก์ชัน จะเรียก f⁻¹ นี้ว่า ฟังก์ชันอินเวอร์ส
ถ้า f⁻¹ เป็นฟังก์ชันของ x จะเขียนได้ว่า f⁻¹(x)โดยวิธีหา f⁻¹ จะเหมือนกับการหา r⁻¹ (ความสัมพันธ์อินเวอร์ส) เช่น

ฟังก์ชัน y = 3x + 7
อินเวอร์สของฟังก์ชันนี้ คือ x = 3y + 7 (ได้จากการสลับชื่อตัวแปร)
จากนั้น จัดรูปใหม่ให้ y มาอยู่ด้านซ้ายของสมการ จะได้ y =

จะเขียนได้ว่า f = {(1, 2), (2, 4), (3, 8), (4, 7)}

f⁻¹ = {(2, 1), (4, 2), (8, 3), (7, 4)}

ข้อสังเกต

  • f⁻¹ อาจไม่เป็นฟังก์ชัน
  • f⁻¹ จะเป็นฟังก์ชัน ก็ต่อเมื่อ f เป็นฟังก์ชันหนึ่งต่อหนึ่ง
  • ถ้า f⁻¹ เป็นฟังก์ชัน แล้ว f(a) = b จะได้ว่า f⁻¹(b) = a

การดำเนินการของฟังก์ชันให้ f และ g เป็นฟังก์ชันที่มีโดเมน และเรนจ์เป็นสับเซตของจำนวนจริง จะมีวิธีการดำเนินการระหว่างฟังก์ชันดังนี้ วิธีการดำเนินการระหว่างฟังก์ชั

ตัวอย่างโจทย์ ให้ (x) = 2x + 3 และ g(x) = x² – 1 จงหา (f – g)(2) เฉลย

คุยกันท้ายบท

      จะเห็นได้ว่าความสัมพันธ์ และฟังก์ชัน เป็นพื้นฐานส่วนสำคัญในการต่อยอดไปในบทถัดไปก็คือ “ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม” ซึ่งในบทถัดไปฟังก์ชันเหล่านี้จะมีความซับซ้อนเพิ่มขึ้นไปอีก ในคณิตศาสตร์ ม.4 เทอม 2 จะมีความเชื่อมโยงจากบท ความสัมพันธ์ และฟังก์ชัน” อยู่ตลอด และควรให้ความสำคัญกับการเรียนเพื่อความเข้าใจสูงสุด ในเนื้อหาบทเรียนต่างๆ ฝึกทำโจทย์บ่อยๆ และใช้เวลาว่างบนหน้าเว็บไซต์ของ Panya Society ฝึกทำโจทย์ที่พี่แทรกไว้ พร้อมคำนวณตามไปด้วย เพื่อให้ได้ประโยชน์จากการทบทวนความรู้…อย่าแอบดูเฉลยนะ!

       พี่หวังว่า น้องๆจะสนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์ ม.4 เทอม 2 ไปตลอดทั้งเทอม และขอให้น้องๆประสบความสำเร็จในการเรียนเทอมนี้ ได้เกรดดังหวัง คะแนนปังทุกคนเลยครับ

สรุปเนื้อหาที่สำคัญ

ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม

SHARE:

Panya-Success

เราต่อต้าน ‘วิชามาร’ ที่มุ่งเน้นการจำสูตรลัด

เพื่อให้ผู้เรียนใช้ความเข้าใจสูงสุด
ดึงศักยภาพความรู้ออกมาใช้แก้ปัญหาด้วยปัญญาจริง ๆ

     2 ผู้บริหาร ผู้ก่อตั้งธุรกิจ Startup ด้านการศึกษา และคุณครูตัวจริงของสถาบัน PANYA SOCIETY “พี่แชร์ & พี่นอต” ที่นี่ เราคือสถาบันกวดวิชาที่มุ่งเน้นความเข้าใจสูงสุดกับผู้เรียน เล่าถึงแนวคิดของการสร้างสถาบันกวดวิชาออนไลน์แห่งนี้

     ‘พี่แชร์-สุปิติ บูรณวัฒนาโชค’ ติวเตอร์วิชาฟิสิกส์ อดีตตัวแทนประเทศไทยเหรียญทองฟิสิกส์โอลิมปิก และนักเรียนทุนตรี-โท 2 สาขา วิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ คุณครูดีกรีแน่น เผยถึงกุญแจของความแตกต่างที่ทำให้ Panya Society ไม่เหมือนที่อื่น ๆ

     “Panya Society เริ่มต้นจากความเข้าใจธรรมชาติของผู้เรียนก่อน เรามองว่าปัญหาของเด็กไทยมีเหมือนกันคือ การมุ่งหาที่เรียนพิเศษ เพราะเรียนในระบบที่โรงเรียนไม่เข้าใจ ไม่ว่าจะด้วยปัจจัยอะไรก็ตาม ดังนั้น เด็กเข้ามาหาเราด้วยความไม่เข้าใจ สิ่งที่ครูต้องมอบให้อย่างแรกคือ ต้องใส่ความเข้าใจเป็นพื้นฐานให้เด็กก่อนครับ”

     พี่แชร์ เผยปัญหาของเด็กไทยต่อว่า “เพราะวิธีคิดของเด็กที่ต้องการสอบติดส่วนใหญ่ จะเป็นแบบ shortcut พวกเขาอยากได้ความสำเร็จที่ง่ายและรวดเร็ว ก็คือ ใช้กลยุทธ์ทุกทาง ทำอย่างไรก็ได้ให้สอบติดในสถาบันชั้นนำตามที่ต้องการ แม้ว่าการเรียนม. ปลายที่ผ่านมาจะไม่เข้าใจเนื้อหาวิชาเลย ก็ไม่สนใจ ขอแค่ให้ตนติดคณะ-มหาลัยที่มีชื่อเสียงเป็นพอ และนั่นนำไปสู่ปัญหาของวิธีการเรียนรู้แบบผิด ๆ ที่เราสัญญากับตัวเองว่า เราจะไม่ทำแบบนั้นเด็ดขาด”

     Panya Society มุ่งเน้นความเข้าใจ แต่อะไรกันที่เป็นอุปสรรคการเรียนของเด็ก และอะไรคือสิ่งที่ Panya Society จะไม่มีวันทำ??? พี่แชร์ไขกุญแจเฉลยปริศนานี้

     “สิ่งที่เราจะไม่มอบให้เด็กคือ ‘วิชามาร’ การท่องสูตรลัดเข้าห้องสอบ ที่หวังแค่เพียงว่าจะทำข้อสอบให้ได้คะแนนเยอะ แต่เราไม่คิดแค่นั้น มันไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องของการเรียนรู้ แม้ว่าการใช้สูตรลัดสอนจะง่ายมากเลย ใคร ๆ ก็สอนได้ เพราะแค่ท่องจำ pattern ของวิธีการทำข้อสอบ ท่องสูตรลัด จดจำแนวทางคำตอบเพื่อทำคะแนน แต่นั่นไม่ใช่แนวทางของเรา เพราะมันไม่ใช่ความรู้ ไม่ยั่งยืน และไม่ใช่วิถีของปัญญา และวิธีการนี้ก็ใช้ไม่ได้ผลแล้วในวันนี้”

     ‘พี่นอต-ดร.ธรรมนิติ์ พิพัฒน์ศรีสวัสดิ์’ ติวเตอร์วิชาคณิตศาสตร์ อดีตนักเรียนทุนคิง และวิศวกรซอฟต์แวร์จาก Google ปริญญาเอกด้าน AI พร้อมรางวัลนักเรียนดีเด่นจาก UCLA และผู้ร่วมก่อตั้ง กล่าวเสริมว่า “ทำไม ‘วิชามาร’ กำลังสร้างปัญหาให้เด็กไทย?”

     “เป็นความจริงที่ความสำเร็จของการกวดวิชาแบบเดิม ๆ มันง่าย รวดเร็ว และตรงตามความต้องการของเด็ก แต่มันคือภัยเงียบของผู้เรียน ที่พวกเขาไม่รู้ตัวเลยว่า กำลังจะเผชิญหน้ากับปัญหาอะไรในอนาคตบ้าง?”

     พี่นอตเริ่มลงรายละเอียดจริงจังในประเด็นสำคัญที่ทำให้วิชามาร ไม่ปรากฏที่ Panya Society

     หนึ่ง ผมมองว่าพวกเขากำลังไปศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย ในสาขาที่ต้องต่อยอดใช้องค์ความรู้ลึกมากขึ้น การทำข้อสอบเข้าไปเรียนได้เพียงเพราะใช้สูตรลัด แต่เข้าใจอย่างผิวเผิน พอไปเรียนลึกขึ้นในมหาวิทยาลัยจึงล้มเหลว ต้องนับหนึ่งใหม่กับเรื่องพื้นฐาน มันคือกับดักที่ทำให้พวกเขาเรียนอย่างไม่มีความสุข ท้อแท้ หมดกำลังใจ สุดท้าย การเรียนไม่รอดนำไปสู่การซิ่ว ลาออกจากคณะเดิมที่อุตส่าห์ตั้งใจสอบเข้า ต้องหยุดฝัน เพราะทำได้เพียงแค่สอบเข้าไปได้ แต่ไม่มีความรู้พอที่จะเรียนไหว ให้รอดจนจบปริญญาตรี   

     สอง จะเห็นได้ว่า TCAS ปี 2564 ที่ผ่านมา ข้อสอบในกลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์เปลี่ยนผู้ออกข้อสอบ เป็นทีมงานจาก สสวท. ผู้ทำหนังสือแบบเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่มุ่งเน้นความเข้าใจในเนื้อหาบทเรียน การทดลอง และการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ดังนั้น เมื่อข้อสอบเปลี่ยนไป วัดความเข้าใจ การหาวิชามารท่องจำเข้าไปทำข้อสอบ ไม่ใช่ตัวช่วยที่ดีอีกแล้วของเด็ก เพราะถ้าไม่เข้าใจจะเอาอะไรไปสอบ ข้อสอบกำลังดัดหลังเด็กที่ใช้วิชามาร ท่องจำสไตล์โจทย์ ให้ตกม้าตาย และมุ่งเน้นให้เด็กเข้าใจในสิ่งที่เรียนมากยิ่งขึ้น”

      พี่แชร์พยักหน้า พร้อมเสริมเพื่อนร่วมก่อตั้ง “นั่นแหละคือคำตอบที่เป็น DNA ของ PANYA คือ ‘Practicality’ หมายถึงการเรียนรู้ที่นำไปใช้ได้จริง มันจะไม่มีประโยชน์อะไรเลย ที่เด็กจะเรียนรู้เพื่อท่อง Pattern การทำโจทย์ข้อสอบ ที่ทำได้แค่ข้อ style นั้น แต่พอโจทย์เปลี่ยน เด็กก็ทำไม่ได้แล้ว ต้องท่องจำสไตล์โจทย์เพิ่ม นั่นคือคำว่าไม่ยั่งยืนที่เรากำลังบอก”

     “ถ้าความรู้นั้นยั่งยืนจริงๆ เด็กต้องเรียนโดยท่องจำให้น้อยที่สุด เข้าใจให้มากที่สุด และนำความเข้าใจนั้นไปประยุกต์ใช้งานได้กับโจทย์ทุกรูปแบบ นี่สิของจริง คือเรียนรู้เพื่อนำไปใช้ apply ได้กับทุกปัญหาที่เขาเจอ ผ่านชุดความรู้ที่เขามีอยู่”

     พี่นอตเสริมทิ้งท้ายว่า “เหตุผลที่เชื่อมั่นว่าสถาบันกวดวิชา Panya Society จะตอบโจทย์ผู้เรียนสูงสุด ผมมองว่าน่าจะมาจาก 3 ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

     หนึ่ง คือตัวตน และวิธีคิดของเรา 2 คนที่เป็นมนุษย์ตรรกะ เราเชื่อในความเป็นเหตุเป็นผล เราจริงใจซื่อสัตย์กับผู้เรียน เราไม่หลอกเด็กให้มาเรียนในสิ่งที่ไม่ได้พัฒนาพวกเขาจริง ๆ เด็กจะสำเร็จได้ยั่งยืน ก็ต่อเมื่อมาจากการเรียนรู้ในวิธีที่ถูกต้อง กับครูที่สอนเข้าใจจริงๆ ไม่ใช่ท่องจำ… ถ้าสมัยเรียน ความสำเร็จของผมไม่ได้มาจากการท่อง ผมก็อยากสอน และถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับเด็ก ๆ ในแบบเดียวกัน เพราะเราอยากจะสอนให้เด็กเข้าใจและรักวิชาที่เรียนเหมือนตอนเราเรียน

     สอง คือผมเชื่อว่าตัวอย่างคลิปสอนทั้งหมดที่พวกเราทั้งสถาบัน และคุณครูทุกท่านตั้งใจทำ มันสะท้อนตัวตนของเราว่าเรามุ่งเน้นความเข้าใจจริง ๆ เด็กชมตัวอย่างวิดีโอจริงในคอร์สเรียนแล้วเข้าใจ ทำให้การตัดสินใจเรียนคอร์สของ Panya Society ง่ายขึ้น มันพิสูจน์ว่าสิ่งที่เราตั้งใจทำมาทั้งหมด ตรงกับสิ่งที่เด็กมองหาอยู่จริง ๆ คือความเข้าใจ และการนำไปใช้ได้จริง ๆ ที่เราส่งมอบให้เด็กเสมอมาครับ

     สุดท้ายคือ ระบบ Panya Learning ที่เราออกแบบการเรียนการสอนมาตอบโจทย์ความเข้าใจสูงสุดของเด็ก ด้วย ‘โค้ชผู้ช่วยส่วนตัว’ หรือ Panya Chat ตอบทุกข้อสงสัย การันตีว่าอาจารย์ตอบทุกคำถามของนักเรียนภายใน 24 ชม. เพื่อให้การเรียนออนไลน์ของนักเรียนไร้ร้อยต่อ และเพื่อความเข้าใจของนักเรียนเป็นรายบุคคลอย่างแท้จริง”

ถ้าให้บอกว่า Panya Society คือใคร เราคงจะพูดว่า…

เราคือสถาบันกวดวิชาที่สอน เพื่อความเข้าใจ ไม่ใช่ท่องจำ

และนำไปใช้ได้จริงครับ น้อง ๆ มาทดลองเรียนกันดูได้ที่
www.PanyaSociety.com รับรองว่าความเข้าใจ
ที่พี่ ๆ มอบให้ จะเปลี่ยน
โลกของการเรียนรู้
ของน้อง ๆ ตลอดไป ให้ประสบความสำเร็จ
ติดในคณะที่ใฝ่ฝัน ก้าวเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย
ด้วยความเข้าใจที่ยั่งยืนจริง ๆ ครับ 

ทำความรู้จัก “พี่แชร์ & พี่นอต”

:: พี่แชร์ ::
สุปิติ บูรณวัฒนาโชค

● ปัจจุบันทำงานในบริษัท Start-up ด้านเทคโนโลยีหลายแห่ง
● อดีตเหรียญทองฟิสิกส์โอลิมปิก
● ได้รับทุนธนาคารแห่งประเทศไทย ไปศึกษาต่อระดับปริญญาตรีและโท คณะ Electrical and Computer Engineering (วิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์) ที่ Carnegie Mellon University ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยจบทั้งสองปริญญาในเวลา 4 ปี
● เคยทำงานที่บริษัท Oracle สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นบริษัทซอฟต์แวร์ระดับ Top 5 ของโลก
● ผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์เด็กดีดอทคอม

:: พี่นอต ::
ดร.ธรรมนิติ์ พิพัฒน์ศรีสวัสดิ์

● อดีต Senior Software Engineer ที่ Google กว่า 10 ปี
● ได้รับทุนเล่าเรียนหลวงไปศึกษาระดับปริญญาตรีด้าน Electrical and Computer Engineering และ computer science ที่ Carnegie Mellon University ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
● จบปริญญาเอกด้าน Artificial Intelligence (AI) พร้อมรางวัลนักเรียนดีเด่นจาก UCLA
● ผลงานวิจัยด้าน Artificial Intelligence (AI) ของอ.นอตได้รับรางวัลงานวิจัยดีเยี่ยมจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติในปี 2557

: คอร์สแนะนำ :

SHARE:

รายละเอียดโปรโมชั่น

Pack สอบติด คอร์ส คณิตศาสตร์ A-Level + คณิตศาสตร์ ติดอาวุธลับ UpScore

ราคาพิเศษ 5,490.-

Pack สอบติด คอร์ส ฟิสิกส์ A-Level + ฟิสิกส์ ติดอาวุธลับ UpScore

ราคาพิเศษ 5,490.-

Pack สอบติด คอร์ส เคมี A-Level + เคมี ติดอาวุธลับ UpScore

ราคาพิเศษ 5,490.-