TCAS CHEM EXAM BLUEPRINT ข้อสอบ A-Level เคมี หน้าตาจะเป็นยังไง มาลองดูกัน!

PANYA SOCIETY

มาดูกัน! TCAS CHEM A-Level Exam Blueprint

TCAS EXAM BLUEPRINT

น้อง ๆ ทุกคนคงเห็นแล้วว่ารูปแบบการสอบ TCAS จะมีกำหนดการ และการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด และก็ได้มีความเคลื่อนไหวจากทางที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) อีกครั้ง ผ่านทางเว็บไซต์ Mytcas.com ซึ่งเป็นการ Update เกี่ยวกับ Exam Blueprint ของข้อสอบ TGAT TPAT และ A-Level ซึ่งพี่ Panya Society จะมาสรุปวิเคราะห์ และเปรียบเทียบกับปีก่อน ๆ ให้น้อง ๆ ฟังกันครับ จะเป็นยังไงลองมาดูกันเลย…

โดยวันนี้พี่ Panya Society ขอนำเสนอวิชาเคมีครับ งั้นเรามาดูกันอย่างละเอียดดีกว่าว่าน้อง ๆ ทุกคน จะต้องเจอกับเนื้อหาอะไรบ้าง แล้วมีโครงสร้างข้อสอบเป็นอย่างไร

A - Level วิชาเคมี

สำหรับข้อสอบเคมีปีนี้ น้อง ๆ ทุกคนจะพบเจอเนื้อหาของวิชาเคมีได้ในข้อสอบ A-Level รหัส 64 ตัวย่อ Chem วิชาเคมี ซึ่ง ณ ปัจจุบัน ทาง ทปอ. ได้ปล่อย Exam Blueprint มาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

คราวนี้เราลองมาดูกันดีกว่าว่า Exam Blueprint ของ A-Level วิชาเคมี นั้นน้อง ๆ จะต้องเจอกับเนื้อหาอะไรบ้าง

A-Level วิชาเคมี จำนวนข้อทั้งหมด 35 ข้อ* คะแนนเต็ม 100 คะแนน ระยะเวลาสอบ 90 นาที (*ปรนัย 5 ตัวเลือก 30 ข้อ 75 คะแนน / อัตนัย(ระบายคำตอบที่เป็นค่า/ตัวเลข) 5 ข้อ 25 คะแนน)

  • สมบัติของธาตุและสารประกอบ (15 – 17 ข้อ)
    • อะตอมและสมบัติของธาตุ
    • พันธะเคมี
    • แก๊ส
    • เคมีอินทรีย์
    • พอลิเมอร์
  • สมการเคมีและการเปลี่ยนแปลงทางเคมี (15 – 17 ข้อ)
    • ปริมาณสัมพันธ์
    • อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
    • สมดุลเคมี
    • กรด–เบส
    • เคมีไฟฟ้า
  • ทักษะในปฏิบัติการเคมีและการคำนวณปริมาณของสาร (2 – 4 ข้อ)
    • ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี
    • โมล
    • สารละลาย

คราวนี้เราลองจัดกลุ่มเนื้อหาแต่ละระดับชั้น และเปรียบเทียบกับข้อสอบ เคมี A-Level กันดูครับ

ชื่อบทระดับชั้นA-Level CHEM ปี 2566A-Level CHEM ปี 2567
อะตอมและสมบัติของธาตุม.4 เทอม 116 ข้อ15 – 17 ข้อ
พันธะเคมี
แก๊สม.5 เทอม 1
เคมีอินทรีย์ม.6 เทอม 1
พอลิเมอร์
ปริมาณสัมพันธ์ม.4 เทอม 216 ข้อ15 – 17 ข้อ
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีม.5 เทอม 1
สมดุลเคมี
กรด–เบสม.5 เทอม 2
เคมีไฟฟ้า
ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมีม.4 เทอม 13 ข้อ2 – 4 ข้อ
โมลม.4 เทอม 2
สารละลาย

จากตารางข้างบนน้อง ๆ คงเห็นแล้วว่าขอบเขตเนื้อหาและจำนวนข้อสอบเป็นอย่างไร คราวนี้พี่ Panya Society เลยจะขอลองยกตัวอย่างข้อสอบ เคมี A-Level ปี 66 ที่พี่นัท แห่ง Panya Society ได้เฉลยไว้มาให้น้อง ๆ ได้ทดลองดูและทดลองทำ เพื่อเป็นแนวทางกันดูครับ

ตัวอย่างข้อสอบ เคมี A-Level ปี 66

เฉลยข้อสอบ A-Level เคมี ปี 66

1 Videos
Play Video

บทสรุป

เป็นยังไงกันบ้างครับสำหรับ Exam Blueprint ของข้อสอบ TCAS A-Level CHEM ที่กำลังจะมาถึง น้อง ๆ ที่ได้อ่านบทความนี้ไปพี่ Panya Society หวังว่าน้อง ๆ คงจะได้แนวทางในการเตรียมตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของข้อสอบที่จะเกิดขึ้นในปีนี้กันแล้ว ซึ่งถ้าหากหลังจากนี้ทาง ทปอ. มีการ Update Exam Blueprint วิชาอื่น ๆ พี่ Panya Society ก็จะรีบนำมา Update และวิเคราะห์ให้น้อง ๆ เพิ่มเติมอย่างแน่นอน ขอให้น้อง ๆ ติดตามเพจ Panya Society กันไว้ได้เลย 🙂

และจาก Exam Blueprint ของวิชาเคมี น้อง ๆ คงเห็นแล้วว่าเนื้อหามากกว่าครึ่งเป็นเนื้อหาของช่วงระดับชั้น ม.4 ถึง ม.5 ทำให้น้อง ๆ ม.6 ที่กำลังจะเตรียมสอบ TCAS อาจจะมีการหลงลืมเนื้อหาไปบ้างแล้ว รวมไปถึงใครที่ต้องการปูพื้นฐานสำหรับวิชาเคมีในระดับชั้นมัธยมปลายทั้ง 6 เทอม
พี่ Panya Society จึงขอแนะนำคอร์ส เคมี A – Level  (82 ชม.)” เพื่อให้น้อง ๆ ทุกคนที่สนใจในการปูพื้นฐานสำหรับติวสอบ A-Level โดย พี่นัท จะมาช่วยน้อง ๆ ทุกคนทบทวนเนื้อหา รวมถึงฝึกทำโจทย์ต่าง ๆ เพื่อให้น้อง ๆ ทุกคนพร้อมสำหรับการสอบ A-Level ที่จะมาถึง

ส่วนน้อง ๆ คนไหนที่ต้องการเตรียมตัวสอบ TCAS วิชาอื่น ๆ พี่ Panya Society ก็ยังมีคอร์ส TCAS ทั้ง 6 วิชาจาก PANYA SOCIETY ซึ่งเป็นคอร์ส เตรียมตัวสอบ TCAS ฉบับสมบูรณ์แบบที่ Update ล่าสุด ได้ทั้งทบทวนเนื้อหา ม.4-5-6 ไปพร้อมกับเก็งข้อสอบแนวรูปแบบใหม่ ฝึกทำข้อสอบเพียบ ทบทวนเต็มที่ เก็งข้อสอบแม่นยำ พร้อมทำโจทย์แนวใหม่ ไม่ตกเทรนด์ พร้อมกับโค้ชผู้ช่วยส่วนตัวที่ถาม-ตอบได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ไร้กังวล ติวกับ PANYA SOCIETY ข้อสอบ TCAS จะเปลี่ยนไปแค่ไหน พี่ ๆ จะตามติดพัฒนาคอร์สไปพร้อมกับ Exam Blueprint ใหม่ล่าสุด ไม่พลาดแน่นอน!!!

VDO ตัวอย่างการสอน

🔥ติวเตอร์คนเก่ง🔥

เรียนสนุก ทำโจทย์คล่อง สอบให้ติด โดย PANYA Society

: คอร์สแนะนำ :

SHARE:

TCAS MATH EXAM BLUEPRINT ข้อสอบ A-Level คณิตศาสตร์ หน้าตาจะเป็นยังไง มาลองดูกัน!

PANYA SOCIETY

มาดูกัน! TCAS Math A-Level Exam Blueprint

TCAS EXAM BLUEPRINT

น้อง ๆ ทุกคนคงเห็นแล้วว่ารูปแบบการสอบ TCAS จะมีกำหนดการ และการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด และก็ได้มีความเคลื่อนไหวจากทางที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) อีกครั้ง ผ่านทางเว็บไซต์ Mytcas.com ซึ่งเป็นการ Update เกี่ยวกับ Exam Blueprint ของข้อสอบ TGAT TPAT และ A-Level ซึ่งพี่ Panya Society จะมาสรุป วิเคราะห์ และเปรียบเทียบกับปีก่อน ๆ ให้น้องๆฟังกันครับ จะเป็นยังไงลองมาดูกันเลย…

โดยวันนี้พี่ Panya Society ขอนำเสนอวิชาคณิตศาสตร์ครับ งั้นเรามาดูกันอย่างละเอียดดีกว่าว่าน้อง ๆ #Dek67 ทุกคน จะต้องเจอกับเนื้อหาอะไรบ้าง แล้วมีโครงสร้างข้อสอบเป็นอย่างไร

A-Level วิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ 1

สำหรับข้อสอบคณิตศาสตร์ปีนี้ น้อง ๆ ทุกคนจะพบเจอเนื้อหาของวิชาคณิตศาสตร์ได้ในข้อสอบ A-Level รหัส 61 ตัวย่อ Math1 วิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 ซึ่ง ณ ปัจจุบัน TCAS ทาง ทปอ. ได้ปล่อย Exam Blueprint มาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

คราวนี้เราลองมาดูกันดีกว่าว่า Exam Blueprint ของ A-Level วิชาคณิตศาสตร์ 1 นั้นน้อง ๆ จะต้องเจอกับเนื้อหาอะไรบ้าง

A-Level วิชาคณิตศาสตร์ 1 จำนวนข้อทั้งหมด 30 ข้อ* คะแนนเต็ม 100 คะแนน ระยะเวลาสอบ 90 นาที (*ปรนัย 5 ตัวเลือก 25 ข้อ 75 คะแนน / อัตนัย(ระบายคำตอบที่เป็นค่า/ตัวเลข) 5 ข้อ 25 คะแนน)

  • สาระจำนวนและพีชคณิต (15 – 17 ข้อ)
    • เซต
    • ตรรกศาสตร์
    • จำนวนจริงและพหุนาม
    • ฟังก์ชัน
    • ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและฟังก์ชันลอการิทึม
    • ฟังก์ชันตรีโกณมิติ
    • จํานวนเชิงซ้อน
    • เมทริกซ์
    • ลําดับและอนุกรม
  • สาระการวัดและเรขาคณิต (3 – 5 ข้อ)
    • เรขาคณิตวิเคราะห์
    • เวกเตอร์ในสามมิติ
  • สาระสถิติและความน่าจะเป็น (6 – 8 ข้อ)
    • สถิติ
    • การแจกแจงความน่าจะเป็นเบื้องต้น
    • หลักการนับเบื้องต้น
    • ความน่าจะเป็น
  • สาระแคลคูลัส (2 – 4 ข้อ)
    • แคลคูลัสเบื้องต้น

คราวนี้เราลองจัดกลุ่มเนื้อหาแต่ละระดับชั้น และเปรียบเทียบกับข้อสอบคณิตศาสตร์ วิชาสามัญปี 2565 และข้อสอบ A – Level กันดูครับ

ชื่อบทระดับชั้นสามัญ ปี 2565A – Level MATH1 ปี 2566A – Level MATH1 ปี 2567
เซตม.4 เทอม 116 ข้อ16 ข้อ15 – 17 ข้อ
ตรรกศาสตร์
จำนวนจริง
ความสัมพันธ์และฟังก์ชันม.4 เทอม 2
ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและฟังก์ชันลอการิทึม
ฟังก์ชันตรีโกณมิติม.5 เทอม 1
เมทริกซ์
จำนวนเชิงซ้อนม.5 เทอม 2
ลำดับและอนุกรมม.6 เทอม 1
เรขาคณิตวิเคราะห์ และภาคตัดกรวยม.4 เทอม 24 ข้อ4 ข้อ3 – 5 ข้อ
เวกเตอร์ม.5 เทอม 1
หลักการนับเบื้องต้นม.5 เทอม 27 ข้อ7 ข้อ6 – 8 ข้อ
ความน่าจะเป็น
ความหมายของสถิติศาสตร์และข้อมูล (สถิติ)ม.6 เทอม 2
การวิเคราะห์และนำเสนอขอมูลเชิงคุณภาพ (สถิติ)
การวิเคราะห์และนำเสนอขอมูลเชิงปริมาณ (สถิติ)
ตัวแปรสุ่มและการแจกแจงความน่าจะเป็น
แคลคูลัสเบื้องต้นม.6 เทอม 13 ข้อ3 ข้อ2 – 4 ข้อ

จากตารางข้างบนน้องๆคงเห็นแล้วว่าขอบเขตเนื้อหาและจำนวนข้อสอบเป็นอย่างไร คราวนี้พี่ Panya Society เลยจะขอลองยกตัวอย่างข้อสอบ คณิตศาสตร์ A – Level ปี 66 ที่พี่นอตแห่ง Panya Society ได้เฉลยไว้มาให้น้อง ๆ ได้ทดลองดูและทดลองทำ เพื่อเป็นแนวทางกันดูครับ

ตัวอย่างข้อสอบ คณิตศาสตร์ A – Level ปี 66

บทสรุป

เป็นยังไงกันบ้างครับสำหรับ Exam Blueprint ของข้อสอบ TCAS A-Level Math ที่กำลังจะมาถึง น้อง ๆ ที่ได้อ่านบทความนี้ไปพี่ Panya Society หวังว่าน้องๆ คงจะได้แนวทางในการเตรียมตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของข้อสอบที่จะเกิดขึ้นในปีนี้กันแล้ว ซึ่งถ้าหากหลังจากนี้ทาง ทปอ. มีการ Update Exam Blueprint วิชาอื่น ๆ พี่ Panya Society ก็จะรีบนำมา Update และวิเคราะห์ให้น้อง ๆ เพิ่มเติมอย่างแน่นอน ขอให้น้อง ๆ ติดตามเพจ Panya Society กันไว้ได้เลย 🙂

และจาก Exam Blueprint ของวิชาคณิตศาสตร์ น้อง ๆ คงเห็นแล้วว่าเนื้อหากว่าครึ่งเป็นเนื้อหาของช่วงระดับชั้น ม.4 ถึง ม.5 ทำให้น้องๆ ม.6 ที่กำลังจะเตรียมสอบ TCAS อาจจะมีการหลงลืมเนื้อหาไปบ้างแล้ว รวมไปถึงใครที่ต้องการปูพื้นฐานสำหรับวิชาคณิตศาสตร์ในระดับชั้นมัธยมปลายทั้ง 6 เทอม พี่ Panya Society จึงขอแนะนำคอร์ส Pack คณิตศาสตร์ A – Level (พื้นฐาน+เพิ่มเติม 293 ชม.) เพื่อให้น้องๆทุกคนที่สนใจในการปูพื้นฐานสำหรับติวสอบ A-Level โดยพี่ปิง พี่แชร์ และ พี่นอต จะมาช่วยน้อง ๆ ทุกคนทบทวนเนื้อหา รวมถึงฝึกทำโจทย์ต่าง ๆ เพื่อให้น้อง ๆ ทุกคนพร้อมสำหรับการสอบ A-Level ที่จะมาถึง

ส่วนน้อง ๆ คนไหนที่ต้องการเตรียมตัวสอบ TCAS วิชาอื่นๆ พี่ Panya Society ก็ยังมีคอร์ส TCAS ทั้ง 6 วิชาจาก PANYA SOCIETY” ซึ่งเป็นคอร์ส เตรียมตัวสอบ TCAS ฉบับสมบูรณ์แบบ ที่ Update ล่าสุด ได้ทั้งทบทวนเนื้อหา ม.4-5-6 ไปพร้อมกับเก็งข้อสอบแนวรูปแบบใหม่ ฝึกทำข้อสอบเพียบ ทบทวนเต็มที่ เก็งข้อสอบแม่นยำ พร้อมทำโจทย์แนวใหม่ ไม่ตกเทรนด์ พร้อมกับโค้ชผู้ช่วยส่วนตัวที่ถาม-ตอบได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ไร้กังวล ติวกับ PANYA SOCIETY ข้อสอบ TCAS จะเปลี่ยนไปแค่ไหน พี่ ๆ จะตามติดพัฒนาคอร์สไปพร้อมกับ Exam Blueprint ใหม่ล่าสุด ไม่พลาดแน่นอน!!!

VDO ตัวอย่างการสอน

🔥ติวเตอร์คนเก่ง🔥

เรียนสนุก ทำโจทย์คล่อง สอบให้ติด โดย PANYA Society

: คอร์สแนะนำ :

SHARE:

TCAS PHYSICS EXAM BLUEPRINT ข้อสอบ A-Level ฟิสิกส์ หน้าตาจะเป็นยังไง มาลองดูกัน!

PANYA SOCIETY

มาดูกัน! TCAS PHYSICS A-Level Exam Blueprint

TCAS EXAM BLUEPRINT

น้อง ๆ ทุกคนคงเห็นแล้วว่ารูปแบบการสอบ TCAS จะมีกำหนดการ และการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด และก็ได้มีความเคลื่อนไหวจากทางที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) อีกครั้ง ผ่านทางเว็บไซต์ Mytcas.com ซึ่งเป็นการ Update เกี่ยวกับ Exam Blueprint ของข้อสอบ TGAT TPAT และ A-Level ซึ่งพี่ Panya Society จะมาสรุป วิเคราะห์ และเปรียบเทียบกับปีก่อน ๆ ให้น้อง ๆ ฟังกันครับ จะเป็นยังไงลองมาดูกันเลย…

โดยวันนี้พี่ Panya Society ขอนำเสนอวิชาฟิสิกส์ครับ งั้นเรามาดูกันอย่างละเอียดดีกว่าว่าน้อง ๆ ทุกคน จะต้องเจอกับเนื้อหาอะไรบ้าง แล้วมีโครงสร้างข้อสอบเป็นอย่างไร

A - Level วิชาฟิสิกส์

สำหรับข้อสอบฟิสิกส์ปีนี้ น้อง ๆ ทุกคนจะพบเจอเนื้อหาของวิชาฟิสิกส์ได้ในข้อสอบ A-Level รหัส 64 ตัวย่อ Phy วิชาฟิสิกส์ ซึ่ง ณ ปัจจุบัน ทาง ทปอ. ได้ปล่อย Exam Blueprint มาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

คราวนี้เราลองมาดูกันดีกว่าว่า Exam Blueprint ของ A-Level วิชาฟิสิกส์ นั้นน้อง ๆ จะต้องเจอกับเนื้อหาอะไรบ้าง

A-Level วิชาฟิสิกส์ จำนวนข้อทั้งหมด 30 ข้อ* คะแนนเต็ม 100 คะแนน ระยะเวลาสอบ 90 นาที (*ปรนัย 5 ตัวเลือก 25 ข้อ 75 คะแนน / อัตนัย(ระบายคำตอบที่เป็นค่า/ตัวเลข) 5 ข้อ 25 คะแนน)

  • สาระกลศาสตร์ (8 – 10 ข้อ)
    • ธรรมชาติและพัฒนาการทางฟิสิกส์
    • การเคลื่อนที่แนวตรง
    • แรงและกฎการเคลื่อนที่
    • สมดุลกลของวัตถุ
    • งานและกฎการอนุรักษ์พลังงานกล
    • โมเมนตัมและการชน
    • การเคลื่อนที่แนวโค้ง
    • การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย
  • สาระคลื่นกล และแสง (5 – 7 ข้อ)
    • คลื่น
    • เสียง
    • แสง
  • สาระไฟฟ้า แม่เหล็ก และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (6 – 8 ข้อ)
    • ไฟฟ้าสถิต
    • ไฟฟ้ากระแส
    • แม่เหล็กและไฟฟ้า
    • คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
  • สาระอุณหพลศาสตร์ และสมบัติเชิงกลของสาร (3 – 5 ข้อ)
    • ความร้อนและแก๊ส
    • ของแข็งและของไหล
  • สาระฟิสิกส์แผนใหม่ (3 – 5 ข้อ)
    • ฟิสิกส์อะตอม
    • ฟิสิกส์นิวเคลียร์และฟิสิกส์อนุภาค

คราวนี้เราลองจัดกลุ่มเนื้อหาแต่ละระดับชั้น และเปรียบเทียบกับข้อสอบ ฟิสิกส์ A-Level กันดูครับ

ชื่อบท ระดับชั้นA-Level PHY ปี 2566A-Level PHY ปี 2567
ธรรมชาติและพัฒนาการทางฟิสิกส์ม.4 เทอม 19 ข้อ8 – 10 ข้อ
การเคลื่อนที่แนวตรง
แรงและกฎการเคลื่อนที่
สมดุลกลม.4 เทอม 2
งานและพลังงาน
โมเมนตัมและการชน
การเคลื่อนที่แนวโค้ง
การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่ายม.5 เทอม 1
คลื่นม.5 เทอม 16 ข้อ5 – 7 ข้อ
แสงเชิงคลื่น
แสงเชิงรังสี
เสียงม.5 เทอม 2
ไฟฟ้าสถิตม.5 เทอม 26 ข้อ6 – 8 ข้อ
ไฟฟ้ากระแส
แม่เหล็กและไฟฟ้าม.6 เทอม 1
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าม.6 เทอม 2
ความร้อนและแก๊สม.6 เทอม 14 ข้อ3 – 5 ข้อ
ของแข็งและของไหล
ฟิสิกส์อะตอมม.6 เทอม 25 ข้อ3 – 5 ข้อ
ฟิสิกส์นิวเคลียร์และฟิสิกส์อนุภาค

จากตารางข้างบนน้อง ๆ คงเห็นแล้วว่าขอบเขตเนื้อหาและจำนวนข้อสอบเป็นอย่างไร คราวนี้พี่ Panya Society เลยจะขอลองยกตัวอย่างข้อสอบ ฟิสิกส์ A – Level ที่พี่แชร์ แห่ง Panya Society ได้เฉลยไว้มาให้น้อง ๆ ได้ทดลองดูและทดลองทำ เพื่อเป็นแนวทางกันดูครับ

ตัวอย่างข้อสอบ ฟิสิกส์ A – Level ปี 66

บทสรุป

เป็นยังไงกันบ้างครับสำหรับ Exam Blueprint ของข้อสอบ TCAS A-Level Physics ที่กำลังจะมาถึง น้อง ๆ ที่ได้อ่านบทความนี้ไปพี่ Panya Society หวังว่าน้อง ๆ คงจะได้แนวทางในการเตรียมตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของข้อสอบที่จะเกิดขึ้นในปีนี้กันแล้ว ซึ่งถ้าหากหลังจากนี้ทาง ทปอ. มีการ Update Exam Blueprint วิชาอื่น ๆ พี่ Panya Society ก็จะรีบนำมา Update และวิเคราะห์ให้น้อง ๆ เพิ่มเติมอย่างแน่นอน ขอให้น้อง ๆ ติดตามเพจ Panya Society กันไว้ได้เลย 🙂

และจาก Exam Blueprint ของวิชาฟิสิกส์ น้อง ๆ คงเห็นแล้วว่าเนื้อหากว่าครึ่งเป็นเนื้อหาของช่วงระดับชั้น ม.4 ถึง ม.5 ทำให้น้อง ๆ ม.6 ที่กำลังจะเตรียมสอบ TCAS อาจจะมีการหลงลืมเนื้อหาไปบ้างแล้ว รวมไปถึงใครที่ต้องการปูพื้นฐานสำหรับวิชาฟิสิกส์ในระดับชั้นมัธยมปลายทั้ง 6 เทอม
     พี่ Panya Society จึงขอแนะนำคอร์ส “ฟิสิกส์ A – Level  (190 ชม.)” เพื่อให้น้อง ๆ ทุกคนที่สนใจในการปูพื้นฐานสำหรับติวสอบ A-Level โดย พี่แชร์ จะมาช่วยน้อง ๆ ทุกคนทบทวนเนื้อหา รวมถึงฝึกทำโจทย์ต่าง ๆ เพื่อให้น้อง ๆ ทุกคนพร้อมสำหรับการสอบ A-Level ที่จะมาถึง

ส่วนน้อง ๆ คนไหนที่ต้องการเตรียมตัวสอบ TCAS วิชาอื่น ๆ พี่ Panya Society ก็ยังมีคอร์ส “TCAS ทั้ง 6 วิชาจาก PANYA SOCIETY” ซึ่งเป็นคอร์ส เตรียมตัวสอบ TCAS ฉบับสมบูรณ์แบบที่ Update ล่าสุด ได้ทั้งทบทวนเนื้อหา ม.4-5-6 ไปพร้อมกับเก็งข้อสอบแนวรูปแบบใหม่ ฝึกทำข้อสอบเพียบ ทบทวนเต็มที่ เก็งข้อสอบแม่นยำ พร้อมทำโจทย์แนวใหม่ ไม่ตกเทรนด์ พร้อมกับโค้ชผู้ช่วยส่วนตัวที่
ถาม-ตอบได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ไร้กังวล ติวกับ PANYA SOCIETY ข้อสอบ TCAS จะเปลี่ยนไปแค่ไหน พี่ ๆ จะตามติดพัฒนาคอร์สไปพร้อมกับ Exam Blueprint ใหม่ล่าสุด ไม่พลาดแน่นอน!!!

VDO ตัวอย่างการสอน

ฟิสิกส์ A-Level

30 Videos

🔥ติวเตอร์คนเก่ง🔥

เรียนสนุก ทำโจทย์คล่อง สอบให้ติด โดย PANYA Society

: คอร์สแนะนำ :

SHARE:

TCAS ENGLISH EXAM BLUEPRINT ข้อสอบ A-Level ภาษาอังกฤษ หน้าตาจะเป็นยังไง มาลองดูกัน!

PANYA SOCIETY

มาดูกัน! TCAS ENGLISH A-Level Exam Blueprint

TCAS EXAM BLUEPRINT

น้อง ๆ ทุกคนคงเห็นแล้วว่ารูปแบบการสอบ TCAS จะมีกำหนดการ และการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด และก็ได้มีความเคลื่อนไหวจากทางที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) อีกครั้ง ผ่านทางเว็บไซต์ Mytcas.com ซึ่งเป็นการ Update เกี่ยวกับ Exam Blueprint ของข้อสอบ TGAT TPAT และ A-Level ซึ่งพี่ Panya Society จะมาสรุป วิเคราะห์ และเปรียบเทียบกับปีก่อน ๆ ให้น้อง ๆ ฟังกันครับ จะเป็นยังไงลองมาดูกันเลย…

โดยวันนี้พี่ Panya Society ขอนำเสนอวิชาภาษาอังกฤษ ครับ งั้นเรามาดูกันอย่างละเอียดดีกว่าว่าน้อง ๆ ทุกคน จะต้องเจอกับเนื้อหาอะไรบ้าง แล้วมีโครงสร้างข้อสอบเป็นอย่างไร

A - Level วิชาภาษาอังกฤษ

สำหรับข้อสอบภาษาอังกฤษปีนี้ น้อง ๆ ทุกคนจะพบเจอเนื้อหาของวิชาภาษาอังกฤษได้ในข้อสอบ A-Level รหัส 82 ตัวย่อ Eng วิชาภาษาอังกฤษ ซึ่ง ณ ปัจจุบัน ทาง ทปอ. ได้ปล่อย Exam Blueprint มาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

คราวนี้เราลองมาดูกันดีกว่าว่า Exam Blueprint ของ A-Level วิชาภาษาอังกฤษ นั้นน้อง ๆ จะต้องเจอกับเนื้อหาอะไรบ้าง

A-Level วิชาภาษาอังกฤษ จำนวนข้อทั้งหมด 80 ข้อ* คะแนนเต็ม 100 คะแนน ระยะเวลาสอบ 90 นาที (*ปรนัย 5 ตัวเลือก 80 ข้อ 100 คะแนน)

  • ทักษะการฟังและการพูด (Listening and Speaking Skills) (25 คะแนน)      20 ข้อ
    1) เติมบทสนทนาแบบสั้น (Short conversation) จำนวน 3 บทสนทนา
         – จำนวนข้อคำถาม (4 ข้อ/บทสนทนา รวม 12 ข้อ)
         – ระดับข้อสอบ (ง่าย 3 ข้อ / กลาง 6 ข้อ / ยาก 3 ข้อ)
    2) เติมบทสนทนาแบบยาว (Long conversation) จำนวน 1 บทสนทนา
         – จำนวนข้อคำถาม (8 ข้อ/บทสนทนา รวม 8 ข้อ)
         – ระดับข้อสอบ (ง่าย 1 ข้อ / กลาง 6 ข้อ / ยาก 1 ข้อ)
  • ทักษะการอ่าน (Reading Skill) (50 คะแนน)      40 ข้อ
    1) โฆษณา (Advertisement) จำนวน 2 บทความ
         – จำนวนข้อคำถาม 3 ข้อ/บทความ รวม 6 ข้อ
         – ระดับข้อสอบ (ง่าย 2 ข้อ / กลาง 2 ข้อ / ยาก 2 ข้อ)
    2) บทวิจารณ์สินค้าหรือบริการ (Product or service review) จำนวน 1 บทความ
         – จำนวนข้อคำถาม 6 ข้อ/บทความ รวม 6 ข้อ
         – ระดับข้อสอบ (ง่าย 1 ข้อ / กลาง 4 ข้อ / ยาก 1 ข้อ)
    3) รายงานข่าว (News report) จำนวน 1 บทความ
         – จำนวนข้อคำถาม 6 ข้อ/บทความ รวม 6 ข้อ
         – ระดับข้อสอบ (ง่าย 1 ข้อ / กลาง 4 ข้อ / ยาก 1 ข้อ)
    4) ภาพประกอบบทความ (Visual) เช่น กราฟ ตาราง แผนผัง หรือ แผนภูมิ จำนวน 2 เรื่อง
         – จำนวนข้อคำถาม 3 ข้อ/เรื่อง รวม 6 ข้อ
         – ระดับข้อสอบ (ง่าย 2 ข้อ / กลาง 2 ข้อ / ยาก 2 ข้อ)
    5) บทความทั่วไป ที่มีจำนวนคำประมา ณ 500–600 คำ หรือ 1 หน้ากระดาษ A4 จำนวน 2 บทความ
         – จำนวนข้อคำถาม 8 ข้อ/เรื่อง รวม 16 ข้อ
         – ระดับข้อสอบ (ง่าย 3 ข้อ / กลาง 10 ข้อ / ยาก 3 ข้อ)
  • ทักษะการเขียน (Writing Skill) (25 คะแนน)      20 ข้อ
    1) เติมบทความให้สมบูรณ์ (Text completion) จำนวน 3 บทความ
         – จำนวนข้อคำถาม 5 ข้อ/บทความ รวม 15 ข้อ
         – ระดับข้อสอบ (ง่าย 2 ข้อ / กลาง 11 ข้อ / ยาก 2 ข้อ)
    2) เรียงประโยคให้เป็นย่อหน้าที่สมบูรณ์ (Paragraph organization) จำนวน 5 ย่อหน้า
         – จำนวนข้อคำถาม 5 ย่อหน้า รวม 5 ข้อ
         – ระดับข้อสอบ (ง่าย 1 ข้อ / กลาง 3 ข้อ / ยาก 1 ข้อ)

บทสรุป

เป็นยังไงกันบ้างครับสำหรับ Exam Blueprint ของข้อสอบ TCAS A-Level ENGLISH ที่กำลังจะมาถึง น้อง ๆ ที่ได้อ่านบทความนี้ไปพี่ Panya Society หวังว่าน้อง ๆ คงจะได้แนวทางในการเตรียมตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของข้อสอบที่จะเกิดขึ้นในปีนี้กันแล้ว ซึ่งถ้าหากหลังจากนี้ทาง ทปอ. มีการ Update Exam Blueprint วิชาอื่น ๆ พี่ Panya Society ก็จะรีบนำมา Update และวิเคราะห์ให้น้อง ๆ เพิ่มเติมอย่างแน่นอน ขอให้น้อง ๆ ติดตามเพจ Panya Society กันไว้ได้เลย 🙂

และจาก Exam Blueprint ของวิชาภาษาอังกฤษ น้อง ๆ คงเห็นแล้วว่าเนื้อหากว่าครึ่งเป็นเนื้อหาของช่วงระดับชั้น ม.4 ถึง ม.5 ทำให้น้อง ๆ ม.6 ที่กำลังจะเตรียมสอบ TCAS อาจจะมีการหลงลืมเนื้อหาไปบ้างแล้ว รวมไปถึงใครที่ต้องการปูพื้นฐานสำหรับวิชาภาษาอังกฤษในระดับชั้นมัธยมปลายทั้ง 6 เทอม
พี่ Panya Society จึงขอแนะนำคอร์ส “PACK TCAS ENGLISH (73 ชม.)” เพื่อให้น้อง ๆ ทุกคนที่สนใจในการปูพื้นฐานสำหรับติวสอบ A-Level โดย พี่ตวง จะมาช่วยน้อง ๆ ทุกคนทบทวนเนื้อหา รวมถึงฝึกทำโจทย์ต่าง ๆ เพื่อให้น้อง ๆ ทุกคนพร้อมสำหรับการสอบ A-Level ที่จะมาถึง

ส่วนน้อง ๆ คนไหนที่ต้องการเตรียมตัวสอบ TCAS วิชาอื่น ๆ พี่ Panya Society ก็ยังมีคอร์ส TCAS ทั้ง 6 วิชาจาก PANYA SOCIETY” ซึ่งเป็นคอร์ส เตรียมตัวสอบ TCAS ฉบับสมบูรณ์แบบที่ Update ล่าสุด ได้ทั้งทบทวนเนื้อหา ม.4-5-6 ไปพร้อมกับเก็งข้อสอบแนวรูปแบบใหม่ ฝึกทำข้อสอบเพียบ ทบทวนเต็มที่ เก็งข้อสอบแม่นยำ พร้อมทำโจทย์แนวใหม่ ไม่ตกเทรนด์ พร้อมกับโค้ชผู้ช่วยส่วนตัวที่ถาม-ตอบได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ไร้กังวล ติวกับ PANYA SOCIETY ข้อสอบ TCAS จะเปลี่ยนไปแค่ไหน พี่ ๆ จะตามติดพัฒนาคอร์สไปพร้อมกับ Exam Blueprint ใหม่ล่าสุด ไม่พลาดแน่นอน!!!

VDO ตัวอย่างการสอน

ทำความรู้จักพี่ตวง

ตวงรัตน์ แสงโชติ

  • ติวเตอร์ภาษาอังกฤษประสบการณ์สอนกว่า 10 ปี
  • กำลังศึกษาปริญญาโท คณะศิลปศาสตร์ สาขาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ปริญญาตรี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง)
  • พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน สายการบินนานาชาติกว่า 6 ปี

เรียนสนุก ทำโจทย์คล่อง สอบให้ติด โดย PANYA Society

: คอร์สแนะนำ :

SHARE:

คอร์สติวติดค่าย สอวน. ฟิสิกส์ By พี่แชร์

คอร์สติว สอวน. ฟิสิกส์

📚 คอร์สติวติดค่าย สอวน.

คอร์สเดียวติวครบทุกประเด็น เพื่อใช้ในการสอบติดค่าย สอวน. เรียนจบ ครบ พร้อมสอบเข้าค่ายทันที

🎓 ปูทางสู่คณะในฝัน

สะสมผลงาน เพื่อสร้าง Portfolio ให้แข็งแกร่ง และสร้างโอกาสสอบติดมหาวิทยาลัยในอนาคต!

🥇 เรียนรู้เทคนิคจากจากกูรูตัวจริง

ครบครันทั้งเนื้อหา แนวโจทย์ และเทคนิค เพื่อสร้างความรู้ฟิสิกส์ในเชิงลึก จากเหรียญทองฟิสิกส์โอลิมปิกตัวจริง

เรียนรู้เทคนิคจาก

เหรียญทองฟิสิกส์โอลิมปิก !!!

🥇พี่แชร์

สุปิติ บูรณวัฒนาโชค

เข้ม คุ้ม ครบ เรียนจบพร้อมสอบ !!!

สุปิติ บูรณวัฒนาโชค (อ.แชร์)

เหรียญทองฟิสิกส์โอลิมปิก

คอร์สเรียนออนไลน์ติวติดค่าย สอวน. ฟิสิกส์
สอนโดย พี่แชร์ กูรูฟิสิกส์ตัวจริง สอนครอบคลุมเนื้อหาทุกประเด็น แนวโจทย์หลาก
หลาย พร้อมแนะเทคนิคจากอดีตเหรียญทองฟิสิกส์โอลิมปิก

คอร์สเรียนออนไลน์ติวติดค่าย สอวน. ฟิสิกส์ สอนโดย พี่แชร์ กูรูฟิสิกส์ตัวจริง สอนครอบคลุมเนื้อหาทุกประเด็น แนวโจทย์หลากหลาย พร้อมแนะเทคนิคจากอดีตเหรียญทองฟิสิกส์โอลิมปิก

เพียง 2,490 บาท

คอร์สติวติดค่าย สอวน. ฟิสิกส์

โดย.. พี่แชร์ อดีตเหรียญทองฟิสิกส์โอลิมปิก

เข้ม คุ้ม ครบ จบพร้อมสอบ

เข้ม.. ทุกเนื้อหา แบบจัดเต็ม
คุ้ม.. ทุกเทคนิค จากกูรูตัวจริง
ครบ.. ทุกแนวโจทย์ พร้อมแนวทางวิเคราะห์
จบ.. คอร์สพร้อมสอบติดค่าย สอวน.

พิชิตค่าย สอวน. ให้ถูกทาง ด้วยคอร์สเรียนออนไลน์ สำหรับสอบเข้าค่าย สอวน. ฟิสิกส์ สอนโดย พี่แชร์ อดีตเหรียญทองฟิสิกส์โอลิมปิก เจาะลึกเนื้อหาครบทุกประเด็น หลากหลายแนวโจทย์ พร้อมแนะแนวคิด เทคนิคการวิเคราะห์ขั้นเทพจากกูรูสายสอบแข่งขันตัวจริง พร้อมอัปเดทข้อสอบล่าสุด เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมสู่การสอบติดค่าย สอวน. ในคอร์สเดียว

บทเรียนทั้งหมด
  • กฎการเคลื่อนที่
  • แรง
  • การเคลื่อนที่แบบวงกลม
  • การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์
  • การเคลื่อนที่แนวตรง
  • การเคลื่อนที่แนวระดับด้วยความเร็วคงที่
  • การเคลื่อนที่แนวระดับด้วยความเร่งคงที่
  • การเคลื่อนที่แนวดิ่ง
  • กฎข้อที่ 1 : ความเฉื่อย
  • กฎข้อที่ 2 : แรงและความเร่ง
  • กฎข้อที่ 3 : แรงกิริยา
  • การประยุกต์ของกฎการเคลื่อนที่
  • การหาแรงลัพธ์
  • แรงโน้มถ่วงและแรงดึงดูด
  • แรงตั้งฉากและแรงตึง
  • แรงเสียดทาน
  • แรงสปริงและกฎของฮุก
  • การวิเคราะห์การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์
  • กรณีความเร็วต้นในแนวดิ่งเป็นศูนย์
  • กรณีความเร็วต้นในแนวดิ่งไม่เป็นศูนย์
  • กรณีขึ้นลงในแนวระดับเดียวกัน
  • ปริมาณเชิงมุม
  • แรงสู่ศูนย์กลาง
  • การเคลื่อนที่บนทางโค้ง
  • งาน
  • กำลัง
  • พลังงานจลน์และพลังงานศักย์
  • กฎการอนุรักษ์พลังงาน
  • โมเมนตัมและแรงดล
  • กฎการอนุรักษ์โมเมนตัม
  • การชนแบบยืดหยุ่น
  • การชนแบบไม่ยืดหยุ่น
  • การวิเคราะห์การเคลื่อนที่แบบหมุน
  • ทอร์กและโมเมนต์ความเฉื่อย
  • งานและพลังงานของการหมุน
  • โมเมนตัมเชิงมุม
  • การกลิ้งโดยไม่ไถล
  • สมดุลต่อการเลื่อนที่
  • สมดุลต่อการหมุน
  • สมดุลของวัตถุ
  • การล้มของวัตถุ
  • กฎการสะท้อนและกระจกเงาราบ
  • กระจกเงาเว้าและกระจกเงานูน
  • กฎการหักเหและกฎของสเนลล์
  • เลนส์เว้าและเลนส์นูน
  • การประยุกต์เกี่ยวกับแสง
  • ประจุไฟฟ้าและกฎการอนุรักษ์ประจุไฟฟ้า
  • แรงระหว่างประจุและกฎของคูลอมบ์
  • สนามไฟฟ้า
  • ศักย์ไฟฟ้า
  • ตัวเก็บประจุ
  • กระแสไฟฟ้า
  • ความต้านทานและกฎของโอห์ม
  • แรงเคลื่อนไฟฟ้า
  • กำลังไฟฟ้า
  • การต่อตัวต้านทาน
  • การต่อตัวเก็บประจุ
  • การต่อแบตเตอรี
  • หลักเกณฑ์เคิร์ชฮอฟฟ์
  • ความดันและกฎของพาสคาล
  • แรงพยุงและหลักของอาร์คิมีดีส
  • แรงตึงผิวและแรงหนืด
  • สมการความต่อเนื่องและสมการแบร์นูลลี
  • ความร้อนและอุณหภูมิ
  • ความจุความร้อนและการเปลี่ยนสถานะ
  • การขยายตัวตามความร้อน
  • กฎของบอยล์ กฎของชาลส์ และกฎของแก๊สอุดมคติ
  • อัตราเร็วเฉลี่ยของโมเลกุลแก๊ส
  • พลังงานจลน์เฉลี่ยของโมเลกุลแก๊ส
  • งานและพลังงานภายในระบบ
  • ตะลุยโจทย์ สอวน. ชุดที่ 1 
  • ตะลุยโจทย์ สอวน. ชุดที่ 2
  • ตะลุยโจทย์ สอวน. ปี 65
  • ตะลุยโจทย์ สอวน. ปี 64
  • ตะลุยโจทย์ สอวน. ปี 63

📝สิ่งที่จะได้รับ📚

☑️ คอร์สเรียนออนไลน์ สำหรับสอบเข้าค่าย สอวน. ฟิสิกส์ สอนโดย พี่แชร์ อดีตเหรียญทองฟิสิกส์โอลิมปิก
☑️ ติวเข้มเนื้อหาแบบเจาะลึก สามารถนำไปต่อยอดได้
☑️ Focus จุดสำคัญที่ควรรู้ จากแนวข้อสอบจริง
☑️ แนะนำจุดที่อาจผิดบ่อย ที่นักเรียนต้องระวัง
☑️ ตะลุยโจทย์หลากหลาย เพื่อฝึกรับมือกับข้อสอบ
☑️ สอนแนวคิด เทคนิควิเคราะห์ต่าง ๆ จากกูรูตัวจริง
☑️ Update ข้อสอบปีล่าสุด 63 – 65
☑️ หนังสือประกอบบทเรียน ส่งถึงบ้านฟรี
☑️ สุดคุ้มค่า เรียนไม่จำกัดชั่วโมงตลอด 1 ปี
☑️ ระบบโค้ชผู้ช่วยส่วนตัว ถาม-ตอบทันใจใน 24 ชั่วโมง

 

"สอบติดเหมือนกัน !!!"

ค่าย สอวน. คืออะไร ?

ค่าย สอวน. คือ ค่ายอบรมวิชาการที่จัดขึ้นโดย มูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เพื่อคัดเลือกนักเรียนที่มีความสนใจในด้านวิชาการ เข้ารับการอบรมทางวิชาการใน ค่าย 1 และค่าย 2 โดยค่ายจะมีการแบ่งออกเป็นศูนย์ต่างๆทั่วประเทศ เมื่อนักเรียนสอบผ่านค่าย 1 และ 2 แล้ว จะได้สอบแข่งขันโอลิมปิกวิชาการระดับชาติ (TMO) กับผู้แทนจากศูนย์ต่างๆ ทั่วประเทศ เมื่อผ่านการคัดเลือกก็จะได้เข้าไปอบรมวิชาการต่อในค่าย สสวท. และทำการคัดผู้แทนไปแข่งขันโอลิมปิกวิชาการระหว่างประเทศต่อไป

ค่ายสอวน. มีวิชาอะไรบ้าง ?
ค่ายสอวน. มีวิชา ให้เลือก 7 วิชา ได้แก่ คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ภูมิศาสตร์ ซึ่งนักเรียนสามารถเลือกสอบได้ตามความสนใจ

สอบติดค่ายสอวน. ได้อะไร ?
   1. โอกาสสู่การเป็นตัวแทนประเทศไทยลงแข่งขันโอลิมปิกวิชาการระหว่างประเทศ
   2. ได้รับความรู้ด้านวิทยาศาสตร์อย่างลึกซึ้ง สามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปพัฒนาต่อยอดได้
   3. ได้รับสิทธิในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยในเกณฑ์โควตาค่ายสอวน. จากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ

เปิดไทม์ไลน์สอบค่ายสอวน.

Panya Society "ให้มากกว่า"

อายุคอร์ส 12 เดือน
เตรียมตัวได้ยาว

ทบทวนซ้ำได้
ไม่จำกัดชั่วโมง

หนังสือเรียน
ส่งถึงบ้านฟรี

บริการตอบคำถาม
ใน 24 ชั่วโมง

📝คอร์สเรียนแนะนำ📚

มาติวกันเลยกับ อาจารย์ระดับเทพ

SHARE:

อยากเรียนวิศวะ สอบอะไรบ้าง TCAS เตรียมตัวสอบวิศวะอย่างไรดี

PANYA SOCIETY

อยากเรียนวิศวะ สอบอะไรบ้าง TCAS เตรียมตัวสอบวิศวะอย่างไรดี

เส้นทางสู่คณะวิศวะกรรมศาสตร์

สวัสดีครับน้อง ๆ ทุกคน วันนี้พี่ Panya Society กลับมาอีกครั้งพร้อมบทความที่เกี่ยวกับ TCASนะครับ หลังจากที่เราค้นหาตัวตนเจอแล้วว่าอยากเข้าคณะอะไร สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจจะเรียนวิศวะฯ วันนี้พี่ Panya Society จะมาแนะนำวิธีเตรียมตัวสอบวิศวะฯ เพื่อช่วยน้อง ๆ ได้รู้ว่าจะเข้าเรียนวิศวะต้องสอบอะไรบ้าง ทำให้สอบติดวิศวะฯ ได้ง่ายขึ้น ถ้าพร้อมแล้ว เริ่ม!!!

อยากเข้าวิศวะต้องสอบอะไรบ้าง

วิชาที่ต้องสอบ

สำหรับน้อง ๆ ที่ต้องการเรียนวิศวะฯ วิชาหลัก ๆ ที่ต้องใช้สมัครเข้าเรียนวิศวะฯ แทบทุกสาขา ทุกมหาวิทยาลัย มีดังนี้

1. TPAT3
   ● เป็นการสอบที่สำคัญที่สุด สำหรับน้องที่จะเข้าเรียนวิศวะฯ เพราะใช้ยื่นสมัครวิศวะฯ ทุกสาขา และมีเกณฑ์คิดคะแนนสูง

2. TGAT
   ● เป็นการสอบที่สำคัญเช่นกัน นอกจากจะใช้ยื่นสมัครวิศวะฯ แทบทุกสาขา ยังใช้ยื่นสมัครคณะอื่น ๆ ได้อีกด้วย และมีเกณฑ์คิดคะแนนสูงด้วยเช่นกัน

3. A – Level ฟิสิกส์
วิชาฟิสิกส์ ถือเป็นวิชาหลักในการเรียนวิศวะฯ แทบทุกสาขา สำหรับคะแนน A – Level ฟิสิกส์ ก็ต้องใช้ยื่นสมัครวิศวะฯ แทบทุกสาขาเช่นกัน และก็มีเกณฑ์คิดคะแนนสูงด้วย

4. A – Level คณิตศาสตร์ 1
   ● การเรียนวิศวะฯ จำเป็นที่จะต้องมีทักษะการคำนวณที่ดีมาก ทำให้คะแนน A – Level คณิตศาสตร์ 1 ถูกนำมาคิดเป็นเกณฑ์ในการสมัครเรียนวิศวะฯ แทบทุกสาขาเช่นกัน

วิชาที่อาจต้องใช้

สำหรับน้อง ๆ ที่ต้องการเรียนวิศวะฯ ในสาขาที่มีความเฉพาะทางสูง หรือยังตัดสินใจเลือกสาขาที่สนใจไม่ได้ ก็จะมีข้อสอบบางวิชาที่อาจต้องใช้ในการยืนสมัครเข้าเรียนวิศวะฯ ดังนี้

1. A – Level เคมี
   ● สำหรับการเรียนวิศวะฯ บางสาขา จำเป็นที่จะต้องใช้ความรู้ในวิชาเคมีค่อนข้างมาก คะแนน A – Level เคมี จึงถูกนำมาใช้ยื่นสมัครเรียนวิศวะฯ บางสาขา และยังอาจมีเกณฑ์ค่อนข้างสูงอีกด้วย

2. A – Level ภาษาอังกฤษ
   ● สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจจะเข้าเรียนวิศวะฯ ในหลักสูตรนานาชาติ มักจะต้องใช้คะแนน A – Level อังกฤษ ในการยื่นสมัครเรียนด้วยเช่นกัน

วางแผนเตรียมตัวให้สอบติด

แผนการอ่าน TPAT3/TGAT

1. TPAT3
   ●
สอบช่วงเดือนธันวาคม
   ● ควรเริ่มอ่านตั้งแต่เดือน กรกฎาคม เพื่อให้พร้อมสอบมากที่สุด

2. TGAT1 ภาษาอังกฤษ
   ● สอบช่วงเดือนธันวาคม
   ●
ควรเริ่มอ่านตั้งแต่เดือน กรกฎาคม เช่นกัน และเป็นการอ่าน A – Level ภาษาอังกฤษไปด้วย

แผนการอ่าน A – Level

3. A – Level ฟิสิกส์
   ● สอบช่วงเดือนมีนาคม
   ●
ควรเริ่มอ่านช่วงปิดเทอมก่อนขึ้น ม.6 ตั้งแต่ปิดเทอม Summer เพื่อให้พร้อมสอบมากที่สุด
   ● แนะนำให้อ่านบทที่ออกสอบ TPAT3 ก่อน เพื่อจะได้ช่วยให้ทำข้อสอบ TPAT3 ได้ง่ายขึ้น ได้แก่
        – การเคลื่อนที่แนวตรง
        – แรงและกฎการเคลื่อนที่
        – สมดุลกล
        – งานและพลังงาน
        – โมเมนตัมและการชน
        – การเคลื่อนที่แนวโค้ง
        – ไฟฟ้ากระแส
        – แม่เหล็กและไฟฟ้า
        – ความร้อนและแก๊ส
        – ของแข็งและของไหล
   ●
และเนื่องจากฟิสิกส์เป็นวิชาที่มีการคำนวณ จึงควรจบเนื้อหาภายในเดือน ธันวาคมแล้วหลังจากนั้นควรต้องฝึกทำโจทย์ให้ได้มากที่สุด

4. A – Level คณิตศาสตร์ 1
   ● สอบช่วงเดือนมีนาคม
   ●
ควรเริ่มอ่านตั้งแต่ช่วงปิดเทอมก่อนขึ้น ม.6 เช่นกัน เพื่อให้พร้อมสอบมากที่สุด
   ● อ่านบทที่ออกสอบ TPAT3 ก่อน เพื่อจะได้ช่วยให้ทำข้อสอบ TPAT3 ได้ง่ายขึ้น ได้แก่
        – จำนวนจริง
        – ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน
        – ฟังก์ชันตรีโกณมิติ
        – ลำดับและอนุกรม
   ● และคณิตศาสตร์ก็เป็นวิชาที่เน้นการคำนวณ จึงควรจบเนื้อหาภายในเดือน ธันวาคม และควรต้องฝึกทำโจทย์ให้ได้มากที่สุดเช่นกัน

5. A – Level เคมี
   ● สอบช่วงเดือนมีนาคม
   ●
ควรเริ่มอ่านตั้งแต่ช่วงปิดเทอมก่อนขึ้น ม.6 เพื่อให้พร้อมสอบมากที่สุด
   ● วิชาเคมีก็เป็นวิชาที่มีการคำนวณ จึงควรจบเนื้อหาภายในเดือน ธันวาคม และควรต้องฝึกทำโจทย์อีกเช่นกัน

6. A – Level ภาษาอังกฤษ
   ● สอบช่วงเดือนมีนาคม 
   ●
สามารถอ่านเตรียมสอบไปพร้อม ๆ กับ TGAT1 ได้เลย
   ● และหลังสอบ TGAT1 แล้ว ก็ยังสามารถกลับมาทบทวนอีกครั้ง เพื่อให้พร้อมสอบ A – Level มากขึ้นอีก

คอร์สแนะนำสอบติดวิศวะ

หลังจากน้อง ๆ ได้รู้แล้วว่าจะเรียนวิศวะฯ ต้องสอบอะไรบ้าง สำหรับ TCAS นี้ หวังว่าจะช่วยให้น้อง ๆ วางแผนอ่านหนังสือได้ง่ายขึ้น และบอกเลยว่าคณะวิศวกรรมศา่สตร์ ต้องใช้คะแนนสอบค่อนข้างสูง น้อง ๆ ทุกคนควรจะรีบเตรียมตัวตั้งแต่วันนี้ ดังนั้น พี่ PANYA ขอแนะนำคอร์สที่จะช่วยให้น้อง ๆ สอบติดวิศวะฯ ตามแผนที่วางไว้ ดังนี้

1. คอร์ส TPAT3 ความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์    
    ติวเข้มเนื้อหาเตรียมสอบ TPAT3 ติวสอบวิศวะ ที่โรงเรียนไม่เคยสอน กระชับ ตรงประเด็น 

2. คอร์ส PACK TCAS ENGLISH (TGAT Eng + A-Level Eng)
    ติวเข้มภาษาอังกฤษครบที่สุด เพิ่มคะแนน TCAS ภาษาอังกฤษ ทั้ง TGAT และ A-Level

3. คอร์สฟิสิกส์ A-Level TCAS
   ● ติวเข้มพิชิต ฟิสิกส์ A-Level TCAS ที่คุ้มค่าที่สุด อัพเดทล่าสุด กระชับ ตรงประเด็น

4. คอร์สฟิสิกส์ TCAS ติดอาวุธลับ UpScore
    ตะลุยโจทย์ข้อสอบฟิสิกส์ A-Level สรุปสูตรที่ใช้สอบ พร้อมเทคนิคเพิ่มคะแนนให้ได้มากที่สุด

5. คอร์ส Pack คณิตศาสตร์ A-Level (เลขหลัก (พื้นฐาน) + เลขเสริม (เพิ่มเติม))
   
ติวเข้มเนื้อหาคณิตศาสตร์ ม.ปลาย เสกโจทย์ยากให้ง่าย เพิ่มคะแนนสอบ A-Level คณิตศาสตร์ 

6. คอร์สคณิตศาสตร์ TCAS ติดอาวุธลับ UpScore
   ตะลุยโจทย์ข้อสอบคณิตศาสตร์ A-Level สอนเนื้อๆ เน้นๆ พร้อมเทคนิคเพิ่มคะแนนในเวลาจำกัด

7. คอร์สเคมี A-Level TCAS
   
ติวเข้มเคมี A-Level เนื้อหาเน้น ๆ เจาะลึกพร้อมเคล็ดลับการทำโจทย์ที่หาจากที่ไหนไม่ได้

8. คอร์สเคมี TCAS ติดอาวุธลับ UpScore
   
ตะลุยโจทย์คมี A-Level เน้นจุดออกสอบบ่อย จุดผิดบ่อย พร้อมเทคนิคเพิ่มคะแนนในห้องสอบ

คอร์สทั้งหมดที่พี่ PANYA นำมาแนะนำ เป็นคอร์ส เตรียมตัวสอบ TCAS ฉบับสมบูรณ์แบบ ที่ Update ล่าสุด ได้ทั้งทบทวนเนื้อหา ม.4-5-6 ไปพร้อมกับเก็งข้อสอบแนวรูปแบบใหม่ ฝึกทำข้อสอบเพียบ ทบทวนเต็มที่ เก็งข้อสอบแม่นยำ พร้อมทำโจทย์แนวใหม่ ไม่ตกเทรนด์ พร้อมกับโค้ชผู้ช่วยส่วนตัวที่ถาม-ตอบได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ไร้กังวล ติวกับ PANYA SOCIETY ข้อสอบ TCAS จะเปลี่ยนไปแค่ไหน พี่ ๆ จะตามติดพัฒนาคอร์สไปพร้อมกับ Test Blueprint ใหม่ล่าสุด ไม่พลาดแน่นอน!!!

🔥ติวเตอร์คนเก่ง🔥

วิศวะ มีกี่สาขาอะไรบ้าง?

แผนการอ่านคณิต

เรียนสนุก ทำโจทย์คล่อง สอบให้ติด

: คอร์สแนะนำ :

SHARE:

วิศวะ มีกี่สาขาอะไรบ้าง TCAS เลือกเรียนวิศวะอะไรดี

PANYA SOCIETY

วิศวะ มีกี่สาขาอะไรบ้าง TCAS เลือกเรียนวิศวะอะไรดี

วิศวะ มีกี่สาขาอะไรบ้าง

เรียนวิศวกรรมอะไรดี

สวัสดีครับน้อง ๆ ทุกคน วันนี้พี่ Panya Society กลับมาอีกครั้งพร้อมบทความที่เกี่ยวกับ TCAS นะครับ หลังจากที่เราค้นหาตัวตนเจอแล้วว่าอยากเข้าคณะอะไร สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจจะเข้าคณะวิศวกรรมศาสตร์ แต่ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะเข้าเรียนวิศวะอะไรดี วันนี้พี่ Panya Society จะมาแนะนำ 10 สาขาที่น่าสนใจของวิศวกรรม เพื่อช่วยน้อง ๆ ตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าจะเข้าเรียนวิศวะสาขาไหนดี ขอบอกเลยว่า น้องที่กำลังเตรียมสอบเข้าวิศวะทุกคน จำเป็นต้องเลือกสาขาให้ดี เพราะมีผลต่อการเรียนต่อไป และยังมีผลในการเตรียมอ่านหนังสืออีกด้วย เพราะแต่ละสาขาจะมีการเตรียมตัวอ่านหนังสือต่างกัน ถ้าพร้อมแล้ว เริ่ม!!!

วิศวกรรมคอมพิวเตอร์

เป็นสาขาที่เกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และระบบเครือข่ายต่าง ๆ รวมไปถึงระบบข้อมูลอีกด้วย

ลักษณะงาน :

  • ออกแบบระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมดในสถานประกอบการ
  • บำรุงรักษาระบบคอมพิวเตอร์ โปรแกรมระบบทั้งหมดภายในสถานประกอบการ
  • เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ให้ใช้งานได้ตามเป้าหมาย
  • การออกแบบและพัฒนาระบบเครือข่าย

วิชาหลักที่ต้องใช้ :

วิศวกรรมไฟฟ้า

เป็นสาขาที่เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า อุปกร์ณ์ทางไฟฟ้า อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ และวงจรไฟฟ้าต่าง ๆ มาใช้ในการออกแบบและการวิเคราะห์ระบบไฟฟ้า

ลักษณะงาน :

  • ระบบออกแบบระบบไฟฟ้าทั้งหมดในสถานประกอบการ
  • ติดตั้ง และปรับปรุงระบบวงจรไฟฟ้าภายในอาคาร
  • ตรวจสอบคุณภาพ ความปลอดภัย และซ่อมบำรุงระบบไฟฟ้า
  • ออกแบบชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า
  • ออกแบบหรือทดสอบระบบควบคุมในเครื่องใช้ไฟฟ้า

วิชาหลักที่ต้องใช้ :

วิศวกรรมอุตสาหการ

เป็นสาขาที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการ การออกแบบอุตสาหกรรมและกระบวนการผลิตต่าง ๆ รวมไปถึงการควบคุมเครื่องจักรกลในกระบวนการผลิต

ลักษณะงาน :

  • ออกแบบระบบไฟฟ้าทั้งหมดในสถานประกอบการ
  • ออกแบบและการวางผังอาคารโรงงาน วางผังติดตั้งเครื่องจักร ออกแบบอุปกรณ์ขนย้ายวัตถุ
  • ควบคุมระบบคลังสินค้า
  • สำรวจที่ตั้งโรงงาน และแหล่งวัตถุดิบ

วิชาหลักที่ต้องใช้ :

วิศวกรรมโลจิสติกส์

เป็นสาขาที่เกี่ยวกับการออกแบบและควบคุมการขนส่ง การจัดเก็บ เคลื่อนย้ายสินค้า เพื่อลดต้นทุนการผลิต และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

ลักษณะงาน :

  • ออกแบบระบบขนส่ง
  • ติดตั้ง และปรับปรุงระบบวงจรไฟฟ้าภายในอาคาร
  • ตรวจสอบคุณภาพ ความปลอดภัย และซ่อมบำรุงระบบไฟฟ้า
  • ออกแบบชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า
  • ออกแบบหรือทดสอบระบบควบคุมในเครื่องใช้ไฟฟ้า

วิชาหลักที่ต้องใช้ :

วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

เป็นสาขาที่เกี่ยวกับการปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ให้มีสุขภาพที่ดี เพื่อช่วยอนุรักษ์พลังงาน และควบคุมการผลิตของเสีย

ลักษณะงาน :

  • ออกแบบระบบการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม
  • ควบคุมระบบจัดการมลพิษในโรงงาน
  • ตรวจประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากโรงงานต่าง ๆ
  • คิดค้นผลิตภัณฑ์รักษ์โลก
  • เป็นที่ปรึกษาด้านการจัดการมลพิษและการดูแลสิ่งแวดล้อม

วิชาหลักที่ต้องใช้ :

วิศวกรรมวัสดุ

เป็นสาขาที่เกี่ยวกับสมบัติของวัสดุ กรรมวิธีการผลิต และการเลือกใช้วัสดุต่าง ๆ ในกรรมวิธีการผลิตอย่างเหมาะสม

ลักษณะงาน :

  • ออกแบบ และเลือกใช้วัสดุให้เหมาะสมกับงาน
  • สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ มาใช้ในกระบวนการผลิตสินค้า
  • ตรวจสอบคุณภาพของชิ้นส่วนในอุปกรณ์ต่าง ๆ
  • วิเคราะห์วัสดุในชิ้นส่วนอิเลคโทรนิกส์

วิชาหลักที่ต้องใช้ :

วิศวกรรมเครื่องกล

เป็นสาขาที่เกี่ยวกับการออกแบบและการวิเคราะห์เครื่องจักรกลต่าง ๆ และการควบคุมการผลิตเครื่องจักร

ลักษณะงาน :

  • ออกแบบอุปกรณ์เครื่องกลต่าง ๆ 
  • ติดตั้งและบำรุงรักษาเครื่องจักรกล
  • แก้ปัญหาการทำงานผิดปกติของเครื่องจักรกล
  • วิเคราะห์ประสิทธิภาพของอุปกรณ์เครื่องกล

วิชาหลักที่ต้องใช้ :

วิศวกรรมชีวการแพทย์

เป็นสาขาที่เกี่ยวกับการออกแบบ สร้าง หรือพัฒนาซอฟต์แวร์ อุปกรณ์ หรือเครื่องมือทางการแพทย์ ค้นคว้าเทคโนโลยีใหม่ ๆ นำมาใช้กับการแพทย์

ลักษณะงาน :

  • ออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์ เครื่องมือ และกระบวนการทางการแพทย์
  • ติดตั้ง บำรุงรักษา ซ่อมแซมอุปกรณ์ชีวการแพทย์
  • ประเมินความปลอดภัยและประสิทธิภาพของอุปกรณ์ทางการแพทย์

วิชาหลักที่ต้องใช้ :

วิศวกรรมโยธา

เป็นสาขาที่เกี่ยวกับการออกแบบ การก่อสร้าง และการบำรุงรักษาสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ รวมไปถึงการวิเคราะห์ทางธรณี

ลักษณะงาน :

  • วางแผน จัดระบบงาน และควบคุมงานสร้าง
  • พิจารณาโครงการ สำรวจหาสถานที่เหมาะสมสำหรับการก่อสร้าง
  • สำรวจผิวดินและใต้ดินว่าจะมีผลต่อการก่อสร้างอย่างไร
  • เตรียมแบบแปลนการก่อสร้าง ประมาณการวัสดุและงบประมาณการก่อสร้าง

วิชาหลักที่ต้องใช้ :

วิศวกรรมเคมี

เป็นสาขาที่เกี่ยวกับการออกแบบอุปกรณ์ และการควบคุมกระบวนการทำงานทางเคมี กระบวนการผลิตเคมีในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ 

ลักษณะงาน :

  • วิเคราะห์ วางแผน ออกแบบกระบวนการผลิตทางเคมี
  • ควบคุมความปลอดภัยในกระบวนการผลิตทางเคมี
  • ประเมินประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตทางเคมี

วิชาหลักที่ต้องใช้ :

พูดคุยหลังอ่าน

เป็นยังไงกันบ้างครับทุกคน หวังว่าพี่ ๆ Panya Society จะช่วยให้น้อง ๆ ได้ทำความรู้จักวิศวกรรมหลาย ๆ สาขา เพื่อช่วยให้น้อง ๆ ตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าจะเรียนวิศวะอะไรดี แต่พี่ ๆ ต้องขอบอกไว้ก่อนว่าน้อง ๆ จะต้องพิจารณาเลือกเรียนวิศวะจากปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วยครับ 

หลังจากน้อง ๆ เลือกได้แล้วว่าอยากเรียนวิศวะสาขาไหนแล้ว หวังว่าจะช่วยให้น้อง ๆ วางแผนอ่านหนังสือได้ง่ายขึ้น และบอกเลยว่าคณะวิศวกรรมศา่สตร์ ต้องใช้คะแนนสอบค่อนข้างสูง น้อง ๆ ทุกคนควรจะรีบเตรียมตัวตั้งแต่วันนี้ ดังนั้น พี่ PANYA ขอแนะนำคอร์ส “ติวสอบวิศวะ ฟิสิกส์ A-Level + TPAT3 โดยวิศวกรตัวจริง จาก PANYA SOCIETY” ซึ่งเป็นคอร์ส เตรียมตัวสอบ TCAS ฉบับสมบูรณ์แบบ ที่ Update ล่าสุด ได้ทั้งทบทวนเนื้อหา ม.4-5-6 ไปพร้อมกับเก็งข้อสอบแนวรูปแบบใหม่ ฝึกทำข้อสอบเพียบ ทบทวนเต็มที่ เก็งข้อสอบแม่นยำ พร้อมทำโจทย์แนวใหม่ ไม่ตกเทรนด์ พร้อมกับโค้ชผู้ช่วยส่วนตัวที่ถาม-ตอบได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ไร้กังวล ติวกับ PANYA SOCIETY ข้อสอบ TCAS จะเปลี่ยนไปแค่ไหน พี่ ๆ จะตามติดพัฒนาคอร์สไปพร้อมกับ Test Blueprint ใหม่ล่าสุด ไม่พลาดแน่นอน!!!

VDO ตัวอย่างการสอน

ฟิสิกส์ TPAT3

19 Videos

ฟิสิกส์ A-Level

30 Videos

🔥ติวเตอร์คนเก่ง🔥

ถนัดวิชาไหน?

อยากเรียนวิศวะ สอบอะไรบ้าง?

เรียนสนุก ทำโจทย์คล่อง สอบให้ติด

: คอร์สแนะนำ :

SHARE:

วางแผนอ่านหนังสือ TCAS68 วิชาเคมีเน้นบทไหนดี #DEK68

PANYA SOCIETY

วางแผนอ่านหนังสือ TCAS68 วิชาเคมีเน้นบทไหนดี #DEK68

วางแผนอ่านหนังสือวิชาเคมี

สวัสดีครับน้อง ๆ #Dek68 ทุกคน วันนี้พี่ Panya Society กลับมาอีกครั้งพร้อมบทความที่เกี่ยวกับ TCAS68 นะครับ หลังจากที่เราคนหาตัวตนเจอแล้วว่าอยากเข้าคณะอะไร เราก็จะมาวางแผนอ่านหนังสือ TCAS68 กันต่อเลย วันนี้พี่ Panya Society จะมาแนะนำแผนการอ่านหนังสือวิชาเคมี เพื่อช่วยน้อง ๆ #Dek68 อ่านหนังสือได้ดีขึ้น ขอบอกเลยว่า #Dek68 ที่กำลังเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัยทุกคน จำเป็นวางแผนอ่านหนังสือให้ดี เพื่อให้ไม่รู้สึกว่าอ่านหนักเกินไป และพร้อมสอบมากยิ่งขึ้น ถ้าพร้อมแล้ว เริ่ม!!!

สถิติออกสอบ A - Level เคมี

ในการวางแผนอ่านหนังสือนั้น เราควรจะต้องรู้ว่าควรจะเน้นไปที่บทไหน วันนี้พี่ Panya Society จึงจะพาน้อง ๆ #Dek68 มาดูสถิติออกสอบ A – Level เคมี ปี 66 ว่าบทไหนออกเยอะหรือออกน้อยบ้าง เพื่อเป็นแนวทางในการเตรียมสอบ TCAS68 ดังนี้ 

บทที่ออก 4 – 5 ข้อ ควรเน้นมาก ๆ คือ

  • กรด – เบส
  • เคมีไฟฟ้า
  • เคมีอินทรีย์

บทที่ออก 2 – 3 ข้อ ควรเน้นปานกลาง คือ

  • อะตอมและตารางธาตุ
  • พันธะเคมี
  • สมการเคมี
  • แก๊ส
  • อัตราการเกิดปฏิกิริยา
  • สมดุลเคมี
  • พอลิเมอร์

บทที่ออก 1 ข้อ ควรเน้นไม่มาก คือ

  • ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ
  • สารละลาย
  • ปริมาณสารสัมพันธ์

มาถึงตรงนี้ น้อง ๆ #Dek68 คงจะเห็นแล้วว่า บทไหนควรเน้นหรือไม่ควรเน้น แต่พี่ Panya Society ขอเตือนไว้ก่อนเลยว่า ถึงบางบทจะออกน้อย แต่ก็เป็นพื้นฐานในการนำไปใช้ต่อในบทอื่น ๆ ดังนั้น ถ้าเป็นไปได้ก็ควรเก็บเนื้อหาให้ได้ครบทุกบทนะครับ

คำนวณเวลาที่ต้องใช้อ่านทั้งหมด

ก่อนที่เราเริ่มอ่าน เรามาดูกันก่อนว่า วิชาเคมี มีเนื้อหาอะไรบ้าง และแต่ละบทจะต้องใช้เวลาอ่านมากหรือน้อยอย่างไร เพื่อจะได้วางแผนการอ่านได้ง่ายขึ้น

บทที่ 1 : ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ

จะเรียนเกี่ยวกับทักษะเบื้องต้นในห้องปฏิบัติการเคมี การอ่านป้ายและสัญลักษณ์ การใช้เครื่องมือวัดต่าง ๆ และการแปลงหน่วย

พื้นฐานบทอื่นที่ต้องมี :  ไม่ต้องมีพื้นฐานบทอื่น

เวลาที่ควรใช้อ่าน : ประมาณ 2 ชั่วโมง

บทที่ 2 : อะตอมและตารางธาตุ

จะเรียนเกี่ยวกับลักษณะของอะตอม สัญลักษณ์นิวเคลียร์ การจัดเรียงอิเล็กตรอน และการอ่านตารางธาตุ ซึ่งเป็นพื้นฐานในการเรียนบทอื่น ๆ อีกหลายบท

พื้นฐานบทอื่นที่ต้องมี :  ไม่ต้องมีพื้นฐานบทอื่น

เวลาที่ควรใช้อ่าน : ประมาณ 10 ชั่วโมง

บทที่ 3 : พันธะเคมี

จะเรียนเกี่ยวกับการเกิดพันธะเคมีต่าง ๆ การเขียนสูตร และชื่อของสารประกอบ คำนวณพลังงานพันธะ และสมบัติของสารประกอบต่าง ๆ 

พื้นฐานบทอื่นที่ต้องมี : อะตอมและตารางธาตุ

เวลาที่ควรใช้อ่าน : ประมาณ 10 ชั่วโมง

บทที่ 4 : ปริมาณสารสัมพันธ์

จะเรียนเกี่ยวกับการคำนวณมวลอะตอม มวลโมเลกุล หาความสัมพันธ์ของโมล จำนวนโมเลกุล และปริมาตรของแก๊ส หาอัตราส่วนของธาตุในสารประกอบ คำนวณสูตรโมเลกุลของสาร เป็นอีกหนึ่งบทที่เป็นพื้นฐานสำคัญในบทอื่น ๆ

พื้นฐานบทอื่นที่ต้องมี : อะตอมและตารางธาตุ

เวลาที่ควรใช้อ่าน : ประมาณ 3 ชั่วโมง

บทที่ 5 : สารละลาย

จะเรียนเกี่ยวกับความเข้มข้นของสารละลายในหน่วยต่าง ๆ การเตรียมสารละลาย และสมบัติของสารละลาย

พื้นฐานบทอื่นที่ต้องมี : ปริมาณสารสัมพันธ์

เวลาที่ควรใช้อ่าน : ประมาณ 4 ชั่วโมง

บทที่ 6 : สมการเคมี

จะเรียนเกี่ยวกับการเขียนและดุลสมการเคมี คำนวณมวล ความเข้มข้น และปริมาตรของแก๊สในปฏิกิริยาเคมี และคำนวณผลได้ร้อยละของผลิตภัณฑ์ในปฏิกิริยาเคมี 

พื้นฐานบทอื่นที่ต้องมี : ปริมาณสารสัมพันธ์

เวลาที่ควรใช้อ่าน : ประมาณ 5 ชั่วโมง

บทที่ 7 : แก๊ส

จะเรียนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของปริมาตร ความดันและอุณหภูมิของแก๊ส คำนวณความดันย่อยของแก๊สผสม และคำนวณอัตราการแพร่ของแก๊ส 

พื้นฐานบทอื่นที่ต้องมี : ปริมาณสารสัมพันธ์

เวลาที่ควรใช้อ่าน : ประมาณ 4 ชั่วโมง

บทที่ 8 : อัตราการเกิดปฏิกิริยา

จะเรียนเกี่ยวกับการคำนวณอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี และปัจจัยที่ผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี 

พื้นฐานบทอื่นที่ต้องมี : สมการเคมี

เวลาที่ควรใช้อ่าน : ประมาณ 6 ชั่วโมง

บทที่ 9 : สมดุลเคมี

จะเรียนเกี่ยวกับปฏิกิริยาที่ผันกลับได้และภาวะสมดุล คำนวณค่าคงที่สมดุล ความเข้มข้นของสารที่ภาวะสมดุล และการรบกวนสมดุล 

พื้นฐานบทอื่นที่ต้องมี : สมการเคมี

เวลาที่ควรใช้อ่าน : ประมาณ 5 ชั่วโมง

บทที่ 10 : กรด – เบส

จะเรียนเกี่ยวกับนิยามของกรด – เบส คู่กรด – เบส คำนวณค่า pH ความเป็นกรด – เบสของสารละลายเกลือ การไทเทรต และบัฟเฟอร์

พื้นฐานบทอื่นที่ต้องมี : สมการเคมี

เวลาที่ควรใช้อ่าน : ประมาณ 6 ชั่วโมง

บทที่ 11 : เคมีไฟฟ้า

จะเรียนเกี่ยวกับปฏิกิริยารีดอกซ์และเลขออกซิเดชัน องค์ประกอบของเซลล์ไฟฟ้าเคมี คำนวณศักย์ไฟฟ้ามาตรฐานของเซลล์ การชุบโลหะและแยกสารเคมีด้วยไฟฟ้า

พื้นฐานบทอื่นที่ต้องมี : สมการเคมี

เวลาที่ควรใช้อ่าน : ประมาณ 4 ชั่วโมง

บทที่ 12 : เคมีอินทรีย์

จะเรียนเกี่ยวกับการเขียนสูตรโครงสร้างของสารประกอบอินทรีย์ การเรียกชื่อสารประกอบอินทรีย์ และสมบัติของสารประกอบอินทรีย์ประเภทต่าง ๆ 

พื้นฐานบทอื่นที่ต้องมี : อะตอมและตารางธาตุ

เวลาที่ควรใช้อ่าน : ประมาณ 6 ชั่วโมง

บทที่ 13 : พอลิเมอร์

จะเรียนเกี่ยวกับประเภทและโครงสร้างของพอลิเมอร์ชนิดต่าง ๆ การนำพอลิเมอร์ไปใช้ประโยชน์ และการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของพอลิเมอร์

พื้นฐานบทอื่นที่ต้องมี : อะตอมและตารางธาตุ

เวลาที่ควรใช้อ่าน : ประมาณ 2 ชั่วโมง

มาถึงจุดนี้น้อง ๆ #Dek68 ก็จะได้รู้แล้วว่า วิชาเคมี ทั้ง 13 บทนี้ เรียนเกี่ยวกับอะไรโดยคร่าว ๆ และจุดที่พี่ Panya Society อยากให้น้องสนใจมากที่สุด ก็คือ เวลาที่ควรใช้อ่าน ซึ่งทั้ง 13 บทนี้ ใช้เวลาอ่านรวมทั้งหมดประมาณ 67 ชั่วโม

วางแผนการเก็บคะแนน

จากผลคะแนน TCAS ของปีที่ผ่านมา จะเห็นว่าบางคณะต้องได้คะแนน TCAS สูงมาก ๆ จึงจะสอบติด และวิชาเคมีก็ถือเป็นวิชาสำคัญที่หลาย ๆ คณะเลือกใช้เป็นเกณฑ์ในการคิดคะแนน และ A – Level เคมี ก็มีสัดส่วนคะแนนค่อนข้างสูงในหลาย ๆ คณะ ดังนั้น น้อง ๆ  ควรตั้งเป้าหมายให้ได้ 70 คะแนนขึ้นไป เพื่อให้มั่นใจว่า จะสามารถเข้าคณะที่ต้องการได้อย่างแน่นอน

พี่ Panya Society ขอแบ่งวิชาเคมี ออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

1. สมบัติของธาตุและสารประกอบ

เป็นเนื้อหาที่เหมาะกับน้อง ๆ ที่ถนัดในการทำความเข้าใจสมบัติและองค์ประกอบของธาตุและสารประกอบต่าง ๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญ และครอบคลุมเนื้อหาเยอะ จึงควรเก็บคะแนนในส่วนนี้ให้ได้ ได้แก่

1) อะตอมและตารางธาตุ : ออกสอบ 3 ข้อ คิดเป็น 7.5 คะแนน

2) พันธะเคมี : ออกสอบ 3 ข้อ คิดเป็น 7.5 คะแนน

3) แก๊ส : ออกสอบ 3 ข้อ คิดเป็น 7.5 คะแนน

4) เคมีอินทรีย์ : ออกสอบ 5 ข้อ คิดเป็น 12.5 คะแนน

5) พอลิเมอร์ : ออกสอบ 2 ข้อ คิดเป็น 5 คะแนน

รวม ออกสอบ 16 ข้อ คิดเป็น 40 คะแนน ใช้เวลาอ่านประมาณ 32 ชั่วโมง

2. สมการเคมีและการเปลี่ยนแปลงทางเคมี

เป็นเนื้อหาที่เหมาะกับน้อง ๆ ที่ถนัดในการคำนวณปริมาณต่าง ๆ จากสมการ ซึ่งก็ครอบคลุมเนื้อหาเยอะ และควรเก็บคะแนนในส่วนนี้ให้ได้เช่นกัน ได้แก่

1) สมการเคมี : ออกสอบ 3 ข้อ คิดเป็น 7.5 คะแนน

2) อัตราการเกิดปฏิกิริยา : ออกสอบ 2 ข้อ คิดเป็น 5 คะแนน

3) สมดุลเคมี : ออกสอบ 3 ข้อ คิดเป็น 7.5 คะแนน

4) กรด – เบส : ออกสอบ 4 ข้อ คิดเป็น 10 คะแนน

5) เคมีไฟฟ้า : ออกสอบ 4 ข้อ คิดเป็น 10 คะแนน

รวม ออกสอบ 16 ข้อ คิดเป็น 40 คะแนน ใช้เวลาอ่านประมาณ 26 ชั่วโมง

3. ทักษะในปฏิบัติการเคมีและการคำนวณปริมาณของสาร

เป็นเนื้อหาที่เหมาะกับน้อง ๆ ที่ถนัดในการทดลองและคำนวณปริมาณสารในการทดลอง ได้แก่

1) ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ : ออกสอบ 1 ข้อ คิดเป็น 2.5 คะแนน

2) ปริมาณสารสัมพันธ์ : ออกสอบ 1 ข้อ คิดเป็น 2.5 คะแนน

3) สารละลาย : ออกสอบ 1 ข้อ คิดเป็น 2.5 คะแนน

รวม ออกสอบ 3 ข้อ คิดเป็น 7.5 คะแนน ใช้เวลาอ่านประมาณ 9 ชั่วโมง

เนื่องจาก 3 กลุ่มวิชานี้ มีความสำคัญพอ ๆ กัน

น้อง ๆ ควรเลือกอ่านบทต่อไปนี้

  • ปริมาณสารสัมพันธ์
  • สมการเคมี
  • กรด – เบส
  • เคมีไฟฟ้า
  • เคมีอินทรีย์
  • เลือกอ่านบทอื่น ๆ ตามความถนัดของน้อง ๆ เพื่อให้ได้คะแนนเพิ่มอีกประมาณ 30 คะแนน

เพียงเท่านี้ก็จะได้คะแนนประมาณ 70 คะแนน ได้ไม่ยากมาก 

และหากยังมีเวลาเหลือก็ควรอ่านให้ครบทุกบท เพื่อให้ได้คะแนนเพิ่มขึ้นไปอีกครับ

วางแผนแบ่งเวลาอ่านเคมี

สำหรับน้อง ๆ #Dek68 พี่ Panya Society อยากให้น้อง ๆ เผื่อเวลาไว้ฝึกทำข้อสอบจริง อย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนสอบ ดังนั้น น้อง ๆ จะมีเวลาเก็บเนื้อหาทั้งหมดถึงสิ้นเดือน กุมภาพันธ์ 67 เท่านั้น

เราได้รู้แล้วว่า ควรต้องใช้เวลาอ่านเนื้อหาเคมีทั้งหมดประมาณ 67 ชั่วโมง สำหรับวิชาเคมีเป็นวิชาที่จะต้องทำความเข้าใจในเนื้อหาอย่างลึกซึ้ง เพื่อให้สามารถทำโจทย์ที่มีการประยุกต์ได้ และการฝึกทำโจทย์ก็จะช่วยให้เข้าใจเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้นนั่นเองครับ

การแบ่งเวลาอ่านหนังสือในแต่ละวัน จึงขึ้นอยู่กับว่า น้องเหลือเวลาอ่านอีกกี่วัน

เริ่มอ่านเดือน มิถุนายน (ช่วงเปิดเทอม 1)

เหลือเวลาอ่าน : 9 เดือน

เนื้อหาที่ควรอ่าน : ทุกบท

ควรอ่านวันละ : 30 นาที จะอ่านจบภายในไม่เกิน 5 เดือน (เหลือเวลาไปอ่านวิชาอื่น 4 เดือน)

เริ่มอ่านเดือน ตุลาคม (ช่วงปิดเทอมเล็ก)

เหลือเวลาอ่าน : 5 เดือน

เนื้อหาที่ควรอ่าน : ทุกบท

ควรอ่านวันละ : 30 นาที

เริ่มอ่านเดือน ธันวาคม

เหลือเวลาอ่าน : 3 เดือน

เนื้อหาที่ควรอ่าน : ทุกบท

ควรอ่านวันละ : 1 ชั่วโมง

เริ่มอ่านเดือน มกราคม 

เหลือเวลาอ่าน : 2 เดือน

เนื้อหาที่ควรอ่าน : ทุกบท

ควรอ่านวันละ : 2 ชั่วโมง

เริ่มอ่านเดือน กุมภาพันธ์ 

เหลือเวลาอ่าน : 1 เดือน

เนื้อหาที่ควรอ่าน : อ่าน 5 บทสำคัญ และบทที่ถนัดอีกบางส่วน ให้ได้คะแนนตามเป้า

ควรอ่านวันละ : 2 ชั่วโมง

วิชาเคมี เป็นวิชาที่มีเนื้อหาไม่เยอะมาก จึงอาจใช้เวลาอ่านน้อยกว่าวิชาอื่น ๆ แต่พี่ Panya Society ยังคงแนะนำว่าควรเริ่มอ่านให้เร็วที่สุด เพื่อให้ได้ทยอยอ่านวันละนิด ไม่หักโหมมาก และลดความกดดันในการอ่าน และทำให้เหลือเวลาไปอ่านวิชาอื่นอีกด้วย

พูดคุยหลังอ่าน

เป็นยังไงกันบ้างครับ #Dek68 ทุกคน หวังว่าพี่ ๆ Panya Society จะช่วยให้น้อง ๆ ได้วางแผนในการอ่านหนังสือวิชาเคมี เพื่อให้น้อง ๆ ได้คะแนนตามที่หวังกันนะครับ แต่พี่ ๆ ต้องขอบอกไว้ก่อนว่าแผนการอ่านหนังสือนี้ สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความถนัดของน้อง ๆ เอง และสำหรับน้อง ๆ คนที่ต้องเตรียมตัวสอบหลายวิชา อย่าลืมวางแผนเผื่อเวลาไว้สำหรับวิชาอื่นกันด้วยนะครับ

หลังจากน้อง ๆ ทุกคนได้วางแผนการอ่านเคมี สำหรับ TCAS68 นี้หวังว่าจะช่วยให้น้อง ๆ อ่านหนังสือได้ง่ายขึ้น และจะเห็นว่าหลายคณะ ต้องใช้คะแนนสอบค่อนข้างสูง น้อง ๆ ทุกคนควรจะรีบเตรียมตัวตั้งแต่วันนี้ ดังนั้น พี่ PANYA ขอแนะนำคอร์ส “เคมี A – Level TCAS68 จาก PANYA SOCIETY” ซึ่งเป็นคอร์ส เตรียมตัวสอบ TCAS68 ฉบับสมบูรณ์แบบ ที่ Update ล่าสุด ได้ทั้งทบทวนเนื้อหา ม.4-5-6 ไปพร้อมกับเก็งข้อสอบแนวรูปแบบใหม่ ฝึกทำข้อสอบเพียบ ทบทวนเต็มที่ เก็งข้อสอบแม่นยำ พร้อมทำโจทย์แนวใหม่ ไม่ตกเทรนด์ พร้อมกับโค้ชผู้ช่วยส่วนตัวที่ถาม-ตอบได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ไร้กังวล ติวกับ PANYA SOCIETY ข้อสอบ TCAS68 จะเปลี่ยนไปแค่ไหน พี่ ๆ จะตามติดพัฒนาคอร์สไปพร้อมกับ Test Blueprint ใหม่ล่าสุด ไม่พลาดแน่นอน!!!

VDO ตัวอย่างการสอน

🔥ติวเตอร์คนเก่ง🔥

แผนการอ่านฟิสิกส์

7 เทคนิคตะลุยโจทย์ TCAS

เรียนสนุก ทำโจทย์คล่อง สอบให้ติด

: คอร์สแนะนำ :

SHARE:

วางแผนอ่านหนังสือ TCAS68 วิชาฟิสิกส์เน้นบทไหนดี #DEK68

PANYA SOCIETY

วางแผนอ่านหนังสือ TCAS68 วิชาฟิสิกส์เน้นบทไหนดี #DEK68

วางแผนอ่านหนังสือวิชาฟิสิกส์

สวัสดีครับน้อง ๆ #Dek68 ทุกคน วันนี้พี่ Panya Society กลับมาอีกครั้งพร้อมบทความที่เกี่ยวกับ TCAS68 นะครับ หลังจากที่เราคนหาตัวตนเจอแล้วว่าอยากเข้าคณะอะไร เราก็จะมาวางแผนอ่านหนังสือ TCAS68 กันต่อเลย วันนี้พี่ Panya Society จะมาแนะนำแผนการอ่านหนังสือวิชาฟิสิกส์ เพื่อช่วยน้อง ๆ #Dek68 อ่านหนังสือได้ดีขึ้น ขอบอกเลยว่า #Dek68 ที่กำลังเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัยทุกคน จำเป็นวางแผนอ่านหนังสือให้ดี เพื่อให้ไม่รู้สึกว่าอ่านหนักเกินไป และพร้อมสอบมากยิ่งขึ้น ถ้าพร้อมแล้ว เริ่ม!!!

สถิติออกสอบ A - Level ฟิสิกส์

ในการวางแผนอ่านหนังสือนั้น เราควรจะต้องรู้ว่าควรจะเน้นไปที่บทไหน วันนี้พี่ Panya Society จึงจะพาน้อง ๆ #Dek68 มาดูสถิติออกสอบ A – Level ฟิสิกส์ ปี 66 ว่าบทไหนออกเยอะหรือออกน้อยบ้าง เพื่อเป็นแนวทางในการเตรียมสอบ TCAS68 ดังนี้ 

บทที่ออก 2 ข้อ ควรเน้น คือ

  • แรงและกฎการเคลื่อนที่
  • คลื่น
  • แสงเชิงคลื่น
  • ไฟฟ้าสถิต
  • ไฟฟ้ากระแส
  • แม่เหล็กและไฟฟ้า
  • ความร้อนและแก๊ส
  • ของแข็งและของไหล
  • ฟิสิกส์อะตอม
  • ฟิสิกส์นิวเคลียร์และฟิสิกส์อนุภาค

บทที่ออก 1 ข้อ ควรเน้นไม่มาก คือ

  • ธรรมชาติและพัฒนาการทางฟิสิกส์
  • การเคลื่อนที่แนวตรง
  • สมดุลกล
  • งานและพลังงาน
  • โมเมนตัมและการชน
  • การเคลื่อนที่แนวโค้ง
  • การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย
  • แสงเชิงรังสี
  • เสียง
  • คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า 

มาถึงตรงนี้ น้อง ๆ #Dek68 คงจะเห็นแล้วว่า บทไหนควรเน้นหรือไม่ควรเน้น แต่พี่ Panya Society ขอเตือนไว้ก่อนเลยว่า ถึงบางบทจะออกน้อย แต่ก็เป็นพื้นฐานในการนำไปใช้ต่อในบทอื่น ๆ ดังนั้น ถ้าเป็นไปได้ก็ควรเก็บเนื้อหาให้ได้ครบทุกบทนะครับ

คำนวณเวลาที่ต้องใช้อ่านทั้งหมด

ก่อนที่เราเริ่มอ่าน เรามาดูกันก่อนว่า วิชาฟิสิกส์มีเนื้อหาอะไรบ้าง และแต่ละบทจะต้องใช้เวลาอ่านมากหรือน้อยอย่างไร เพื่อจะได้วางแผนการอ่านได้ง่ายขึ้น

บทที่ 1 : ธรรมชาติและพัฒนาการทางฟิสิกส์

จะเรียนเกี่ยวกับประวัติของวิชาฟิสิกส์ รวมถึงพื้นฐานเกี่ยวกับวิชาฟิสิกส์

พื้นฐานบทอื่นที่ต้องมี :  ไม่ต้องมีพื้นฐานบทอื่น

เวลาที่ควรใช้อ่าน : ประมาณ 8 ชั่วโมง

บทที่ 2 : การเคลื่อนที่แนวตรง

จะเรียนเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ในแนวเส้นตรงของวัตถุต่าง ๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานในการเรียนบทอื่น ๆ อีกหลายบท

พื้นฐานบทอื่นที่ต้องมี :  ไม่ต้องมีพื้นฐานบทอื่น

เวลาที่ควรใช้อ่าน : ประมาณ 9 ชั่วโมง

บทที่ 3 : แรงและกฎการเคลื่อนที่

จะเรียนเกี่ยวกับผลของแรงที่มีต่อการเคลื่อนที่ของวัตถุ และได้รู้จักแรงชนิดต่าง ๆ เป็นอีกหนึ่งบทที่เป็นพื้นฐานสำคัญของอีกหลาย ๆ บท

พื้นฐานบทอื่นที่ต้องมี : การเคลื่อนที่แนวตรง

เวลาที่ควรใช้อ่าน : ประมาณ 10 ชั่วโมง

บทที่ 4 : สมดุลกล

จะเรียนเกี่ยวกับวัตถุที่อยู่นิ่ง หรือเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่ รวมไปถึงการล้มของวัตถุ

พื้นฐานบทอื่นที่ต้องมี :  แรงและกฎการเคลื่อนที่

เวลาที่ควรใช้อ่าน : ประมาณ 6 ชั่วโมง

บทที่ 5 : งานและพลังงาน

จะเรียนเกี่ยวกับพลังงานต่าง ๆ ที่สะสมอยู่ในวัตถุ และกฎเกี่ยวกับพลังงาน

พื้นฐานบทอื่นที่ต้องมี : แรงและกฎการเคลื่อนที่ 

เวลาที่ควรใช้อ่าน : ประมาณ 9 ชั่วโมง

บทที่ 6 : โมเมนตัมและการชน

จะเรียนเกี่ยวกับปริมาณหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ และเรียนเกี่ยวกับการชนกันของวัตถุ 

พื้นฐานบทอื่นที่ต้องมี :  การเคลื่อนที่แนวตรง

เวลาที่ควรใช้อ่าน : ประมาณ 7 ชั่วโมง

บทที่ 7 : การเคลื่อนที่แนวโค้ง

จะเรียนเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของวัตถุในลักษณะเป็นเส้นโค้ง หรือเป็นวงกลม 

พื้นฐานบทอื่นที่ต้องมี : การคลื่อนที่แนวตรง, แรงและกฎการเคลื่อนที่

เวลาที่ควรใช้อ่าน : ประมาณ 6 ชั่วโมง

บทที่ 8 : การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย

จะเรียนเกี่ยวกับการเคลื่อนที่กลับไปกลับมาของวัตถุเมื่อวัตถุติดอยู่กับสปริง หรือถูกแกว่งด้วยเชือก 

พื้นฐานบทอื่นที่ต้องมี : แรงและกฎการเคลื่อนที่, การเคลื่อนที่แนวโค้ง

เวลาที่ควรใช้อ่าน : ประมาณ 4 ชั่วโมง

บทที่ 9 : คลื่น

จะเรียนเกี่ยวกับนิยามของคลื่น และสมบัติต่าง ๆ ของคลื่น 

พื้นฐานบทอื่นที่ต้องมี : ไม่ต้องมีพื้นฐานบทอื่น

เวลาที่ควรใช้อ่าน : ประมาณ 8 ชั่วโมง

บทที่ 10 : แสงเชิงคลื่น

จะเรียนเกี่ยวกับคุณสมบัติของแสงเมื่อผ่านช่องแคบต่าง ๆ

พื้นฐานบทอื่นที่ต้องมี : คลื่น

เวลาที่ควรใช้อ่าน : ประมาณ 4 ชั่วโมง

บทที่ 11 : แสงเชิงรังสี

จะเรียนเกี่ยวกับคุณสมบัติของแสง และเรียนเกี่ยวกับอุปกรณ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับแสง และการมองเห็นแสง

พื้นฐานบทอื่นที่ต้องมี : คลื่น

เวลาที่ควรใช้อ่าน : ประมาณ 10 ชั่วโมง

บทที่ 12 : เสียง

จะเรียนเกี่ยวกับคุณสมบัติต่าง ๆ ของเสียง การวัดระดับเสียง และปรากฏการณ์เกี่ยวกับเสียง

พื้นฐานบทอื่นที่ต้องมี : คลื่น

เวลาที่ควรใช้อ่าน : ประมาณ 8 ชั่วโมง

บทที่ 13 : ไฟฟ้าสถิต

จะเรียนเกี่ยวกับประจุไฟฟ้า แรงทางไฟฟ้า และพลังงานไฟฟ้า 

พื้นฐานบทอื่นที่ต้องมี : ไม่ต้องมีพื้นฐบานบทอื่น

เวลาที่ควรใช้อ่าน : ประมาณ 8 ชั่วโมง

บทที่ 14 : ไฟฟ้ากระแส

จะเรียนเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของประจุไฟฟ้า ความต้านมานไฟฟ้า และวงจรไฟฟ้าในลักษณะต่าง ๆ

พื้นฐานบทอื่นที่ต้องมี : ไฟฟ้าสถิต

เวลาที่ควรใช้อ่าน : ประมาณ 9 ชั่วโมง

บทที่ 15 : แม่เหล็กและไฟฟ้า

จะเรียนเกี่ยวกับผลของสนามแม่เหล็กที่มีต่อประจุไฟฟ้า และเรียนเกี่ยวกับวงจรไฟฟ้ากระแสสลับ

พื้นฐานบทอื่นที่ต้องมี : ไฟฟ้าสถิต, ไฟฟ้ากระแส

เวลาที่ควรใช้อ่าน : ประมาณ 10 ชั่วโมง

บทที่ 16 : ความร้อนและแก๊ส

จะเรียนเกี่ยวกับการถ่ายโอนพลังงานความร้อน และเรียนเกี่ยวกับพลังงานองแก๊ส

พื้นฐานบทอื่นที่ต้องมี : งานและพลังงาน

เวลาที่ควรใช้อ่าน : ประมาณ 6 ชั่วโมง

บทที่ 17 : ของแข็งและของไหล

จะเรียนเกี่ยวกับคุณสมบัติของสสารทั้งของแข็งและของไหล 

พื้นฐานบทอื่นที่ต้องมี : แรงและกฎการเคลื่อนที่

เวลาที่ควรใช้อ่าน : ประมาณ 8 ชั่วโมง

บทที่ 18 : คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

จะเรียนเกี่ยวกับคุณสมบัติของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และจำแนกประเภทของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า 

พื้นฐานบทอื่นที่ต้องมี : แม่เหล็กและไฟฟ้า

เวลาที่ควรใช้อ่าน : ประมาณ 4 ชั่วโมง

บทที่ 19 : ฟิสิกส์อะตอม

จะเรียนเกี่ยวกับวิวัฒนาการของแบบจำลองอะตอมต่าง ๆ และปรากฎการณ์ที่ค้นพบ 

พื้นฐานบทอื่นที่ต้องมี : งานและพลังงาน

เวลาที่ควรใช้อ่าน : ประมาณ 6 ชั่วโมง

บทที่ 20 : ฟิสิกส์นิวเคลียร์และฟิสิกส์อนุภาค

จะเรียนเกี่ยวกับนิวเคลียสของอะตอมต่าง ๆ การสลายตัวของนิวเคลียสของธาตุที่ไม่เสถียร พลังงานในการยึดเหนี่ยวนิวเคลียส และเรียนเกี่ยวกับอนุภาคย่อย ๆ ของนิวเคลียส 

พื้นฐานบทอื่นที่ต้องมี : งานและพลังงาน

เวลาที่ควรใช้อ่าน : ประมาณ 6 ชั่วโมง

มาถึงจุดนี้น้อง ๆ #Dek68 ก็จะได้รู้แล้วว่า วิชาฟิสิกส์ ทั้ง 20 บทนี้ เรียนเกี่ยวกับอะไรโดยคร่าว ๆ และจุดที่พี่ Panya Society อยากให้น้องสนใจมากที่สุด ก็คือ เวลาที่ควรใช้อ่าน ซึ่งทั้ง 20 บทนี้ ใช้เวลาอ่านรวมทั้งหมดประมาณ 146 ชั่วโมง

วางแผนการเก็บคะแนน

จากผลคะแนน TCAS ของปีที่ผ่านมา จะเห็นว่าบางคณะต้องได้คะแนน TCAS สูงมาก ๆ จึงจะสอบติด และวิชาฟิสิกส์ก็ถือเป็นวิชาสำคัญที่หลาย ๆ คณะเลือกใช้เป็นเกณฑ์ในการคิดคะแนน และ A – Level ฟิสิกส์ ก็มีสัดส่วนคะแนนค่อนข้างสูงในหลาย ๆ คณะ ดังนั้น น้อง ๆ  ควรตั้งเป้าหมายให้ได้ 70 คะแนนขึ้นไป เพื่อให้มั่นใจว่า จะสามารถเข้าคณะที่ต้องการได้อย่างแน่นอน

พี่ Panya Society ขอแบ่งวิชาฟิสิกส์ ออกเป็น 5 กลุ่ม เพื่อให้น้อง ๆ ที่มีความถนัดในกลุ่มเนื้อหาต่าง ๆ ได้เลือกอ่านตามความถนัดของน้อง ๆ ดังนี้

1. กลศาสตร์

เป็นกลุ่มเนื้อหาหลักของวิชาฟิสิกส์ และครอบคลุมเนื้อหาของฟิสิกส์มากที่สุด น้อง ๆ ทุกคนควรเก็บคะแนนในส่วนนี้ให้ได้ ได้แก่

1) ธรรมชาติและพัฒนาการทางฟิสิกส์ : ออกสอบ 1 ข้อ คิดเป็น 3 คะแนน

2) การเคลื่อนที่แนวตรง : ออกสอบ 1 ข้อ คิดเป็น 3 คะแนน

3) แรงและกฎการเคลื่อนที่ : ออกสอบ 2 ข้อ คิดเป็น 6 คะแนน

4) สมดุลกล : ออกสอบ 1 ข้อ คิดเป็น 3 คะแนน

5) งานและพลังงาน : ออกสอบ 1 ข้อ คิดเป็น 3 คะแนน

6) โมเมนตัมและการชน : ออกสอบ 1 ข้อ คิดเป็น 3 คะแนน

7) การเคลื่อนที่แนวโค้ง : ออกสอบ 1 ข้อ คิดเป็น 3 คะแนน

8) การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย : ออกสอบ 1 ข้อ คิดเป็น 3 คะแนน

รวม ออกสอบ 9 ข้อ คิดเป็น 27 คะแนน ใช้เวลาอ่านประมาณ 59 ชั่วโมง

2. คลื่น

เป็นเนื้อหาที่เหมาะกับน้อง ๆ ที่ถนัดในการมองลักษณะของคลื่น และสมบัติต่าง ๆ ของคลื่น ได้แก่

1) คลื่น : ออกสอบ 2 ข้อ คิดเป็น 6 คะแนน

2) แสงเชิงคลื่น : ออกสอบ 2 ข้อ คิดเป็น 6 คะแนน

3) แสงเชิงรังสี : ออกสอบ 1 ข้อ คิดเป็น 3 คะแนน

4) เสียง : ออกสอบ 1 ข้อ คิดเป็น 3 คะแนน

รวม ออกสอบ 6 ข้อ คิดเป็น 18 คะแนน ใช้เวลาอ่านประมาณ 30 ชั่วโมง

3. ไฟฟ้าและแม่เหล็ก

เป็นเนื้อหาที่เหมาะกับน้อง ๆ ที่ถนัดในสมบัติของประจุไฟฟ้า วงจรไฟฟ้า และสมบัติของสนามแม่เหล็ก ได้แก่

1) ไฟฟ้าสถิต : ออกสอบ 1 ข้อ คิดเป็น 3 คะแนน

2) ไฟฟ้ากระแส : ออกสอบ 2 ข้อ คิดเป็น 6 คะแนน

3) แม่เหล็กและไฟฟ้า : ออกสอบ 2 ข้อ คิดเป็น 6 คะแนน

4) คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า : ออกสอบ 1 ข้อ คิดเป็น 3 คะแนน

รวม ออกสอบ 6 ข้อ คิดเป็น 18 คะแนน ใช้เวลาอ่านประมาณ 31 ชั่วโมง

4. สสาร

เป็นเนื้อหาที่เหมาะกับน้อง ๆ ที่ถนัดในสมบัติของสสารต่าง ๆ ทั้งของแข็ง ของเหลว และแก๊ส ได้แก่

1) ความร้อนและแก๊ส : ออกสอบ 2 ข้อ คิดเป็น 6 คะแนน

2) ของแข็งและของไหล : ออกสอบ 2 ข้อ คิดเป็น 6 คะแนน

รวม ออกสอบ 4 ข้อ คิดเป็น 12 คะแนน ใช้เวลาอ่านประมาณ 14 ชั่วโมง

5. ฟิสิกส์แผนใหม่

เป็นเนื้อหาที่เหมาะกับน้อง ๆ ที่ถนัดในการมองลักษณะของอะตอม และนิวเคลียร์สของธาตุต่าง ๆ ซึ่งเนื้อหาในส่วนนี้ไม่เยอะ และไม่ได้ยากมาก ควรเก็บคะแนนให้ได้ ได้แก่

1) ฟิสิกส์อะตอม : ออกสอบ 2 ข้อ คิดเป็น 6 คะแนน

2) ฟิสิกส์นิวเคลียร์และฟิสิกส์อนุภาค : ออกสอบ 2 ข้อ คิดเป็น 6 คะแนน

รวม ออกสอบ 4 ข้อ คิดเป็น 12 คะแนน ใช้เวลาอ่านประมาณ 12 ชั่วโมง

จาก 5 กลุ่มวิชานี้ น้อง ๆ ควรเลือกอ่าน

  • กลศาสตร์
  • ฟิสิกส์สมัยใหม่
  • ส่วนเนื้อหากุ่ม คลื่นไฟฟ้าและแม่เหล็ก , สสาร ให้เลือกอ่าน 2 กลุ่ม ตามความถนัดของน้อง ๆ

เพียงเท่านี้ก็จะได้คะแนนประมาณ 70 คะแนน ได้ไม่ยากมาก 

และหากยังมีเวลาเหลือก็ควรอ่านอีกกลุ่มเนื้อหาที่เหลือไปด้วย เพื่อให้ได้คะแนนเพิ่มขึ้นไปอีกครับ

วางแผนแบ่งเวลาอ่านฟิสิกส์

สำหรับน้อง ๆ #Dek68 พี่ Panya Society อยากให้น้อง ๆ เผื่อเวลาไว้ฝึกทำข้อสอบจริง อย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนสอบ ดังนั้น น้อง ๆ จะมีเวลาเก็บเนื้อหาทั้งหมดถึงสิ้นเดือน กุมภาพันธ์ 67 เท่านั้น

เราได้รู้แล้วว่า ควรต้องใช้เวลาอ่านเนื้อหาฟิสิกส์ทั้งหมดประมาณ 146 ชั่วโมง สำหรับวิชาฟิสิกส์เป็นวิชาที่จะต้องทำความเข้าใจในเนื้อหาอย่างลึกซึ้ง เพื่อให้สามารถทำโจทย์ที่มีการประยุกต์ได้ และการฝึกทำโจทย์ก็จะช่วยให้เข้าใจเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้นนั่นเองครับ

การแบ่งเวลาอ่านหนังสือในแต่ละวัน จึงขึ้นอยู่กับว่า น้องเหลือเวลาอ่านอีกกี่วัน

เริ่มอ่านเดือน มิถุนายน (ช่วงเปิดเทอม 1)

เหลือเวลาอ่าน : 9 เดือน

เนื้อหาที่ควรอ่าน : ทุกบท

ควรอ่านวันละ : 30 นาที

เริ่มอ่านเดือน ตุลาคม (ช่วงปิดเทอมเล็ก)

เหลือเวลาอ่าน : 5 เดือน

เนื้อหาที่ควรอ่าน : ทุกบท

ควรอ่านวันละ : 1 ชั่วโมง

เริ่มอ่านเดือน ธันวาคม

เหลือเวลาอ่าน : 3 เดือน

เนื้อหาที่ควรอ่าน : ทุกบท

ควรอ่านวันละ : 2 ชั่วโมง

เริ่มอ่านเดือน มกราคม 

เหลือเวลาอ่าน : 2 เดือน

เนื้อหาที่ควรอ่าน : อ่าน 4 กลุ่มเนื้อหาที่ถนัด

ควรอ่านวันละ : 3 ชั่วโมง

เริ่มอ่านเดือน กุมภาพันธ์ 

เหลือเวลาอ่าน : 1 เดือน

เนื้อหาที่ควรอ่าน : อ่าน 4 กลุ่มเนื้อหาที่ถนัด

ควรอ่านวันละ : 4 ชั่วโมง

พี่ Panya Society ไม่แนะนำให้น้อง ๆ อ่านเกินวันละ 4 ชั่วโมง เพราะอาจทำให้สมองล้า และอ่านได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ ควรเริ่มอ่านให้เร็วที่สุด เพื่อให้ได้ทยอยอ่านวันละนิด ไม่หักโหมมาก และลดความกดดันในการอ่านได้อีกด้วย

พูดคุยหลังอ่าน

เป็นยังไงกันบ้างครับ #Dek68 ทุกคน หวังว่าพี่ ๆ Panya Society จะช่วยให้น้อง ๆ ได้วางแผนในการอ่านหนังสือวิชาฟิสิกส์ เพื่อให้น้อง ๆ ได้คะแนนตามที่หวังกันนะครับ แต่พี่ ๆ ต้องขอบอกไว้ก่อนว่าแผนการอ่านหนังสือนี้ สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความถนัดของน้อง ๆ เอง และสำหรับน้อง ๆ คนที่ต้องเตรียมตัวสอบหลายวิชา อย่าลืมวางแผนเผื่อเวลาไว้สำหรับวิชาอื่นกันด้วยนะครับ

หลังจากน้อง ๆ ทุกคนได้วางแผนการอ่านฟิสิกส์ สำหรับ TCAS68 นี้หวังว่าจะช่วยให้น้อง ๆ อ่านหนังสือได้ง่ายขึ้น และจะเห็นว่าหลายคณะ ต้องใช้คะแนนสอบค่อนข้างสูง น้อง ๆ ทุกคนควรจะรีบเตรียมตัวตั้งแต่วันนี้ ดังนั้น พี่ PANYA ขอแนะนำคอร์ส “ฟิสิกส์ A – Level TCAS68 จาก PANYA SOCIETY” ซึ่งเป็นคอร์ส เตรียมตัวสอบ TCAS68 ฉบับสมบูรณ์แบบ ที่ Update ล่าสุด ได้ทั้งทบทวนเนื้อหา ม.4-5-6 ไปพร้อมกับเก็งข้อสอบแนวรูปแบบใหม่ ฝึกทำข้อสอบเพียบ ทบทวนเต็มที่ เก็งข้อสอบแม่นยำ พร้อมทำโจทย์แนวใหม่ ไม่ตกเทรนด์ พร้อมกับโค้ชผู้ช่วยส่วนตัวที่ถาม-ตอบได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ไร้กังวล ติวกับ PANYA SOCIETY ข้อสอบ TCAS68 จะเปลี่ยนไปแค่ไหน พี่ ๆ จะตามติดพัฒนาคอร์สไปพร้อมกับ Test Blueprint ใหม่ล่าสุด ไม่พลาดแน่นอน!!!

VDO ตัวอย่างการสอน

ฟิสิกส์ A-Level

30 Videos

🔥ติวเตอร์คนเก่ง🔥

แผนการอ่านคณิต

แผนการอ่านเคมี

เรียนสนุก ทำโจทย์คล่อง สอบให้ติด

: คอร์สแนะนำ :

SHARE: